วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ถ้าต้องการให้หนังสือภาษาบาลีดิจิตอล มีผู้ใช้มากต้องติดตามคลิปนี้ การใช้ Font ภาษาบาลี ที่ถูกต้อง 100%

การใช้ ฟ้อนท์ ภาษาบาลี ที่ถูกต้อง 100%

การทำสื่อการสอน หนังสือ ภาษาบาลี ที่สามารถค้นคำง่ายได้ 100% โดย ไม่มีอักษรต่างดาว เมื่อ Copy ไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้ทุกโปรแกรม แสดงผลถูกต้องตาม อักขระภาษาบาลี ในทุกโปรแกรม หรือ อาจกล่าวง่ายๆว่า คลิปนี้จะแสดงถึง การใช้ Font ภาษาบาลี แบบถูกต้อง 100% อธิบายตั้งแต่การติดตั้ง Font ภาษาบาลี และ ข้อดีข้อเสียของฟ้อนต์ต่างๆ

ฟ้อนท์บาลี หรือ font บาลี ทำให้ หนังสือมีผู้ใช้มาก ต้องติดตาม การทำสื่อการสอน เพื่อการ ค้นคำง่าย ไม่มีอักษรต่างดาว ใช้กับโปรแกรมอื่นได้ทุกโปรแกรม แสดงผลถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ การติดตั้ง Font



วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัดออนไลน์ประจำวันที่ 31 Mar 2020 ๒ ข้อ วัดท่ามะโอ

แบบฝึกหัดออนไลน์ประจำวันที่ 31 Mar 2020 ๒ ข้อ วัดท่ามะโอ

ปุจฺฉา

๑. เอวํ เม สุตํ – 
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
เอกํ สมยํ ภควา โกสมฺพิยํ วิหรติ โฆสิตาราเมฯ
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารโฆสิตาราม  กรุงโกสัมพี  (ให้แปลยกศัพท์ในแต่ละประโยค เป็นคำถามวันนี้ครับ ส่วนคำอธิบายค่อยๆ ทำความเข้าใจ แต่การฝึกฝนจะทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น ประโยคไหนควรจำก็จำไว้บ้างเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน หรือการยกมาเป็นหลักฐานอ้างอิง สำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจในประโยคตรงนั่น เนื้อหาตรงนั้นให้ชัดเจน จะได้ไม่ต้องจำมาก)

๒ เขียนป.สั้นๆ ดังนี้ ทุกฺขา มุจฺจิตุํ อิจฺฉามิ. หรือ ทุกฺขโต มุจฺจิตุํ อิจฺฉามิ ก็ได้ (แปลมาด้วย)

เฉลย

เอวํ  เม  สุตํ- เอกํ สมยํ ภควา. โกสมฺพิยํ วิหรติ โฆสิตาราเม.
เอวํ เม สุตํ . (อิทํ สุตฺตํ อ. พระสูตรนี้) เม อันข้าพเจ้า (หมายถึงพระอานนท์) สุตํ สดับมาแล้ว เอวํ อย่างนี้
เอกํ สมยํ ในสมัยหนึ่ง  ภควา อ.พระผู้มีพระภาคเจ้า วิหรติ ทรงประทับอยู่ โฆสิตาราเม ณฺ พระวิหารชื่อว่าโฆสิตาราม โกสมฺพิยํ ในกรุงโกสัมพี 

ส่วนที่คุณ ชุติมาประโยคมา ที่น่าพิจารณาคือ บทว่า อุคฺคณฺหนฺโต ครับ  ถ้ามุ่งแต่งประโยคปกติไม่เน้นเพศก็มักใช้ปุงลิงค์ แต่ถ้าเน้นเป็นผู้หญิงเขียน ควรใช้ว่า อุคฺคณฺหนฺตี ครับ โดยลง อี ปัจจัยระบุเพศอิตถีลิงค์ทางไวยากรณ์ ส่วนอื่นๆ ถูกต้อง (ส่วน  อันว่า ใช้  อ. แทนประหยัดเวลา ประธานวางหรือไม่วางก็ได้)
(อหํ) ภนฺเต วิปฺปสนฺเนน  เจตสา ปริยตฺติธมฺมํ  อุคฺคณฺหนฺโต ทุกฺขา  มุจฺจิตุํ  อิจฺฉามิฯ. (ชุติมา)
ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ.    อหํ  อันว่าข้าพเจ้า.  อุคฺคณฺหนฺโต ศึกษาอยู่ ปริยตฺติธมฺมํ ซึ่งพระปริยัติธรรม  เจตสา ด้วยทั้งจิต  วิปฺปสนฺเนน-อันผ่องใส อิจฉามิ  ย่อมปรารถนา มุจฺจิตุํ เพื่ออันพ้น  ทุกฺขา  จากทุกข์


โต ปัจจัยเป็น ปัญจมี ตติยา และสัตตมี ต้องพิจารณาบริบทด้วยครับ ในที่นี้ ทุกขโต มุจฺจิตุํ อิจฉามิ ต้องแปลว่า ข้าพเจ้าย่อมปรารถนาพ้นจากทุก ครับ

ทุกฺขานิ   มุจฺจิตุํ อิจฺฉามิ แก้เป็น   ทุกฺขา มุจฺจิตุํ อิจฺฉามิ
กองทุกข์ กล่าวโดยภาพรวมประมวลด้วยจิต จึงใช้เป็น ทุกฺขา

อาจริยํ อุปสงฺกมามิ ย่อมเข้าไปหา ซึ่งอาจารย์ (ไม่ใช่ยังอาจารย์)

อธิบายเพิ่มเติมในประโยคว่า 
เอวํ  เม  สุตํ- เอกํ สมยํ ภควา. โกสมฺพิยํ วิหรติ โฆสิตาราเม
บทว่า เอวํ เม สุตํ เขียนแบบสนธิก็ได้ คือ เอวมฺเม สุตํ 
ส่วนคำว่า เอกํ สมยํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ เรียกชื่อทางสัมพันธ์ว่า ทุติยากาลสัตตมี แปลว่า ในสมัยหนึ่ง สัมพันธ์ว่า เอกํ วิเสสนะของ สมยํ ทุติยากาลสัตตมีใน วิหรติ ภควา สุทธกัตตา ในวิหรติ ๆ อาขยาตบทกัตตุวาจก โกสมฺพิยํ วิสยาธาระใน โฆสิตาราเม ๆ วิสยาธาระใน วิหรติ (สนามหลวง ใช้ สยกัตตา นิยมสะกดแบบบาลีว่า สยกตฺตา)


วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาพระพุทธเจ้าจริงหรือ

ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาพระพุทธเจ้าจริงหรือ

เอกสารเพื่อการ เรียนรู้พุทธวจนะ อย่างแท้จริง

เอกสารเพื่อการ เรียนรู้พุทธวจนะ อย่างแท้จริง จะเกิดขึ้นที่นี่เร็วๆนี้ แหล่งรวมหนังสือ ภาษาบาลี ที่มีแจกใน Internet จะถูกนำมารวบรวมให้ Download ฟรี ที่นี่ เร็วๆนี้

เกริ่นนำเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาบาลี

เกจิ เอวํ วทนฺติ "ปาฬิ นาม น พุทฺธวจนํ"ติ. มติมตฺตเมตํ.
มีบางท่านกล่าวหาว่า"พระบาลีไม่ใช่พุทธพจน์", นั่นเป็นเพียงแค่ ความเห็นเท่านั้นครับ

อปิ ตุ เอตํ วจนํ ปาฬิยํ อปสนฺนานํ อปสาทาย สํวตฺตติ 
แต่คำพูดเช่นนั้น ก็สามารถทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสในพระบาลี พลอยไม่เลื่อมใสไปได้

ตาทิเส หิ วจเน วิจาเรตฺววาว สทฺทหิตพฺพํ.
โปรดใช้วิจารณญาณแล้วค่อยเชื่อในคำพูดเช่นนั้นครับ

โดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา






วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จากบทเรียนออนไลน์ท่ามะโอ 20200504 สู่การค้นคว้าพระไตรปิฎก

ภทฺเทกรตฺตสุตฺตํ

แปลยกศัพท์

ภควา เอตทโวจ ภทฺเทกรตฺตสฺส โว ภิกฺขเว อุทฺเทสญฺจ วิภงฺคญฺจ เทเสสฺสามิฯ ตํ สุณาถ
สาธุกํ มนสิกโรถ ภาสิสฺสามีติฯ



บทแปลพระบาลี ทั้งพระสูตร

๑.  ภัทเทกรัตตสูตร  (๑๓๑)
      [๕๒๖]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
      สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  พระผู้มี  พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดง
อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย  พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น  จง
ใส่ใจให้ดี  เราจักกล่าวต่อไป  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า  ชอบแล้ว  พระพุทธเจ้าข้า  ฯ
      [๕๒๗]  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
      บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่
      มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว  และสิ่งที่
      ยังไม่มาถึง  ก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
      ไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ  ได้  บุคคลนั้นพึง
      เจริญธรรมนั้นเนืองๆ  ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียใน
      วันนี้แหละ  ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความ
      ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
      พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความเพียร
      ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่ง
      เจริญ  ฯ
      [๕๒๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร  คือ  รำพึงถึง
ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้วได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่
ล่วงแล้ว  ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีวิญญาณ
อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯ
      [๕๒๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ  ไม่รำพึงถึง
ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาล
ที่ล่วงแล้ว  ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีวิญญาณ
อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯ
      [๕๓๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไรคือ  รำพึงถึง
ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคตพึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาล
อนาคต  พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีสังขาร  อย่างนี้ในกาลอนาคต  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล  ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ฯ
      [๕๓๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ  ไม่รำพึง
ถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีเวทนาอย่างนี้ใน
กาลอนาคต  พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีสังขาร  อย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีวิญญาณ
อย่างนี้ในกาลอนาคต  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
      [๕๓๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร  คือ  ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้  เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ  ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้ฝึก
ในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ  ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ไม่ได้ฝึกในธรรมของ
สัตบุรุษ  ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น  อัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง  เล็งเห็นรูปในอัตตา
บ้าง  เล็งเห็นอัตตาในรูป  บ้าง  ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามี
เวทนาบ้าง  เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง  ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง  เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในสัญญา
บ้าง  ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง  เล็งเห็นสังขาร
ในอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้างย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็น
อัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง  เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง  ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย  อย่างนี้แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ
      [๕๓๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร  คือ  อริยสาวก
ผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ  ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ฝึกดีแล้วใน
ธรรมของพระอริยะ  ได้เห็นสัตบุรุษ  ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความ  เป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง  ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี
เวทนาบ้าง  ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง  ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็ง
เห็นอัตตาในสัญญาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี
สังขารบ้าง  ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง  ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง  ไม่
เล็งเห็นอัตตา  ในวิญญาณบ้าง  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ
      [๕๓๔]  บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่
            ยังไม่มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป
            แล้ว  และสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคล
            ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน
            ในธรรมนั้นๆ  ได้  บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
            ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
            ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยน
            กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
            พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความ
            เพียร  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่า
            ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ  ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  คำที่เรากล่าวไว้ว่า  เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น  เราอาศัยเนื้อความดังนี้  กล่าวแล้ว  ด้วยประการฉะนี้  ฯ
      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  ภัทเทกรัตตสูตร  ที่  ๑

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การบันทึก รูปวิเคราะห์ ประโยคตัวอย่าง และ คำศัพท์ บาลี จากประโยคแบบฝึกหัดออนไลน์ ท่ามะโอ 1 May 2020

การบันทึก รูปวิเคราะห์ ประโยคตัวอย่าง และ คำศัพท์ บาลี จากประโยคแบบฝึกหัดออนไลน์ ท่ามะโอ 1 May 2020

แบบฝึกหัดประจำวันที่ 1 May 2020

1. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต เป็นประโยคอะไร แปลอย่างไร
2. และ เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต โหติ เป็นประโยคอะไร แปลอย่างไร

เฉลย แบบฝึกหัดวันที่ 1 May 2020

1. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต. เป็นประโยคกัมมวาจก
พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า  เทวมนุสฺเสหิ อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ปูชิโต  บูชาแล้ว 
2. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต โหติ.  เป็นประโยคกัตฺตุวาจก (ครูบาอาจารย์มักนิยมพูดกันว่า ประโยคกัตนอกกรรมใน คือ โหติ บทนี้ เป็น กัตตุรูป ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ ส่วนเนื้อความมีลักษณะของประโยคกรรมตามข้อ 1)
พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า เทวมนุสฺเสหิ  ปูชิโต เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาแล้ว  โหติ  ย่อมเป็น (แปลรวบด้วยอำนาจความที่เชื่อมโยงกัน)

เทวมนุสฺเสหิ อนภิหิตกัตตา  ครับ
ต ปัจจัยนั้น หากลงหลังอกัมมกธาตุมักเป็นกัตตุรูป ถ้าลงหลัง สกัมมกธาตุมักเป็นกัมมรูป เช่น ลง ต ปัจจัย หลัง อกัมมกธาตุ เช่น ฐิโต ฐิตา ฐิตํ ยืนแล้ว  อุปฺปนฺโน อุบัติแล้ว, เกิดขึ้นแล้ว ปริปุณฺโณ บริบูรณ์แล้ว, เต็มแล้ว อ่านทบทวนอยูเสมอ จนจำนำไปใช้เป็น
ลง ต หลังสกัมมกธาตุ เช่น ทินฺโน, ทินฺนา, ทินฺนํ  อันเขา...ให้, ถวาย, กโต กตา กตํ  อันเขา...ทำ, คหิโต คหิตา คหิตํ อันเขา...ถืออาเแล้ว, อุคฺคณฺหิโต อุคฺคณฺหิตา อุคฺคณฺหิตํ อันเขา...เรียนแล้ว  คำว่า เขา เป็นเพียงตัวอย่างในการแปล ดังนั้นในประโยคจริงต้องแปลไปตามเนื้อหานั้นๆ เช่น มยา ธมฺโม อุคฺคณฺหิโต แปลว่า ธรรมอันเราเรียนแล้ว,  ชเนหิ ปาฬิ  อุคฺคณฺหิตา ภาษาบาลีอันเชนทั้งหลายเรียนแล้ว,  อมฺเหหิ สิปฺปํ อุคฺคณฺหิตํ ศิลปะอันเราทั้งหลายเรียนแล้ว

นี้เป็นการฝึกแต่งประโยคสั้นๆ สะสมคำศัพท์แบบไม่ต้องท่องโดยการนำมาใช้บ่อยๆ นั่นเอง แม้เวลาอ่านพอเห็นปุ๊ปก็สามารถกำหนดได้ทันทีว่าเป็นประโยคอะไร มีความหมายว่าอย่างไร สำคัญต้องชัดเจนในเรื่องของความจำซึ่งจะทำให้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
ปริยนฺต  แปลว่า ที่สุด, สุดท้าย ไม่ใช่ท่ามกลาง ,มชฺฌ ท่ามกลาง, อาทิ เบื้องต้น

อนภิหิตกัตตา 2 อย่าง (ใช้ในประโยคกรรม, เหตุกรรม)

1. อนภิหิตกัตตา คือบทที่ประกอบด้วยตติยาวิภัตติโดยครง,
เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต
2. ฉัฏฐีอนภิหิตกัตตา คือฉัฏฐีฉัฏฐีวิภัตติที่ลงในอรรถตติยากัตตา 
เทวมนุุสฺสานํ พุทฺโธ ปูชิโต 
เป็นตัวอย่างที่แต่งขึ้นเองแต่มีใช้แน่นอน
บทอนภิหิตกัตตาใช้เป็น เอกวจนะ หรือพหุวจะก็ได้


วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จากบาลีพุทธพจน์ เพียงประโยคเดียว บันทึกความหมายศัพท์ได้เป็นหลายร้อยคำ

ทำอย่างไร จากบาลีพุทธพจน์ เพียงประโยคเดียว บันทึกความหมายศัพท์ได้เป็นหลายร้อยคำ (บท) หลายร้อยบรรทัด

ทำอย่างไร จากบาลีพุทธพจน์ เพียงประโยคเดียว ในแบบฝึกหัด การเรียนออนไลน์ วัดท่ามะโอ บันทึกความหมายศัพท์ได้เป็นหลายร้อยคำ (บท) ความหมายหลายร้อยบรรทัด ไม่ต้องใช้บุคคลากร เป็นร้อย ถ้าดูจบ จะได้เรียนรู้วิธีที่ถูกต้อง เพื่อพิสูจน์ว่าทำได้จริง ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากรณ์ ทั้ง บาลีใหญ่ และ บาลีไวยยากรณ์ น้อย เปรียญธรรม สนามหลวง พื้นฐานที่ต้องเรียนรู้ก่อนหน้า ทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม ThaiNewGenDict เรียนบาลีอย่างไรไม่ต้องท่อง แต่จำศัพท์ได้อย่างยั่งยืน ถูกต้องตามบาลีไวยยากรณ์ คำศัพท์ ไม่มีใครช่วยได้ต้องจำ และ ทำด้วยตนเองเท่านั้น เรียนรู้เพื่อสะสม คือ อย่างนี้นี่เอง สิ่งนี้เป็นเครื่องทุ่นแรงสำหรับ ผู้ศึกษาในยุคนี้ ไม่มีใครเคยทำมาก่อน มีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่เท่ามนุษย์ ที่ฝึกฝนตนเองมาเป็นอย่างดี (อย่างหนัก)