วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อายสฺมา ภคุ คือ ทูรโตว อนฺต ปัจจัย บาลีดิค ติด Search ประโยค แบบฝึกหัด วัดท่ามะโอ

แบบฝึกหัด ประจำวันที่ 2 Apr 2020 ข้อที่ 2

ฝึกแปล ภาษาบาลี

อทฺทสา โข อายสฺมา ภคุ ภควนฺตํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํฯ 
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล  
ไม่ใช่ประโยคเดียวกัน จึงต้องแปลแยกประโยค

เพิ่มแปลมาด้วย อปคจฺฉติ, อุปคจฺฉติ, ปุจฺฉติ อาปุจฺฉติ, ปฏิปุจฺฉติ ชานาติ, ปชานาติ, สญฺชานาติ, อนุชานาติ, อภิชานาติ

เฉลย

อทฺทสา โข อายสฺมา ภคุ ภควนฺตํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํฯ
ภคุ อ.พระภิกษุชื่อว่าภคุ อายสฺมา ผู้มีอายุ โข แล อทฺทสา ได้เห็นแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อาคจฺฉนฺตํ ผู้เสด็จมาอยู่ ทูรโตว แต่ที่ไกลนั่นเทียว
(โข เป็น นิบาต มีอรรถวจนาลังการะ (ประดับคำ) พม่าไม่นิยมแปล แต่ไทยนิยม แต่ โข นิบาตตัวนี้แปลทีหลังได้ครับ)
สังเกตุการวางบทกรรม และบทวิเสสนะที่มี อนฺต ปัจจัยในประโยคด้วย


อันที่จริงผมเคยอธิบายไว้แล้วนะครับ ว่า อนฺต มาน ปัจจัยวางได้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
แต่ถ้าบทที่มี อนฺต นั้นเป็นปฐมาอยู่หลังประธาน เรียกอัพภันตรกิริยา, อยฺ่หน้าประธานเรียกว่่า วิเสสนะ
ยกเว้นวิภัตติอื่นให้เรียกว่า วิเสสนะทั้งหมด
สพฺพทิสาสุ คชฺชนฺโต มหาเมโฆ อุฏฐหิ. ป.นี้ คชฺชนฺโต คือ วิเสสนะ ครับ วางหน้า ประธาน
ในหมู่บ้านชื่อว่า

อปคจฺฉติ ก. ไปปราศ, หลีกไป, กระเด็นออก

อุปคจฺฉติ เข้าถึงแล้ว อุป + คม ธาตุ ในความไป,ความถึง มี อุป อยู่หน้า  แปลว่า เข้าถึง + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อี  อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง คม ธาตุ เป็น คจฺฉ รัสสะ อี  เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น อุปคจฺฉิ

ปุจฺฉติ ๑ ย่อมถาม ปุจฺฉ ปุจฺฉเน ในการถาม + อ + ติ

อาปุจฺฉติ ย่อมถาม โดยเอื้อเฟื้อ อา- อาทร + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม, ความอำลา + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตต มานาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น อาปุจฺฉติ

ปฏิปุจฺฉติ ถามเฉพาะแล้ว ปฏิ + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อี อัชชัตตนีวิภัตติ รัสสะ  อี เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น ปฏิปุจฺฉิ

ชานาติ
รู้ (อยู่) (ย่อม) รู้ (จะ) รู้
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
ญาธาตุ + นาปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ ชานา
ปรัสบท เอก ปฐม

ปชานาติ
รู้โดยประการต่างๆ (อยู่) (ย่อม) รู้โดยประการต่างๆ (จะ) รู้โดยประการต่างๆ
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
ปบทหน้า + ญาธาตุ + นาปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ ปชานา
ปรัสบท เอก ปฐม

สญฺชานาติ
จำได้ (อยู่) (ย่อม) จำได้ (จะ) จำได้
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
สํบทหน้า + ญาธาตุ + นาปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ สญฺชานา
ปรัสบท เอก ปฐม

อนุชานาติ
ก. (เช่น เสฏฺฐี อ. เศรษฐี) ย่อมอนุญาต  อนุ บทหน้า + ญา ธาตุ ในความรู้ มี อนุ อยู่หน้า  แปลว่า อนุญาต + นา ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ  วัตตมานาวิภัตติ แปลง ญา ธาตุ เป็น ชา สำเร็จรูป เป็น อนุชานาติ

อภิชานาติ ย่อมไม่รู้

โตปัจจัย ลงหลังจากสุทธนามบ้าง หลังสัพพนามบ้าง (๑) เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติ
แปลว่า “ข้าง..., โดย...”, (๒) เป็นเครื่องหมายปัจมีวิภัตติ แปลว่า “แต่..., จาก...., กว่า...,
เหตุ” และ (๓) เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน..., บน...”เป็นต้น ถ้าลงหลังสุทธนาม
แปลออกสำเนียงอายตนิบาตของวิภัตติได้เลย ถ้าลงหลังวิเสสนสัพพนาม เวลาจะแปล ให้โยค
สุทธนามเข้ามาประกอบ จึงจะแปลได้

ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม พม.ต่วน พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

ทูรโตว นมสฺสนฺติ ย่อมนอบน้อม แต่ที่ไกลเทียว

รูปสิทธิทีปนี เล่ม 1 พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ