วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ชื่อเดือนภาษาบาลี

 ชื่อเดือนภาษาบาลี

ชื่อเดือนภาษาบาลี ชื่อเดือนไทย แบบพุทธเดิม
ผัคคุณะ                    
จิตตะ                        
เวสาขะ วิสาขะ         
เชฏฐะ                      
อาสาฬหะ
สาวณะ                    
โปฏฐปาทะ, ภัททา ๑๐
อัสสยุชะ                  ๑๑
กัตติกา                    ๑๒
มาคสิระ, มิคสิระ
ผุสสะ                      
มาฆะ                      












วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

อานิสงส์ อานาปานสติ

 อานิสงส์ อานาปานสติ

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 31

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค

อานาปานสฺสติ ยสฺส        ปริปุณฺณา สุภาวิตา
อนุปุพฺพํ ปริจิตา           ยถา พุทฺเธน เทสิตา
โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ   อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมาติ ฯ

ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว
ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม
ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก
ฉะนั้น ฯ

วีดีโอ ภาพ เสียง โดย ท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง



วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566

อาราธนาธรรมที่ถูกต้อง บาลี พร้อม คำแปล

 อาราธนาธรรม คือ

คาถาขออาราธนาธรรม หลวงปู่ วัดท่ามะโอ นี้ใช้ก่อน อัญเชิญ ภิกษุ เทศนาธรรม

อาราธนาธรรมที่ถูกต้อง นี้ ประพันธ์ พระบาลี โดย หลวงปู่ หลวงปู่ธัมมานันทะ มหาเถระ แห่งวัดท่ามะโอ
มีการปรับปรุง จากบทที่ใช้อยู่ ในปัจจุบัน เพราะ ไม่ใช่ยุคพระพุทธเจ้า เป็นบุคคลธรรมดา อัญเชิญ ภิกษุ เพื่อแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า จึงได้ พระบาลี คาถานี้ออกมา

อาราธนาธรรม คําอ่าน

กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย              เทเสตุ ธมฺมเทสนํ

อาราธนาธรรม คำแปล

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถึงเวลาฟังธรรมแล้ว
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาเพื่อฟังพระธรรม
ขอท่าน อาศัยความอนุเคราะห์
โปรดแสดงธรรม แก่ปวงข้าพเจ้าด้วยเทอญ





วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ธรรม จากโบราณสถาน เมืองโบราณ ศรีเทพ กับ คาถายอดนิยมในอดีต

 ธรรม เกิดแต่เหตุ คาถายอดนิยมในอดีต

เมืองโบราณ ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" 
ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์
และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อ พ.ศ. 2447-2448
เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่ สมัย พุทธศตวรรษที่ 8 ถึง 18 (พศ.8xx-18xx)

โดยในเมืองโบราณ แห่งนี้ได้พบ หินศิลาบางส่วน เป็นอักษร คาดว่าเป็น อินเดีย โบราณ มีข้อความว่า
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา       เตสํ เหตุํ ตถาคโต (อาห)
 เตสญฺจ โย นิโรโธ         เอวํวาที มหาสมโณ

จากการสืบค้น ธรรมบทนี้ มีระบุใน พระไตรปิฎก โดยมีรายละเอียดดังนี้

พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 04
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา

อถโข   อายสฺมา   อสฺสชิ   สารีปุตฺตสฺส   ปริพฺพาชกสฺส
อิมํ ธมฺมปริยายํ อภาสิ 
** เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา       เตสํ เหตุํ ตถาคโต (อาห)
 เตสญฺจ โย นิโรโธ         เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ **

ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-
**ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ
ทรงสั่งสอนอย่างนี้.**
สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม




เครดิตภาพ Thai PBS


วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

จิตคืออะไร

 จิตคืออะไร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 29

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๙ มหานิทเทส

ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต 

[๗๐๖] 

คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน
เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ
ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี
ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง 
..
จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น.
ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน
มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

บาลีสยามรัฐ

[๗๐๖]   ยากาจิ   ตณฺหา   อชฺฌตฺตนฺติ  ยากาจีติ  สพฺเพน  สพฺพํ
สพฺพถา   สพฺพํ   อเสสํ   นิสฺเสสํ   ปริยาทายวจนเมตํ   ยากาจีติ   ฯ
ตณฺหาติ    รูปตณฺหา    ฯเปฯ   ธมฺมตณฺหา   ฯ   อชฺฌตฺตนฺติ   อชฺฌตฺตํ
สมุฏฺฐาติ   ๑   สา   ตณฺหาติ   อชฺฌตฺตํ  ฯ  อถวา  อชฺฌตฺติกํ  วุจฺจติ
จิตฺตํ    ยํ   จิตฺตํ   มโน   มานสํ   หทยํ   ปณฺฑรํ   มโน   มนายตนํ
มนินฺทฺริยํ    วิญฺญาณํ    วิญฺญาณกฺขนฺโธ    ตชฺชา   มโนวิญฺญาณธาตุ   ฯ
จิตฺเตน   มนสา   สา   ตณฺหา  สหคตา  สหชาตา  สํสฏฺฐา  สมฺปยุตฺตา
เอกุปฺปาทา    เอกนิโรธา   เอกวตฺถุกา   เอการมฺมณาติปิ   อชฺฌตฺตนฺติ
ยากาจิ ตณฺหา อชฺฌตฺตํ ฯ

เครดิตภาพ sanook.com



วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 (31+1) อย่าง บ้างก็เรียก อาการ 32 กรรมฐาน 32 กอง

 ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 อย่าง

ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 ประการ เดิมที มี 31 
คำว่า มตฺถลุงฺคํ เดิมทีนั้นในพุทธสุภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมคำว่า มตฺถลุงฺคํ เยื่อในสมองไว้ในคำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ คือ เยื่อในกระดูกแล้ว
ในเวลามีการจัดหมวดหมู่ เป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้ท่องได้ง่าย ดังนี้
เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ,
มํสํ นหารู อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ,
หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ, 
อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ, 
ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท, 
อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตนฺติ

แปลความว่า ในร่างกายเรานี้มีส่วนต่างๆ อยู่ คือ

            ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง 
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม 
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด 
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง เลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร