แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมแท้ๆจากพระไตรปิฏก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมแท้ๆจากพระไตรปิฏก แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

อานิสงส์ อานาปานสติ

 อานิสงส์ อานาปานสติ

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 31

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค

อานาปานสฺสติ ยสฺส        ปริปุณฺณา สุภาวิตา
อนุปุพฺพํ ปริจิตา           ยถา พุทฺเธน เทสิตา
โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ   อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมาติ ฯ

ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว
ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม
ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก
ฉะนั้น ฯ

วีดีโอ ภาพ เสียง โดย ท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง



วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ธรรม จากโบราณสถาน เมืองโบราณ ศรีเทพ กับ คาถายอดนิยมในอดีต

 ธรรม เกิดแต่เหตุ คาถายอดนิยมในอดีต

เมืองโบราณ ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" 
ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์
และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อ พ.ศ. 2447-2448
เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ สมัย พุทธศตวรรษที่ 8 ถึง 18 (พศ.8xx-18xx)

โดยในเมืองโบราณ แห่งนี้ได้พบ หินศิลาบางส่วน เป็นอักษร คาดว่าเป็น อินเดีย โบราณ มีข้อความว่า
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา       เตสํ เหตุํ ตถาคโต (อาห)
 เตสญฺจ โย นิโรโธ         เอวํวาที มหาสมโณ

จากการสืบค้น ธรรมบทนี้ มีระบุใน พระไตรปิฎก โดยมีรายละเอียดดังนี้

พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 04
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา

อถโข   อายสฺมา   อสฺสชิ   สารีปุตฺตสฺส   ปริพฺพาชกสฺส
อิมํ ธมฺมปริยายํ อภาสิ 
** เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา       เตสํ เหตุํ ตถาคโต (อาห)
 เตสญฺจ โย นิโรโธ         เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ **

ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-
**ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ
ทรงสั่งสอนอย่างนี้.**
สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม




เครดิตภาพ Thai PBS


วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

จิตคืออะไร

 จิตคืออะไร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 29

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๙ มหานิทเทส

ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต 

[๗๐๖] 

คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน
เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ
ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี
ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง 
..
จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น.
ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน
มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

บาลีสยามรัฐ

[๗๐๖]   ยากาจิ   ตณฺหา   อชฺฌตฺตนฺติ  ยากาจีติ  สพฺเพน  สพฺพํ
สพฺพถา   สพฺพํ   อเสสํ   นิสฺเสสํ   ปริยาทายวจนเมตํ   ยากาจีติ   ฯ
ตณฺหาติ    รูปตณฺหา    ฯเปฯ   ธมฺมตณฺหา   ฯ   อชฺฌตฺตนฺติ   อชฺฌตฺตํ
สมุฏฺฐาติ   ๑   สา   ตณฺหาติ   อชฺฌตฺตํ  ฯ  อถวา  อชฺฌตฺติกํ  วุจฺจติ
จิตฺตํ    ยํ   จิตฺตํ   มโน   มานสํ   หทยํ   ปณฺฑรํ   มโน   มนายตนํ
มนินฺทฺริยํ    วิญฺญาณํ    วิญฺญาณกฺขนฺโธ    ตชฺชา   มโนวิญฺญาณธาตุ   ฯ
จิตฺเตน   มนสา   สา   ตณฺหา  สหคตา  สหชาตา  สํสฏฺฐา  สมฺปยุตฺตา
เอกุปฺปาทา    เอกนิโรธา   เอกวตฺถุกา   เอการมฺมณาติปิ   อชฺฌตฺตนฺติ
ยากาจิ ตณฺหา อชฺฌตฺตํ ฯ

เครดิตภาพ sanook.com



วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 (31+1) อย่าง บ้างก็เรียก อาการ 32 กรรมฐาน 32 กอง

 ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 อย่าง

ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 ประการ เดิมที มี 31 
คำว่า มตฺถลุงฺคํ เดิมทีนั้นในพุทธสุภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมคำว่า มตฺถลุงฺคํ เยื่อในสมองไว้ในคำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ คือ เยื่อในกระดูกแล้ว
ในเวลามีการจัดหมวดหมู่ เป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้ท่องได้ง่าย ดังนี้
เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ,
มํสํ นหารู อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ,
หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ, 
อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ, 
ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท, 
อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตนฺติ

แปลความว่า ในร่างกายเรานี้มีส่วนต่างๆ อยู่ คือ

            ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง 
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม 
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด 
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง เลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร 












วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

พระธรรมเทศนา เทศนาธรรม เรื่องความตาย โดย พระมหาวีรชัย นันทะวังโส ป.ธ.๙ แห่ง วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

 เทศนาธรรม เรื่อง ความตาย เรื่องราวจากพุทธพจน์ การพิจารณาอย่างไร เพื่อไม่ให้ต้องตายอีก โดย พระมหาวีรชัย นันทะวังโส ป.ธ.๙ แห่ง วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

ประโยค พระบาลี ที่มักใช้ในกลุ่มศิษย์ บาลีไวยากรณ์ใหญ่ วัดท่ามะโอ ซึ่งจะแตกต่างจากที่ใช้กันอยู่ทั่วไปดังในคลิปแสดงธรรม (ใช้ได้ทั้งสองแบบ)
คาถาอาราธนาธรรม (หลวงพ่อวัดท่ามะโอ)
กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส  
โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย  
เทเสตุ ธมฺมเทสนํฯ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เวลาฟังพระสัทธรรมมาถึงพร้อมแล้ว พวกข้าพเจ้าปรารถนาฟังพระธรรมเทศนาของพระจอมมุนี ขอท่านโปรดอาศัยเมตตานุเคราะห์ แสดงพระธรรมเทศนาให้ข้าพเจ้าทั้งหลายรับฟังเถิด
กาพย์ยานี 11 คำประพันธ์
ปวงข้าพเจ้าทั้งหลาย  มีจิตหมายฟังพระธรรม
ขอท่านโปรดแนะนำ  พระธรรมขององค์มุนี
เมตตาอนุเคราะห์  เวลาเหมาะสิริดี
แสดงธรรมประดามี  แก่ปวงข้าพเจ้าเทอญฯ



วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 3

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 3

พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต

สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

พาหุสัจจะ (การมีความรู้มาก) ๑ ศิลป (การทำงานช่าง) ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต (การพูดด้วยถ้อยคำไพเราะห์) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๔ ๑๐ ๓๘)


มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห

อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การบำรุงมารดา บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล (การสะสางการงานไม่ให้ยุ่งเหยิง) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๑๓ ๓๘)


ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ ญาตกานญฺจ สงฺคโห

อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การให้ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ (การงานที่ปราศจากโทษ) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๔ ๑๗ ๓๘)




วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 2

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 2

ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา

อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ


การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๖ ๓๘)





วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 1

 เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี


อถ โข อญฺญตรา เทวตา

อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺปํ เชตวนํ

โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ

อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา

ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ

ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามแห่งราตรีล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อถึงที่ประทับ ได้ถวายบังคม(อภิวาท) แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

   

พหู เทวา มนุสฺสา จ มงฺคลานิ อจินฺตยุํ

อากงฺขมานา โสตฺถานํ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล อันประเสริฐเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า)


อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา

ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล  (๓ ๐ ๓๘)



วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07
พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
...
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติ
พราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
บังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระ    พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ
ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา   บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
       พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก   เธอจึงได้
กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้
เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น   ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา  รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
ยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา    สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรา
อนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ



ภาษา อังกฤษ บาลี ภาษาไทย มาจากภาษาเดียวกัน? พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ใช่ภาษาบาลี หรือไม่





วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ภิกษุ หน้าที่ มีอะไรบ้าง ตาม พระไตรปิฎก อากังขสูตร

หน้าที่ของภิกษุ ตาม พระไตรปิฎก อากังขสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 24
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
ข้อที่ 71
 อากังขวรรคที่ ๓
                          อากังขสูตร
     [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
พระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์
อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจรอยู่เถิด จง
เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจที่เคารพ และที่ยกย่องของ
สพรหมจารีทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความ
สงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย
ไซร้ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด ขอสักการะ
ของชนเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า ญาติสาโลหิตเหล่าใด ผู้ละไปแล้ว
กระทำกาละแล้วมีจิตเลื่อมใส ย่อมตามระลึกถึง ขอการระลึกถึงแห่งญาติสาโลหิตเหล่านั้นพึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ...เพิ่มพูนการ
อยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะและ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลาย ...
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิดถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย
เหลือบ ยุงลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ถ้อยคำอันหยาบช้า พึงเป็นผู้อดกลั้น
ต่อทุกขเวทนาอันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันไม่ชื่นใจไม่พอใจ อันนำชีวิต
ไปไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้เป็นผู้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี และขอความไม่ยินดีและ
ความยินดีไม่พึงครอบงำเรา เราพึงครอบงำความไม่ยินดี และความยินดีอันเกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุ
พึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียว และขออภัยและความหวาดเสียวไม่พึง
ครอบงำเราได้ เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้
กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึง
เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่
เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
ไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไซร้ ภิกษุเหล่านั้น
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย  ประกอบความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความ
สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิดจงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมี
ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
                          จบสูตรที่ ๑




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ผู้คน สูงต่ำ ฐานะ มีให้เห็น แต่เป็นผู้เสมอกัน เมื่อมีศีล ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา...

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 27

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑

รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง

 [๗๖๑] ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา    สุทฺทา จณฺฑาลปุกฺกุสา

            อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน          ภวนฺติ ติทิเว สมา ฯ

 [๗๖๑] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ

            ประพฤติธรรมในธรรมวินัยนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตรทิพย์. 




วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

ครุธรรม 8 ประการ หรือ ครุธรรม ๘ ประการ ก่อนที่จะบวช เป็นภิกษุณี รวบ หญิง แต่งเหมือนภิกษุ อ้างตัวเป็นพระอรหันต์ (บทพระบาลีพร้อมแปล จากพระไตรปิฎก)

ครุธรรม ๘ ประการ

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07

พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ข้อที่ 516

[๕๑๖]   สเจ   อานนฺท   มหาปชาปตี   โคตมี  อฏฺฐ  ครุธมฺเม
ปฏิคฺคณฺหาติ    สา    วสฺสา    โหตุ   อุปสมฺปทา   วสฺสสตุปสมฺปนฺนาย
ภิกฺขุนิยา   ตทหุปสมฺปนฺนสฺส   ภิกฺขุโน   อภิวาทนํ  ปจฺจุฏฺฐานํ  อญฺชลิ-
กมฺมํ  สามีจิกมฺมํ     กาตพฺพํ     อยมฺปิ     ธมฺโม    สกฺกตฺวา    ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย  น  ภิกฺขุนิยา  อภิกฺขุเก
อาวาเส    วสฺสํ    วสิตพฺพํ    อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   อนฺวฑฺฒมาสํ  ภิกฺขุนิยา
ภิกฺขุสงฺฆโต     เทฺว     ธมฺมา     ปจฺจาสึสิตพฺพา    อุโปสถปุจฺฉกญฺจ
โอวาทุปสงฺกมนญฺจ   อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา
ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ  อนติกฺกมนีโย  วสฺสํ  วุฏฺฐาย  ภิกฺขุนิยา  อุภโต-
สงฺเฆ  ตีหิ   ฐาเนหิ   ปวาเรตพฺพํ   ทิฏฺเฐน   วา   สุเตน   วา  ปริสงฺกาย
วา    อยมฺปิ    ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา
ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   ครุธมฺมํ   อชฺฌาปนฺนาย  ภิกฺขุนิยา  อุภโตสงฺเฆ
ปกฺขมานตฺตํ     จริตพฺพํ    อยมฺปิ     ธมฺโม    สกฺกตฺวา    ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   เทฺว   วสฺสานิ   ฉสุ
ธมฺเมสุ     สิกฺขิตสิกฺขาย     สิกฺขมานาย    อุภโตสงฺเฆ    อุปสมฺปทา
ปริเยสิตพฺพา   อยมฺปิ  ธมฺโม  สกฺกตฺวา  ครุกตฺวา  มาเนตฺวา  ปูเชตฺวา
ยาวชีวํ    อนติกฺกมนีโย    น   ภิกฺขุนิยา   เกนจิ   ปริยาเยน   ภิกฺขุ
อกฺโกสิตพฺโพ    ปริภาสิตพฺโพ    อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา
มาเนตฺวา    ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   อชฺชตคฺเค   โอวโฏ
ภิกฺขุนีนํ    ภิกฺขูสุ   วจนปโถ   อโนวโฏ   ภิกฺขูนํ   ภิกฺขุนีสุ   วจนปโถ
อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา  ยาวชีวํ
อนติกฺกมนีโย   สเจ   ปนานนฺท   ๑  มหาปชาปตี  โคตมี  อิเม  อฏฺฐ
ครุธมฺเม ปฏิคฺคณฺหาติ สา วสฺสา โหตุ อุปสมฺปทาติ ฯ

ครุธรรม ๘ ประการ
 [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี ยอมรับ
ครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง    คือ:
       ๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม  สามีจิกรรม
แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟัง  คำสั่งสอน ๑ จาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ   นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง    ๓ คือ โดยได้
เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ   เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย  ธรรมแม้นี้
ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้ว
ในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรม แม้นี้ ภิกษุณีต้อง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทาง ให้ภิกษุทั้งหลาย
สอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้   ข้อนั้นแหละ
จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ

เครดิต ภาพ ไลน์ และ ข่าวสด 29/04/2021





วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี พร้อมความหมาย ทำไมต้องเรียนบาลี กับ วิปัสนาชุนี แค่คำนำก็สนุกแล้ว

วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ในวิปัสนาชุนี ภาษาบาลี พร้อมคําแปล

นี่แค่เริ่มต้น กับ หลายคำถาม ที่วิปัสสนาชุนี มีคำตอบ เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมจึงต้องศึกษาภาษาบาลี
เพื่อคลายปมในใจ เพื่อให้ใจหนักแน่นไม่คลอนแคลน ก่อนศึกษาพระธรรม และ น้อมนำไปปฏิบัติ
โปรดลด เสียง เมื่อใช้ หูฟัง หรือ เครื่องขยายเสียง (อัดเสียงด้วยไมค์ คุณภาพสูง) 



วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี พร้อมความหมาย วันละประโยค จงอย่าประมาทเลย จากพระไตรปิฎก และ หนังสือ วิปัสนาชุนี

 ปริเฉทที่ ๑ ไม่ต้องเสียใจ อย่าเสียดายโอกาส อย่าได้ประมาทเลย

ประโยคเต็มที่

ฌายถ ภิกฺขเว มา ปมาทตฺถ

มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ

อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี.

(.มู. /๑๖๗)

คำแปลศัพท์ทีละคำ

ฌายถ ตรึก เพ่ง ไหม้ (อยู่) (ย่อม) ตรึก เพ่ง ไหม้ (จะ) ตรึก เพ่ง ไหม้

ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต

เฌธาตุ อปัจจัย วัตตมานาวิภัตติ ฌาย

ปรัสบท พหุ มัชฌิม


ภิกฺขเว นาม ปุง. กลุ่ม ภิกฺขุ ศัพท์เดิม ภิกฺขุ ภิกษุ

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ภิกษุ ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ


มา ๑ นิ. อย่า ใช้ปฏิเสธธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติ ๔ หมวด คือ ๑. หมวดปัญจมี เช่น มา กโรตุ จงอย่ากระทำ ๒. หมวดสัตตมี เช่น มา อาหเรยฺยาสิ อย่าพึงนำมา ๓. หมวดหิยัตตนี เช่น มา อวจ อย่าได้กล่าวแล้ว ๔. หมวด อัชชัตตนี เช่น มา กริ อย่ากระทำแล้ว

๒ อย่าน่ะ


ปมาทตฺถ ประมาท (แล้ว)

ประจักษ์ต่ออินทรีย์ หรือไม่ประจักษ์ ก็ตาม

ปอุปสัค+มทฺธาตุ+อปัจจัย+ หิยยัตตนีวิภัตติ ปมาท อดีตล่วงแล้วเมื่อวานนี้

ปรัสบท พหุ มัชฌิม

อยู่ในประโยคที่มี "มา" นิบาต หิยัตตนี และ อัชชตนี จะใช้ในอรรถเดียวกับปัญจมีวิภัติ (ไม่ใช้ในอรรถอดีตกาลปกติของตน)


ปจฺฉา นิ. ในภายหลัง เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ เช่น ปจฺฉา วินยธโร ตตฺถ ปวิฏฺโ อ. พระวินัยธร เข้าไปแล้ว ในซุ้มแห่งนํ้านั้น ในภายหลัง [. :โกสมฺพิกวตฺถุ หน้า ๔๙]


วิปฺปฏิสาริโน นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม วิปฺปฏิสารี ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ

ปฐมา พหุ. อันว่าผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

จตุตถี เอก. แก่, เพื่อ, ต่อ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ เป็นผู้รับ

สัมปทาน

ฉัฏฐี เอก. แห่ง, ของ, เมื่อ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ อาการกริยาการเป็นเจ้าของ

สมูหสัมพันธะ สามีสัมพันธะ อนาทร


อหุวตฺถ (ได้) มี เป็น (แล้ว)

อดีตล่วงแล้วเมื่อวานนี้

ประจักษ์ต่ออินทรีย์ หรือไม่ประจักษ์ ก็ตาม

ออาคม + หูธาตุ + หิยยัตตนีวิภัตติ อหุว

ปรัสบท พหุ มัชฌิม อัตตโนบท เอก ปฐม

อยู่ในประโยคที่มี "มา" นิบาต หิยัตตนี และ อัชชตนี จะใช้ในอรรถเดียวกับปัญจมีวิภัติ (ไม่ใช้ในอรรถอดีตกาลปกติของตน)


อยํ ๑ อิม ปุง. กลุ่ม อิม ศัพท์เดิม อิม นี้

ปฐมา เอก. อันว่านี้ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

๒ อิม อิต. กลุ่ม อิม ศัพท์เดิม อิม นี้

ปฐมา เอก. อันว่านี้ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

๓ นาม ปุง. นปุง กลุ่ม มน ศัพท์เดิม อย เหล็ก

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ เหล็ก กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


โว ท่าน เธอ คุณ (อลิงคนาม)

ห้ามเรียงต้นประโยค

สัพ. ปฐมา ทุติยา ตติยา จตุตฐี ฉัฐถี พหุ


อมฺหากํ ๑ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน

อมฺหสทฺทปทมาลา

พหุวจน ทุติยา จตุตถี ฉัฏฐี

แปลง อมฺห กับวิภัตตินั้น เป็นรูปนั้นๆ

เม, โน เมื่อมีบทอื่นนำหน้า จึงใช้เรียงในประโยคได้

แปลง อมฺห เป็น อสฺม และแปลง นํ วิภัตติเป็น อากํ

๒ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน (อลิงคนาม)

อมฺห สัพ. ทุติยา จตุตฐี ฉัฏฐี พหุ


อนุสาสนี นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม อนุสาสนี อนุสาสนี

ปฐมา เอก. อันว่าคำสอนในศาสนา อนุสาสนี ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ปฐมา พหุ. อันว่าคำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ คำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ คำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม



ความต่าง ระหว่าง ตฺถ หิยัตตนี กับ ตฺถ อชฺชตนี

ตฺถ หิยตฺตนี จะอยู่หลังสระ "" เช่นอคมตฺถ

ตฺถ อชฺชตนี จะอยู่หลังสระ "อิ" (หรือ อุ บ้าง) เช่น อคมิตฺถ อคมุตฺถ

แปลประโยคเต็ม โดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา

ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ตุมเห เธอทั้งหลาย)

ฌายถ จงเพ่ง (จงเจริญทั้งสมถะ และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน)

มา ปมาทตฺถ อย่าได้ประมาทเลย

มา อหุวตฺถ อย่าได้เป็น วิปฺปฏิสาริโน ผู้เสียใจ ปจฺฉา ในภายหลัง

อยํ นี้ อนุสาสนี เป็นโอวาท อมฺหากํ ของเรา โว สำหรับพวกเธอ




วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นอนไม่หลับทำไงดี สารพัดวิธีแก้อาการนอนไม่หลับ โดยใช้ ธรรมมะ และ Monitor คุณภาพการนอนโดยใช้ Smartwatch

เอาชนะ อาการนอนไม่หลับ

โดยใช้ ธรรมมะ และ Monitor คุณภาพการนอนโดยใช้ Smartwatch

นอนไม่หลับทำไงดี ง่วงแต่นอนไม่หลับ เครียดนอนไม่หลับ วิธีทำให้นอนหลับ



วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การหลับลึก แบบมีคุณภาพ เป็นอย่างไร หรือ อาจกล่าวได้ว่า Best Sleep Qualities เป็นอย่างไร

Best Sleep Qualities เป็นอย่างไร

ครั้งก่อน พูดถึงเรื่อง Smart Watch ที่ปกติ ข้าเจ้าเป็นคนนอนน้อย เลยเจอ การนอนแค่ 2 ระดับ Good and Poor 😆😆😆
เมื่อวานกลับจาก การเดินทางไกล ข้ามจังหวัด เลยหลับค่อนข้างยาวหน่อย เลย ได้ คุณภาพ การนอน เป็น Best Qualities
Best Sleep Qualities มีเงื่อนไข อยู่ว่า นอนรวมกันแล้ว เกิน 8 ชม. ขึ้นไป หลับลึก มากกว่า 40% ของ การนอนปกติ หรือ Light Sleep 😘😘
ต่อจากครั้งที่แล้ว พระพุทธองค์ ได้มีพระดำรัสถึง ผู้เจริญเมตตา จะทำให้หลับสนิท ไม่ฝันร้าย
ครั้งนี้ พบพระสูตร เพิ่มเติมอีกว่า ถ้าหลับเพลิน แต่ขาดสติ ก็มีผลเสียได้เช่น กัน ดังนั้น เราควรหมั่นเจริญสติก่อน นอนหลับควบคุ่กันไปด้วย ดังพุทธพจน์ ที่ว่า😇😇😇
...นอนหลับคุมสติ มีคุณ ๕ ประการ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ ๕ ประการนี้ คือ
หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการ นี้แล....😇😇😇
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 05
พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ
ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
ข้อที่ 156





วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

ชีวิตคือการเตรียมพร้อม คำสอน เกี่ยวกับครอบครัว การอยู่ร่วมกัน ทำให้รวย

ชีวิตคือการเตรียมพร้อม 🥰🥰🥰

หลากหลายคำถาม 😁😁 พี่ทำอุปกรณ์ Hitech น่าจะรวย 😁😁😁
เคยมีแวปหนึ่ง คิดว่า เราเกิดผิดประเทศ ?
ภาษาบาลี มีคำหนึ่ง ใน มงคล 38 ประการ ปฏิรูปเทสวาโส แปลว่า อยู่ในประเทศ ที่เหมาะสม ประเทศที่ดี แล้วประเทศไหนล่ะ 😄😄😄
ประเทศที่ดี เป็นอย่างไร ในอดีตทางตะวันตก นักวิทยาศาสตร์ เคยโดนกวาดล้าง โดยสำนักวาติกัน กว่าจะมาเป็นเทคโนโลยีในวันนี้ บ้างก็ว่า เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนา 😁😁😁
แล้วถ้าบอกว่า อดีตชาติ มีจริง ถ้าเราเคยอยู่ในยุคที่ นักวิทยาศาสตร์ โดนกวาดล้าง แล้ว อธิษฐานว่าขอเกิดในประเทศ ที่มีพระพุทธศาสนาเล่า 😁😁😁 ยากเกินคาดเดา ใช่ไหม ที่แน่ๆ เมืองไทย ปลูกอะไรกินก็ขึ้น 😃😃😃
ในพระพุทธศาสนา ได้มีคำสอนมากมาย เกี่ยวกับครอบครัว การอยู่ร่วมกัน และ ระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสื่อมแก่ทรัพย์ องค์ประกอบที่ทำให้รวย โดยชอบ
เช่่น
...ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่น
ประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ
ฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้...
...โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ
คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง..
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ข้อที่ 144

ลักษณะของ กลฺยาณมิตฺต ๗ ประการ (กัลยาณมิตร)
๑ ปิโย เป็นที่รัก
๒ ครุ เป็นครู ที่เคารพ
๓ ภาวนีโย ถูกทำให้เจริญ
๔ วตฺตา พูดเป็น อธิบายชี้แจงข้อสงสัยได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
๕ วจน ขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (สามารถซักถามได้)
๖ พูดจาแถลงคำพูดที่ลึกซึ้งได้
๗ ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหายไม่เป็นประโยชน์

ประกอบการมีคู่ครอง

ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบำรุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์ สามีด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. จัดการงานดี
๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงดี
๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง
(สํ.ส.๑๕/๑๖๕)

ดังนั้น คำตอบเมื่อมีคนถามว่า ทำไม ทำ Hi-technology จึงยังไม่รวย ธรรมมะ อันเป็น อกาลิโก จากพระไตรปิฎก ตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดแจ้ง ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก ถึงแม้จะเขียนยาว แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้เข้าไปอยู่ในใจแล้ว มันสั้นนิดเดียว ขอ สรรพมงคลธรรม จงมีแด่ทุกท่านเจริญพร



วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2563

ชี้ช่องรวย ด้วยธรรมมะ วิธีรวย ด้วย Windows 10 แท้ ซอฟต์แวร์ฟรี โปรแกรม คล้าย excel LibreOffice Calc อยากรวย เรามี วิธีทําให้รวย มาบอก (ภาคภาษาบาลี)

 ชี้ช่องรวย ด้วยธรรมมะ วิธีรวย ด้วย Windows 10 แท้ ซอฟต์แวร์ฟรี โปรแกรม คล้าย excel LibreOffice Calc  อยากรวย เรามี วิธีทําให้รวย มาบอก (ภาคภาษาบาลี)

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23

พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙

ข้อที่ 144 ทีฆชาณุสูตร

ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ 4 ประการ

..
กตเม จตฺตาโร อุฏฺฐานสมฺปทา อารกฺขสมฺปทา กลฺยาณมิตฺตตา สมชีวิตา
..

ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ 4 ประการ

..
จตฺตาริ อายมุขานิ โหนฺติ นอิตฺถีธุตฺโต นสุราธุตฺโต นอกฺขธุตฺโต กลฺยาณมิตฺโต กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโก
..


เนื้อความสรุปภาษาไทยดูได้จากที่นี่



วิธีทำให้รวย ภาคปฏิบัติ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

พระพุทธเจ้า ชี้ช่องรวย อยากรวย วิธีทําให้รวย วิธีรวย

ทีฆชาณุสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23

พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙ ข้อที่ 144

ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
 เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉนคือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑
กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑
...
อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่น
ประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ
ฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้ 
...
อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคทรัพย์ที่หามาได้
ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มีเหงื่อโทรมตัวชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
 เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูลด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึง
บริโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
จะไม่พึงลักไป
...
กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือ
นิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจา สั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือ
บุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ
ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
 ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
...
สมชีวิตเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อม
แห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนักไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้
ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูกรพยัคฆปัชชะ
เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้
หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้อง
เหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
...

ทางเสื่อมโภคทรัพย์

โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ
คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑