วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัด แปลยกศัพท์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 29 Mar 2020

โดย ท่านอาจารย์บุญถนอม นพโสภณ

แบบฝึกหัด แปลยกศัพท์

สามเณโร ภิกฺขุ โหติ ลองแปลยกศัพท์ประโยคนี้แล้วจะเข้าใจขึ้น คล้ายๆ เอกจฺโจ (ปุคฺคโล) ....ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (ลองเอา ป.ในห้องออกไปจากใจก่อน) ต่างกันเพียง โหติ เป็นกิริยาคุมพากย์ แต่ หุตฺวา เป็น กิริยาในระหว่าง แต่มีวิธีแปลเหมือนกันเพียงแต่ซับซ้อนขึ้นเนื่องจากสัมพันธ์กับบทอื่นด้วยนั่นเอง

เฉลย

เฉลย
สามเณโร อ. สามเณร ภิกฺขุ เป็นพระภิกษุ โหติ ย่อมเป็นฯ    ในป. นี้ สามเณโร เป็น ปกติกัตตา ส่วน ภิกฺขุ เป็น วิกติกัตตา เพราะเปลี่ยนภาวะ เข้ากับกิริยาที่แปลว่า มี เป็น (ใช้กับธาตุ 4 ตัวคือ หู ภู อส และ ชน (ลง ต ปัจจัยมีรูป ชาต โดยแปลง น ของ ชน ธาตุเป็น อา)

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม

จงแปลประโยคนี้  สามเณโร ภิกฺขุ หุตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ภาเวติ.    เขียนถามแบบบาลีว่า สามเณโร ภิกฺขุ หุตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ภาเวตีติ อิมสฺส วากฺยสฺส อตฺถํ นิทสฺเสหิ. (ภาเวติ+อิติ)

อธิบายเรื่อง สมานกาลกริยา ใน ธรรมบท

ประโยคที่มีลักษณะ สมานกาลกริยา ในธรรมบทอรรถกถา
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ.
เป็นประโยคต้นเรื่องในธรรมอรรถกถา ซึ่งจะมีลักษณะเช่นนี้เป็นส่วนมาก บทว่า อารพฺภ (อา+รภ+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น พฺภ แล้วลบที่สุดธาตุ [ดูสูตร 645 มหทเภหิ มฺมยฺหชฺชพฺภทฺธา จ ในปทรูปสิทธิ ] ) เป็นบท สมานกาลกริยาของ กเถสิ แปลว่า ปรารภ (ซึ่งพระติสสเถระ) กเถสิ ตรัสแล้ว….ลองแปลดูก่อนนะครับ
วิญฺญาปนํ :   อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ (มํ+อิติ)  อิติ ศัพท์ตัวนี้มีการแปลพิเศษดังนี้  คือ (ว่า...ดังนี้เป็นต้น) เพราะยังไม่จบคาถา เนื่องจากคาถาหนึ่งนั้นส่วนมากแล้วจะมี 4 บาท อิติ ศัพท์ตัวนี้จึงมีอรรถ อาทฺยัตถะ อรรถคือเป็นต้น จึงนิยมแปลอย่างนี้ คือ (...ว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ ดังนี้เป็นต้น)
อตฺถํ นิทสฺเสเหิ (อ. ท่าน จงแสดง ซึ่งอรรถ [ความหมาย, คำแปล]
รูปปกติ คือ อารภิตฺวา ปรารภแล้ว
อารทฺธา (อา+รภ+ต)

เฉลย  การเทียเคียงประโยค

1. สามเณโร ภิกฺขุ  โหติ.
สามเณโร อ. สามเณร ภิกฺขุ  เป็นพระภิกษุ โหติ  ย่อมเป็น
2. สามเณโร ภิกฺขุ หุตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ภาเวติ. 
สามเณโร อ. สามเณร ภิกฺขุ เป็นพระภิกษุ หุตฺวา เป็น กมฺมฏฺฐานํ ยังพระกรรมฐาน ภาเวติ ย่อมให้เจริญ
ป. แรก ภิกฺขุ เป็นวิกติกัตตา ใน โหติ  จบประโยคแค่นี้ /ส่วน ป. ที่ 2 เป็นการขยายประโยค  ภิกฺขุ เป็นวิกติกัตตา ใน หุตฺวา ส่วน หุตฺวา เพิ่มหน้าที่ เป็น สมานกาลกิริยา ใน ภาเวติ เพราะเป็นกิริยาที่ทำร่วมกัน กิริยาคุมพากย์  ต้องการให้ทุกท่านมองลักษณะโครงสร้างให้ออกจึงแสดงอุทาหรณ์ในเชิงเเปรียบเทียบให้ดูเท่านั้น

ประโยคที่มี สมานกาลกิริยา ในธรรมบทอรรถกถา
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ  อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ.
แปลว่า :  สตฺถา อ. พระศาสดา วิหรนฺโต ทรงประทับอยู่ เชตวเน ณ พระวิหารชื่อเชตวัน อารพฺภ ทรงปรารภ ติสฺสตฺเถรํ ซึ่งพระติสสเถระ กเถสิ ตรัสแล้ว อิมํ ธมฺมเทสนํ ซึ่งพระธรรมเทสนา นี้  อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ  ว่า อกฺโกจฺฉิมํ อวธิ ดังนี้ เป็นต้น  
(อันที่จริงผมแปลเป็นแนวทางไว้บ้างแล้ว ถ้าในประโยคประธานมีอยู่ไม่ต้องเพิ่มเข้ามา ยกเว้นบางประโยค มีแต่วิเสสนะ ไม่มีประธาน ต้องเพิ่มมา โดยมากมักเป็นประเภทคุณศัพท์เช่น เอกจฺโจ สพฺโพ โย โส ฯลฯ)

คาถาต้นเรื่องเช่นนี้ ไมต้องแปล อารพฺภ ผมอธิบายแล้วว่าเป็น สมานกาลกิรยา ให้แปลก่อน แต่ไม่ต้องใส่คำว่า แล้ว เข้ามา ลักษณะการแปลเช่นนี้จำเป็นแบบมาตรฐานเลย แต่สำนวนอาจต่างกัน บางท่านอาจแปลว่า เมื่อประทับอยู่ ในพระวิหารชื่อว่าเชตวัน ฯลฯ
จะมีการเรียก วิกติกัตตา ก็ต่อเมื่อบทนั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับกริยาที่มีคำแปลว่า มี, เป็น เท่านั้นนอกนั้นไม่เกี่ยว

กิตก์มี 2 ประการ คือ นามกิตก์ กับกิริยากิตก์ ส่วนมากแล้ว ศัพท์ทั้งมวลต้นกำเนิดล้วนมาแต่ธาตุเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นบางศัพท์เมื่อสำเร็จรูปแล้วถือเป็นนาม บางศัพท์เป็นได้ทั้งนามและกิริยา ขึ้นอยู่ที่การนำไปใช้ ในเรื่องของการแปลนั้น ถ้าเป็นชื่อ บุคคล วัตถุ สัตว์ สิ่งของนิยมแปลทับศัพท์ เช่น ปุริโส แปลว่า บุรุษ (มาจาก ปูร ธาตุ+อิสปัจจัย+สิ) วิ.ว่า มาตาปิตูนํ หทยํ ปูเรตีติ ปุริโส (บุคคลใดยังหทัยของมารดาและบิดาให้เต็มเปี่ยม บุคคลนั้น ชื่อว่า บุรุษ จึงไม่จำเป็นต้องแปลแบบโวหารว่า ‘ปุริโส อ. บุคคลผู้ยังหทัยของมารดาและบิดาให้เต็มเปี่ยม’ แต่ประการใดเลย ฉะนั้น คำว่า ภิกขุ ก็เช่นกัน มักจะแปลทับศัพท์ว่า พระภิกษุ แต่เราสามารถอธิบายขยายความทางไวยากรณ์ว่า ภิกฺขุ คำนี้แปลอย่างนี้เพราะอะไร เพราะมาจาก...ที่คุณสันต์นำมากล่าวไว้ ที่ต้องพูดเช่นนี้กลัวบางท่านจะสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะแปลอย่างไรดี

อธิบายคาถาธรรมบทเพิ่มเติม

ประโยคว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ เป็นประโยคต้นเรื่องในอรรถกถาธรรมบท และเป็นประโยคต้นแบบทั้งในเรื่องการแปล และกลับไทยเป็นมคธด้วย ต้องจำประโยคแบบนนีไว้ครับ โดยเฉพาะที่ผมแปลยกศัพท์เป็นแนวทางไว้ให้เพราะจะมีการวางบทแต่ละบทแตกต่างจากที่เราเรียนมาในบางส่วน เช่นการเน้นคาถา เนื่องจากถ้าเขียนตามปกติก็จะธรรมดาไป ดูการเขียนประโยคแบบเน้นข้อความ กับการเขียนแบบปกติธรรมดานะครับ
1.  ประโยคแบบจากธรรมบท เน้นคาถา)
 อกฺโกจฺฉิม มํ อวธิ มนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ.
2.  เขียนเลียนแบบไม่ได้เน้น
สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ กเถสิ. 
แปลเหมือนกัน แต่ไม่มีการเน้นความคือคาถา ดังนั้น ควรจำประโยคแบบให้ขึ้นใจทั้งบาลีและการแปล
เห็นไหมครับ เข้าใจไวยากรณ์อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ต้องฝึกแปล ฝึกแต่งด้วยจึงจะเพิ่มความชำนาญได้ แม้เพียงประโยคกัตตุวาจกก็ยังมีรายละเอียดเพียบเลย ถ้าเข้าใจดีแล้วประโยคในลักษณะอื่นๆ ก็ไม่ต่างกันมากเข้าใจได้ไม่ยาก อย่าพึ่งท้อ ถ้าเราเข้าใจรายละเอียดได้ดีแล้วก็สามารถนำไปใช้ได้ ครับ ซึ่งตอนนี้เราทุกคนกับลังฝึกอยู่  
มา ยตฺถ วา ตตฺถ วา ติฏฺฐถ, ทฬฺหํเยว ปน ปุรโต  อภิกฺกเมยฺยาถ
อย่าหยุดอยู่กับที่ แต่พึงก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ