วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ อรรถคาถา เป็นการอธิบายความหมายของ พุทธพจน์ ไม่ใช่คำแต่งใหม่ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บทวิเคราะห์ สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ

อันว่ารสพระธรรม ย่อมชนะ ซึ่งรสทั้งหลาย

บทวิเคราะห์ ๑ ถ้าไม่มี อรรถคาถา และ ผู้ขยายความ อรรถคาถา ถึงแม้อ่านบทแปล ก็ยังยากจะเข้าใจ เช่น

สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ

แปลแบบตรงตัว เลยคือ อันว่ารสพระธรรม ย่อมชนะ ซึ่งรส ทั้งหลาย

คำถาม
๑ ธมฺมรโส
กรณี เรากล่าว รสพระธรรม "ธมฺมรโส" ตามหลักบาลี ไวยยากรณ์ เป็นคำเอกพจน์ ในขณะที่ (คณะผู้จัดทำ 84000.org ในตัวอย่างนี้) ผู้รู้ สมัยโบราณ ก็ครูบาอาจารย์ สมัยปัจจุบัน โรงเรียนปริยัติธรรม ต่างๆ เป็นต้น จะอธิบาย ได้ ว่า ไม่ใช่ ธรรมหมวดเดียว และ ธรรม ในที่นี้ ประกอบด้วย ธรรมหลายหมวด เช่น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และกล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ประการ เป็นต้น ดังรูป


นอกจากนี้ การอธิบาย ของกลุ่มผู้รู้ จะทำให้เราทราบว่า มีธรรมอะไรบ้าง ดังนั้น อรรถคาถา นั้น ไม่ใช่คำแต่งใหม่ ที่มี กลุ่มคนบางกลุ่ม กล่าวอ้างโจมตี

บทวิเคราะห์ ๒ ชินาติ แปลว่าชนะ ใคร? ชนะ ใคร?

กรณีที่เรา ไม่ทราบ พระบาลีบ้าง (เน้นคำว่าบ้าง แบบถูกต้องถึงแม้จะน้อยนิด) กรณีเรา(ไม่ทราบ) ก็จะไม่เข้าใจความหมายประโยคที่ว่า

โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย สิกฺขนฺโต ปิฏกตฺตยํ
ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย วเน อนฺธคโช ยถา ฯ
นิรุตติ บ่ ขีดเขียน แต่ไปเพียรเรียนพระไตร
ทุกบท ย่อมสงสัย ดังช้างไพรไร้ดวงตา

ชินาติ ในประโยคนี้ กลุ่มผู้รู้ ใช้ว่า ประเสริฐกว่า ถ้าเทียบในภาษาไทย ถือว่าใช้ ศัพท์ ที่สูงกว่า ชนะ ซึ่งก็หมายความว่า ชนะได้เหมือนกัน ดังนั้น บางสำนัก กล่าวอ้าง เป็นสำนักเดียวที่เผยแผ่ พุทธพจน์ สำนักอื่นบิดเบือนกันหมด  ทั้งๆที่ สำนักตนอ้างอิงแต่ภาษาไทยนั้น ดังนั้น การที่ใช้คำแทน ในภาษาไทย ดังเช่น ในประโยคนี้ จะเห็นได้ว่า
"ผู้เรียนพระบาลี ไม่ใช่เป็นผู้บิดเบือน พุทธพจน์ หรือ แต่งเติมพุทธพจน์ แม้แต่น้อย" 
* (ในภาษาบาลี เรียก "ประโยค" ว่า "วาจก") 

ชี้แจง

รูปด้านล่างนี้ คือ เนื้อความ เทียบเคียง ของโปรแกรมพระไตร ปิฎก ThaiTipitaka กรณีที่เราอ่านพระไตรปิฎก แปล เพียงอย่างเดียว เล่มเดียว เพียงแค่บทแปล เพียงบทเดียว ก็ยังยาก เพราะ การเทียบเคียง พระไตรปิฎก ภาษาบาลี และ ภาษาไทยนั้น เป็นการเทียบเคียง ข้อ ในพระไตรปิฎก ดังนั้น กว่าจะหาความหมายคำ หรือ ความหมายของประโยค สั้นๆ เพียงประโยคเดียว ยากยิ่ง ถ้าไม่ได้เรียนพระบาลี บ้าง (เน้นคำว่า บ้าง)



จากจุดนี้ จึงเป็นที่มา ในยุคปัจจุบัน จึงมี โรงเรียน ปริยัตติธรรม เกิดขึ้น มากมาย ทั้งเป็นที่นิยม และ ไม่เป็นที่นิยม โดยที่ทุกสำนักที่มีความรู้ถึงขั้นถูกต้องในธรรมแล้ว ล้วนแต่มีความเห็นเป็นหนึ่งเดียว ในภาพรวมเพราะเข้าใจในบทบาลี ที่ถ่องแท้ จากตำราโบราณ

ขอธรรมมะ สวัสดี จงมีแด่ทุกท่านที่มี ธรรมมะ เพื่อการ ปล่อยวาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ