วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563

โปรแกรมพจนานุกรมบาลี-ไทย ธรรมบท ๑-๔ ของวัดพระรามเก้าฯ เรียบเรียงโดยอาจารย์บุญสืบ อินสาร ป.ธ๙

 โปรแกรมบาลีดิก วัดพระรามเก้า ลิงค์สำรอง

โปรแกรมพจนานุกรมบาลี-ไทย ธรรมบท ๑-๔ ของวัดพระรามเก้าฯ เรียบเรียงโดยอาจารย์บุญสืบ อินสาร ป.ธ๙ Download โดย Click Link

ปัจจุบัน พศ.2564 เป็น Application Mobile อย่างเดียว ไม่มีใน Computer แล้ว


ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมนี้

2. แตก Zip File
3. Install as admin

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ภาษาบาลี มีอะไรบ้าง เมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ ความเหมือน และ แตกต่าง ของ ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ต้องการ เรียนบาลีด้วยตนเอง มีเวลาน้อย สำหรับคนทำงาน

ภาษาบาลี มีอะไรบ้าง โดย ยึด หลักการ ภาษาอังกฤษ 12 Tense

เมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ ความเหมือน และ แตกต่าง ของ ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ต้องการ เรียนบาลีด้วยตนเอง มีเวลาน้อย สำหรับคนทำงาน

12 Tense


โครงสร้างภาษาบาลี โครงสร้างประโยค ภาษาบาลี




วีดีโอ การเปรียบเทียบ โครงสร้าง ภาษาอังกฤษ และ ภาษาบาลี






วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สรุปบาลีไวยยากรณ์ สำหรับ ผู้เริ่มต้น หรือ เพื่อการศึกษาบาลี ด้วยตนเอง และ สำหรับคนทำงาน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการอ่านพระไตรปิฎก

 สรุปบาลีไวยยากรณ์ สำหรับ ผู้เริ่มต้น

ในประโยคบาลี ประกอบ ด้วย บท(คำศัพท์) มาต่อกันเป็นประโยค
นามศัพท์ หรือ บทนาม ต้องประกอบไปด้วยวิภัตติ จึงจะนำมาใช้ได้
อาขยาต คือ คำกริยา ประกอบไปด้วย ธาตุ (กลุ่มความหมายศัพท์) + ปัจจัย + วิภัตติ ของคำกริยา (ตัวบอกกาล หรือ Tense ในแบบภาษาอังกฤษ)
กิตก์ ประกอบไปด้วย กริยากิตก์ และ นามกิตก์ (ประกอบด้วย วิภัตติ แบบนาม เพื่อให้เป็นกิตก์บท หรือ ศัพท์ที่นำมาใช้ได้)

สมาส คือ การย่อบทตั้งแต่สองบทขึ้นไปเข้าด้วยกัน
ตัทธิต คือ การย่อบทกับปัจจัยเข้าด้วยกัน

ตำราและเครื่องมือ ที่ขาดไม่ได้ สำหรับการเรียนบาลี
รูปสิทธิทีปนี 1-7
กัจจายนสูตรแปล (ท่อง)
ThaiNewGenDict
LibreOffice
Thai_Tipitaka





วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การนับเลข ๓ และ ๔ วิภัติ แบบครบถ้วน

 การนับเลข ๓ และ ๔ วิภัติ แบบครบถ้วน

ปกติสังขยา วิเสสนสัพพนาม
เอก ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) แปลออกสำเนียง อายตนิบาตแห่งวิภัตติไม่ได้
เอก ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นได้ ๓ ลิงค์
ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นพหุวจนะอย่างเดียว

สามปุงลิงค์


สามบาลี อิตถีลิงค์


สามบาลี นปุงฯ



สี่บาลี ปุงลิงค์





เลขสี่บาลี อิตถีลิงค์



เลขสี่บาลี นปุงฯ









วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2563

ชี้ช่องรวย ด้วยธรรมมะ วิธีรวย ด้วย Windows 10 แท้ ซอฟต์แวร์ฟรี โปรแกรม คล้าย excel LibreOffice Calc อยากรวย เรามี วิธีทําให้รวย มาบอก (ภาคภาษาบาลี)

 ชี้ช่องรวย ด้วยธรรมมะ วิธีรวย ด้วย Windows 10 แท้ ซอฟต์แวร์ฟรี โปรแกรม คล้าย excel LibreOffice Calc  อยากรวย เรามี วิธีทําให้รวย มาบอก (ภาคภาษาบาลี)

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23

พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙

ข้อที่ 144 ทีฆชาณุสูตร

ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ 4 ประการ

..
กตเม จตฺตาโร อุฏฺฐานสมฺปทา อารกฺขสมฺปทา กลฺยาณมิตฺตตา สมชีวิตา
..

ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ 4 ประการ

..
จตฺตาริ อายมุขานิ โหนฺติ นอิตฺถีธุตฺโต นสุราธุตฺโต นอกฺขธุตฺโต กลฺยาณมิตฺโต กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโก
..


เนื้อความสรุปภาษาไทยดูได้จากที่นี่



วิธีทำให้รวย ภาคปฏิบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

พระพุทธเจ้า ชี้ช่องรวย อยากรวย วิธีทําให้รวย วิธีรวย

ทีฆชาณุสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23

พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙ ข้อที่ 144

ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
 เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉนคือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑
กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑
...
อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่น
ประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ
ฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้ 
...
อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคทรัพย์ที่หามาได้
ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัวชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
 เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูลด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึง
บริโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
จะไม่พึงลักไป
...
กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือ
นิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือ
บุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ
ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
 ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
...
สมชีวิตเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อม
แห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนักไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้
ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูกรพยัคฆปัชชะ
เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้
หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้อง
เหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
...

ทางเสื่อมโภคทรัพย์

โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ
คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑



วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563

ประวัติศาสตร์ การนับเลขภาษาบาลี ตัวเลข ภาษาบาลี ตั้งแต่ สิบล้านขึ้นไป และ วิทยาศาสตร์ ในมุมมอง วิศวกร

ตัวเลข ภาษาบาลี ทำให้เรารู้ว่า วิทยาศาสตร์ ตามหลังพุทธศาสตร์ จริงหรือไม่

ปัจจุบันหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันในรูปแบบการเขียนหรือการนับใด ๆ คือรอยขีดข่วนบนกระดูกเมื่อ 150,000 ปีก่อน แต่หลักฐานที่มั่นคงอย่างแรกในการนับในรูปแบบของหมายเลขหนึ่งมาจากสองหมื่นปีที่แล้ว
นักสัตววิทยาบอกเราว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์สามารถนับได้ถึงสามหรือสี่ตัวเท่านั้น
นักมานุษยวิทยาบอกเราว่าในสุมาประมาณ 4,000 ก่อนคริสตศักราชชาวสุเมเรียนใช้โทเค็นเพื่อแสดงตัวเลข คำนวณกำไร และการสูญเสียและทำให้เกิดการบัญชี
สังคมดั้งเดิมอื่น ๆ เช่น Wiligree of Central Australia ไม่เคยใช้ตัวเลขและไม่รู้สึกว่าจำเป็น
ชาวอียิปต์ใช้ระบบการนับจำนวนและการวัดเพื่อสร้างอาคารขนาดใหญ่
ในปี 520 ก่อนคริสตศักราช Pythagorus ก่อตั้งโรงเรียนคณิตศาสตร์มังสวิรัติของเขาในกรีซ เขาชื่นชอบรูปทรงเรขาคณิต
ศาสนาพุทธมีอายุ 543 ปีก่อนคริสตศักราช
เว็บไซต์นี้ยังกล่าวว่า
ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของเขาได้รับการให้เครดิตแก่เขาแม้ว่าจะมีตำราของอินเดียโบราณพระสูตรสุลวา (800 ก่อนคริสตศักราช) และ ชตาพะทา พราห์มนะ (ศตวรรษที่ 8 ถึง 6 ก่อนคริสตศักราช) พิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีบทนี้เป็นที่รู้จักในอินเดียประมาณสองพันปีก่อนที่เขาจะเกิด
นั่นหมายถึงในปัจจุบันระบบเลขที่ซับซ้อน ได้อิทธิพลมาจากตำราของอินเดียโบราณ
ตำราบาลี โบราณ จากตำรา เรียนวัดท่ามะโอ ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง
ได้อธิบายไว้ชัดเจน ถึง ระบบเลข ในยุคพุทธกาล ที่ระบุไว้ ถอดความในรูปแบบ เลขยกกำลัง มีถึง 10^(140)
ในขณะที่ Albert Einstein ได้ค้นพบ

E= m*(c^2)

E คือ พลังงาน
m คือ มวล ของวัตถุ
speed of light (c) approximately 3*(10^8) m/s

ปัจจุบัน มนุษย์ ยังไม่สามารถ ทำความเร็วของวัตถุ ให้มี ความเร็ว เร็วกว่า ความเร็วแสงได้
อีกทั้ง ระยะทาง ในการเดินทาง ยังถูกจำกัดด้วยพลังงาน
มีหลากหลายพระสูตรใน พระไตรปิฎก ของพระพุทธศาสนา ได้มีการอ้างอิงถึงจักรวาลอื่น
จากเรื่องระบบตัวเลข ที่ได้เรียนรู้จากตำราโบราณ ทางพระพุทธศาสนา
อาจเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราต้องหันกลับมามองปัจจุบันว่า อะไร คือคำตอบของชีวิต
เทคโนโลยี และ จักรวาล ที่เราพยายามหาคำตอบอยู่นั้น
อาจมีเพียงพลังแห่งชีวิตของเราเท่านั้นที่สามารถข้ามจักรวาลได้

จุดประสงค์ ของคลิปนี้ เพื่อเปรียบเทียบลำดับความคิดในเชิงพระพุทธศาสนากับลำดับความคิดในเชิงวิทยาศาสตร์





วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563

เลขยกกําลัง จำนวน สิบล้าน ขึ้นไป ใน ภาษาบาลีคืออะไร ในมุมมอง วิศวกร

การวิเคราะห์ เลขบาลี ตั้งแต่ 10 ล้านขึ้นไป ในมุมมอง วิศวกร

ถ้าเข้าใจ ภาษาบาลี จะทำให้เข้าใจ ระบบเลขยกกำลังได้ดีขึ้น
วิทยาศาสตร์ชั้นสูง เริ่มต้นจาก ระบบเลขยกกำลังนี้

สังขยา จำนวน โกฏิ (สิบล้าน) ขึ้นไป แสนของจำนวนนั้นๆ คูณด้วยร้อยเสมอ ดังนี้
สตสหสฺสานํ สตํ โกฏิ อ.ร้อย แห่งแสน ท. ชื่อว่าโกฏิ
100*100,000 = 10,000,000 = 10^(7)

โกฏิสตสหสฺสานํ สตํ ปโกฏิ. อ.ร้อย แห่งแสนโกฏิ ท. ชื่อว่าปโกฏิ.
100*100,000*10^(7) = 10^(7)*10^(7) = 10^(7+7) = 10^(14)

ปโกฏิสตสหสฺสานํ สตํ โกฏิปฺปโกฏิ. อ.ร้อย แห่งแสนปโกฏิ ท. ชื่อว่าโกฏิปฺปโกฏิ.
10^(7)*10^(14) = 10^(7+14) = 10^(21)

โกฏิปฺปโกฏิสตสหสฺสานํ สตํ นหุตํ. อ.ร้อย แห่งแสนโกฏิปโกฏิ ท. ชื่อว่านหุต.
10^(21+7) = 10^(28)

นหุตสตสหสฺสานํ สตํ นินฺนหุตํ. อ.ร้อย แห่งแสนนหุต ท. ชื่อว่านินฺนหุต.
10^(28+7) = 10^(35)

นินฺนหุตสตสหสฺสานํ สตํ อกฺโขภินี. อ.ร้อย แห่งแสนนินนหุต ท. ชื่อว่าอกฺโขภินี.
10^(35+7) = 10^(42)

อกฺโขภินีสตสหสฺสานํ สตํ พินฺทุ. อ.ร้อย แห่งแสนอักโขภินี ท. ชื่อว่าพินฺทุ.
10^(42+7) = 10^(49)

พินฺทุสตสหสฺสานํ สตํ อพฺพุทํ. อ.ร้อย แห่งแสนพินทุ ท. ชื่อว่าอพฺพุท.
10^(56)

อพฺพุทสตสหสฺสานํ สตํ นิรพฺพุทํ. อ.ร้อย แห่งแสนอัพพุทะ ท. ชื่อว่านิรพฺพุท.
10^(63)

นิรพฺพุทสตสหสฺสานํ สตํ อหหํ. อ.ร้อย แห่งแสนนิรัพพุทะ ท. ชื่อว่าอหห.
10^(70)

อหหสตสหสฺสานํ สตํ อพพํ. อ.ร้อย แห่งแสนอหหะ ท. ชื่อว่าอพพ.
10^(77)

อพพสตสหสฺสานํ สตํ อฏฏํ. อ.ร้อย แห่งแสนอพพะ ท. ชื่อว่าอฏฏ.
10^(84)

อฏฏสตสหสฺสานํ สตํ โสคนฺธิกํ. อ.ร้อย แห่งแสนอฏฏะ ท. ชื่อว่าโสคนฺธิก.
10^(91)

โสคนฺธิกสตสหสฺสานํ สตํ อุปฺปลํ. อ.ร้อย แห่งแสนโสคันธิกะ ท. ชื่อว่าอุปฺปล.
10^(98)

อุปฺปลสตสหสฺสานํ สตํ กุมุทํ. อ.ร้อย แห่งแสนอุปปละ ท. ชื่อว่ากุมุท.
10^(105)

กุมุทสตสหสฺสานํ สตํ ปุณฺฑรีกํ. อ.ร้อย แห่งแสนกุมุท ท. ชื่อว่าปุณฺฑรีก.
10^(112)

ปุณฺฑรีกสตสหสฺสานํ สตํ ปทุมํ. อ.ร้อย แห่งแสนปุณฑรีกะ ท. ชื่อว่าปทุม.
10^(119)

ปทุมสตสหสฺสานํ สตํ กถานํ. อ.ร้อย แห่งแสนปทุม ท. ชื่อว่ากถาน.
10^(126)

กถานสตสหสฺสานํ สตํ มหากถานํ. อ.ร้อย แห่งแสนกถานะ ท. ชื่อว่ามหากถาน.
10^(133)

มหากถานสตสหสฺสานํ สตํ อสงฺเขฺยยฺยํ. อ.ร้อย แห่งแสนมหากถานะ ท. ชื่อว่าอสงฺเขฺยยฺย
10^(140)

สรุปจาก ตำราเรียน วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง
โดย พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

(จะมีคลิป วีดีโอ ตามมาในไม่ช้า)




วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรียน บาลี สังขยา การต่อ สังขยา บาลี การนับ ตัวเลข ในภาษาบาลี นับเลขภาษาบาลี ศูนย์ ภาษาบาลี นับเลขบาลี 1-100 กว่าสิบล้าน ขึ้นไป

ปกติสังขยา

การนับ ตัวเลขภาษาบาลี อื่นๆ เช่น หก ภาษาบาลี 

คำอ่านบาลี1 คำอ่านบาลี2 คำอ่านบาลี3 Number คำอ่านเงินตรา Len คำอ่านปกติ ปกติสังขยา ข้อจำกัดการใช้ 1 ข้อจำกัดการใช้ 2 ข้อจำกัดการใช้ 3 ข้อจำกัดการใช้ 4

0 ศูนย์บาทถ้วน 12 ศูนย์




เอก

1 หนึ่งบาทถ้วน 12 หนึ่ง ปกติสังขยา วิเสสนสัพพนาม เอก ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) แปลออกสำเนียง อายตนิบาตแห่งวิภัตติไม่ได้ เอก ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นได้ ๓ ลิงค์ เอกสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ทฺวิ

2 สองบาทถ้วน 10 สอง ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นพหุวจนะอย่างเดียว
ติ

3 สามบาทถ้วน 10 สาม
จตุ

4 สี่บาทถ้วน 10 สี่
ปญฺจ

5 ห้าบาทถ้วน 10 ห้า


6 หกบาทถ้วน 9 หก
สตฺต

7 เจ็ดบาทถ้วน 11 เจ็ด
อฏฺฐ

8 แปดบาทถ้วน 10 แปด
นว

9 เก้าบาทถ้วน 11 เก้า
ทส

10 สิบบาทถ้วน 10 สิบ
เอกาทส

11 สิบเอ็ดบาทถ้วน 14 สิบเอ็ด
ทฺวาทส พารส
12 สิบสองบาทถ้วน 13 สิบสอง
เตรส

13 สิบสามบาทถ้วน 13 สิบสาม
จตุทฺทส จุทฺทส โจทฺทส 14 สิบสี่บาทถ้วน 13 สิบสี่
ปญฺจทส ปณฺณรส ปนฺนรส 15 สิบห้าบาทถ้วน 13 สิบห้า
โสฬส

16 สิบหกบาทถ้วน 12 สิบหก
สตฺตรส

17 สิบเจ็ดบาทถ้วน 14 สิบเจ็ด
อฏฺฐารส

18 สิบแปดบาทถ้วน 13 สิบแปด
เอกูนวีสติ อูนวีส
19 สิบเก้าบาทถ้วน 14 สิบเก้า เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว เป็นเอกวจนะอย่างเดียว ตั้งแต่ เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
วีส วีสติ
20 ยี่สิบบาทถ้วน 13 ยี่สิบ
เอกวีสติ

21 ยี่สิบเอ็ดบาทถ้วน 17 ยี่สิบเอ็ด
ทฺวาวีสติ พาวีสติ
22 ยี่สิบสองบาทถ้วน 16 ยี่สิบสอง
เตวีสติ

23 ยี่สิบสามบาทถ้วน 16 ยี่สิบสาม
จตุวีสติ

24 ยี่สิบสี่บาทถ้วน 16 ยี่สิบสี่
ปญฺจวีสติ

25 ยี่สิบห้าบาทถ้วน 16 ยี่สิบห้า
ฉพฺพีสติ

26 ยี่สิบหกบาทถ้วน 15 ยี่สิบหก
สตฺตวีสติ

27 ยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน 17 ยี่สิบเจ็ด
อฎฺฐวีสติ

28 ยี่สิบแปดบาทถ้วน 16 ยี่สิบแปด
เอกูนตึส อูนตึส
29 ยี่สิบเก้าบาทถ้วน 17 ยี่สิบเก้า
ตึส ตึสติ
30 สามสิบบาทถ้วน 13 สามสิบ
เอกตฺตึส

31 สามสิบเอ็ดบาทถ้วน 17 สามสิบเอ็ด
ทฺวตฺตึส พาตฺตึส
32 สามสิบสองบาทถ้วน 16 สามสิบสอง
เตตฺตึส

33 สามสิบสามบาทถ้วน 16 สามสิบสาม
จตุตฺตึส

34 สามสิบสี่บาทถ้วน 16 สามสิบสี่
ปฺจตฺตึส

35 สามสิบห้าบาทถ้วน 16 สามสิบห้า
ฉตฺตึส

36 สามสิบหกบาทถ้วน 15 สามสิบหก
สตฺตตฺตึส

37 สามสิบเจ็ดบาทถ้วน 17 สามสิบเจ็ด
อฏฺฐตฺตึส

38 สามสิบแปดบาทถ้วน 16 สามสิบแปด
เอกูนจตฺตาฬีส อูนจตฺตาฬีส
39 สามสิบเก้าบาทถ้วน 17 สามสิบเก้า
จตฺตาฬีส ตาลีส
40 สี่สิบบาทถ้วน 13 สี่สิบ
เอกจตฺตาฬีส

41 สี่สิบเอ็ดบาทถ้วน 17 สี่สิบเอ็ด
เทฺวจตฺตาฬีส

42 สี่สิบสองบาทถ้วน 16 สี่สิบสอง
เตจตฺตาฬีส

43 สี่สิบสามบาทถ้วน 16 สี่สิบสาม
จตุจตฺตาฬีส

44 สี่สิบสี่บาทถ้วน 16 สี่สิบสี่
ปฺจจตฺตาฬีส

45 สี่สิบห้าบาทถ้วน 16 สี่สิบห้า
ฉจตฺตาฬีส

46 สี่สิบหกบาทถ้วน 15 สี่สิบหก
สตฺตจตฺตาฬีส

47 สี่สิบเจ็ดบาทถ้วน 17 สี่สิบเจ็ด
อฏฺฐจตฺตาฬีส

48 สี่สิบแปดบาทถ้วน 16 สี่สิบแปด
เอกูนปญฺญาส อูนปญฺญาส
49 สี่สิบเก้าบาทถ้วน 17 สี่สิบเก้า
ปญฺญาส ปณฺณาส
50 ห้าสิบบาทถ้วน 13 ห้าสิบ
สฏฺฐิ

60 หกสิบบาทถ้วน 12 หกสิบ
สตฺตติ

70 เจ็ดสิบบาทถ้วน 14 เจ็ดสิบ
อสีติ

80 แปดสิบบาทถ้วน 13 แปดสิบ
นวุติ

90 เก้าสิบบาทถ้วน 14 เก้าสิบ
สตํ

100 หนึ่งร้อยบาทถ้วน 16 หนึ่งร้อย เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนามนาม แปลออกสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตติได้ เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนปุงสกลิงค์อย่างเดียว ได้ ๒ วจนะ ตั้งแต่ เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็น นปุงสกลิงค์ ได้ ๒ วจนะ
สหสฺสํ

1,000 หนึ่งพันบาทถ้วน 15 หนึ่งพัน
ทสสหสฺสํ

10,000 หนึ่งหมื่นบาทถ้วน 17 หนึ่งหมื่น
สตสหสฺสํ ลกฺขํ
100,000 หนึ่งแสนบาทถ้วน 15 หนึ่งแสน
ทสสตสหสฺสํ

1,000,000 หนึ่งล้านบาทถ้วน 16 หนึ่งล้าน
โกฏิ

10,000,000 สิบล้านบาทถ้วน 14 สิบล้าน โกฏิ เป็นอิตถีลิงค์ ได้ ๒ วจนะ


ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ เป็นวิเสสนสัพพนาม
เอก ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) แปลออกสำเนียง อายตนิบาตแห่งวิภัตติไม่ได้
เอก ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นได้ ๓ ลิงค์
เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว
เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนปุงสกลิงค์อย่างเดียว
โกฏิ เป็นอิตถีลิงค์
เอกสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นพหุวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็น นปุงสกลิงค์ ได้ ๒ วจนะ

ปกติสังขยา
เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนามนาม แปลออกสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตติได้

ปูรณสังขยาทั้งปวง เป็นคุณนาม เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ แต่เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ปูรณสังขยา นับจำนวนที่เต็ม หรือนับตามลำดับ เช่น ที่๑ ที่๒ ที่๓ ...


คาถาแสดงการจำแนกสังขยาโดยลิงค์และวจนะ

ทฺวาทโย อฏฺฐารสนฺตา  ติลิงฺเค พหุวาจกา
วีสตฺยาที นวุตฺยนฺตา  อิตฺถิลิงฺเคกวาจกา
สตาที อสงฺเขฺยยฺยนฺตา นปุํ  สกา ทฺวิวาจกา
โกฏิปฺปภุตฺยกฺโขภิณี  อิตฺถิลิงฺคา ทฺวิวาจกา.

ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็น ๓ ลิงค์ พหุวจนะ
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นอิตถีลิงค์ เอกวจนะ
ตั้งแต่ เอกูนสตํ (๙๙) ถึง อสงฺเขฺยยฺย เป็นนปุงสกลิงค์ ๒ วจนะ
โกฏิ (๑๐ ล้าน), ปโกฏิ (๑๐๐*แสน*๑๐ล้าน), โกฏิปฺปโกฏิ (๑๐๐*แสน*ปโกฏิ), อกฺโขภิณี เป็นอิตถีลิงค์ ๒ วจนะ

นหุตํ (๑๐๐*แสน*โกฏิปฺปโกฏิ)
นินฺนหุตํ (๑๐๐*แสน*นหุตํ)
อกฺโขภิณี (๑๐๐*แสน*นินฺนหุตํ)

กาที ฏาที ยการาที นวสงฺขฺยา ปกาสิตา,
ปญฺจสงฺขฺยา ปการาที สุญฺญา นาม สรญฺญนา.
อักษรมี ก เป็นต้น อักษรมี ฏ เป็นต้น และอักษรมี ย
เป็นต้น ถูกแสดงแล้วว่าเป็นสังขยาตั้งแต่ ๑ - ๙, อักษรมี
ป เป็นต้น ถูกแสดงแล้วว่าเป็นสังขยาตั้งแต่ ๑ - ๕ และ
สระแปดตัว, ญ และ นอักษร ถูกแสดงแล้วว่าชื่อว่าศูนย์

รายละเอียดเพิ่มเติม จาก ดิคบาลี คาถาธรรมบท ๑-๔
อสงฺเขยฺย  ๑ น.,นปุ. อสงไขย แจกเหมือน กุล เช่น  ป. เอก. อสงฺเขยฺยํ อ. อสงไขย คำว่า อสงไขย แปลว่า นับไม่ได้, คำนวณ ไม่ได้ คือระยะเวลายาวนานมากจนนับไม่ได้ ๑ อสงไขย = โกฏิยกกำลัง ๒๐
๒ ว. อันมีอสงไขยเป็นประมาณ ลง ณ ปัจจัยในปริมาณตัทธิต

โกฏิ น.,อิต. ที่สุด,ปลาย แจกเหมือน รตฺติ
๑ โกฏิ = ๑๐ ล้าน

โกฏิ น.,อิต. ที่สุด,ปลาย แจกเหมือน รตฺติ
๑ โกฏิ = ๑๐ ล้าน

จุดสังเกตุ
อูน แปลว่า พร่อง ใช้ใน สังขยา ในภาษาบาลี เช่น โปรดติดตามใน วีดีโอ



สรุปจากตำราเรียน วัดท่ามะโอ

หนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม พม.ต่วน พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
บาลีดิค ThaiNewGenDict คาถาธรรมบท ๑-๔

บันทึกเลขบาลี ลงบาลีดิก แบบฝึกหัด สังขยา นับเลขภาษาบาลี ศูนย์ ภาษาบาลี นับเลขบาลี 1-100 กว่าสิบล้าน