วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

ครุธรรม 8 ประการ หรือ ครุธรรม ๘ ประการ ก่อนที่จะบวช เป็นภิกษุณี รวบ หญิง แต่งเหมือนภิกษุ อ้างตัวเป็นพระอรหันต์ (บทพระบาลีพร้อมแปล จากพระไตรปิฎก)

ครุธรรม ๘ ประการ

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07

พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ข้อที่ 516

[๕๑๖]   สเจ   อานนฺท   มหาปชาปตี   โคตมี  อฏฺฐ  ครุธมฺเม
ปฏิคฺคณฺหาติ    สา    วสฺสา    โหตุ   อุปสมฺปทา   วสฺสสตุปสมฺปนฺนาย
ภิกฺขุนิยา   ตทหุปสมฺปนฺนสฺส   ภิกฺขุโน   อภิวาทนํ  ปจฺจุฏฺฐานํ  อญฺชลิ-
กมฺมํ  สามีจิกมฺมํ     กาตพฺพํ     อยมฺปิ     ธมฺโม    สกฺกตฺวา    ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย  น  ภิกฺขุนิยา  อภิกฺขุเก
อาวาเส    วสฺสํ    วสิตพฺพํ    อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   อนฺวฑฺฒมาสํ  ภิกฺขุนิยา
ภิกฺขุสงฺฆโต     เทฺว     ธมฺมา     ปจฺจาสึสิตพฺพา    อุโปสถปุจฺฉกญฺจ
โอวาทุปสงฺกมนญฺจ   อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา
ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ  อนติกฺกมนีโย  วสฺสํ  วุฏฺฐาย  ภิกฺขุนิยา  อุภโต-
สงฺเฆ  ตีหิ   ฐาเนหิ   ปวาเรตพฺพํ   ทิฏฺเฐน   วา   สุเตน   วา  ปริสงฺกาย
วา    อยมฺปิ    ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา
ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   ครุธมฺมํ   อชฺฌาปนฺนาย  ภิกฺขุนิยา  อุภโตสงฺเฆ
ปกฺขมานตฺตํ     จริตพฺพํ    อยมฺปิ     ธมฺโม    สกฺกตฺวา    ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   เทฺว   วสฺสานิ   ฉสุ
ธมฺเมสุ     สิกฺขิตสิกฺขาย     สิกฺขมานาย    อุภโตสงฺเฆ    อุปสมฺปทา
ปริเยสิตพฺพา   อยมฺปิ  ธมฺโม  สกฺกตฺวา  ครุกตฺวา  มาเนตฺวา  ปูเชตฺวา
ยาวชีวํ    อนติกฺกมนีโย    น   ภิกฺขุนิยา   เกนจิ   ปริยาเยน   ภิกฺขุ
อกฺโกสิตพฺโพ    ปริภาสิตพฺโพ    อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา
มาเนตฺวา    ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   อชฺชตคฺเค   โอวโฏ
ภิกฺขุนีนํ    ภิกฺขูสุ   วจนปโถ   อโนวโฏ   ภิกฺขูนํ   ภิกฺขุนีสุ   วจนปโถ
อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา  ยาวชีวํ
อนติกฺกมนีโย   สเจ   ปนานนฺท   ๑  มหาปชาปตี  โคตมี  อิเม  อฏฺฐ
ครุธมฺเม ปฏิคฺคณฺหาติ สา วสฺสา โหตุ อุปสมฺปทาติ ฯ

ครุธรรม ๘ ประการ
 [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี ยอมรับ
ครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง    คือ:
       ๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม  สามีจิกรรม
แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟัง  คำสั่งสอน ๑ จาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ   นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง    ๓ คือ โดยได้
เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ   เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย  ธรรมแม้นี้
ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้ว
ในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรม แม้นี้ ภิกษุณีต้อง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทาง ให้ภิกษุทั้งหลาย
สอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้   ข้อนั้นแหละ
จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ

เครดิต ภาพ ไลน์ และ ข่าวสด 29/04/2021





วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี พร้อมความหมาย ทำไมต้องเรียนบาลี กับ วิปัสนาชุนี แค่คำนำก็สนุกแล้ว

วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ในวิปัสนาชุนี ภาษาบาลี พร้อมคําแปล

นี่แค่เริ่มต้น กับ หลายคำถาม ที่วิปัสสนาชุนี มีคำตอบ เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมจึงต้องศึกษาภาษาบาลี
เพื่อคลายปมในใจ เพื่อให้ใจหนักแน่นไม่คลอนแคลน ก่อนศึกษาพระธรรม และ น้อมนำไปปฏิบัติ
โปรดลด เสียง เมื่อใช้ หูฟัง หรือ เครื่องขยายเสียง (อัดเสียงด้วยไมค์ คุณภาพสูง) 



วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี พร้อมความหมาย วันละประโยค จงอย่าประมาทเลย จากพระไตรปิฎก และ หนังสือ วิปัสนาชุนี

 ปริเฉทที่ ๑ ไม่ต้องเสียใจ อย่าเสียดายโอกาส อย่าได้ประมาทเลย

ประโยคเต็มที่

ฌายถ ภิกฺขเว มา ปมาทตฺถ

มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ

อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี.

(.มู. /๑๖๗)

คำแปลศัพท์ทีละคำ

ฌายถ ตรึก เพ่ง ไหม้ (อยู่) (ย่อม) ตรึก เพ่ง ไหม้ (จะ) ตรึก เพ่ง ไหม้

ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต

เฌธาตุ อปัจจัย วัตตมานาวิภัตติ ฌาย

ปรัสบท พหุ มัชฌิม


ภิกฺขเว นาม ปุง. กลุ่ม ภิกฺขุ ศัพท์เดิม ภิกฺขุ ภิกษุ

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ภิกษุ ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ


มา ๑ นิ. อย่า ใช้ปฏิเสธธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติ ๔ หมวด คือ ๑. หมวดปัญจมี เช่น มา กโรตุ จงอย่ากระทำ ๒. หมวดสัตตมี เช่น มา อาหเรยฺยาสิ อย่าพึงนำมา ๓. หมวดหิยัตตนี เช่น มา อวจ อย่าได้กล่าวแล้ว ๔. หมวด อัชชัตตนี เช่น มา กริ อย่ากระทำแล้ว

๒ อย่าน่ะ


ปมาทตฺถ ประมาท (แล้ว)

ประจักษ์ต่ออินทรีย์ หรือไม่ประจักษ์ ก็ตาม

ปอุปสัค+มทฺธาตุ+อปัจจัย+ หิยยัตตนีวิภัตติ ปมาท อดีตล่วงแล้วเมื่อวานนี้

ปรัสบท พหุ มัชฌิม

อยู่ในประโยคที่มี "มา" นิบาต หิยัตตนี และ อัชชตนี จะใช้ในอรรถเดียวกับปัญจมีวิภัติ (ไม่ใช้ในอรรถอดีตกาลปกติของตน)


ปจฺฉา นิ. ในภายหลัง เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ เช่น ปจฺฉา วินยธโร ตตฺถ ปวิฏฺโ อ. พระวินัยธร เข้าไปแล้ว ในซุ้มแห่งนํ้านั้น ในภายหลัง [. :โกสมฺพิกวตฺถุ หน้า ๔๙]


วิปฺปฏิสาริโน นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม วิปฺปฏิสารี ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ

ปฐมา พหุ. อันว่าผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

จตุตถี เอก. แก่, เพื่อ, ต่อ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ เป็นผู้รับ

สัมปทาน

ฉัฏฐี เอก. แห่ง, ของ, เมื่อ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ อาการกริยาการเป็นเจ้าของ

สมูหสัมพันธะ สามีสัมพันธะ อนาทร


อหุวตฺถ (ได้) มี เป็น (แล้ว)

อดีตล่วงแล้วเมื่อวานนี้

ประจักษ์ต่ออินทรีย์ หรือไม่ประจักษ์ ก็ตาม

ออาคม + หูธาตุ + หิยยัตตนีวิภัตติ อหุว

ปรัสบท พหุ มัชฌิม อัตตโนบท เอก ปฐม

อยู่ในประโยคที่มี "มา" นิบาต หิยัตตนี และ อัชชตนี จะใช้ในอรรถเดียวกับปัญจมีวิภัติ (ไม่ใช้ในอรรถอดีตกาลปกติของตน)


อยํ ๑ อิม ปุง. กลุ่ม อิม ศัพท์เดิม อิม นี้

ปฐมา เอก. อันว่านี้ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

๒ อิม อิต. กลุ่ม อิม ศัพท์เดิม อิม นี้

ปฐมา เอก. อันว่านี้ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

๓ นาม ปุง. นปุง กลุ่ม มน ศัพท์เดิม อย เหล็ก

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ เหล็ก กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


โว ท่าน เธอ คุณ (อลิงคนาม)

ห้ามเรียงต้นประโยค

สัพ. ปฐมา ทุติยา ตติยา จตุตฐี ฉัฐถี พหุ


อมฺหากํ ๑ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน

อมฺหสทฺทปทมาลา

พหุวจน ทุติยา จตุตถี ฉัฏฐี

แปลง อมฺห กับวิภัตตินั้น เป็นรูปนั้นๆ

เม, โน เมื่อมีบทอื่นนำหน้า จึงใช้เรียงในประโยคได้

แปลง อมฺห เป็น อสฺม และแปลง นํ วิภัตติเป็น อากํ

๒ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน (อลิงคนาม)

อมฺห สัพ. ทุติยา จตุตฐี ฉัฏฐี พหุ


อนุสาสนี นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม อนุสาสนี อนุสาสนี

ปฐมา เอก. อันว่าคำสอนในศาสนา อนุสาสนี ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ปฐมา พหุ. อันว่าคำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ คำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ คำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม



ความต่าง ระหว่าง ตฺถ หิยัตตนี กับ ตฺถ อชฺชตนี

ตฺถ หิยตฺตนี จะอยู่หลังสระ "" เช่นอคมตฺถ

ตฺถ อชฺชตนี จะอยู่หลังสระ "อิ" (หรือ อุ บ้าง) เช่น อคมิตฺถ อคมุตฺถ

แปลประโยคเต็ม โดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา

ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ตุมเห เธอทั้งหลาย)

ฌายถ จงเพ่ง (จงเจริญทั้งสมถะ และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน)

มา ปมาทตฺถ อย่าได้ประมาทเลย

มา อหุวตฺถ อย่าได้เป็น วิปฺปฏิสาริโน ผู้เสียใจ ปจฺฉา ในภายหลัง

อยํ นี้ อนุสาสนี เป็นโอวาท อมฺหากํ ของเรา โว สำหรับพวกเธอ