จิตคืออะไร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 29
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๙ มหานิทเทส
ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
[๗๐๖]
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน
เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ
ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี
ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง
..
จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น.
ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน
มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.
บาลีสยามรัฐ
[๗๐๖] ยากาจิ ตณฺหา อชฺฌตฺตนฺติ ยากาจีติ สพฺเพน สพฺพํ
สพฺพถา สพฺพํ อเสสํ นิสฺเสสํ ปริยาทายวจนเมตํ ยากาจีติ ฯ
ตณฺหาติ รูปตณฺหา ฯเปฯ ธมฺมตณฺหา ฯ อชฺฌตฺตนฺติ อชฺฌตฺตํ
สมุฏฺฐาติ ๑ สา ตณฺหาติ อชฺฌตฺตํ ฯ อถวา อชฺฌตฺติกํ วุจฺจติ
จิตฺตํ ยํ จิตฺตํ มโน มานสํ หทยํ ปณฺฑรํ มโน มนายตนํ
มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ ฯ
จิตฺเตน มนสา สา ตณฺหา สหคตา สหชาตา สํสฏฺฐา สมฺปยุตฺตา
เอกุปฺปาทา เอกนิโรธา เอกวตฺถุกา เอการมฺมณาติปิ อชฺฌตฺตนฺติ
ยากาจิ ตณฺหา อชฺฌตฺตํ ฯ
เครดิตภาพ sanook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ