วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การใช้โปรแกรม ThaiNewGendict เพื่อตรวจสอบการทำตัวรูป

การใช้โปรแกรม ThaiNewGendict เพื่อตรวจสอบการทำตัวรูป คำที่มีใช้งานอยู่จริง

พื้นฐาน โปรแกรม ThaiNewGenDict ได้มีการดึงคำศัพท์ จากพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐมาครบถ้วนแล้ว มาไว้ในระบบฐานข้อมูลของโปรแกรม

จะเห็นว่าในแบบเรียน อาจทำตัวอย่างไว้ไม่ครบทุกคำศัพท์ ดังนั้นในฐานะผู้ศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือเพื่อคอยตรวจสอบการใช้งานที่มีอยู่จริง โดย จะต้องมีคลังคำศัพท์ที่มากพอ ซึ่ง ThaiNewGenDict มีคำศัพท์บาลี ที่ใช้จริงมากกว่า แสน ๗ หมื่นคำ


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำตัวรูป อาขยาต ด้วยคอมพิวเตอร์

วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำตัวรูป อาขยาต ด้วยคอมพิวเตอร์

คลิปนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แบบ เร่งด่วน ในขณะทำตัวรูป เพื่อความรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อการนำไปปรับปรุงและใช้เป็นการถาวรณ์ต่อไป


วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ThaiNewGenDict Version 2.3.0.0

ThaiNewGenDict Version 2.3.0.0

ThaiNewGenDict โฉมใหม่




เพิ่มความน่าเชื่อถือ ให้กับผู้ใช้ โปรแกรม ThaiNewGenDict ไปอีกขั้นด้วยการ เพิ่มช่อง
ให้สามารถกรอกข้อมูล หนังสืออ้างอิง หรือ ที่มาของคำศัพท์ คำแปล และ อุทาหรณ์ ได้


ขั้นตอนการติดตั้ง

ข้อควรระวัง ควรเก็บไว้แยกโฟลดเดอร์กับของเดิม เพื่อไม่ให้ฐานข้อมูลเดิมถูกลบไป

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

6.29 นาที จุดสังเกตุ หลักการทำตัวรูปง่ายๆ ๒ วิภัตติ สุดท้าย ของอาขยาต

จุดสังเกตุ หลักการทำตัวรูปง่ายๆ ๒ วิภัตติ สุดท้าย ของอาขยาต

ภวิสสันตีวิภัตติ
กาลาติปัตติวิภัตติ
ให้ท่านผู้ศึกษา ลองฝึกทำด้วยตนเองตามจุดสังเกตุ ที่เสนอโดยวิธีนี้ (เพื่อการเรียนรู้ที่รวดเร็วในกาลต่อไป)

หนังสือที่ใช้อ้างอิง นามาขยาต


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

12.22 นาที เจาลึก อัชชตนี KeyPoint

12.22 นาที เจาลึก อัชชตนี KeyPoint จากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

เจาลึก อัชชตนี KeyPoint
เจาะสูตรตัวรูปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
อัตโนบทไม่มีรูปพิเศษ = n
อัตโนบท อุตมบุรุษ เอกไม่มีรูปพิเศษ = n
ปฏิเสธ ซ้อน ปฏิเสธ (ไม่ กับ ไม่ คือ ใช่ (มี)) จะเห็นว่ามีครบ

อัตโนบทไม่มีรูปพิเศษ = y
อัตโนบท อุตมบุรุษ เอกไม่มีรูปพิเศษ = y
จะเห็นว่าไม่มี ในรูปที่กำหนด

หลักการทำตัวรูปไวยากรณ์ เบื้องต้นต้อง สามารถนำไปใช้ให้ได้มากที่สุดในวิภัตตินั้นๆ
บันทึกการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ ข้อดีอีกอย่างสามารถ ทำให้เรารู้ได้ว่าในพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐนั้นมีใช้หรือไม่
จากการทำตัวรูป บางชุดจะเห็นได้ว่า ไม่มีอยู่ใน พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ นั้น โดยส่วนตัวยังคงมีความเชื่อใน ๓ ลักษณะคือ
๑ ใน อดีต ภาษาดั้งเดิม น่าจะมีการใช้มากกว่าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดั่ง พุทธพจน์ ที่กล่าว คำสอนเปรียบดั่งใบไม้ในกำมือ
๒ ภาษาอังกฤษ ที่มีใช้ทั้งหมด มีมากกว่าที่ระบุในหนังสือสอนคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยี ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
หลักการตรงนี้ สามารถนำไปใช้กับพระไตรปิฎก ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้หมดข้อกังขาเรื่องพุทธพจน์ ทั่วโลกตรงกันหรือไม่ หรือ ทำให้ทราบแน่ชัดว่าที่ไม่ตรงกันเพราะอะไร
๓ ตามความเห็น ผู้จัดทำ ณ.ปัจจุบัน พฤษจิกายน พศ.๒๕๖๒ คาดว่าการที่บันทึกไม่ตรงกันน่าจะเกิดจากฐานกรณ์ ด้วยอึกประการหนึ่ง เพราะ สมัยโบราณเป็นการท่องจำสืบต่อกันมา และ การบันทึกเป็นอักษรได้เกิดขึ้นมาภายหลัง

เนื่องจากหลังทำตัวรูป ตามหลักบาลีไวยากรณ์ ของ ปทรูปสิทธิ ซึ่ง มีเป็นจำนวนมาก เป็น % เมื่อเทียบในบาลีสยามรัฐ สิ่งที่ต้องหาคำตอบต่อไปคือ โดยมากของตำรานี้ เทียบกับตำราชุดใด
ซึ่งทางผู้จัดทำจะได้ทำบันทึกศัพท์ ตาม ไวยากรณ์ ของตำรานี้อีกครั้งหนึ่งในกาลต่อไป ตามที่เวลาจะอำนวย

ประโยชน์ ของการใช้ Software บันทึกข้อมูลอีกประการหนึ่ง คือ ลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง และ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างกันได้ทั่วโลก ในเสี้ยวนาที

บางท่านอาจมองว่า การทำตัวรูปทำได้ยาก เฉกเช่นเดียวกับการจำให้ได้มากครบ 100% ในทุกคำศัพท์ตามหลักบาลีไวยากรณ์ ตรงนี้ไม่รวมถึงผลเสียที่เกิดจากการจำผิดพลาด
หมายเหตู คอมพิวเตอร์ มีสังขารที่ยาวนานกว่าร่างกายมนุษย์ ตราบที่พลังงานของโลกยังไม่หมด ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยังไม่ล่มสลาย

เอวัง


วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

37.05 นาที สูตรทำตัวรูปที่ซับซ้อน ๒ วิภัตติคู่ ปโรกขาวิภัติ อัชชตนีวิภัตติ

37.05 นาที สูตรทำตัวรูปที่ซับซ้อน ๒ วิภัตติคู่ ปโรกขาวิภัติ อัชชตนีวิภัตติ

พร้อมหลักการช่วยจำจากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

วันนี้เสนอ การทำตัวรูป ๒ วิภัตติ ไม่มีเสียง Background เนื่องจากมีจุดสังเกตุค่อนข้างมาก
๑ ปโรกขาวิภัติ
ไม่มี อ อาคม หน้าธาตุ
ประกอบคำว่า แล้ว ใช้ใน อดีตล่วงแล้วไม่มีกำหนด
ดูการทำตัวรูปกันเลย
ที่ท่องในตำรา ปรัสบท คือ
อ อุ เอ ตฺถ อํ มฺห
การใช้จริง
อ อุ เอ ิตฺถ อํ ิมฺห
อัตตโนบท คือ
 ิตฺถ ิเร ิตฺโถ ิวฺโห อึ ิมฺเห
หมายเหตุ สมัยก่อนใช้พิมพ์ดีด และ โปรแกรมเอกสารทั่วไปไม่สามารถพิมพ์ สระ ิ ตัวเดียวได้ จึงเป็นที่มาว่าต้องพิมพ์ อิตฺถ แต่เนื่องจาก โปรแกรม spreadsheet ที่ใช้อยู่นี้ Libreoffice สามารถใช้ได้ จึงใช้รูปสระโดด เพราะ ทำให้สูตรคอมพิวเตอร์สั้นลง
สำหรับ ปโรกขฯ มีหลักการทำตัวรูปเท่านี้ ลองทดสอบสูตรกันดู
ปรัสสปทัตตะ
y
สำหรับประโยคกรรม

๒ อัชชตนี วิภัตติ
การทำตัวรูปซับซ้อนที่สุด
ให้จัดช่องให้ตรงกับวีดีโอ เพื่อให้สูตรที่ใช้ตรงกัน
เพื่อความรวดเร็วของการบันทึกให้ หยุด วีดีโอชั่วคราวขณะที่ทำสูตรบนคอมฯ ตาม

นมัสการ ขอกราบขอบพระคุณผู้ติดตามชม (หลังทำตัวรูปเสร็จควรบันทึก พร้อมคำแปลลงใน โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อการค้นหาได้สะดวกในภายหน้า)


วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

10 นาที สูตรทำตัวรูปง่ายๆ กับ หิยยัตตนี อาขยาต คำกริยา

10 นาที สูตรทำตัวรูปง่ายๆ กับ หิยยัตตนี อาขยาต คำกริยา

10 นาที สูตรทำตัวรูปง่ายๆ กับ หิยยัตตนี อาขยาต คำกริยา กับจุดสังเกตุที่ได้ จากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ อย่างน่าสนใจ
เสียง Background การเรียนการสอนบางตอนของท่านพระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต


วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

12 นาที เจาะลึกสูตรคอมพิวเตอร์ ปัญจมีวิภัตติ ๒

12 นาที เจาะลึกสูตรคอมพิวเตอร์ ปัญจมีวิภัตติ ๒

ทำตัวรูปคอมพิวเตอร์อาขยาต คำกริยา ปัญจมีวิภัตติ ๒
เสียง Background การเรียนการสอนบางตอนของท่านพระอาจารย์มหาสมปอง มุทิโต


วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

15 นาที ทำตัวรูป สัตตมีวิภัตติ เจาะลึกสูตร Vlookup

15 นาที ทำตัวรูป สัตตมีวิภัตติ เจาะลึกสูตร Vlookup 

การดึงต้นแบบ ธาตุ เพื่อทำตัวรูป
ให้ดูตัวรูปเบื้องต้นที่ได้จาก ธาตุ และ ปัจจัย
สูตรรวมความหมายเบื้องต้นจะสังเกตุเห็นได้ว่า ใช้ เครื่องหมายเชื่อมคำธรรมดา
ที่ใส่ข้อมูลเพื่ออ้างอิงในการทำตัวรูปเบื้องต้น
Vlookup ดึงตัวรูปเบื้องต้นมาจาก ชีต ฐานข้อมูล
วันนี้ให้ทุกท่านเจาะลึก ของ Vlookup เพียงเท่านี้ก่อน ให้ลองทำซ้ำๆดู ตรงนี้เป็นพื้นฐานของการทำระบบฐานข้อมูลบาลีซึ่งเป็นสูตรที่สำคัญมาก


วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

22 นาที การใช้คอมพิวเตอร์ ทำตัวรูปอาขยาต คำกริยา ปัญจมีวิภัตติ

22 นาที การใช้คอมพิวเตอร์ ทำตัวรูปอาขยาต คำกริยา ปัญจมีวิภัตติ

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวเกริ่นนำ
หลายท่านถาม ทำแบบกรอกอัตตโนมัติ ได้ไหม
คำตอบ คือ ได้
แต่ สาเหตุ ที่ไม่ทำคือ เพื่อให้ผู้จัดทำเองสามารถจดจำได้ และ ใช้วิธีนี้เพื่อลดระยะเวลาการพิมพ์ความหมายศัพท์ รวมถึง ความหมายนั้น ต้องถูกต้องตามหลักไวยยากรณ์ ด้วย ที่สำคัญ ต้องลดระยะเวลาการเรียนรู้

วันนี้เป็นตัวอย่างการทำตัวรูป แบบ ปัญจมีวิภัตติ
หนังสือ อ้างอิง นามาขยาต 

no in tipitaka ความหมายคือ ไม่มีใช้ในพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐ ของไทย แต่อาจมีใช้ใน อรรถกฐา หรือ ฎีกา
ช่องนี้ใช้ เพื่อ เตือนในการบันทึก

ชีตนี้ สำหรับทำตัวรูป
ชีตนี้ สำหรับบันทึกตัวรูปพิเศษ

หลักการ ก๊อปปี้ มาใส่ A2 ที่เหลือ เป็นการใส่สูตรทำตัวรูป

ปรัสสปทัตตะ
y
ใช้สำหรับเพื่อบอกว่าเป็นประโยคกรรม ซึ่ง ปกติจะเป็น ปรัสบท ซึ่งในประโยคกรรมจะเรียกว่า ปรัสสปทัตตะ
ลบ y ออก เมื่อไม่ใช่ประโยคกรรม

การ copy ลงในโปรแกรม Thai Pali New Gen Dictionary 

ตัวอย่าง ทำตัวรูป ในหมวดนี้ จากหนังสือ นามาขยาต
ประโยชน์อีกอย่าง เพื่อการค้นคว้าในภายหน้า เพราะ ตัวอักษรที่ใช้ไม่สามารถค้นคำได้ซึ่งทำให้ยากแก่การค้นคว้า






วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

แนะนำการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำตัวรูป กลุ่มอาขยาต (คำกริยา) วัตตมานาวิภัตติ

แนะนำการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำตัวรูป กลุ่มอาขยาต (คำกริยา) วัตตมานาวิภัตติ

อาขยาตหมวดที่ ๑ วัตตมานา ปัจจุบันกาล

แปลว่า ...อยู่ ปัจจุบันแท้
ย่อม... ปัจจุบันใกล้อดีต
จะ... ปัจจุบันใกล้อนาคต

วิภัตติฝ่ายปรัสสบท ฝ่ายอัตตโนบท
ปฐม         ติ อนฺติ เต อนฺเต
มัชฌิม สิ ถ         เส วฺเห
อุตตม มิ ม         เอ มฺเห

วีดีโอ การทำตัวรูป


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำตัวรูป กลุ่มนามปุริส

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำตัวรูป กลุ่มนามปุริส

เพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

คำอธิบายเพิ่มเติมจากในวีดีโอ

หลักการ ทำตัวรูปจากศัพท์เดิม โดยใช้สูตรคอมพิวเตอร์ให้เป็น บท (คำเชื่อม และ ความหมาย)
กลุ่มนี้คือ ศัพท์เดิม ที่เป็น นาม ปุงลิงค์ อะ การันต์ (ลงท้ายด้วย อะ และ ทำตัวรูปเหมือน ปุริส)
มีทั้งหมด ๑๑๕ คำ (ถ้าจะให้รู้ความหมายได้รวดเร็วต้องท่องอย่างหนัก หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจำ)
หลังประกอบวิภัตติ แล้ว กลุ่มปุริส จะได้ บท (ศัพท์ที่ประกอบวิภัตติ แล้ว จำนวน ๒๓ คำ)
3,565
แต่ปัญหาคือ ในแต่ละ ศัพท์เดิม ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะ จึงไม่ได้ใช้หมดทุกบท หรือ ไม่ได้ใช้ทุกวิภัตตินั่นเอง
ไม่เชื่อ ลองดู

คำถาม ทำไมในพระไตรปิฎก มีไม่ครบตามที่เรียน คำตอบ ที่พอจะเทียบเคียงกันได้คือ
เหมือนภาษาอังกฤษ ถ้าเราจะอ่านหนังสือ คอมพิวเตอร์ คำถามคือ หนังสือ คอมพิวเตอร์ ก็มีคำศัพท์ ภาษาอังกฤษไม่ครบเช่นกัน
จะเห็นได้จาก มีตำราเรียน ภาษาอังกฤษ เพื่อจุดประสงค์แตกต่างกันไป

คำถามต่อมาคือ ตำราโบราณ เรามาใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวรูปจะเหมือนกันหรือ ไม่ คำตอบคือ เหมือน เพราะ
สรุป อักษร ออกเสียงเองไม่ได้ ต้องอาศัยสระ โดยมีฐานกรณ์ เป็นตัวกำหนด การออกเสียงเพื่อให้เป็นสากล เหมือนกันทั่วโลก
ก่อนอื่น ตำราทำตัวรูป ครูบาอาจารย์ บอกมาว่า เป็นการทำมาจากตำราไวยยากรณ์ สันสกฤษ

ลองมาทำตัวรูปกัน 
ทำโดยคอมพิวเตอร์ ลด จาก ๒ สูตร กัจจายน เหลือ สูตรเดียว
อะ ในภาษาบาลี ไม่ปรากฎ รูปให้เห็น จึงเป็นที่มาให้ ไม่ต้องใช้สูตร ปุพฺพมโธฐิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย
และ สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
จึงนำมาประกอบได้เลย
ปุริสา จะสังเกตุได้ว่า คอมพิวเตอร์ เหลือสูตรเดียว
สูตรคอมพิวเตอร์ ใช้สูตรเดียวกันทุกวิภัตติ ต่างกันเพียงแค่ สระประกอบตัวสุดท้าย ของศัพท์
ในที่นี้ ปุริส คือ ส
สระวิภัติ
ถ้าเป็น โอ และ เอ เอามาไว้หน้า ส
อักษรต่อท้าย
เอา อักษรต่อท้าย มาต่อหลังจาก ส เช่น 

ขั้นตอนต่อไป คือ copy คำแปล ของบท ไปใส่ในโปรแกรม ดิกชันนารี
ลองเปลี่ยนดู เนื่องจาก ผู้แนะนำได้ทำไปหลายคำแล้วจึง ขอ ข้ามไปต่อเลย

เนื่องจากโปรแกรมนี้ ได้ถูกจัดคำแปล เป็นรูปแบบเรียบร้อยแล้วเพื่อความรวมเร็วในการกรอกข้อมูล และ เป็นระเบียบ
สอดคล้องกับไวยากรณ์
จึงขอลองทำให้ดูเลย

พอทำหลายๆคำศัพท์ จะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นต้องท่องก็จะจำได้ การ copy ก็จะเร็วขึ้น และที่สำคัญ
พุทธพจน์ ผิดไม่ได้ การทำให้เป็นรูปแบบดังที่แสดงนี้ จะช่วยลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลได้แน่นอน

ที่ Download โปรแกรม ตามดูเลย

good night นมัสการลา ภิกษุ สามเณร ทุกรูป ขออภัย ไม่สะดวกใช้เสียง




วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ทำงานเพราะอะไร ในแบบพุทธ

ทำงานเพราะอะไร ในแบบพุทธ (พุทธเศรษฐศาสตร์)

ในขณะที่มนุษย์ ถูกบีบคั้นด้วยระบบทุนนิยม จนทำให้บุคคลในสังคมเกิดความเครียดจนลุกลามเป็นความขัดแย้งในระดับมหภาค(โลก) ดังนั้น เราจะใช้แง่มุมใดในพระพุทธศาสนา เพื่อพิจารณา สามารถติดตามได้จาก วีดีโอ ด้านล่างนี้
หมายเหตุ กรณีที่วีดีโอ อาจไม่สามารถแสดงได้ในเพจ ผู้ติดตามสามารถตาม Link ด้านล่างเข้าไปดูได้

ตอนที่๑


ตอนที่ ๒