วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรียน บาลี สังขยา การต่อ สังขยา บาลี การนับ ตัวเลข ในภาษาบาลี นับเลขภาษาบาลี ศูนย์ ภาษาบาลี นับเลขบาลี 1-100 กว่าสิบล้าน ขึ้นไป

ปกติสังขยา

การนับ ตัวเลขภาษาบาลี อื่นๆ เช่น หก ภาษาบาลี 

คำอ่านบาลี1 คำอ่านบาลี2 คำอ่านบาลี3 Number คำอ่านเงินตรา Len คำอ่านปกติ ปกติสังขยา ข้อจำกัดการใช้ 1 ข้อจำกัดการใช้ 2 ข้อจำกัดการใช้ 3 ข้อจำกัดการใช้ 4

0 ศูนย์บาทถ้วน 12 ศูนย์




เอก

1 หนึ่งบาทถ้วน 12 หนึ่ง ปกติสังขยา วิเสสนสัพพนาม เอก ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) แปลออกสำเนียง อายตนิบาตแห่งวิภัตติไม่ได้ เอก ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นได้ ๓ ลิงค์ เอกสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ทฺวิ

2 สองบาทถ้วน 10 สอง ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นพหุวจนะอย่างเดียว
ติ

3 สามบาทถ้วน 10 สาม
จตุ

4 สี่บาทถ้วน 10 สี่
ปญฺจ

5 ห้าบาทถ้วน 10 ห้า


6 หกบาทถ้วน 9 หก
สตฺต

7 เจ็ดบาทถ้วน 11 เจ็ด
อฏฺฐ

8 แปดบาทถ้วน 10 แปด
นว

9 เก้าบาทถ้วน 11 เก้า
ทส

10 สิบบาทถ้วน 10 สิบ
เอกาทส

11 สิบเอ็ดบาทถ้วน 14 สิบเอ็ด
ทฺวาทส พารส
12 สิบสองบาทถ้วน 13 สิบสอง
เตรส

13 สิบสามบาทถ้วน 13 สิบสาม
จตุทฺทส จุทฺทส โจทฺทส 14 สิบสี่บาทถ้วน 13 สิบสี่
ปญฺจทส ปณฺณรส ปนฺนรส 15 สิบห้าบาทถ้วน 13 สิบห้า
โสฬส

16 สิบหกบาทถ้วน 12 สิบหก
สตฺตรส

17 สิบเจ็ดบาทถ้วน 14 สิบเจ็ด
อฏฺฐารส

18 สิบแปดบาทถ้วน 13 สิบแปด
เอกูนวีสติ อูนวีส
19 สิบเก้าบาทถ้วน 14 สิบเก้า เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว เป็นเอกวจนะอย่างเดียว ตั้งแต่ เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
วีส วีสติ
20 ยี่สิบบาทถ้วน 13 ยี่สิบ
เอกวีสติ

21 ยี่สิบเอ็ดบาทถ้วน 17 ยี่สิบเอ็ด
ทฺวาวีสติ พาวีสติ
22 ยี่สิบสองบาทถ้วน 16 ยี่สิบสอง
เตวีสติ

23 ยี่สิบสามบาทถ้วน 16 ยี่สิบสาม
จตุวีสติ

24 ยี่สิบสี่บาทถ้วน 16 ยี่สิบสี่
ปญฺจวีสติ

25 ยี่สิบห้าบาทถ้วน 16 ยี่สิบห้า
ฉพฺพีสติ

26 ยี่สิบหกบาทถ้วน 15 ยี่สิบหก
สตฺตวีสติ

27 ยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน 17 ยี่สิบเจ็ด
อฎฺฐวีสติ

28 ยี่สิบแปดบาทถ้วน 16 ยี่สิบแปด
เอกูนตึส อูนตึส
29 ยี่สิบเก้าบาทถ้วน 17 ยี่สิบเก้า
ตึส ตึสติ
30 สามสิบบาทถ้วน 13 สามสิบ
เอกตฺตึส

31 สามสิบเอ็ดบาทถ้วน 17 สามสิบเอ็ด
ทฺวตฺตึส พาตฺตึส
32 สามสิบสองบาทถ้วน 16 สามสิบสอง
เตตฺตึส

33 สามสิบสามบาทถ้วน 16 สามสิบสาม
จตุตฺตึส

34 สามสิบสี่บาทถ้วน 16 สามสิบสี่
ปฺจตฺตึส

35 สามสิบห้าบาทถ้วน 16 สามสิบห้า
ฉตฺตึส

36 สามสิบหกบาทถ้วน 15 สามสิบหก
สตฺตตฺตึส

37 สามสิบเจ็ดบาทถ้วน 17 สามสิบเจ็ด
อฏฺฐตฺตึส

38 สามสิบแปดบาทถ้วน 16 สามสิบแปด
เอกูนจตฺตาฬีส อูนจตฺตาฬีส
39 สามสิบเก้าบาทถ้วน 17 สามสิบเก้า
จตฺตาฬีส ตาลีส
40 สี่สิบบาทถ้วน 13 สี่สิบ
เอกจตฺตาฬีส

41 สี่สิบเอ็ดบาทถ้วน 17 สี่สิบเอ็ด
เทฺวจตฺตาฬีส

42 สี่สิบสองบาทถ้วน 16 สี่สิบสอง
เตจตฺตาฬีส

43 สี่สิบสามบาทถ้วน 16 สี่สิบสาม
จตุจตฺตาฬีส

44 สี่สิบสี่บาทถ้วน 16 สี่สิบสี่
ปฺจจตฺตาฬีส

45 สี่สิบห้าบาทถ้วน 16 สี่สิบห้า
ฉจตฺตาฬีส

46 สี่สิบหกบาทถ้วน 15 สี่สิบหก
สตฺตจตฺตาฬีส

47 สี่สิบเจ็ดบาทถ้วน 17 สี่สิบเจ็ด
อฏฺฐจตฺตาฬีส

48 สี่สิบแปดบาทถ้วน 16 สี่สิบแปด
เอกูนปญฺญาส อูนปญฺญาส
49 สี่สิบเก้าบาทถ้วน 17 สี่สิบเก้า
ปญฺญาส ปณฺณาส
50 ห้าสิบบาทถ้วน 13 ห้าสิบ
สฏฺฐิ

60 หกสิบบาทถ้วน 12 หกสิบ
สตฺตติ

70 เจ็ดสิบบาทถ้วน 14 เจ็ดสิบ
อสีติ

80 แปดสิบบาทถ้วน 13 แปดสิบ
นวุติ

90 เก้าสิบบาทถ้วน 14 เก้าสิบ
สตํ

100 หนึ่งร้อยบาทถ้วน 16 หนึ่งร้อย เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนามนาม แปลออกสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตติได้ เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนปุงสกลิงค์อย่างเดียว ได้ ๒ วจนะ ตั้งแต่ เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็น นปุงสกลิงค์ ได้ ๒ วจนะ
สหสฺสํ

1,000 หนึ่งพันบาทถ้วน 15 หนึ่งพัน
ทสสหสฺสํ

10,000 หนึ่งหมื่นบาทถ้วน 17 หนึ่งหมื่น
สตสหสฺสํ ลกฺขํ
100,000 หนึ่งแสนบาทถ้วน 15 หนึ่งแสน
ทสสตสหสฺสํ

1,000,000 หนึ่งล้านบาทถ้วน 16 หนึ่งล้าน
โกฏิ

10,000,000 สิบล้านบาทถ้วน 14 สิบล้าน โกฏิ เป็นอิตถีลิงค์ ได้ ๒ วจนะ


ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ เป็นวิเสสนสัพพนาม
เอก ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) แปลออกสำเนียง อายตนิบาตแห่งวิภัตติไม่ได้
เอก ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นได้ ๓ ลิงค์
เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว
เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนปุงสกลิงค์อย่างเดียว
โกฏิ เป็นอิตถีลิงค์
เอกสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็นพหุวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ตั้งแต่ เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็น นปุงสกลิงค์ ได้ ๒ วจนะ

ปกติสังขยา
เอกูนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เป็นนามนาม แปลออกสำเนียงอายตนิบาตแห่งวิภัตติได้

ปูรณสังขยาทั้งปวง เป็นคุณนาม เป็นได้ทั้ง ๓ ลิงค์ แต่เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
ปูรณสังขยา นับจำนวนที่เต็ม หรือนับตามลำดับ เช่น ที่๑ ที่๒ ที่๓ ...


คาถาแสดงการจำแนกสังขยาโดยลิงค์และวจนะ

ทฺวาทโย อฏฺฐารสนฺตา  ติลิงฺเค พหุวาจกา
วีสตฺยาที นวุตฺยนฺตา  อิตฺถิลิงฺเคกวาจกา
สตาที อสงฺเขฺยยฺยนฺตา นปุํ  สกา ทฺวิวาจกา
โกฏิปฺปภุตฺยกฺโขภิณี  อิตฺถิลิงฺคา ทฺวิวาจกา.

ตั้งแต่ ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘) เป็น ๓ ลิงค์ พหุวจนะ
ตั้งแต่ เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘) เป็นอิตถีลิงค์ เอกวจนะ
ตั้งแต่ เอกูนสตํ (๙๙) ถึง อสงฺเขฺยยฺย เป็นนปุงสกลิงค์ ๒ วจนะ
โกฏิ (๑๐ ล้าน), ปโกฏิ (๑๐๐*แสน*๑๐ล้าน), โกฏิปฺปโกฏิ (๑๐๐*แสน*ปโกฏิ), อกฺโขภิณี เป็นอิตถีลิงค์ ๒ วจนะ

นหุตํ (๑๐๐*แสน*โกฏิปฺปโกฏิ)
นินฺนหุตํ (๑๐๐*แสน*นหุตํ)
อกฺโขภิณี (๑๐๐*แสน*นินฺนหุตํ)

กาที ฏาที ยการาที นวสงฺขฺยา ปกาสิตา,
ปญฺจสงฺขฺยา ปการาที สุญฺญา นาม สรญฺญนา.
อักษรมี ก เป็นต้น อักษรมี ฏ เป็นต้น และอักษรมี ย
เป็นต้น ถูกแสดงแล้วว่าเป็นสังขยาตั้งแต่ ๑ - ๙, อักษรมี
ป เป็นต้น ถูกแสดงแล้วว่าเป็นสังขยาตั้งแต่ ๑ - ๕ และ
สระแปดตัว, ญ และ นอักษร ถูกแสดงแล้วว่าชื่อว่าศูนย์

รายละเอียดเพิ่มเติม จาก ดิคบาลี คาถาธรรมบท ๑-๔
อสงฺเขยฺย  ๑ น.,นปุ. อสงไขย แจกเหมือน กุล เช่น  ป. เอก. อสงฺเขยฺยํ อ. อสงไขย คำว่า อสงไขย แปลว่า นับไม่ได้, คำนวณ ไม่ได้ คือระยะเวลายาวนานมากจนนับไม่ได้ ๑ อสงไขย = โกฏิยกกำลัง ๒๐
๒ ว. อันมีอสงไขยเป็นประมาณ ลง ณ ปัจจัยในปริมาณตัทธิต

โกฏิ น.,อิต. ที่สุด,ปลาย แจกเหมือน รตฺติ
๑ โกฏิ = ๑๐ ล้าน

โกฏิ น.,อิต. ที่สุด,ปลาย แจกเหมือน รตฺติ
๑ โกฏิ = ๑๐ ล้าน

จุดสังเกตุ
อูน แปลว่า พร่อง ใช้ใน สังขยา ในภาษาบาลี เช่น โปรดติดตามใน วีดีโอ



สรุปจากตำราเรียน วัดท่ามะโอ

หนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม พม.ต่วน พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
บาลีดิค ThaiNewGenDict คาถาธรรมบท ๑-๔

บันทึกเลขบาลี ลงบาลีดิก แบบฝึกหัด สังขยา นับเลขภาษาบาลี ศูนย์ ภาษาบาลี นับเลขบาลี 1-100 กว่าสิบล้าน



วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรียนภาษาบาลี ที่ เรียนบาลี ได้ ที่ไหน เรียนบาลีด้วยตนเอง ได้ไหม เรียนบาลียากไหม เรียนพระบาลี สำนักเรียนบาลี

เรียนภาษาบาลี

ที่ เรียนบาลี ได้ ที่ไหน

คำถามนี้ ผู้ถาม มาก พอสมควร  วัดท่ามะโอ ต.เวียงเหนือ จ.ลำปาง เป็นหนึ่งในวัดที่มีการสอน แบบ บาลีไวยากรณ์ ใหญ่ ซี่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนภาษาบาลีในประเทศไทย ที่นำหลักสูตรมาจากประเทศพม่า ประวัติ ดังจะอ่านได้จาก

เรียนบาลีด้วยตนเอง เรียนบาลีทางไปรษณีย์ เรียนบาลีออนไลน์ ได้ไหม

คำตอบ คือ ได้ แต่ควรมีผู้รู้ ที่คอยแนะนำ เพื่อให้การเรียนรู้กระชับขึ้น และ บางสำนักเรียนก็มีการเปิดสอน หรือ ในเพจ มีการ แจกโปรแกรม ดิกบาลี เพื่อการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้นไปอีก รวมถึง วีดีโอ การเรียนรู้จากห้องเรียน และ การเรียนออนไลน์ วัดท่ามะโอ และ เป็นที่แรกของ การเรียนภาษาบาลีในประเทศไทย ที่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ ภาษาบาลี

เรียนบาลียากไหม

เป็นอีกหนึ่งคำถาม ที่ผู้เรียนใหม่ มักจะถาม ความเห็นส่วนตัว ยาก หรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การตั้งคำถามตัวเองว่า ต้องการเรียนบาลีเพื่ออะไร ชอบ การเรียนบาลี หรือไม่ ตรงนี้เป็นจุดพื้นฐานที่จะตอบตนเองว่า เรียนบาลียากไหม ถ้ามีความต้องการอยากเรียนรู้ ภูเขาก็พังทลายได้ 😂😂😂

สำนักเรียนบาลี วัดท่ามะโอ

เป็นหนึ่งในสำนักที่ได้นำเทคโนโลยี มาสู่ การ เรียนพระบาลี ดังจะเห็นได้จาก ประวัติการนำ คอมพิวเตอร์ ที่ดีที่สุดในอดีตมาใช้ในการสร้างตำราภาษาบาลี ตั้งแต่ปี คศ.2000



วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สามาวดี ธรรมบท สุนโข คจฺฉติ แปลว่า เรียนรู้จาก วีดีโอ การศึกษา ภาษาบาลี พร้อมคําแปล ประกอบคำอธิบาย บาลีไวยากรณ์ แบบฝึกหัด วัดท่ามะโอ ใช้ บาลีดิค

แบบฝึกหัดประจำวันที่ 3 Apr 2020

คำถาม

ฝึกแต่ง ประโยคลักขณะ
ครั้นเมื่ออรุณขึ้นแล้ว ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบาน 
(คำศัพท์ ปุปฺผติ บาน อุคฺคต ขึ้นแล้ว ปุปฺผ ดอกไม้ )
ฝึกแปลยกศัพท์ ประโยคลักขณะ (อุ. จากธรรมบท เรื่องสามาวดี ภาค 2)
ปจฺเจกพุทฺเธ เวลํ สลฺลกฺเขตฺวา นิกฺขนฺเต, โส (สุนโข) ภุสฺสนฺโต ปุรโต ปุรโต ว คจฺฉติ
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ากำหนดเวลาออกไปแล้ว สุนัขนั้นก็เดินเห่าไปข้างหน้าๆ เทียว

ในวาจกทั้ง 5 นั้นอาจมีลักษณะพิเศษแทรกเข้ามา เช่น  ปกติกัตตา- วิกติกัตตาบ้าง, อนาทร- อนาทรกิริยาบ้าง, ลักขณ -ลักขณกิริยาบ้าง, นิทธารณะ- นิทธารณียะบ้าง จึงเรียกชื่อไปตามลักษณะที่แยกย่อยนั้น เช่น ประโยค วิกติกัตตา, ประโยคอนาทร และประโยคลักขณะ เป็นต้น ครับ

ประโยคที่ให้ฝึกแปลนี้มีประโยคแทรกที่เป็นลักขณะ (เครื่องหมายหรือข้อสังเกตุในการจดจำ) จึงเรียกกันว่า ประโยคลักขณะ

แต่โดยโครงสร้างของประโยคแล้วคือ กัตตุวาจก ที่มีประโยคแทรกข้างหน้านั่นเอง แทรกมาตรงไหนแปลตรงนั้นเลย ครับผม



เฉลย :

1.  ฝึกแต่ง ประโยคลักขณะ
ครั้นเมื่ออรุณขึ้นแล้ว ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบาน    
อรุเณ อุคฺคเต,ปุปฺผานิ ปุปฺผนฺติฯ. 
อรุเณ  ครั้นเมื่ออรุณ. อุคฺคเต ขึ้นไปแล้ว. บุปฺผานิ อ.ดอกไม้ท. ปุปฺผนฺติ ย่อมบาน

2.  ฝึกแปลยกศัพท์ ประโยคลักขณะ (อุ. จากธรรมบท เรื่องสามาวดี ภาค 2)
ปจฺเจกพุทฺเธ เวลํ สลฺลกฺเขตฺวา นิกฺขนฺเต, โส (สุนโข) ภุสฺสนฺโต ปุรโต ปุรโต ว คจฺฉติ
ปจฺเจกพุทเธ ครั้นเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า สลฺลกฺเขตวา กำหนดแล้ว เวลํ ซึ่งเวลา นิกฺขนฺเต ออกไปแล้ว โส (สุนโข) อ.สุนัขนั้น ภุสฺสนโต เห่าอยู่ คจฺฉติ ย่อมไป ปุรโต ในที่ข้างหน้า ปุรโตว ในที่ข้างหน้านั่นเทียว
แปลโดยอรรถว่า 
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ากำหนดเวลาออกไปแล้ว สุนัขนั้นก็เดินเห่าไปข้างหน้าๆ เทียว

ประโยคลักขณะมีลักษณะพิเศษ คือ บทสุทธนามประกอบด้วย ฉัฏฐี หรือ สัตตมีวิภัตติ มาพร้อมด้วยบทกริยากิตก์ที่ประกอบด้วย อนฺต หรือ มาน หรือ ต ปัจจัยที่ประกอบด้วยลิงค์ วจนะ และวิภัตติเหมือนบทสุทธนามนั้นๆ วางไว้หน้าหรือหลังบทสุทธนามก็ได้ แทรกเข้ามาในที่ไหนก็เรียงไว้ตรงนั้น คือ ต้น กลาง หรือท้ายประโยคนั่นเอง ที่จัดเป็นประโยคแทรก เพราะความหมายยังไม่บริบูรณ์ ถือว่าเป็นวลี เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยค 
อย่าลืมว่า ประธานในประโยคทุกประโยคต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเท่านั้น ซึ่งจะมีประโยคแทรกเข้ามาหรือไม่ ข้อนั้นไม่เกี่ยวกันเลย ครับ อย่าเข้าใจสับสน ประโยคลักขณะนั้นสื่อเพียงให้รู้ว่าสุนัขเห่าตอนไหน เหมือนดอกไม้บานตอนไหน คำอธิบายนี้คงชัดเจนขึ้น (ถ้าไม่เข้าใจ ลองเอาบทลักขณะออก เช่น ปุปฺผานิ ปุปฺผนฺติ ดอกไม้บาน แต่ไม่รู้ว่าบานตอนไหน การใส่ประโยคลักขณะแทรกว่า อรุเณ อุคฺคเต  (เมื่ออรุณขึ้น) เข้ามาจึงระบุเวลาได้ชัดเจนขึ้น)