วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

ทำตัวรูปกิริยา อาขยาต และ แต่งประโยค 25 Mar 2020

การเรียนออนไลน์บาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ 25 Mar 2020

แปลบทกิริยาเหล่านี้ พร้อมเฉลย

เฉลย ท่านอาจารย์บุญถนอม นพโสภณ

ส่วนที่ถูกแล้วไม่แก้ไข ดูตามคุณสันต์ นะครับ แปลแต่ละคำได้ ก็ สาธุ สาธุ แล้วครับ แยกธาตุ ปัจจัยได้ถือว่าเป็นกำไร ครับ คำแปลควรจำให้ขึ้นใจ ทวนบ่อยๆ 
ปจฺจาคจฺฉติ ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ
ปทุสฺสติ  = ป บทหน้า+ยวิกรณปัจจัย+ติ / ทิวาทิ. (ทำร้าย,ประทุษร้าย)
จงฺกมติ  เทฺวภาวะ เป็น ก -กมุ+อ+ติ แปลง ก ที่เทฺวภาวะมาเป็น จ ลง นิคคหิตอาคมท้ายอัพภาส แล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตะ ง
ปกฺขนฺทติ = ป+ขนฺท+อ+ติ  (กฺ เทฺวภาวะ) ไม่ใช่ อนฺต เพราะเป็น กิ.อาขฺยาตครับ ถ้าลง อนฺต จะมีรูปเป็นกิ.กิตก์ว่า ปกฺขนฺทนฺโต
ปุจฺฉติ ย่อมถาม /พอมี อา บทหน้า แปลว่า ถามโดยเอื้อเฟื้อ หรือ บอกลา ครับ

ปกฺขนฺทติ+อิติ ,อิติ (แปลว่า ว่า..ดังนี้ ทำสนธิกันกับ ปกฺขนฺทติ. เช่น ถามเป็นบาลีว่า อาหารํ ภุญฺชตีติ วากฺยํ สกภาสาย ปริวตฺเตหิ. ท่านจงแปลวากยะว่า อาหารํ ภุญฺชติ 
ถ้านำบทอื่นมาไว้ท้าย เช่น นีสีทติ+อิติ ก็เป็น นิสีทตีติ ว่า นิสีทติ น่าจะชัดนะครับ

นิสีทติ
๑ นั่ง สิ้นสุดการไป (อยู่) (ย่อม) นั่ง สิ้นสุดการไป (จะ) นั่ง สิ้นสุดการไป
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
นิบทหน้า + สทธาตุ + อปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ
ปรัสบท เอก ปฐม

อาคจฺฉติ
ย่อมมา
คจฺฉติ แปลว่า ย่อมไป ใส่ อา อุปสัค
เข้าไปข้างหน้าธาตุ เรียกว่า ธาตฺวตฺถพาธก อุปสัค
อา + คมุ + อ + ติ

อุคฺคจฺฉติ
ย่อมขึ้นไป
(อุ อุปสัค+ คมุ ธาตุ + อ + ติ)


ปจฺจาคจฺฉติ
ไปหุง ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ

ปุจฺฉติ
ย่อมถาม ปุจฺฉ ปุจฺฉเน ในการถาม + อ + ติ

อาปุจฺฉติ
ย่อมถาม โดยเอื้อเฟื้อ อา- อาทร + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม, ความอำลา + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตต มานาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น อาปุจฺฉติ

ปทุสฺสติ
ประทุษร้าย
ป บทหน้า+ยวิกรณปัจจัย+ติ / ทิวาทิ. (ทำร้าย,ประทุษร้าย)

จงฺกมติ
ก้าวเท้า เดิน (อยู่) (ย่อม) ก้าวเท้า เดิน (จะ) ก้าวเท้า เดิน
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
กมุธาตุ + อปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ จงฺกม
ปรัสบท เอก ปฐม

เทฺวภาวะ เป็น ก -กมุ+อ+ติ แปลง ก ที่เทฺวภาวะมาเป็น จ ลง นิคคหิตอาคมท้ายอัพภาส แล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตะ ง

อนุคจฺฉติ
ย่อมติดตาม

ปกฺขนฺทตีติ
ก. แล่นไปอยู่ ป + ขนฺท ธาตุ ในความแล่นไป + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺต ปัจจัย ได้เป็น ปกฺขนฺทนฺต ดู อกิลมนฺต
วัตตมานาวิภัตติ ปรัสบท ปฐมบุรุษ เอกวจน

ปูพื้นฐานประโยค

บุรุษและสตรีรับประทานอาหารที่บ้านของตน
ปุริโส จ กญฺญา จ นิลยสฺส อตฺตโน อาหารํ ภุญฺชติ
อ.บุรุษ ด้วย สตรี ด้วย ย่อมรับประทานซึ่งอาหาร แห่งเรือน ของตน
ปุริโส จ อิตฺถี จ นิลยสฺส อตฺตโน อาหารํ ภุญฺชติ

แบบฝึกหัดประจำวัน

ฝึกเขียน ประโยคบาลี
บุรุษและสตรีรับประทานอาหารที่บ้านของตน

เฉลย
เฉลย: ปุริโส จ อิตฺถี จ อตฺตโน ฆเร ภตฺตํ ภุญฺชติ. หรือใช้กิริยาเป็นรูปพหูพจน์ก็ได้ว่า ภุญฺชนฺติ หมายความว่า การใช้กิริยาเป็นรูปเอกพจน์นั้นเรียกว่า ชาตยาเปกขะ มองหาศัพท์ชนิดหรือประเภทเดียวกัน ส่วนการใช้กิริยาเป็นรูปพหูพจน์นั้นเรียกว่า ทัพพาเปกขะ มองหาทัพพะ (ตัวบุคคล, สิ่งของ เป็นต้น) นี่คือจุดเน้นในการเขียน ไม่ต้องนำนิบาตตัวอื่นมาเขขียนผสมเพราะถามไว้ชัดเจนแล้วว่า บุรุษและสตรีทานอาหารในเรือนของตน คำที่แปลว่าบ้านมีหลายศัพท์ ให้เลือกใช้เอง แต่ข้อสำคัญคือลงวิภัตติให้ตรงความหมาย ดังนั้นคำว่า ที่บ้าน,ในเรือน เป็นอาทิ ต้องลงสัตตมีวิภัตติ (อายตนิบาต คำเชื่อม คือ ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน)

นิลยสฺส ไม่ถูกต้อง ต้องเป็น นิลเย ตามที่คุณ สันต์เขียนมา เขียนเต็มว่า ปุริโส จ อิตฺถี จ อตฺตโน นิลเย ภุญฺชนฺติ. (หรือ นิลยมฺหิ นิลยสฺมึ สัตตมีวิภัตติ)

เขียนตกคำหนึ่ง ว่า ....ภตฺตํ ภุญฺชนฺติ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ