แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทั่วไป แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทั่วไป แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

หอไตร หรือ หอพระไตรปิฎก อาคารเก็บ พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรล้านนา

 หอไตร หรือ หอพระไตรปิฎก อาคารเก็บ พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรล้านนา

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
วัดโบราณ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ทางภาคเหนือ จะมีอาคารเล็กๆ
เรือนสูงอยู่ เพื่อไว้เก็บพระไตรปิฎก หรือจะเรียกว่า หอไตรฯ 
แต่จากการสืบค้นพบว่า พระไตรปิฎก ที่จานด้วยอักษรล้านนา จริงๆ ก่อนปี 2535-3540 นั้นมีหลงเหลือน้อยมาก จนแทบไม่พบ จึงเป็นที่มาในปีหลัง ราวปี พศ.2535-2540 อาจารย์ นักวิชาการ ภาษาล้านนา และ วัดที่เป็นสำนักเรียนในภาคเหนือจึงร่วมกัน คัดพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรล้านนา ขึ้นมาใหม่ ถอดอักษรมาจาก ฉบับบาลีสยามรัฐ อักษรไทย


วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ภาษาบาลี คือ อะไร พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ความเชื่อมโยง อักษร ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก บอกอะไรเราได้บ้าง

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาษาบาลี

บาลี (บาลี: ปาลิ पालि; สันสกฤต: पाळि ปาฬิ); (อังกฤษ: Pali) เป็นไวยากรณ์ที่เก่าแก่แขนงหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี


จุดเริ่ม การศึกษาที่มาของภาษาบาลี และ ที่มาของคลิปนี้

ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี



วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ทำไมจึงต้องมีการเรียนภาษาบาลี เพื่อแปลพระบาลี สวดมนต์ รู้ความหมาย

การคัดลอกยังมีโอกาสผิดแล้ว การแปลจะไม่มีโอกาสผิดพลาดบ้างได้อย่างไร

การคัดลอกยังมีโอกาสผิดแล้ว การแปลจะไม่มีโอกาสผิดพลาดบ้างได้อย่างไร พระไตรปิฎก ทุกฉบับ มีโอกาสพิมพ์ผิดสะกดผิด โปรดทำความเข้าใจช้าๆ รวมถึงภาษไทยด้วย รูปนี้เป็นโปรแกรม ศัพท์พระบาลี ดึงออกจากโปรแกรม พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ ดิจิตอล  ทุกคำ มีคำบาลีที่ไม่ซ้ำกันประมาณ 17x,xxx จะเห็นว่า สีเหลือง มีคำศัพท์ที่ key ข้อมูลผิด (จริงๆ มีมากกว่านี้ แต่ได้ใช้เทคนิค คอมพิวเตอร์ นำออกไปมากแล้ว) ดังนั้น

ก่อนหน้า...พระไตรปิฎกบาลี อักษรกำพูชา ใบลาน(พม่า หรือ อื่นๆ) => พระไตรปิฎกบาลี อักษรไทย ใบลาน => บาลีอักษรไทย คัดลอกลงกระดาษ => บาลีอักษรไทย คัดลอกเข้าโรงพิมพ์ พิมพ์เป็นเล่ม => คัดลอกเข้าไฟล์คอมพิวเตอร์ => Convert to PDF => โปรแกรมพระไตรปิฎก => โปรแกรมดิกชันนารีบาลี => แปลเป็น พระไตรปิฎก ภาษาไทย => คัดลอก โรงพิมพ์... ไปเรื่อยๆ

ตรงนี้จะเห็นได้ว่าขบวนการคัดลอก มีโอกาสผิดพลาด (ไม่ได้ต่อว่าใครหน่วยงานใด) ถ้าไม่มีการคัดลอกเป็นอักษร หรือ การท่องเพียงอย่างเดียว ก็มีโอกาสผิดมากกว่า เพราะเป็น ท่องจำ สวดสาธยาย ต่อๆ กันมา ดังเช่น ภาษาอักกฤษ คนไทยพูด มาเลเซีย พม่า ลาว ... เป็นต้น พูดสำเนียงต่างกัน ดังนั้น การเรียนภาษาอังกฤษ บาลี ด้วยอักษร จึงมีการเรียน ฐานกรณ์ (การออกเสียงของอักษร)เป็นเบื้องต้น เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารไม่ให้ผิดเพี้ยนกันมากในแต่ละถิ่น และ เป็นสากล เช่น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส เป็นต้น



วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่าง ความเชื่อทางด้านศาสนาในตะวันตก กับ Covid-19

ความเชื่อทางด้านศาสนาในตะวันตก

ความเชื่อว่าโลกแบน ของโลกตะวันตกในอดีต

สมัยโบราณ คนที่บอกโลกกลม โดนตำหนิ ต่อว่าหนัก โดยกลุ่มผู้มีความเชื่อด้านศาสนาอย่างแรงกล้า (ไม่ได้มีคนนำมาเผยแพร่มากนักเพราะไม่ได้มีประโยชน์อะไร) และ เบาลง เบาลง ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ความเชื่อเรื่อง โลกแบนหมดไป 

โรคระบาด

การรักษาโรคบางชนิดที่จะต้องใช้การแพทย์สมัยใหม่ ก็เช่นกัน Covid-19 เป็นสิ่งที่ป้องกันได้และโอกาส สร้างวัคซีนป้องกันมีได้ในเวลาอันใกล้ เพราะมีขบวนการมาตรการทั่วโลกออกมาทุกวัน (มีค. พศ.๒๕๖๓) ในขณะที่ความเชื่อเรื่องการสวดรักษาโรคนี้ ไม่มีข้อพิสูจน์ใดเลย (สวดเพื่อความสบายใจ ก็ว่ากันไป) แต่ทั้งนี้ควรสอดคล้องกับการควบคุมโรค (ตัวอย่างประเทศอินเดีย ปิด ทัชมาฮาล) อีกทั้งยังมีความพยายามนำเสนอข้อมูลถึงเรื่องการสวดรักษาโรค ซึ่งไม่ได้ต่างอะไรกับ การดึงดันว่า "ฉันเชื่อว่าโลกแบน ซึ่งยากแก่การยอมรับได้ของมหาชนม์ทั่วโลก" ทัวร์โลกแบน

ไม่ได้คัดค้านบันทึกเหตุการณ์ในอดีตของศาสนาต่างๆ

เพื่อมิให้เกิดการถกเถียงกันด้านความเชื่อ ผู้เขียนมิได้คัดค้านว่าเหตุการณ์ในอดีตตามบันทึกโบราณ ของทางศาสนาทุกศาสนา ซึ่งผู้เขียนขอเสนอทุกกลุ่มคนที่มีความเชื่อ(ในมุมของตน) ควรมีบันทึกข้อสนับสนุน บทวิเคราะห์ ทางด้านความรู้ให้แก่มวลชนม์ อย่างเป็นระบบเหตุผลว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตนั้นสำฤทธิ์ผล  และ วิธีการนี้ใช้ได้ในกรณีใดบ้าง ทุกกรณีหรือไม่ ตามการบันทึก หลักฐาน และ การวิเคราะห์อื่นๆ ไม่ใช่อ้างเพียงแต่ในมุมอิทธิปาฏิหารย์ที่พิสูจน์ไม่ได้

มูลเหตุความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ การแพทย์ 

ความเจริญของกลุ่มตะวันตก ในทุกด้าน รวมถึงทางการแพทย์ เกิดจาก การนำหลักเหตุผล (ที่มีอยู่แล้วในทุกศาสนา) ไปตั้งข้อสงสัย สังเกตุ พิจารณา ทดลองจนกระทั่งเกิดผล และ นำมาใช้ ในขณะที่ความเชื่อทางศาสนาในตะวันตกนั้นไม่ได้เสื่อมคลายหายไปเลย (มีทุกศาสนา) และในขณะเดียวกันผู้นำศาสนาต่างๆ ก็ได้ปรับ เลือกนำคำสอนที่สอดคล้อง กับการเปลี่ยนไปของโลกปัจจุบัน พิสูจน์ได้ และ เป็นประโยชน์ แก่หมู่มหาชนม์มาแสดง

ขออำนวยอวยชัย ให้ โลกผ่านพ้นวิกฤติ Covid-19

เป็นความปรารถนา ที่อยากให้นักวิจัย คิดค้น วัคซีนได้เป็นผลสำฤทธิ์ (จากใจผู้เขียน)

อริยสัจสี่ Covid-19



วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ภิกษุ ฆราวาส ต่างชาติ เยี่ยมชม ศึกษาดูงานการศึกษา วัดท่ามะโอ

พระมหาเถร แวะ เยี่ยมชม วัดท่ามะโอ

เป็นนิมิตรหมมายที่ดี วันที่ ๑๕ กพ. พศ.๒๕๖๓
  • พระครูวิเทศธรรมภาณ (ณัฐวัฒน์ กิตฺติพโล) เจ้าอาวาสวัด ธรรมประทีป ประเทศนิวซีแลนด์ พร้อม
  • พระอาจารย์ มัธยม
ได้มีโอกาสแวะเยี่ยมชม วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง โดยมิได้นัดหมาย



เยี่ยมชมศึกษาดูงานการศึกษา บาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ

พระอาจารย์ ร้อยธรรม จาก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย พร้อมศรัทธา รวม ภิกษุ ๒ รูป และ ฆราวาส ๑๐ ท่าน เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานการศึกษาบาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ 







ทัวร์ต่างชาติ จากประเทศแถบเกาะอังกฤษ

ร่วมสนทนาธรรมอย่างเป็นกันเอง ของ ภิกษุ วัดท่ามะโอ และ นักท่องเที่ยวประเทศ แถบเกาะอังกฤษ สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยวผู้สนใจในพระพุทธศาสนา




วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตำแหน่งภูมิศาสตร์ ระหว่าง สำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ และ วัดร้างพระเจ้าแสนแส้

ตำแหน่งภูมิศาสตร์ ที่สอดคล้องกันโดยบังเอิญ หรือ จงใจ ระหว่าง สำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ และ วัดร้างพระเจ้าแสนแสร้
สำนักปฏิบัติธรรม บ้านสันกู่ พิกัด
18.895201
98.915924


วัดร้าง พระเจ้าแสนแส้ (พระเจ้าออกเหงื่อ) พิกัด
19.643907
98.622888


สิ่งที่คล้ายกันทางภูมิศาสตร์
1. ตั้งอยู่บนทำเลที่สูง
2. ห่างจากเส้นทาง(เดินทัพ) หลัก ระยะทางอากาศไม่เกิน 3 กม.
3. มีเส้นทาง แยก ไปทางฝั่งทิศตะวันออก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด ด้านการสู้รบโบราณ
3.1. ใช้เพื่อหลบหนีชั่วคราว
3.2. ใช้เส้นทางดังกล่าว เพื่อ ตลบ ทัพ เพื่อโอบล้อมทางด้านหลังได้
3.3. เมืองที่ถูกเชื่อมด้วยเส้นทางดังกล่าว สามารถยกทัพมาช่วยได้โดยง่าย และ ทันท่วงที

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

หนึ่งใน วัดร้างพื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวร มหาราช อ.เวียงแหง ประวัติพระพุทธรูป โบราณ วัดพระเจ้าแสนแส้ บ้านสันดวงดี

วัดร้าง ประวัติพระพุทธรูป โบราณ (พระเจ้าแสนแส้ หรือ พระเจ้าออกเหื่อ)

เปิดตัวบทความฟรี Dhamma Delivery

ยินดีต้อนรับสู่บทความฟรีๆ ของ ธรรมะ Delivery (Dhamma Delivery) มุ่งเน้นเนื้อหาของ ธรรมมะปฏิบัติ ที่ได้จากการสนทนาธรรม หลังปฏิบัติ บทความนี้ ไม่ได้คาดหวังสิ่งตอบแทนใดๆ เพียงแต่มุ่งเน้นการเผยแผ่ธรรมะ เท่านั้น
การ update ข้อมูลนั้นไม่ได้จำกัดช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับเวลาจะอำนวย สำหรับบทความ อื่นๆ หรือ ผู้สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ได้มีการปิดประกาศไว้ ด้านขวามือของบทความ สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถ คลิ๊ก เข้าไปดูได้ตามอัธยาศรัย