วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 2

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 2

ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา

อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ


การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๖ ๓๘)





ภาษาบาลี คือ อะไร พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ความเชื่อมโยง อักษร ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก บอกอะไรเราได้บ้าง

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาษาบาลี

บาลี (บาลี: ปาลิ पालि; สันสกฤต: पाळि ปาฬิ); (อังกฤษ: Pali) เป็นไวยากรณ์ที่เก่าแก่แขนงหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี


จุดเริ่ม การศึกษาที่มาของภาษาบาลี และ ที่มาของคลิปนี้

ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี



การเพิ่ม Font ภาษาบาลี

การเพิ่ม Font ภาษาบาลี

 1. ให้ทำการ เพิ่ม Font

1.1 Download Font บาลี


1.2 แตก Zip ไฟล์ เลือก Font แค่ที่เห็นเป็นชื่อชัดๆก็พอ แล้วทำการ Click ขวา Install for all users




Font แนะนำ Buddhawajana และ BuddhawajanaPali เมื่อต้องการพิมพ์งาน ภาษาบาลีเนื่องจากเห็นชัดทุกระดับ Font และ ภาษาบาลี โดยเฉพาะ ญ ฐ จุดล่าง นิคคหิต ใช้เป็นอักษรบน Keyboard ปกติได้ ไม่ต้องใช้อักษรพิเศษ และ เมื่อ Copy ข้อความจากเอกสาร ไปใช้ที่อื่น เช่น Facebook Line และ อื่นๆ จะไม่มีอักษรขยะ แต่จะมองเห็น เป็น ญ ฐ มีฐานเท่านั้น (กรณีไม่มีจุดล่าง)

1.3 ให้ดำเนินการตรวจสอบ ที่ Control Panel ของ Windows เลือก Locale เป็น ภาษาไทย





วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

บาลีไวยากรณ์ จากตำราโบราณ รวมท่อง พร้อมตัวอย่าง กัจจายนะสูตร ครบทั้ง 7 กัณฑ์

 กัจจายนะ

1. สนธิกัณฑ์


2. นามกัณฑ์


3. การกกัณฑ์





4. สมาสกัณฑ์




5. ตัทธิตกัณฑ์





6. อาขยาตกัณฑ์




7. กิพพิธานกัณฑ์




ตัวอย่างการใช้ คัมภีร์ กัจจายนะ ประกอบคำ ในภาษาบาลี




วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 1

 เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี


อถ โข อญฺญตรา เทวตา

อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺปํ เชตวนํ

โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ

อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา

ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ

ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามแห่งราตรีล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อถึงที่ประทับ ได้ถวายบังคม(อภิวาท) แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

   

พหู เทวา มนุสฺสา จ มงฺคลานิ อจินฺตยุํ

อากงฺขมานา โสตฺถานํ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล อันประเสริฐเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า)


อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา

ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล  (๓ ๐ ๓๘)



วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07
พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
...
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติ
พราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
บังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระ    พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ
ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา   บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
       พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก   เธอจึงได้
กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้
เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น   ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา  รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
ยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา    สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรา
อนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ



ภาษา อังกฤษ บาลี ภาษาไทย มาจากภาษาเดียวกัน? พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ใช่ภาษาบาลี หรือไม่





วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ชีวประวัติ พระอาจารย์ ธัมมานันทมหาเถระ 2021

ชีวประวัติ : พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ 2021

ชีวประวัติ : พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ
ท่านเกิดที่หมู่บ้านตาสี อำเภอเยสะโจ จังหวัดปขุกกู ในวันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ พ.ศ. ๒๔๖๓
(ตรงกับวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓) เป็นบุตรของนายโผติด นางงวยยิ ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดในหมู่บ้านของท่านเอง
ท่านมีพี่น้องอยู่ ๔ คน และเป็นลูกอันดับสามในบรรดาพี่น้องชายทั้ง ๔ คนนั้น
  ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาของท่านนำไปฝากพระญาณเถระ
ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตงทัด หมู่บ้านตาสินั่นเอง ได้เล่าเรียนหนังสือต่าง ๆ เริ่มต้นแต่ชั้นอนุบาลประถมเป็นต้นมา
จนถึงบทสวดมนต์ต่าง ๆ คือ พระปริตรทั้ง ๑๑ สูตร คัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชัยมังคลคาถา ชินบัญชรทั้ง
ภาคบาฬีและภาคแปลด้วย รวมทั้งโหราศาสตร์ต่าง ๆ ที่ใช้ตัวเลขเป็นภาษาบาฬี อันเป็นวิธีการเรียนสมัยดั้งเดิม
ของพม่า
  เมื่อท่านอายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระวิจารินทะเป็นอุปัชฌาจารย์ได้รับฉายาบาฬีว่า
“ธัมมานันทะ” สามเณรธัมมานันทะได้ท่องจำนาสนะ ทัณฑกรรม เสขิยวัตรและขันธกวัตร ๑๔ อย่างได้ตั้งแต่ยัง
เป็นเด็กวัดอยู่ หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาจารย์จึงได้ให้ท่องจำกัจจายนสูตร รวมทั้งคำแปลตาม
คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ และสอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ด้วย
  หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปวัดปัตตปิณฑิการาม ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอเยสะโจ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ต่าง ๆ
คือ พาลาวตาร กัจจายนะ สัททนีติ (สุตตมาลา) อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระ
วินัยปิฎก ในสำานักของพระอุตตรมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการาม

  เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยมีท่าน
อาจารย์สุชาตะ ซึ่งเป็นศิษย์ท่านอาจารย์อุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดยองเปนตา จังหวัดมองลำไยจุน
มีโยมอุปัฏฐากถวายอัฏฐบริขาร คือ นายพละ นางเสงมยะ อยู่ที่ บ้านเลขที่ ๒๐ ถนนซี จังหวัดมองลำไยจุน
  หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านอาจารย์อุตตระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการามได้ส่งท่านไปเรียนพระปริยัติ
ธรรมต่อในสำนักของท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันฑเล ท่านศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
และ คัมภีร์ปทวิจาร ในขณะนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันฑเลเป็นจุดเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ เพราะ
เป็นเมืองหลวงอันดับสองรองจากกรุงย่างกุ้ง ดังนั้น ท่านจึงย้ายจากจังหวัดมันฑเลไปสู่จังหวัดมะไลย ได้ศึกษา
คัมภีร์อภิธาน ฉันท์ อลังการะ เภทจินตา และกัจจายนสาระ ในสำนักของท่านอาจารย์จันทโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริ
โสมาราม หมู่บ้านกันจี จังหวัดมะไลยนั้น และ ยังได้ศึกษาคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ วิธีการทำรูปตามนัยของคัมภีร์
กัจจายนะ นามปทมาลา อาขยาตปทมาลา คัมภีร์พระอภิธรรมต่าง ๆ คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และ
ธาตุกถา รวม ๕ ปี ด้วยกัน จนกระทั่งสงครามโลกสงบ

  ในสมัยนั้น จังหวัดปขุกกูและอำเภอเยสะโจ ไม่นิยมสอบสนามหลวงเป็นทางการเพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้
แตกฉานเท่านั้น ดังนั้น ท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรเรื่อยมาจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ หลังจาก
สงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านจึงได้เริ่มสอบสนามหลวงได้ชั้น “ปถมะแหง่” ในขณะที่ท่านพำนักอยู่ ณ วัดสิริโสมาราม
หลังจากนั้น จึงย้ายไปวัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันฑเล อันเป็นที่พำนักเดิม และสอบได้ชั้น “ปถมะลัด” ที่นั้นพระ
อาจารย์ที่สอนคัมภีร์ต่าง ๆ ให้ คือ ท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์, พระชาเนยยพุทธิ, พระสุวัณณโชติภิวงศ์ และ
พระอานันทปัณฑิตาภิวงศ์
  หลังจากนั้น ท่านย้ายไปอยู่วัดเวยันโภงตา สอบชั้น “ปถมะจี” ได้เป็นอันดับสามของประเทศและสอบชั้น
“ธัมมาจริยะ” ได้ในปีต่อมา ณ สำานักเรียนวัดเวยันโภงตานั้น

  สมัยนั้น ท่านอาจารย์กัลยาณะเจ้าอาวาสวัดเวยันโภงตามีชื่อเสียงมากในการสอนคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะใน
เมืองมันฑเล ท่านจึงได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นธัมมาจริยะกับท่านอาจารย์กัลยาณะ และในขณะที่ท่านกำลังจะสอบชั้น
“ปถมะจี” ท่านยังไปศึกษาคัมภีร์ปัฏฐานเป็นพิเศษด้วยที่วัดปัฏฐานาราม ภูเขาสะไกย จังหวัดสะไกย โดยมีท่าน
อาจารย์อินทกะ (อัครมหาบัณฑิต) เป็นผู้สอน
 
  ท่านสอบคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะได้ ๓ คัมภีร์ คือ ปาราชิกบาฬี และอรรถกถา สีลักขันธวรรคบาฬีและ
อรรถกถา ธัมมสังคณีบาฬีและอัฏฐสาลินีอรรถกถา ได้รับตราตั้งว่า “สาสนธชธัมมาจริยะ” นอกจากนั้นท่านยัง
สอบคัมภีร์พิเศษในชั้นธัมมาจริยะได้อีกคือ คัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกายอรรถกถา และวิภังคาทิ-
อรรถกถา จึงได้รับตราตั้งอีกว่า “สาสนธชสิริปวรธัมมาจริยะ” ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัดต่าง ๆ เช่น
วัดสิริโสมาราม จังหวัดมะไลย วัดปัตตปิณฑิการาม อำเภอเยสะโจ และวัดเวยันโภงตา จังหวัดมันฑเล
 
  ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางกรมการศาสนาของประเทศสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านเป็นพระธรรม
ทูต เพื่อการเผยแผ่พระศาสนาเถรวาทในต่างประเทศ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่กะบาเอ ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์เพื่อการ
เผยแผ่ (ธัมมทูตวิทยาลัย) ศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น
 
เวลานั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ  ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์
มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอพระอาจารย์ผู้เชื่ยวชาญในพระปริยัติธรรมเพื่อมาสอนพระปริยัติ
ธรรมที่วัดโพธาราม ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่ารับรองกับท่านว่า เมื่อท่านสอนพระปริยัติธรรมใน
ประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งท่านต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม
จังหวัดนครสวรรค์ตามที่กรมการศาสนานิมนต์ โดยได้เดินทางมาในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ในเวลา
นั้นท่านมีภาระสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรจำนวน ๒๐๐ รูป ในวัดโพธารามเมื่อครบกำหนดแล้ว
ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ได้นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อท่านจึงได้พำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็น
เวลาถึง ๖ ปี

  ในขณะพำนักอยู่ที่นครสวรรค์นั้น ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าได้นิมนต์ท่านเพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์
พจนานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ ในสมัยปัจฉิมฎีกาสังคายนา
ที่กะบาเอ ณ กรุงย่างกุ้ง ท่านจึงได้เดินทางกลับประเทศของท่านเป็นการชั่วคราว เพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรม
พระไตรปิฎกฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ มีสุโพธาลังการฎีกาเป็นต้น รวม ๑ ปี หลัง
จากที่การสังคายนาพระบาฬี อรรถกถาและฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่าง ๆ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมายัง
วัดโพธารามตามเดิม
 
 ในขณะนั้น ท่านอาจารย์เนมินทะ (อัครมหาบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ชราภาพมากแล้ว จึงได้มี
หนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า มีความประสงค์จะนิมนต์ท่านอาจารย์ธัมมานันทะให้มาเผยแผ่พระ
ศาสนาที่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าก็ได้มีหนังสือมาถึงท่าน ดังนั้น ท่านจึง
ย้ายจากจังหวัดนครสวรรค์มาอยู่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๘ (ตรงกับวัน
ที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘) หลังจากที่ท่านมาอยุ่ที่นี่ได้ ๕ เดือน ท่านอาจารย์เนมินทะเจ้าอาวาสวัดท่ามะ
โอก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ท่านอาจารย์ธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอสืบต่อมา ท่านได้
เริ่มกิจการเผยแผ่พระศาสนาทางด้านพระปริยัติธรรมด้วยการตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นในวันพฤหัสบดี แรม ๒
ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๑๐ (ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐) ท่านสามารถก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมให้มีชื่อเสียงขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะศิษยานุศิษย์ของท่านสามารถสอบได้ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาฬีทุก ๆ
ปีเป็นจำนวนมาก
 
 เนื่องจากการศึกษาพระไตรปิฎกจำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์ คือ คัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์วุตโตทัย และ คัมภีร์สุโพธาลังการ ท่านจึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระ
ไตรปิฎกทั้ง ๔ คัมภีร์นั้น ด้วยการสอนอธิบายและให้นักศึกษาท่องจำคัมภีร์เหล่านั้นพร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแผ่ ถึง
แม้ว่าท่านจะชราภาพมากแล้ว ก็ไม่คำนึงถึงตัวท่านเอง ท่านได้อุตสาหะสั่งสอนศิษย์ให้พยายามศึกษาเล่าเรียนจน
ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งศิษยานุศิษย์เหล่านั้นก็ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้ภาษาบาฬีเป็นอย่างดี
 
คัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษาและใช้เป็นคัมภีร์ค้นคว้านั้น ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้จัดพิมพ์ไว้ รวม ๒๐ คัมภีร์ด้วยกัน คือ

๑.กัจจายนะ ๒.ปทรูปสิทธิ
๓.โมคคัลลานพยากรณะ ๔.สัททนีติสุตตมาลา
๕.นยาสะ ๖.อภิธาน
๗.สุโพธาลังการะ ๘.ฉันท์
๙.สุโพธาลังการปุราณฎีกา ๑๐.สุโพธาลังการอภินวฎีกา
๑๑.ขุททสิกขา, มูลสิกขา ๑๒.ธาตุวัตถสังคหะ
๑๓.เภทจินตา ๑๔. กัจจายนสาระ
๑๕.ณวาทิโมคคัลลานะ ๑๖.พาลาวตาร
๑๗.สังขยาปกาสกะ ๑๘.สังขยาปกาสกฎีกา
๑๙.ปโยคสิทธิ ๒๐.วุตโตทัยฉันโทปกรณ์แปล
 
ส่วนคัมภีร์ที่ท่านรจนาด้วยตนเองมี ๔ คัมภีร์ คือ
๑.สำนวนภาษาในพระพุทธศาสนา
๒.อุปสัมปทกัมมวาจาวินิจฉัย
๓.สังขิตตปาติโมกขุทเทสวินิจฉัย
๔.นานาวินิจฉัย

ในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน พระอาจารย์มหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ หรือ พระอาจารย์ มหาต่วน
และ วัดจากแดงได้ จัดทำตำราเหล่านี้ออกมา เรียบเรียงใหม่ และ คัดแยกออกมาเพิ่มขึ้นมากมาย
โดย วัดท่ามะโอ ยังได้นำหนังสือหลัก ที่ใช้ใน สมัยพระอาจารย์ ปู่ ธัมมา นันทะ มาสอนโดยเน้นการเรียนแบบดั้งเดิม
และมุ่งเน้นความทันสมัย ด้วยการเรียนการสอนโดยใช้ คอมพิวเตอร์ และ หนังสือดิจิตอลแบบใหม่ 
ที่ทาง พระอาจารย์ มหาต่วน และ วัดจากแดง ได้จัดทำขึ้น
การสอน ท่านอาจารย์ แต่ละท่าน มุ่งเน้น จดบันทึกลงในหนังสือดิจิตอล เป็นหลัก เพื่อให้ไม่เกิดการสอนซ้ำ 
เพียงแต่จะกลับมาทบทวนเมื่อมีนักศึกษา ทั้งภิกษุ สามเณร หรือ ฆราวาส เข้ามาถาม
ในขณะที่นักศึกษา เอง ท่านอาจารย์ ได้เปิดกว้าง เมตตา อนุญาติ เรื่องอุปกรณ์ การเรียน สามารถใช้ โน๊ตบุ๊ค หรือ แท็ปเล็ต
เพื่อไม่ต้องแบกหนังสือหนักๆ และ จดบันทึกภายในห้องเรียนได้
หรือ จะยังถนัดในการใช้ หนังสือ เล่มใหญ่ๆ ก็สามารถใช้ได้
ด้วยบารมีของ หลวงปู่ ธัมมา นันทะ ทำให้ ทางวัดท่ามะโอ สามารถมี
สถานที่ พักสำหรับภิกษุ ไม่ว่า ไกล ใกล้ ผู้ต้องการ ศึกษา ตามหลักสูตรดั้งเดิม
ทางวัดท่ามะโอ ได้มีที่พักพร้อม สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาเล่าเรียน

ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐบาลสหภาพพม่าได้เห็นเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแผ่พระศาสนาของท่าน
อาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ ทางการจึงได้น้อมถวายตำแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต” อันทรงเกียรติ แด่ท่าน 
พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ
 
ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๙
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้น้อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพุทธศาสตร์ และใน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านพระอาจารย์ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรสาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการบูชาเกียรติคุณ
ความดีของท่านซึ่งจะเป็นทิฏฐานุคติอันดีงามแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายสืบต่อไป
 
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ฯ



วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ภิกษุ หน้าที่ มีอะไรบ้าง ตาม พระไตรปิฎก อากังขสูตร

หน้าที่ของภิกษุ ตาม พระไตรปิฎก อากังขสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 24
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
ข้อที่ 71
 อากังขวรรคที่ ๓
                          อากังขสูตร
     [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
พระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์
อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจรอยู่เถิด จง
เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจที่เคารพ และที่ยกย่องของ
สพรหมจารีทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความ
สงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌานประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย
ไซร้ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด ขอสักการะ
ของชนเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า ญาติสาโลหิตเหล่าใด ผู้ละไปแล้ว
กระทำกาละแล้วมีจิตเลื่อมใส ย่อมตามระลึกถึง ขอการระลึกถึงแห่งญาติสาโลหิตเหล่านั้นพึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ...เพิ่มพูนการ
อยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะและ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลาย ...
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิดถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย
เหลือบ ยุงลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ถ้อยคำอันหยาบช้า พึงเป็นผู้อดกลั้น
ต่อทุกขเวทนาอันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันไม่ชื่นใจไม่พอใจ อันนำชีวิต
ไปไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้เป็นผู้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี และขอความไม่ยินดีและ
ความยินดีไม่พึงครอบงำเรา เราพึงครอบงำความไม่ยินดี และความยินดีอันเกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุ
พึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียว และขออภัยและความหวาดเสียวไม่พึง
ครอบงำเราได้ เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้
กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึง
เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ... เพิ่มพูนการอยู่
เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
ไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไซร้ ภิกษุเหล่านั้น
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย  ประกอบความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความ
สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิดจงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมี
ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
                          จบสูตรที่ ๑




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ผู้คน สูงต่ำ ฐานะ มีให้เห็น แต่เป็นผู้เสมอกัน เมื่อมีศีล ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา...

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 27

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑

รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง

 [๗๖๑] ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา    สุทฺทา จณฺฑาลปุกฺกุสา

            อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน          ภวนฺติ ติทิเว สมา ฯ

 [๗๖๑] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ

            ประพฤติธรรมในธรรมวินัยนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตรทิพย์. 




วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564

ครุธรรม 8 ประการ หรือ ครุธรรม ๘ ประการ ก่อนที่จะบวช เป็นภิกษุณี รวบ หญิง แต่งเหมือนภิกษุ อ้างตัวเป็นพระอรหันต์ (บทพระบาลีพร้อมแปล จากพระไตรปิฎก)

ครุธรรม ๘ ประการ

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07

พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ข้อที่ 516

[๕๑๖]   สเจ   อานนฺท   มหาปชาปตี   โคตมี  อฏฺฐ  ครุธมฺเม
ปฏิคฺคณฺหาติ    สา    วสฺสา    โหตุ   อุปสมฺปทา   วสฺสสตุปสมฺปนฺนาย
ภิกฺขุนิยา   ตทหุปสมฺปนฺนสฺส   ภิกฺขุโน   อภิวาทนํ  ปจฺจุฏฺฐานํ  อญฺชลิ-
กมฺมํ  สามีจิกมฺมํ     กาตพฺพํ     อยมฺปิ     ธมฺโม    สกฺกตฺวา    ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย  น  ภิกฺขุนิยา  อภิกฺขุเก
อาวาเส    วสฺสํ    วสิตพฺพํ    อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   อนฺวฑฺฒมาสํ  ภิกฺขุนิยา
ภิกฺขุสงฺฆโต     เทฺว     ธมฺมา     ปจฺจาสึสิตพฺพา    อุโปสถปุจฺฉกญฺจ
โอวาทุปสงฺกมนญฺจ   อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา
ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ  อนติกฺกมนีโย  วสฺสํ  วุฏฺฐาย  ภิกฺขุนิยา  อุภโต-
สงฺเฆ  ตีหิ   ฐาเนหิ   ปวาเรตพฺพํ   ทิฏฺเฐน   วา   สุเตน   วา  ปริสงฺกาย
วา    อยมฺปิ    ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา
ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   ครุธมฺมํ   อชฺฌาปนฺนาย  ภิกฺขุนิยา  อุภโตสงฺเฆ
ปกฺขมานตฺตํ     จริตพฺพํ    อยมฺปิ     ธมฺโม    สกฺกตฺวา    ครุกตฺวา
มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   เทฺว   วสฺสานิ   ฉสุ
ธมฺเมสุ     สิกฺขิตสิกฺขาย     สิกฺขมานาย    อุภโตสงฺเฆ    อุปสมฺปทา
ปริเยสิตพฺพา   อยมฺปิ  ธมฺโม  สกฺกตฺวา  ครุกตฺวา  มาเนตฺวา  ปูเชตฺวา
ยาวชีวํ    อนติกฺกมนีโย    น   ภิกฺขุนิยา   เกนจิ   ปริยาเยน   ภิกฺขุ
อกฺโกสิตพฺโพ    ปริภาสิตพฺโพ    อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา
มาเนตฺวา    ปูเชตฺวา   ยาวชีวํ   อนติกฺกมนีโย   อชฺชตคฺเค   โอวโฏ
ภิกฺขุนีนํ    ภิกฺขูสุ   วจนปโถ   อโนวโฏ   ภิกฺขูนํ   ภิกฺขุนีสุ   วจนปโถ
อยมฺปิ   ธมฺโม   สกฺกตฺวา   ครุกตฺวา   มาเนตฺวา   ปูเชตฺวา  ยาวชีวํ
อนติกฺกมนีโย   สเจ   ปนานนฺท   ๑  มหาปชาปตี  โคตมี  อิเม  อฏฺฐ
ครุธมฺเม ปฏิคฺคณฺหาติ สา วสฺสา โหตุ อุปสมฺปทาติ ฯ

ครุธรรม ๘ ประการ
 [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี ยอมรับ
ครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง    คือ:
       ๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม  สามีจิกรรม
แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟัง  คำสั่งสอน ๑ จาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ   นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง    ๓ คือ โดยได้
เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ   เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย  ธรรมแม้นี้
ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้ว
ในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด
ตลอดชีวิต
       ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรม แม้นี้ ภิกษุณีต้อง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทาง ให้ภิกษุทั้งหลาย
สอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
       ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้   ข้อนั้นแหละ
จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ

เครดิต ภาพ ไลน์ และ ข่าวสด 29/04/2021





วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี พร้อมความหมาย ทำไมต้องเรียนบาลี กับ วิปัสนาชุนี แค่คำนำก็สนุกแล้ว

วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ในวิปัสนาชุนี ภาษาบาลี พร้อมคําแปล

นี่แค่เริ่มต้น กับ หลายคำถาม ที่วิปัสสนาชุนี มีคำตอบ เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมจึงต้องศึกษาภาษาบาลี
เพื่อคลายปมในใจ เพื่อให้ใจหนักแน่นไม่คลอนแคลน ก่อนศึกษาพระธรรม และ น้อมนำไปปฏิบัติ
โปรดลด เสียง เมื่อใช้ หูฟัง หรือ เครื่องขยายเสียง (อัดเสียงด้วยไมค์ คุณภาพสูง) 



วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี พร้อมความหมาย วันละประโยค จงอย่าประมาทเลย จากพระไตรปิฎก และ หนังสือ วิปัสนาชุนี

 ปริเฉทที่ ๑ ไม่ต้องเสียใจ อย่าเสียดายโอกาส อย่าได้ประมาทเลย

ประโยคเต็มที่

ฌายถ ภิกฺขเว มา ปมาทตฺถ

มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ

อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี.

(.มู. /๑๖๗)

คำแปลศัพท์ทีละคำ

ฌายถ ตรึก เพ่ง ไหม้ (อยู่) (ย่อม) ตรึก เพ่ง ไหม้ (จะ) ตรึก เพ่ง ไหม้

ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต

เฌธาตุ อปัจจัย วัตตมานาวิภัตติ ฌาย

ปรัสบท พหุ มัชฌิม


ภิกฺขเว นาม ปุง. กลุ่ม ภิกฺขุ ศัพท์เดิม ภิกฺขุ ภิกษุ

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ภิกษุ ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ


มา ๑ นิ. อย่า ใช้ปฏิเสธธาตุที่ประกอบด้วยวิภัตติ ๔ หมวด คือ ๑. หมวดปัญจมี เช่น มา กโรตุ จงอย่ากระทำ ๒. หมวดสัตตมี เช่น มา อาหเรยฺยาสิ อย่าพึงนำมา ๓. หมวดหิยัตตนี เช่น มา อวจ อย่าได้กล่าวแล้ว ๔. หมวด อัชชัตตนี เช่น มา กริ อย่ากระทำแล้ว

๒ อย่าน่ะ


ปมาทตฺถ ประมาท (แล้ว)

ประจักษ์ต่ออินทรีย์ หรือไม่ประจักษ์ ก็ตาม

ปอุปสัค+มทฺธาตุ+อปัจจัย+ หิยยัตตนีวิภัตติ ปมาท อดีตล่วงแล้วเมื่อวานนี้

ปรัสบท พหุ มัชฌิม

อยู่ในประโยคที่มี "มา" นิบาต หิยัตตนี และ อัชชตนี จะใช้ในอรรถเดียวกับปัญจมีวิภัติ (ไม่ใช้ในอรรถอดีตกาลปกติของตน)


ปจฺฉา นิ. ในภายหลัง เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ เช่น ปจฺฉา วินยธโร ตตฺถ ปวิฏฺโ อ. พระวินัยธร เข้าไปแล้ว ในซุ้มแห่งนํ้านั้น ในภายหลัง [. :โกสมฺพิกวตฺถุ หน้า ๔๙]


วิปฺปฏิสาริโน นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม วิปฺปฏิสารี ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ

ปฐมา พหุ. อันว่าผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

จตุตถี เอก. แก่, เพื่อ, ต่อ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ เป็นผู้รับ

สัมปทาน

ฉัฏฐี เอก. แห่ง, ของ, เมื่อ ผู้มีความเดือดร้อน เสียใจ แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ อาการกริยาการเป็นเจ้าของ

สมูหสัมพันธะ สามีสัมพันธะ อนาทร


อหุวตฺถ (ได้) มี เป็น (แล้ว)

อดีตล่วงแล้วเมื่อวานนี้

ประจักษ์ต่ออินทรีย์ หรือไม่ประจักษ์ ก็ตาม

ออาคม + หูธาตุ + หิยยัตตนีวิภัตติ อหุว

ปรัสบท พหุ มัชฌิม อัตตโนบท เอก ปฐม

อยู่ในประโยคที่มี "มา" นิบาต หิยัตตนี และ อัชชตนี จะใช้ในอรรถเดียวกับปัญจมีวิภัติ (ไม่ใช้ในอรรถอดีตกาลปกติของตน)


อยํ ๑ อิม ปุง. กลุ่ม อิม ศัพท์เดิม อิม นี้

ปฐมา เอก. อันว่านี้ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

๒ อิม อิต. กลุ่ม อิม ศัพท์เดิม อิม นี้

ปฐมา เอก. อันว่านี้ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

๓ นาม ปุง. นปุง กลุ่ม มน ศัพท์เดิม อย เหล็ก

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ เหล็ก กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


โว ท่าน เธอ คุณ (อลิงคนาม)

ห้ามเรียงต้นประโยค

สัพ. ปฐมา ทุติยา ตติยา จตุตฐี ฉัฐถี พหุ


อมฺหากํ ๑ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน

อมฺหสทฺทปทมาลา

พหุวจน ทุติยา จตุตถี ฉัฏฐี

แปลง อมฺห กับวิภัตตินั้น เป็นรูปนั้นๆ

เม, โน เมื่อมีบทอื่นนำหน้า จึงใช้เรียงในประโยคได้

แปลง อมฺห เป็น อสฺม และแปลง นํ วิภัตติเป็น อากํ

๒ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน (อลิงคนาม)

อมฺห สัพ. ทุติยา จตุตฐี ฉัฏฐี พหุ


อนุสาสนี นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม อนุสาสนี อนุสาสนี

ปฐมา เอก. อันว่าคำสอนในศาสนา อนุสาสนี ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ปฐมา พหุ. อันว่าคำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ คำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ คำสอนในศาสนา อนุสาสนี ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม



ความต่าง ระหว่าง ตฺถ หิยัตตนี กับ ตฺถ อชฺชตนี

ตฺถ หิยตฺตนี จะอยู่หลังสระ "" เช่นอคมตฺถ

ตฺถ อชฺชตนี จะอยู่หลังสระ "อิ" (หรือ อุ บ้าง) เช่น อคมิตฺถ อคมุตฺถ

แปลประโยคเต็ม โดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา

ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ตุมเห เธอทั้งหลาย)

ฌายถ จงเพ่ง (จงเจริญทั้งสมถะ และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน)

มา ปมาทตฺถ อย่าได้ประมาทเลย

มา อหุวตฺถ อย่าได้เป็น วิปฺปฏิสาริโน ผู้เสียใจ ปจฺฉา ในภายหลัง

อยํ นี้ อนุสาสนี เป็นโอวาท อมฺหากํ ของเรา โว สำหรับพวกเธอ




วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี วันละประโยค จากหนังสือ วิปัสสนาชุนี ปริเฉทที่ ๑ โอกาสทองกับธรรม อันทรงคุณค่า

โอกาสทองกับธรรม อันทรงคุณค่า

ประโยคเต็มที่ ๒

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว

น หิ โน สงฺครํ เตน มหาเสเนน มจฺจุนา

(.อุ. ๑๓/๒๖๒)

คำแปลศัพท์ทีละคำ

อชฺเชว

ในวันนี้นั่นเทียว

อชฺช+เอว

อชฺช อัพ. วันนี้ มาจาก อิม ศัพท์ ลง ชฺช ปัจจัย แปลง อิม เป็น อ สำเร็จรูปเป็น อชฺช ใช้เป็น ประธาน แปลว่า อ. วันนี้ ใช้เป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในวันนี้

กิจฺจมาตปฺปํ

.ความเพียร อันบุคคล พึงกระทำ

กิจฺจํ+อาตปฺปํ

โก

.ปุง. ใคร, อะไร, ไหน

กึสทฺทปทมาลา ปฐมา เอก

ชญฺญา

. พึงรู้, ควรรู้ โดยมีบทวิเคราะห์ว่า

โก ชญฺญา มรณํ สุเว อ.ใคร พึงรู้ ซึ่งความตาย ในวันพรุ่งนี้

มรณํ

นาม นปุง. กลุ่ม จิตฺต ศัพท์เดิม มรณ ความตาย

ปฐมา เอก. อันว่าความตาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ความตาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

สุเว

ในวันพรุ่งนี้

๑ นิ. ไม่, หามิได้ เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ แปล พร้อมกับกิริยาหรือนามศัพท์ ให้แปลว่า ไม่ แปล พร้อมกับกิริยา เช่น น กเถสิ = ไม่กล่าวแล้ว แปล พร้อมกับนามศัพท์ เช่น น จิรสฺส = ต่อกาลไม่นาน ถ้าแปลทีหลังกิริยาหรือนามศัพท์ ให้แปลว่า หามิได้ แปลหลังกิริยา เช่น น กิลมนฺติ = ย่อม ลำบาก หามิได้ แปลหลังนามศัพท์ เช่น น อสฺโส = เป็นม้า หามิได้

๒ แทนเลข ศูนย์

หิ

จริงอยู่ ก็ เพราะว่า ดังจะกล่าวโดยพิสดาร

(อย่างน่าสงสารที่สุด)

นิบาต ได้แก่ (หิ จ) ปน ศัพท์ที่แปลว่า ก็ ซึ่งวางไว้ตำแหน่งที่ ๒ หรือ ๓ ก็ได้

โน

๑ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน

ห้ามเรียงต้นประโยค

อมฺหสทฺทปทมาลา

พหุวจนะ ปฐมา ทุติยา ตติยา จตุตถี ฉัฏฐี

แปลง อมฺห กับวิภัตตินั้น เป็นรูปนั้นๆ

เม, โน เมื่อมีบทอื่นนำหน้า จึงใช้เรียงในประโยคได้

แปลง อมฺห เป็น อสฺม และแปลง นํ วิภัตติเป็น อากํ

๒ ข้าพเจ้า, ผม, ดิฉัน (อลิงคนาม)

อมฺห สัพ. ปฐมา ทุติยา ตติยา จตุตฐี ฉัฏฐี พหุ

สงฺครํ

๑ ประณีประนอม

๒ ท่านแสดงไว้ในอรรถ ๖ อย่าง คือ () มิตตาการะ การทำตัวเหมือนมิตร () ลัญชทานะ การให้สินบน () พลราสิ หมู่พล () วิปัตติ ความวิบัติ () ยุทธะ การรบ () ปฏิญญา การรับรอง

อ้างอิง

๑ วิปัสสนาชุนี อ.จำรูญ ธรรมดา

๒ อภิธานวรรณา พม.สมปอง มุทิโต

เตน

(อันผู้มีปัญญา อันผู้ฉลาด)นั้น

๒ นาม นปุง. กลุ่ม จิตฺต ศัพท์เดิม ต นั้น

ตติยา เอก. ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง นั้น เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ หน้าที่ หรือ ความสามารถ

กรณะ ตติยาวิเสสนะ อนภิหิตกัตตา ตติยาวิเสสนะ เหตุ อิตถัมภูตะ (ถ้าตามด้วย สทฺธึ จะเรียกว่า สหตฺถตติยา)

๓ เพราะเหตุนั้น

๔ เขา ปุริสสัพนาม ต ศัพท์ ปุง ตติยา เอก วจนะ

เขา ปุริสสัพนาม ต ศัพท์ นปุง ตติยา เอก วจนะ

๕ ต ศัพท์ ปุง ศัพท์เดิม ต นั้น

ตติยา เอก. ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง นั้น เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ หน้าที่ หรือ ความสามารถ

กรณะ ตติยาวิเสสนะ อนภิหิตกัตตา ตติยาวิเสสนะ เหตุ อิตถัมภูตะ (ถ้าตามด้วย สทฺธึ จะเรียกว่า สหตฺถตติยา)

๕ ต ศัพท์ นปุง ศัพท์เดิม ต นั้น

ตติยา เอก. ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง นั้น เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ หน้าที่ หรือ ความสามารถ

กรณะ ตติยาวิเสสนะ อนภิหิตกัตตา ตติยาวิเสสนะ เหตุ อิตถัมภูตะ (ถ้าตามด้วย สทฺธึ จะเรียกว่า สหตฺถตติยา)

มหาเสเนน

นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม มหาเสน ผู้มีสมุนเสนามากมาย มีบริวารมาก

ตติยา เอก. ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง ผู้มีสมุนเสนามากมาย มีบริวารมาก เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ หน้าที่ หรือ ความสามารถ

กรณะ ตติยาวิเสสนะ อนภิหิตกัตตา ตติยาวิเสสนะ เหตุ อิตถัมภูตะ (ถ้าตามด้วย สทฺธึ จะเรียกว่า สหตฺถตติยา)

มจฺจุนา

จากความตาย กับพญามัจจุราช

มีบทวิเคราะห์ว่า น เต มุจฺจนฺติ มจฺจุนา อ.สัตว์ ท.เหล่านั้น ย่อมไม่พ้น จากความตาย



แปลประโยคเต็ม โดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา

โก ใครเล่า ชญฺญา จักพึงรู้ (ชีวิตํ วา) มรณํ วา ว่าจักเป็นหรือจักตาย สุเว ในวันพรุ่งนี้ อิติ เพราะเหตุนั้น กิจฺจํ พึงกระทำ อาตปฺปํ ซึ่งการเจริญวิปัสนา อชฺเชว ในวันนี้เทียว

หิ ด้วยว่า สงฺครํ การประณีประนอม เตน มจฺจุนา กับพญามัจจุราช มหาเสเนน ผู้มีสมุนเสนามากมาย นตฺถิ ย่อมไม่มี โน แก่พวกเรา (ตสฺสมา เพราะเหตุนั้น โก ใครเล่า ชญฺญา จักพึงรู้ สุเว มรณํ ว่าจะตายในวันพรุ่งนี้)




เครดิตภาพยนตร์ พิภพมัจจุราช