วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัดแปล ประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 28 Mar 2020

ฝึกแปลประโยคบาลี โดยท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ

ประโยคบาลี ฝึกหัด

เอกจฺโจ ปน ทานํ เม ทียเตติ (จินฺเตตฺวา) ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา สีลํ รกฺขติ

เฉลย

เฉลยแปล : เอกจฺโจ ปน ทานํ เม ทียเตติ (จินฺเตตฺวา) ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา สีลํ รกฺขติ.
   ปน ก็ เอกจฺโจ (ปุคฺคโล) อ.บุคคลบางคน จินฺเตตฺวา คิดแล้ว อิติ ว่า ทานํ อ.ทาน เม อันเรา ทียเต ถวายอยู่ ดังนี้ ตุฏฺฐจิตฺโต เป็นผู้มีจิตยินดีแล้ว หุตฺวา เป็น รกฺขติ ย่อมรักษา สีลํ ซึ่งศีล
 ในประโยคนี้ ตุฏฺฐจิตฺโต ประกอบด้วยปฐมาเหมือนประธาน แต่เพราะวางไว้หน้ากิริยาที่แปลว่า มี, เป็น  ดังนั้น จึงถือว่าบทว่า  ตุฏฺฐจิตฺโต เป็นวิกติกัตตา ในบทว่า หุตฺวา  ถ้าหากว่าไม่วาง หุตฺวา ไว้ในประโยค และแปลบท ตุฏฺฐจิตฺโต นี้ว่า ผู้มีจิตยินดีแล้ว จัดว่าเป็นวิเสสนะของ ปุคฺคโล ที่โยคเข้ามาแปลในตอนต้น 
 จึงอยากให้ทุกท่านทำความเข้าใจกับข้อปลีกย่อยในเรื่องการแปลให้ชัดเจนด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เราเข้าใจแนวทางภาษาบาลีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการกลับไทยเป็นมคธ  ‘เพราะการแปลทำให้รู้หลักสัมพันธ์ ๆ ทำให้รู้หลักการแต่งประโยคภาษาของชาวมคธ’ (ภาษาบาลี)
 เมื่อเข้าใจประโยคพื้นฐานชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจประโยคลักษณะอื่นๆ ดีขึ้น เนื่องจากประโยคที่เขียนให้ดูนี้มีลักษณะกัตตุวาจกอยู่ภายนอกซึ่งมีลักษณะของวิกติกัตตารรวมอยู่ด้วย 
 ข้อควรจำ ในประโยคนี้ ประโยคนอกห้อง ก็คือประโยคบอกเล่านั่นเอง ส่วนประโยคในห้อง เป็นประโยคความคิด ดังนั้น ประโยคที่อยู่ในห้องจึงสามารถสื่อความหมายได้หลากหลาย เช่น คำถาาม คำตอบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรืออนุญาต เป็นอาทิ

หุตฺวา แปลว่า เป็น ไม่แปลว่า เป็นแล้ว เพราะเป็นสมานกาลกิริยาใน รกฺขติ ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ