แบบฝึกหัด ออนไลน์ ย้อนหลัง วัดท่ามะโอ 1 Apr 2020
ฝึกแปลประโยคแบบ อจฺจนฺตสํโยค ลงทุติยาวิภัตติมีคำแปลว่า สิ้น, ตลอด
1. อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กโรมิ. แปลและตัดสินว่าบทไหนในประโยคนี้เป็น ‘อัจจันตสังโยค’
2.อญฺญตโร ปุริโส / ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา / คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต /อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.
ที่วงเล็บไว้ว่า (วจเน ภริยาย )วุตฺเต เมื่อใช้จริงไม่นิยมวางถือว่ารู้กันว่าเป็นประโยคลักขณะ ลงสัตตมีวิภัตติแปลว่า ครั้นเมื่อ แปลเช่นนี้ว่า วจเน ครั้นเมื่อคำ อันภรรยา กล่าวแล้วว่า...คือ ประโยคเแทรกๆ เข้ามาช่วงไหนก็แปลช่วงนั้นได้เลย ทำเครื่องหมาย / ไว้จะได้กำหนดการแปลง่ายขึ้น
ควรฝึกแปลและแต่งร่วมกันไป เหนื่อยหน่อย แต่ทว่ามีผลคุ้มค่า
แปลมาด้วยครับ : คจฺฉติ, อาคจฺฉติ, ปจฺจาคจฺฉติ, อนุคจฺฉติ, อวคจฺฉติ, อุจฺคจฺฉติ, อธิคจฺฉติ.
เฉลยคำตอบ 1 Apr 2020
1. อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กโรมิฯ. อหํ อ.ข้าพเจ้า กโรมิ ย่อมกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน อิมํ รตฺตึ ตลอดคืนนี้
บทว่า รตฺติํ เป็นอัจจันตสังโยค
2. อญฺญตโร ปุริโส ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.
ปุริโส อ.บุรุษ อญฺญตโร ผู้ใดผู้หนึ่ง วตฺวา กล่าวแล้ว อิติ ว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ อชฺช ในวันนี้ อหํ อ. เรา กริสฺสามิ จักกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน อิมํ รตฺตึ ตลอดคืนนี้ ดังนี้
วจเน ครั้นเมื่อคำ อิติ ว่า สามิ ข้าแต่สามี ตวํ อ.ท่าน คจฺฉ จงไปเถิด ดังนี้ ภริยาย อันภรรยา วุตฺเต กล่าวแล้ว
อคจฺฉิ ได้ไปแล้ว กมฺมกรณฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่กระทำซึ่งงาน อตฺตโน ของตน
ที่ทำเครื่องหมาย / ไว้ในตอนถามก็เพื่อให้รู้ว่าประโยคส่วนไหนอยู่ในห้อง ส่วนไหนอยู่นอกห้อง (ประโยคเลขใน เลขนอก) แม้การแปลก็กำหนดตามที่ขีดไว้ และประโยคที่ใช้ในสถานการณ์จริงมักวาง วุตฺเต ไว้เพียงศัพท์เดียว ถือว่ารู้กัน แต่เวลาแปลต้องโยคเข้ามาตามเนื้อหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับบริบทด้วยครับ
บทที่ประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัยก็ดี อนฺต มาน ปัจจัยก็ดี หรือประโยคแทรกที่ประกอบด้วยฉัฏฐีหริอสัตตมีวิภัตติ กล่าวได้ว่ายังไม่จบประโยค จึงไม่ควรขึ้นบทประธานอื่นเข้ามาแปลร่วม เพราะจะทำให้ความหมายขัดแย้งกัน
ดังนั้น บทที่ประกอบด้วย ตฺวา, อนฺต, มาน หรือ ต ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์มักเป็นประโยคนอกห้อง ซึ่งประโยคนอกห้องต้องแปลก่อนแล้วเปิด อิติ ศัพท์เข้าไปแปลประโยคในห้องจนครบ แล้วเพิ่มคำว่า ดังนี้ หรือ ดังนี้เป็นต้น เข้ามา (ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ละไว้ส่วนมากเกี่ยวกับคาถา) แปลอย่างนี้เป็นทอดๆ จนจบประโยค (ดูที่กิริยาคุมพากย์เป็นหลัก อาจเป็นอาขยาต หรือกิตก์)
คำศัพท์ที่ให้นั้น ควรแยกเฉพาะ ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ ก็พอ ถ้าบอกขั้นตอนการทำตัวรูปอาจทำให้สับสน เพราะสนามหลวงก็มีขั้นตอนการทำตัวรูปเฉพาะตน (ดังเช่น คจฺฉติ มาจาก คมฺ ธาตุ+อ+ติ แปลงเป็น คจฺฉ สำเร็จรูป) ส่วนมูลกัจจายน์ซึ่งมีปทรูปสิทฺธิเป็นต้นก็มีการทำตัวรูปอีกลักษณะหนึ่งโดยมีการอ้างสูตรเป็นหลักฐาน ถ้านำมาปนกัน หลายๆ ท่านด้วยกันอาจเป็นงง? เช่น คจฺฉติ มาจาก คมุ ธาตุ+อ+ติ ทำตัวรูปโดย ลบสระที่สุดธาตุ ลง ติวิภัตติหลังคมฺ ลง อ ปัจจัย แปลง มฺ เป็น จฺฉฺ ด้วย คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ นำ ฉฺประกอบกับ อ สำเร็จรูปเป็น คจฺฉติ)
ถ้ายกมาแสดงควรเป็นมูลกัจจายน์ โดยเฉพาะมูลธาตุเดิม กมุ, คมุ (สนามหลวงบอก กมฺ, คมฺ) เป็นต้น
อธิตจฺฉติ แปลว่า ได้, ถึง บรรลุ, ปจฺจาคจฺฉติ กลับมา, อุคฺคจฺฉติ ขึ้น เอาความหมายที่ใช้บ่อยๆ ก่อนนะครับ พจนานุกรมมีหลายความหมายมากกลัวจะอึดอัดสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก
เพิ่มเติม
๓ แปลมาด้วยครับ : คจฺฉติ, อาคจฺฉติ, ปจฺจาคจฺฉติ, อนุคจฺฉติ, อวคจฺฉติ, อุจฺคจฺฉติ, อธิคจฺฉติ
คจฺฉติ ๑. ไป (อยู่) (ย่อม) ไป (จะ) ไป
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
คมุธาตุ + อปจจัย + วัตตมานาวิภัตติ
ปรัสบท เอก ปฐม
๒. _ผู้ไปอยู่
ศัพท์เดิม คจฺฉนฺต สัตตมี. เอก.
อาคจฺฉติ
ย่อมมา
คจฺฉติ แปลว่า ย่อมไป ใส่ อา อุปสัค
เข้าไปข้างหน้าธาตุ เรียกว่า ธาตฺวตฺถพาธก อุปสัค
อา + คมุ + อ + ติ
ปจฺจาคจฺฉติ
ไปหุง กลับมา
(ปจ ธาตุ + คมุ ธาตุ)
ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ
อนุคจฺฉติ
ก. (เช่น ชโน อ.ชน) ย่อมไปตาม อนุ บทหน้า + คม ธาตุ ในความไป + อ ปัจจัยใน กัตตุวาจก + ติ วัตตมานาวิภัตติ แปลง คม ธาตุ เป็น คจฺฉ สำเร็จรูปเป็น อนุคจฺฉติ
อวคจฺฉติ
๑. ย่อมรู้ (อว อุปสัค + คมุ + อ + ติ)
๒. ก. ตกลงไป, บรรลุถึง, เข้าถึง
อุจฺคจฺฉติ ย่อมบินไป (อุจฺจ+คจฺฉติ)
อธิคจฺฉติ
บรรลุ ย่อมได้
อธิ + คมุ + อ + ติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ