วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัด ออนไลน์บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 27 Mar 2020

แบบฝึกหัด ออนไลน์ ท่านอาจารย์ บุญถนอม ประจำวันที่ 27 Mar 2020

โจทย์

ทำสนธิบทเหล่านี้ คือ ปุริส +อิติ,  กญฺญา+อิติ, รตฺติ+อิติ, อิตฺถี+อิติ, ภิกฺขุ+อิติ, สพฺพญฺญู+อิติ, ปุริเส+อิติ, โค+อิติ, นิสีทติ+อิติ, โชเตติ+อิติ, พุทฺธํ+อิติ, จริตุํ+อิติ .
(วิญฺญาปนํ : การทำสนธินั้น หมายถึง การเชื่อมบท เรียกว่า สันธิสัมพันธะ)

ฝึกแต่ง
ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าแล้ว จักไปสู่วัดเพื่อถวายซึ่งทาน (ดังนี้) (คำศัพท์ เสฺว, ปาตราสภตฺต, ภุญฺชิตฺวา, อาราม, วิหาร, ทาน, ทาตุํ, จินฺเตสึ, คจฺฉิสฺสามิ, คมิสฺสามิ,  อิติ)

เฉลย

หลัก ๔ ข้อ เรื่อง อิติ ศัพท์ ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม

๑. อ, อุ + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อ หรือ อุ ให้ลบสระหลัง ทีฆะสระหน้า
๒. อา, อู, เอ, โอ + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อา, อู, เอ หรือ โอ ให้ลบสระหลัง
๓. อิ, อี + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อิ หรือ อี ให้ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง
๔. นิคหิต + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นนิคหิต ให้ลบสระ อิ ข้างหลัง แล้วแปลงนิคหิต เป็นวัคคันตะ นฺ

ปุริส +อิติ => ปุริสาติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๑ แปลว่า ว่า บุรุษ ดังนี้
กญฺญา+อิติ => กญฺญาติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า สาวน้อย ดังนี้
รตฺติ+อิติ => รตฺตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ราตรี ดังนี้
อิตฺถี+อิติ => อิตฺถีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า หญิง ดังนี้
ภิกฺขุ+อิติ => ภิกฺขูติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๑ แปลว่า ว่า ภิกษุ ดังนี้
สพฺพญฺญู+อิติ => สพฺพญฺญูติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า ผู้รู้ พระพุทธเจ้า ดังนี้
ปุริเส+อิติ => ปุริเสติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า ซึ่งบุรุษทั้งหลาย ดังนี้
โค+อิติ => โคติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า โคตัวผู้ ดังนี้
นิสีทติ+อิติ => นิสีทตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ย่อมนั่ง ดังนี้
โชเตติ+อิติ => โชเตตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ย่อมให้สว่าง ดังนี้
พุทฺธํ+อิติ => พุทฺธนฺติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๔ แปลว่า ว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า ดังนี้
จริตุํ+อิติ => จริตุนฺติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๔ แปลว่า ว่า เพื่อประพฤติ, เพื่ออันเที่ยวไป ดังนี้

เฉลย คำถามว่า  
ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าแล้ว จักไปสู่วัดเพื่อถวายซึ่งทาน
       อหํ จินฺเตสึ   เสฺว ปาตราสภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ทานํ  ทาตุํ อารามํ คจฺฉิสฺสามีติ. 
(เขียนแบบวางบทกิริยาคุมพากย์ไว้ข้างหน้าเพื่อเปิด อิติ ศัพท์ที่คั่นประโยคในห้องไว้ แบบนี้เป็นการล็อคขอบเขคประโยคนอกห้อง (ป. เลขนอก) ออกจากในห้อง (ป. เลขใน) ได้ชัดเจน เห็นปุุ๊ปรู้ปั๊ป ไม่ต้องดูไกล  แต่มีข้อสังเกตุว่า หากเป็นกิริยาในระหว่างใช้เพื่อเปิด อิติ ศัพท์ เข้าไปหาประโยคในห้องห้ามวางเด็ดขาด เช่่น อหํ จินฺเตตฺวา   เสฺว….คจฺฉิสฺสามีติ…  ต้องวางหลัง อิติ ศัพท์เท่านั้น เช่น อหํ   เสฺว….คจฺฉิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา ….ถือว่าเป็นกฏมาตรฐานในหลักการกลับไทยเป็นมคธเลยครับ
หรือเขียนว่า  
      อหํ    เสฺว ปาตราสภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ทานํ  ทาตุํ อารามํ คจฺฉิสฺสามีติ    จินฺเตสึ. 
ถ้าเขียนแบบประธานวางไว้ต้นประโยค ส่วนกิริยาคุมพากย์วางไว้สุดประโยคต้องสังเกตุนานหน่อยว่า ส่วนในนอกห้อง ส่วนไหนในห้อง) (หรือจะเขียนว่า เสฺว...คจฺฉิสฺสามีติ  อหํ จินฺเตสึ ก็ได้) 
        อย่าลืม ประธานประเภท ตุมฺหโยค กับ อมฺหโยค ประกอบก็ได้ ไม่ประกอบก็ได้ในประโยค (คือ ในห้องผมไม่ได้วางประธานไว้  ให้อนุมานรู้เอง)

ชาติยา สติยา ภยํ โหติ (ชาติยา ถี, ดังนั้น สติยา ก็ต้อง ถี ด้วย แต่งง่าย ๆ ก็ได้ว่า ชาติยา ภยํ โหติ ภัยมีเพราะชาติ เหมือน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปัจจยา วิญฺญาณํ เป็นต้น ส่วนของคุณสันต์ ประกอบวิภัตติยังไม่ตรงครับ อหํ วนฺทามิ สพฺเพ อาจริเย (ลงทุติยาฝ่ายพหุ)

เขียนแแบสมาส   สพฺพาจริเย วนฺทามิ,    สพฺพาจริเย วนฺทามหํ,   อหํ วนฺทามิ สพฺพาจริเย. วนฺทามหํ สพฺพาจริเย
แปลยกศัพ์ อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้ว อิติ ว่า เสฺว ในวันวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า คจฺฉิสฺสามิ จักไป อารามํ สู่วัด ทาตุํ เพื่ออันถวาย ทานํ ซึ่งทาน ดังนี้. (แปล อหํ นอกห้องก่อน แล้วเปิด อิติ เพื่อเข้าไปแปลในห้อง ซึ่งพบว่าประธานก็คือ อหํ เช่นกัน ให้แปลตามลำดับการแปล 8 ประการเหมือนเดิมครับ)

บางสำนักแปล อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้วว่า....เสฺว ในวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า ....ทานํ ซึ่งทาน อิติ ดังนี้.

อ.พม.ต่วนแปลเช่นนี้คือ   อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้ว อิติ ว่า....เสฺว ในวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า ....ทานํ ซึ่งทาน อิติ ดังนี้.
แต่เมื่อแปลโดยพยัญชนะแล้วไม่ต่างกัน

ลองดึงคำบาลีออกแล้วแปลก็จะเห็นภาพชัดขึ้น
แปลโดยพยัญชนะ เช่น อ.ข้าพเจ้า  คิดแล้วว่า ในวันวันพรุ่งนี้  อ.ข้าพเจ้า  จักไป สู่วัด เพื่ออันถวาย  ซึ่งทาน ดังนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ