วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

แต่งประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ วากยสัมพันธ์ พื้นฐานกัตตุวาจก ๑

แต่งประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ วากยสัมพันธ์ หลักสูตรเร่งรัด ปธ.๖ สู่ ปธ.๗

จากการเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อ สอบถามปัญหาบาลี สู่ การเริ่มเรียนหลักสูตรเร่งรัดบาลีใหญ่สำหรับ ภิกษุ ท่านพระอาจารย์ ร้อยธรรม (ปธ.๖) จากสำนักปฏิบัติธรรม สวนวังแสงธรรม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

หลักสูตรนี้ มี อาจารย์ ๓ ท่าน สามารถติดต่อได้ที่วัดท่ามะโอ

  • พระอาจารย์ ภันเต หรอย ปธ.๙ ประโยค (ขออนุญาติ ใช้ชื่อเล่น ของท่านเนื่องจากผู้โพสต์มีกิจเร่งรีบไม่ได้ถามฉายาท่านมาไว้ จึงออภัยไว้ ณ.ที่นี้) 
  • ท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ (ปธ.๗)
  • ท่านอาจารย์ เขมานันท์ ละออ (ปธ.๖)




วีดีโอการสอน รวมระยะเวลากว่า ชั่วโมงครึ่งในวันแรก

แต่งประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ วากยสัมพันธ์ หลักสูตรเร่งรัด ปธ.๖ สู่ ปธ.๗ โดยท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ โปรดใช้หูฟัง



วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ภิกษุ ฆราวาส ต่างชาติ เยี่ยมชม ศึกษาดูงานการศึกษา วัดท่ามะโอ

พระมหาเถร แวะ เยี่ยมชม วัดท่ามะโอ

เป็นนิมิตรหมมายที่ดี วันที่ ๑๕ กพ. พศ.๒๕๖๓
  • พระครูวิเทศธรรมภาณ (ณัฐวัฒน์ กิตฺติพโล) เจ้าอาวาสวัด ธรรมประทีป ประเทศนิวซีแลนด์ พร้อม
  • พระอาจารย์ มัธยม
ได้มีโอกาสแวะเยี่ยมชม วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง โดยมิได้นัดหมาย



เยี่ยมชมศึกษาดูงานการศึกษา บาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ

พระอาจารย์ ร้อยธรรม จาก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย พร้อมศรัทธา รวม ภิกษุ ๒ รูป และ ฆราวาส ๑๐ ท่าน เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานการศึกษาบาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ 







ทัวร์ต่างชาติ จากประเทศแถบเกาะอังกฤษ

ร่วมสนทนาธรรมอย่างเป็นกันเอง ของ ภิกษุ วัดท่ามะโอ และ นักท่องเที่ยวประเทศ แถบเกาะอังกฤษ สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยวผู้สนใจในพระพุทธศาสนา




วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ความเหลื่อมล้ำ ฐานะการเงิน มาจาก กรรมเก่าหรือไม่

ความร่ำรวย ความยากจน มาจากกรรมเก่าหรือไม่

ความเชื่อของลัทธิเก่า


พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
หน้าที่ 0238 ข้อที่ 62

[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า
ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า (ติตถะ) หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการที่เรียกว่า "ท่า" เพราะเป็นที่อันสัตว์
ทั้งหลายข้ามไป ลอยไป และ เร่ร่อนไปด้วยการผุดขึ้น และ ดำลงไม่มีที่สิ้นสุด (องฺ.ติก.อ.  ๒/๖๒/๑๗๓,  องฺ.ติก.ฏีกา  ๒/๖๒/๑๗๙)
๓ ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืน
กรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ ๒
ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข
    ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วน
    แต่มีกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ"
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข
 ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
 มีการเนรมิตของพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ"
 ๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย"
            บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนมี
กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ" เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้
ว่า "ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า"
"สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมด ล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ในปาง
ก่อนเป็นเหตุ"
ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า "จริง"
เราจะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า "ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์  ประพฤติผิดพรหมจรรย์  พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิตพยาบาท และ เป็นมิจฉาทิฏฐิ"

อนึ่ง  เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มี
ความพอใจหรือความพยายามว่า "สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ" ก็เมื่อไม่ได้
กรณียกิจ และ อกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังมากล่าวนี้ สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็น
ของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็น
วาทะที่ ๑ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
(๑) บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า "สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ" เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า "ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า "สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ" ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ยอมรับว่า "จริง" เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ถ้าอย่างนั้น
เพราะการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ ท่านทั้งหลายก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์
ฯลฯ และ เป็นมิจฉาทิฏ" ...

อ้างอิงการแปลพระสูตรนี้จาก ฉบับหลวง

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
หน้าที่ 0167 ข้อที่ 501

  [๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้ ถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง
เข้า ย่อมอ้างลัทธิสืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ๓ อย่าง ทิฐิ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนีว่า สุข   ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้นล้วนแต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนมีแต่กรรม
ที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุเราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า

ได้ยินว่าท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ จริงหรือ ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้นถูก
เราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง
เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ จักต้องลักทรัพย์ จักต้องประพฤติกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จักต้องพูดเท็จ จัก---ต้องพูดคำส่อเสียด จักต้องพูดคำหยาบ จักต้องพูดคำเพ้อเจ้อ จักต้องมากไปด้วยอภิชฌา จักต้องมีจิตพยาบาท จักต้องมีความเห็นผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนโดยความเป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจ
โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตัว ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน
 ไร้เครื่องป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์พวก
นั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้อย่างนี้แลเป็นข้อแรก...

วินิจฉัยเพิ่มเติม

ชีวิตมี 2 ส่วน
๑. ส่วนที่รับเป็นผล ๒. ส่วนที่ทำเป็นเหตุ. 
ผลของกรรมเก่าเป็นไปตามอำนาจกรรม จะได้รับสิ่งที่ดีหรือร้ายก็ต้องได้รับ.
ส่วนที่ทำกรรมใหม่จะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ก็จะกลายเป็นกรรมเก่า เมื่อสำเร็จลง และ จะให้ผลในโอกาสที่ควร.

อ่านสำนวนไทยๆ ที่แปล ยังมึนๆ เล็กน้อย จะขอสรุป ดังนี้ เพราะ ถ้าบอกไม่เกี่ยวซะทีเดียว ก็ไม่ต่างจากพราห์มที่บอกว่า (ฐานะของตนสูงส่ง เพราะ ทำกรรมดีมาเพียงอย่างเดียว แม้แต่พระพุทธองค์ เองก็ได้พูดถึงเรื่องอดีตชาติ ในพระสูตรอื่นๆ)
จากพิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้ว คำกล่าวนี้ เป็นการบอก พาร์หมว่า
๑. ถ้ามัวแต่คำนึงถึงกรรมเก่า (ไม่ได้บอกว่าเก่าแค่ไหน อาจเป็นเมื่อวานก็ได้ เช่น เมื่อวานนาย ก. ปล้นร้านทอง วันนี้เลยโดนจับ) และ ไม่พิจารณา "สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ" ก็จะไม่มีเครื่องป้องกัน (ในการกระทำความชั่ว)
๒. ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า "จริง" เราจะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า "ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิตพยาบาท และ เป็นมิจฉาทิฏฐิ" 
(ก็เป็นจริงด้วย ไม่ใช่เรื่อง กรรมดีเพียงอย่างเดียว)
๓. สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็นของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน

ดังนั้นโดยสรุป ของพระสูตรนี้ จากการวินิจฉัย(ของผู้เขียน) ทั้งหมดข้างต้น น่าจะเป็นการบอกว่า พราห์ม มีความเห็นผิดเพราะ ไม่วินิจฉัยให้ครอบคลุมมากกว่า (เพราะพราห์ม มักอ้างว่าตนวิเศษสุด)

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กัลยาณมิตร 7 ประการ

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร

 [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑
เป็นที่เคารพ ๑ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดพูด ๑ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑ พูดถ้อยคำ
ลึกซึ้ง ๑ ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
 ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
ข้อที่ 34



 [๓๔]   สตฺตหิ   ภิกฺขเว   ธมฺเมหิ   สมนฺนาคโต   ภิกฺขุ  มิตฺโต
เสวิตพฺโพ   ภชิตพฺโพ   ปยิรุปาสิตพฺโพ  อปิ  ปนุชฺชมาเนนปิ  ฯ  กตเมหิ
สตฺตหิ   ปิโย   จ   โหติ   มนาโป  จ  ครุ  จ  ภาวนีโย  จ  วตฺตา
จ   วจนกฺขโม   จ   คมฺภีรญฺจ   กถํ  กตฺตา  โหติ  โน  จ  อฏฺฐาเน
นิโยเชติ   ฯ  อิเมหิ  โข  ภิกฺขเว  สตฺตหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  ภิกฺขุ
มิตฺโต เสวิตพฺโพ ภชิตพฺโพ ปยิรุปาสิตพฺโพ อปิ ปนุชฺชมาเนนปีติ ฯ
         ปิโย จ  ครุ ภาวนีโย   วตฺตา จ วจนกฺขโม
         คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา       โน จฏฺฐาเน นิโยชเย
         ยสฺมึ เอตานิ ฐานานิ      สํวิชฺชนฺตีธ ปุคฺคเล
         โส มิตฺโต มิตฺตกาเมน     อตฺถกามานุกมฺปโก
         อปิ นาสิยมาเนน         ภชิตพฺโพ ตถาวิโธติ ฯ