การคัดลอกยังมีโอกาสผิดแล้ว การแปลจะไม่มีโอกาสผิดพลาดบ้างได้อย่างไร
การคัดลอกยังมีโอกาสผิดแล้ว การแปลจะไม่มีโอกาสผิดพลาดบ้างได้อย่างไร พระไตรปิฎก ทุกฉบับ มีโอกาสพิมพ์ผิดสะกดผิด โปรดทำความเข้าใจช้าๆ รวมถึงภาษไทยด้วย รูปนี้เป็นโปรแกรม ศัพท์พระบาลี ดึงออกจากโปรแกรม พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ ดิจิตอล ทุกคำ มีคำบาลีที่ไม่ซ้ำกันประมาณ 17x,xxx จะเห็นว่า สีเหลือง มีคำศัพท์ที่ key ข้อมูลผิด (จริงๆ มีมากกว่านี้ แต่ได้ใช้เทคนิค คอมพิวเตอร์ นำออกไปมากแล้ว) ดังนั้น
ก่อนหน้า...พระไตรปิฎกบาลี อักษรกำพูชา ใบลาน(พม่า หรือ อื่นๆ) => พระไตรปิฎกบาลี อักษรไทย ใบลาน => บาลีอักษรไทย คัดลอกลงกระดาษ => บาลีอักษรไทย คัดลอกเข้าโรงพิมพ์ พิมพ์เป็นเล่ม => คัดลอกเข้าไฟล์คอมพิวเตอร์ => Convert to PDF => โปรแกรมพระไตรปิฎก => โปรแกรมดิกชันนารีบาลี => แปลเป็น พระไตรปิฎก ภาษาไทย => คัดลอก โรงพิมพ์... ไปเรื่อยๆ
ตรงนี้จะเห็นได้ว่าขบวนการคัดลอก มีโอกาสผิดพลาด (ไม่ได้ต่อว่าใครหน่วยงานใด) ถ้าไม่มีการคัดลอกเป็นอักษร หรือ การท่องเพียงอย่างเดียว ก็มีโอกาสผิดมากกว่า เพราะเป็น ท่องจำ สวดสาธยาย ต่อๆ กันมา ดังเช่น ภาษาอักกฤษ คนไทยพูด มาเลเซีย พม่า ลาว ... เป็นต้น พูดสำเนียงต่างกัน ดังนั้น การเรียนภาษาอังกฤษ บาลี ด้วยอักษร จึงมีการเรียน ฐานกรณ์ (การออกเสียงของอักษร)เป็นเบื้องต้น เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารไม่ให้ผิดเพี้ยนกันมากในแต่ละถิ่น และ เป็นสากล เช่น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ