วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัดแปล ประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 28 Mar 2020

ฝึกแปลประโยคบาลี โดยท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ

ประโยคบาลี ฝึกหัด

เอกจฺโจ ปน ทานํ เม ทียเตติ (จินฺเตตฺวา) ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา สีลํ รกฺขติ

เฉลย

เฉลยแปล : เอกจฺโจ ปน ทานํ เม ทียเตติ (จินฺเตตฺวา) ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา สีลํ รกฺขติ.
   ปน ก็ เอกจฺโจ (ปุคฺคโล) อ.บุคคลบางคน จินฺเตตฺวา คิดแล้ว อิติ ว่า ทานํ อ.ทาน เม อันเรา ทียเต ถวายอยู่ ดังนี้ ตุฏฺฐจิตฺโต เป็นผู้มีจิตยินดีแล้ว หุตฺวา เป็น รกฺขติ ย่อมรักษา สีลํ ซึ่งศีล
 ในประโยคนี้ ตุฏฺฐจิตฺโต ประกอบด้วยปฐมาเหมือนประธาน แต่เพราะวางไว้หน้ากิริยาที่แปลว่า มี, เป็น  ดังนั้น จึงถือว่าบทว่า  ตุฏฺฐจิตฺโต เป็นวิกติกัตตา ในบทว่า หุตฺวา  ถ้าหากว่าไม่วาง หุตฺวา ไว้ในประโยค และแปลบท ตุฏฺฐจิตฺโต นี้ว่า ผู้มีจิตยินดีแล้ว จัดว่าเป็นวิเสสนะของ ปุคฺคโล ที่โยคเข้ามาแปลในตอนต้น 
 จึงอยากให้ทุกท่านทำความเข้าใจกับข้อปลีกย่อยในเรื่องการแปลให้ชัดเจนด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เราเข้าใจแนวทางภาษาบาลีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการกลับไทยเป็นมคธ  ‘เพราะการแปลทำให้รู้หลักสัมพันธ์ ๆ ทำให้รู้หลักการแต่งประโยคภาษาของชาวมคธ’ (ภาษาบาลี)
 เมื่อเข้าใจประโยคพื้นฐานชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจประโยคลักษณะอื่นๆ ดีขึ้น เนื่องจากประโยคที่เขียนให้ดูนี้มีลักษณะกัตตุวาจกอยู่ภายนอกซึ่งมีลักษณะของวิกติกัตตารรวมอยู่ด้วย 
 ข้อควรจำ ในประโยคนี้ ประโยคนอกห้อง ก็คือประโยคบอกเล่านั่นเอง ส่วนประโยคในห้อง เป็นประโยคความคิด ดังนั้น ประโยคที่อยู่ในห้องจึงสามารถสื่อความหมายได้หลากหลาย เช่น คำถาาม คำตอบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรืออนุญาต เป็นอาทิ

หุตฺวา แปลว่า เป็น ไม่แปลว่า เป็นแล้ว เพราะเป็นสมานกาลกิริยาใน รกฺขติ ครับ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัด ออนไลน์บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 27 Mar 2020

แบบฝึกหัด ออนไลน์ ท่านอาจารย์ บุญถนอม ประจำวันที่ 27 Mar 2020

โจทย์

ทำสนธิบทเหล่านี้ คือ ปุริส +อิติ,  กญฺญา+อิติ, รตฺติ+อิติ, อิตฺถี+อิติ, ภิกฺขุ+อิติ, สพฺพญฺญู+อิติ, ปุริเส+อิติ, โค+อิติ, นิสีทติ+อิติ, โชเตติ+อิติ, พุทฺธํ+อิติ, จริตุํ+อิติ .
(วิญฺญาปนํ : การทำสนธินั้น หมายถึง การเชื่อมบท เรียกว่า สันธิสัมพันธะ)

ฝึกแต่ง
ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าแล้ว จักไปสู่วัดเพื่อถวายซึ่งทาน (ดังนี้) (คำศัพท์ เสฺว, ปาตราสภตฺต, ภุญฺชิตฺวา, อาราม, วิหาร, ทาน, ทาตุํ, จินฺเตสึ, คจฺฉิสฺสามิ, คมิสฺสามิ,  อิติ)

เฉลย

หลัก ๔ ข้อ เรื่อง อิติ ศัพท์ ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม

๑. อ, อุ + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อ หรือ อุ ให้ลบสระหลัง ทีฆะสระหน้า
๒. อา, อู, เอ, โอ + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อา, อู, เอ หรือ โอ ให้ลบสระหลัง
๓. อิ, อี + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อิ หรือ อี ให้ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง
๔. นิคหิต + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นนิคหิต ให้ลบสระ อิ ข้างหลัง แล้วแปลงนิคหิต เป็นวัคคันตะ นฺ

ปุริส +อิติ => ปุริสาติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๑ แปลว่า ว่า บุรุษ ดังนี้
กญฺญา+อิติ => กญฺญาติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า สาวน้อย ดังนี้
รตฺติ+อิติ => รตฺตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ราตรี ดังนี้
อิตฺถี+อิติ => อิตฺถีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า หญิง ดังนี้
ภิกฺขุ+อิติ => ภิกฺขูติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๑ แปลว่า ว่า ภิกษุ ดังนี้
สพฺพญฺญู+อิติ => สพฺพญฺญูติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า ผู้รู้ พระพุทธเจ้า ดังนี้
ปุริเส+อิติ => ปุริเสติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า ซึ่งบุรุษทั้งหลาย ดังนี้
โค+อิติ => โคติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า โคตัวผู้ ดังนี้
นิสีทติ+อิติ => นิสีทตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ย่อมนั่ง ดังนี้
โชเตติ+อิติ => โชเตตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ย่อมให้สว่าง ดังนี้
พุทฺธํ+อิติ => พุทฺธนฺติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๔ แปลว่า ว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า ดังนี้
จริตุํ+อิติ => จริตุนฺติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๔ แปลว่า ว่า เพื่อประพฤติ, เพื่ออันเที่ยวไป ดังนี้

เฉลย คำถามว่า  
ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าแล้ว จักไปสู่วัดเพื่อถวายซึ่งทาน
       อหํ จินฺเตสึ   เสฺว ปาตราสภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ทานํ  ทาตุํ อารามํ คจฺฉิสฺสามีติ. 
(เขียนแบบวางบทกิริยาคุมพากย์ไว้ข้างหน้าเพื่อเปิด อิติ ศัพท์ที่คั่นประโยคในห้องไว้ แบบนี้เป็นการล็อคขอบเขคประโยคนอกห้อง (ป. เลขนอก) ออกจากในห้อง (ป. เลขใน) ได้ชัดเจน เห็นปุุ๊ปรู้ปั๊ป ไม่ต้องดูไกล  แต่มีข้อสังเกตุว่า หากเป็นกิริยาในระหว่างใช้เพื่อเปิด อิติ ศัพท์ เข้าไปหาประโยคในห้องห้ามวางเด็ดขาด เช่่น อหํ จินฺเตตฺวา   เสฺว….คจฺฉิสฺสามีติ…  ต้องวางหลัง อิติ ศัพท์เท่านั้น เช่น อหํ   เสฺว….คจฺฉิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา ….ถือว่าเป็นกฏมาตรฐานในหลักการกลับไทยเป็นมคธเลยครับ
หรือเขียนว่า  
      อหํ    เสฺว ปาตราสภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ทานํ  ทาตุํ อารามํ คจฺฉิสฺสามีติ    จินฺเตสึ. 
ถ้าเขียนแบบประธานวางไว้ต้นประโยค ส่วนกิริยาคุมพากย์วางไว้สุดประโยคต้องสังเกตุนานหน่อยว่า ส่วนในนอกห้อง ส่วนไหนในห้อง) (หรือจะเขียนว่า เสฺว...คจฺฉิสฺสามีติ  อหํ จินฺเตสึ ก็ได้) 
        อย่าลืม ประธานประเภท ตุมฺหโยค กับ อมฺหโยค ประกอบก็ได้ ไม่ประกอบก็ได้ในประโยค (คือ ในห้องผมไม่ได้วางประธานไว้  ให้อนุมานรู้เอง)

ชาติยา สติยา ภยํ โหติ (ชาติยา ถี, ดังนั้น สติยา ก็ต้อง ถี ด้วย แต่งง่าย ๆ ก็ได้ว่า ชาติยา ภยํ โหติ ภัยมีเพราะชาติ เหมือน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปัจจยา วิญฺญาณํ เป็นต้น ส่วนของคุณสันต์ ประกอบวิภัตติยังไม่ตรงครับ อหํ วนฺทามิ สพฺเพ อาจริเย (ลงทุติยาฝ่ายพหุ)

เขียนแแบสมาส   สพฺพาจริเย วนฺทามิ,    สพฺพาจริเย วนฺทามหํ,   อหํ วนฺทามิ สพฺพาจริเย. วนฺทามหํ สพฺพาจริเย
แปลยกศัพ์ อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้ว อิติ ว่า เสฺว ในวันวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า คจฺฉิสฺสามิ จักไป อารามํ สู่วัด ทาตุํ เพื่ออันถวาย ทานํ ซึ่งทาน ดังนี้. (แปล อหํ นอกห้องก่อน แล้วเปิด อิติ เพื่อเข้าไปแปลในห้อง ซึ่งพบว่าประธานก็คือ อหํ เช่นกัน ให้แปลตามลำดับการแปล 8 ประการเหมือนเดิมครับ)

บางสำนักแปล อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้วว่า....เสฺว ในวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า ....ทานํ ซึ่งทาน อิติ ดังนี้.

อ.พม.ต่วนแปลเช่นนี้คือ   อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้ว อิติ ว่า....เสฺว ในวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า ....ทานํ ซึ่งทาน อิติ ดังนี้.
แต่เมื่อแปลโดยพยัญชนะแล้วไม่ต่างกัน

ลองดึงคำบาลีออกแล้วแปลก็จะเห็นภาพชัดขึ้น
แปลโดยพยัญชนะ เช่น อ.ข้าพเจ้า  คิดแล้วว่า ในวันวันพรุ่งนี้  อ.ข้าพเจ้า  จักไป สู่วัด เพื่ออันถวาย  ซึ่งทาน ดังนี้.

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

ทำตัวรูปกิริยา อาขยาต และ แต่งประโยค 25 Mar 2020

การเรียนออนไลน์บาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ 25 Mar 2020

แปลบทกิริยาเหล่านี้ พร้อมเฉลย

เฉลย ท่านอาจารย์บุญถนอม นพโสภณ

ส่วนที่ถูกแล้วไม่แก้ไข ดูตามคุณสันต์ นะครับ แปลแต่ละคำได้ ก็ สาธุ สาธุ แล้วครับ แยกธาตุ ปัจจัยได้ถือว่าเป็นกำไร ครับ คำแปลควรจำให้ขึ้นใจ ทวนบ่อยๆ 
ปจฺจาคจฺฉติ ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ
ปทุสฺสติ  = ป บทหน้า+ยวิกรณปัจจัย+ติ / ทิวาทิ. (ทำร้าย,ประทุษร้าย)
จงฺกมติ  เทฺวภาวะ เป็น ก -กมุ+อ+ติ แปลง ก ที่เทฺวภาวะมาเป็น จ ลง นิคคหิตอาคมท้ายอัพภาส แล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตะ ง
ปกฺขนฺทติ = ป+ขนฺท+อ+ติ  (กฺ เทฺวภาวะ) ไม่ใช่ อนฺต เพราะเป็น กิ.อาขฺยาตครับ ถ้าลง อนฺต จะมีรูปเป็นกิ.กิตก์ว่า ปกฺขนฺทนฺโต
ปุจฺฉติ ย่อมถาม /พอมี อา บทหน้า แปลว่า ถามโดยเอื้อเฟื้อ หรือ บอกลา ครับ

ปกฺขนฺทติ+อิติ ,อิติ (แปลว่า ว่า..ดังนี้ ทำสนธิกันกับ ปกฺขนฺทติ. เช่น ถามเป็นบาลีว่า อาหารํ ภุญฺชตีติ วากฺยํ สกภาสาย ปริวตฺเตหิ. ท่านจงแปลวากยะว่า อาหารํ ภุญฺชติ 
ถ้านำบทอื่นมาไว้ท้าย เช่น นีสีทติ+อิติ ก็เป็น นิสีทตีติ ว่า นิสีทติ น่าจะชัดนะครับ

นิสีทติ
๑ นั่ง สิ้นสุดการไป (อยู่) (ย่อม) นั่ง สิ้นสุดการไป (จะ) นั่ง สิ้นสุดการไป
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
นิบทหน้า + สทธาตุ + อปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ
ปรัสบท เอก ปฐม

อาคจฺฉติ
ย่อมมา
คจฺฉติ แปลว่า ย่อมไป ใส่ อา อุปสัค
เข้าไปข้างหน้าธาตุ เรียกว่า ธาตฺวตฺถพาธก อุปสัค
อา + คมุ + อ + ติ

อุคฺคจฺฉติ
ย่อมขึ้นไป
(อุ อุปสัค+ คมุ ธาตุ + อ + ติ)


ปจฺจาคจฺฉติ
ไปหุง ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ

ปุจฺฉติ
ย่อมถาม ปุจฺฉ ปุจฺฉเน ในการถาม + อ + ติ

อาปุจฺฉติ
ย่อมถาม โดยเอื้อเฟื้อ อา- อาทร + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม, ความอำลา + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตต มานาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น อาปุจฺฉติ

ปทุสฺสติ
ประทุษร้าย
ป บทหน้า+ยวิกรณปัจจัย+ติ / ทิวาทิ. (ทำร้าย,ประทุษร้าย)

จงฺกมติ
ก้าวเท้า เดิน (อยู่) (ย่อม) ก้าวเท้า เดิน (จะ) ก้าวเท้า เดิน
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
กมุธาตุ + อปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ จงฺกม
ปรัสบท เอก ปฐม

เทฺวภาวะ เป็น ก -กมุ+อ+ติ แปลง ก ที่เทฺวภาวะมาเป็น จ ลง นิคคหิตอาคมท้ายอัพภาส แล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตะ ง

อนุคจฺฉติ
ย่อมติดตาม

ปกฺขนฺทตีติ
ก. แล่นไปอยู่ ป + ขนฺท ธาตุ ในความแล่นไป + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺต ปัจจัย ได้เป็น ปกฺขนฺทนฺต ดู อกิลมนฺต
วัตตมานาวิภัตติ ปรัสบท ปฐมบุรุษ เอกวจน

ปูพื้นฐานประโยค

บุรุษและสตรีรับประทานอาหารที่บ้านของตน
ปุริโส จ กญฺญา จ นิลยสฺส อตฺตโน อาหารํ ภุญฺชติ
อ.บุรุษ ด้วย สตรี ด้วย ย่อมรับประทานซึ่งอาหาร แห่งเรือน ของตน
ปุริโส จ อิตฺถี จ นิลยสฺส อตฺตโน อาหารํ ภุญฺชติ

แบบฝึกหัดประจำวัน

ฝึกเขียน ประโยคบาลี
บุรุษและสตรีรับประทานอาหารที่บ้านของตน

เฉลย
เฉลย: ปุริโส จ อิตฺถี จ อตฺตโน ฆเร ภตฺตํ ภุญฺชติ. หรือใช้กิริยาเป็นรูปพหูพจน์ก็ได้ว่า ภุญฺชนฺติ หมายความว่า การใช้กิริยาเป็นรูปเอกพจน์นั้นเรียกว่า ชาตยาเปกขะ มองหาศัพท์ชนิดหรือประเภทเดียวกัน ส่วนการใช้กิริยาเป็นรูปพหูพจน์นั้นเรียกว่า ทัพพาเปกขะ มองหาทัพพะ (ตัวบุคคล, สิ่งของ เป็นต้น) นี่คือจุดเน้นในการเขียน ไม่ต้องนำนิบาตตัวอื่นมาเขขียนผสมเพราะถามไว้ชัดเจนแล้วว่า บุรุษและสตรีทานอาหารในเรือนของตน คำที่แปลว่าบ้านมีหลายศัพท์ ให้เลือกใช้เอง แต่ข้อสำคัญคือลงวิภัตติให้ตรงความหมาย ดังนั้นคำว่า ที่บ้าน,ในเรือน เป็นอาทิ ต้องลงสัตตมีวิภัตติ (อายตนิบาต คำเชื่อม คือ ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน)

นิลยสฺส ไม่ถูกต้อง ต้องเป็น นิลเย ตามที่คุณ สันต์เขียนมา เขียนเต็มว่า ปุริโส จ อิตฺถี จ อตฺตโน นิลเย ภุญฺชนฺติ. (หรือ นิลยมฺหิ นิลยสฺมึ สัตตมีวิภัตติ)

เขียนตกคำหนึ่ง ว่า ....ภตฺตํ ภุญฺชนฺติ.

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

ThaiNewGenDict Version 2.4.0.0 บาลีดิค บาลีไวยากรณ์ พจนานุกรมไทยบาลี พจนานุกรมบาลีไทย ดิก ไทย บาลี บาลี พจนานุกรม คำศัพท์ภาษาบาลี จาก พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ หรือ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ

บาลีดิค บาลีไวยากรณ์ พจนานุกรมไทยบาลี พจนานุกรมบาลีไทย ดิก ไทย บาลี บาลี พจนานุกรม คำศัพท์ภาษาบาลี จาก พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ หรือ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ

เป็นการนำ คำศัพท์ จาก พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ หรือ พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ มาทุกคำ ทั้งหมด มีศัพท์ อยู่ประมาณ 17x,xxx มีคำแปลให้แล้ว 26,xxx โดยประมาณ สามารถ update คำแปล ใช้เป็นสมุดบันทึกในห้องเรียนได้ ตามแบบฉบับ ของ บาลีไวยยากรณ์

โปรแกรม ThaiNewGenDict Version 2.4.0.0


Update โปรแกรม ThaiNewGenDict Version 2.4.0.0 คุณสมบัติที่ update เป็นการปรับขนาดหน้าจออัตโนมัติ ตามหน้าจอเครื่องที่ใช้ สามารถ download ได้ที่

Dictionary บาลี อักษรไทยที่สมบูรณ์ที่สุด
ThaiNewGenDict 

คุณสมบัติเพิ่มเติม

  • แก้ไขปรับปรุง ปรับขนาดหน้าจอ อัตโนมัติ ตามขนาดหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
  • เพิ่มปรับปรุงคำศัพท์ และ เพิ่มคำแปลได้ตนเอง (ควรมีการอ้างอิงคำแปล)
  • ผู้สร้าง มีคำแปลตามหลักบาลีใหญ่ให้จำนวนหนึ่งให้เท่านั้น (มากกว่า 28,000 คำ ไม่แปลให้ทั้งหมด เพียงหวังให้ผู้ศึกษาบาลี ได้ใช้ประโยชน์ จากโปรแกรมนี้ช่วยในการบันทึก คำแปลด้วยตนเอง ทั้งเป็นผู้ค้นคว้า ตำราใหม่ๆมาสนับสนุนการเรียนรู้)
  • มีประโยคตัวอย่าง จากท่านอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ กว่า 3,000 ประโยค


วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่าง ความเชื่อทางด้านศาสนาในตะวันตก กับ Covid-19

ความเชื่อทางด้านศาสนาในตะวันตก

ความเชื่อว่าโลกแบน ของโลกตะวันตกในอดีต

สมัยโบราณ คนที่บอกโลกกลม โดนตำหนิ ต่อว่าหนัก โดยกลุ่มผู้มีความเชื่อด้านศาสนาอย่างแรงกล้า (ไม่ได้มีคนนำมาเผยแพร่มากนักเพราะไม่ได้มีประโยชน์อะไร) และ เบาลง เบาลง ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ความเชื่อเรื่อง โลกแบนหมดไป 

โรคระบาด

การรักษาโรคบางชนิดที่จะต้องใช้การแพทย์สมัยใหม่ ก็เช่นกัน Covid-19 เป็นสิ่งที่ป้องกันได้และโอกาส สร้างวัคซีนป้องกันมีได้ในเวลาอันใกล้ เพราะมีขบวนการมาตรการทั่วโลกออกมาทุกวัน (มีค. พศ.๒๕๖๓) ในขณะที่ความเชื่อเรื่องการสวดรักษาโรคนี้ ไม่มีข้อพิสูจน์ใดเลย (สวดเพื่อความสบายใจ ก็ว่ากันไป) แต่ทั้งนี้ควรสอดคล้องกับการควบคุมโรค (ตัวอย่างประเทศอินเดีย ปิด ทัชมาฮาล) อีกทั้งยังมีความพยายามนำเสนอข้อมูลถึงเรื่องการสวดรักษาโรค ซึ่งไม่ได้ต่างอะไรกับ การดึงดันว่า "ฉันเชื่อว่าโลกแบน ซึ่งยากแก่การยอมรับได้ของมหาชนม์ทั่วโลก" ทัวร์โลกแบน

ไม่ได้คัดค้านบันทึกเหตุการณ์ในอดีตของศาสนาต่างๆ

เพื่อมิให้เกิดการถกเถียงกันด้านความเชื่อ ผู้เขียนมิได้คัดค้านว่าเหตุการณ์ในอดีตตามบันทึกโบราณ ของทางศาสนาทุกศาสนา ซึ่งผู้เขียนขอเสนอทุกกลุ่มคนที่มีความเชื่อ(ในมุมของตน) ควรมีบันทึกข้อสนับสนุน บทวิเคราะห์ ทางด้านความรู้ให้แก่มวลชนม์ อย่างเป็นระบบเหตุผลว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตนั้นสำฤทธิ์ผล  และ วิธีการนี้ใช้ได้ในกรณีใดบ้าง ทุกกรณีหรือไม่ ตามการบันทึก หลักฐาน และ การวิเคราะห์อื่นๆ ไม่ใช่อ้างเพียงแต่ในมุมอิทธิปาฏิหารย์ที่พิสูจน์ไม่ได้

มูลเหตุความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ การแพทย์ 

ความเจริญของกลุ่มตะวันตก ในทุกด้าน รวมถึงทางการแพทย์ เกิดจาก การนำหลักเหตุผล (ที่มีอยู่แล้วในทุกศาสนา) ไปตั้งข้อสงสัย สังเกตุ พิจารณา ทดลองจนกระทั่งเกิดผล และ นำมาใช้ ในขณะที่ความเชื่อทางศาสนาในตะวันตกนั้นไม่ได้เสื่อมคลายหายไปเลย (มีทุกศาสนา) และในขณะเดียวกันผู้นำศาสนาต่างๆ ก็ได้ปรับ เลือกนำคำสอนที่สอดคล้อง กับการเปลี่ยนไปของโลกปัจจุบัน พิสูจน์ได้ และ เป็นประโยชน์ แก่หมู่มหาชนม์มาแสดง

ขออำนวยอวยชัย ให้ โลกผ่านพ้นวิกฤติ Covid-19

เป็นความปรารถนา ที่อยากให้นักวิจัย คิดค้น วัคซีนได้เป็นผลสำฤทธิ์ (จากใจผู้เขียน)

อริยสัจสี่ Covid-19



วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

รัตนสูตร บาลี พร้อม คำแปล จากพระไตรปิฎก กล่าวไว้อย่างไร ใช้แก้ Covod-19 ?

บทสวดรัตนสูตร กับชื่อเมืองเวสาลี

พอมีการประกาศสวดพระปริตร รัตตนสูตร เป็นหนึ่งใน หลายบทของบทสวดพระปริตร ที่อรรถกถา(ตามการบันทึก) ว่า มีโรคระบาดเกิดขึ้นที่ เมืองเวสาลี โดย มีโรคระบาด เกิดขึ้น โดยชาวเมือง แก้ไขปัญหาทุกอย่างจนไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว จึง ได้นิมนต์ พระพุทธเจ้า ให้ช่วย โดย บทสวดรัตนสูตร เป็นบทที่ พระพุทธเจ้า ทรงมีพระดำรัสให้พระอานนท์ (ในขณะนั้นบรรลุธรรมในระดับ โสดาบัน) สวดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและโรคระบาด (ยังไม่ได้ค้นคว้าต่อว่าเป็นโรคอะไร ซึ่งตามหลักบาลีไวยากรณ์ อหิวาตกโรค มีบางท่าน ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นด้วยลม และ มีบางท่านสงสัยว่า มีการรับรองเหตุการณ์นี้ (อรรถกถา) ว่าเป็นจริงในสมัยพระพุทธกาลหรือไม่ หรือ เป็นการเขียนอรรถกาถาเพิ่มในส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ภายหลังหรือไม่) เหตุการณ์นี้ (ตามบันทึก อรรถกถา) ระบุว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เมืองเวสาลี ซึ่งก็ยังไม่มีอธิบายในวงกว้าง (อธิบายเฉพาะผู้เข้าไปเรียนฯ)ว่า มีองค์ประกอบใดบ้างที่ทำให้ การสวดบทนี้ทำไมจึงได้สำฤทธิ์ผล และ สำฤทธิ์ ผลทุกกรณีหรือไม่



สำหรับในพื้นที่ประเทศไทย(ปัจจุบัน) ก็มีการจำลองเมืองๆ หนึ่งชื่อว่า เมืองเก่าเวสาลี ซึ่งเมืองจำลองได้ถูกสร้างจำลองไว้ใน สมัยทวาราวดี (บางท่านว่า ได้รับอิทธิพลจากลาว) ที่ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ตามเพจ

พระไตรปิฎก ฉบับ แปลภาษาไทย รัตนสูตร

โดยสรุป เป็นการแผ่เมตตา สรรเสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และ พระสังฆคุณ โดยมีเนื้อความดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ

[๗] ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุม
กันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดย
เคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจง
แผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน
ทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์
เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระ
ตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น
ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรม
อันประณีต ธรรมชาติอะไรๆเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็น
ธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ
สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ บุคคล ๘จำพวก ๔ คู่
อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน
เป็นสาวกของพระตถาคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมี
ผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความ
สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดม
ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง
เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและชีวิต] พระอริยบุคคลเหล่านั้น
บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดย
เปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะ
ลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า
เป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้
เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรง
แสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้
ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี
จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส
อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว
พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น[นิพพาน] ทีเดียว อนึ่ง พระอริย
บุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [คือ
อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้พระอริยบุคคลนั้นยัง
ทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านไม่
ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน
อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความ
สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นใน
คิมหันตฤดู ฉันใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็น
เครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้นพุทธรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทาน
ธรรมอันประเสริฐทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้
ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิต
อันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว
เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้า
ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดี
จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือ
ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ
พระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความ
สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือ
ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ
พระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี
จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ
จบรัตนสูตร ฯ

พระไตรปิฎกบทพระบาลี

[๗] ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ฯ
สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ
อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ
ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ
เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ
ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ
ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ
ยํ กิญฺจิ วิตฺตํ อิธ วา หุรํ วา
สคฺเคสุ วา ยํ รตนํ ปณีตํ
น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ
ยทชฺฌคา สกฺยมุนี สมาหิโต
น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ ปริวณฺณยี สุจึ
สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ
สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เย ปุคฺคลา อฏฺฐ สตํ ปสฏฺฐา
จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ
เต ทกฺขิเณยฺยา สุคตสฺส สาวกา
เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เย สุปฺปยุตฺตา มนสา ทฬฺเหน
นิกฺกามิโน โคตมสาสนมฺหิ
เต ปตฺติปตฺตา อมตํ วิคยฺห
ลทฺธา มุธา นิพฺพุตึ ภุญฺชมานา
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยถินฺทขีโล ปฐวึ สิโต สิยา
จตุพฺภิ วาเตภิ อสมฺปกมฺปิโย
ตถูปมํ สปฺปุริสํ วทามิ
โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เยรียสจฺจานิ วิภาวยนฺติ
คมฺภีรปญฺเญน สุเทสิตานิ
กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา
น เต ภวํ อฏฺฐมมาทิยนฺติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย
ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ
สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ
สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ
จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต
ฉ จาภิฐานานิ อภพฺโพ กาตุํ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ
กาเยน วาจายุท เจตสา วา
อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺฉทาย
โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เยรียสจฺจานิ วิภาวยนฺติ
คมฺภีรปญฺเญน สุเทสิตานิ
กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา
น เต ภวํ อฏฺฐมมาทิยนฺติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย
ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ
สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ
สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ
จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต
ฉ จาภิฐานานิ อภพฺโพ กาตุํ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ
กาเยน วาจายุท เจตสา วา
อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺฉทาย
ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ
พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ
ธมฺมํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ
สงฺฆํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ
รตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ประพันธ์ คาถา โดยหลวงพ่อท่ามะโอ

ประพันธ์ คาถา โดยหลวงพ่อท่ามะโอ

พระภัททันตธัมมานันท มหาเถระ อัครมหาบัณฑิต



คำถวายน้ำบูชาคุณพระพุทธเจ้า

อรหตาทีหิ นวคุเณหิ สมนฺนาคตสฺส สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อิมํ ปานียํ เทมิ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมถวายน้ำดื่ม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมทั้ง ๙ ประการ มีความเป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นต้น

อิทํ เม ปญฺญํ นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ
บุญนี้ของข้าพเจ้า จงเป็นเหตุปัจจัยให้บรรลุถึงพระนิพพาน

คำอาราธนาธรรม

กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส  โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย  เทเสตุ ธมฺมเทสนํ
ปวงข้าพเจ้าทั้งหลาย มีจิตหมายฟังพระธรรม
ขอท่านโปรดแนะนำ  พระธรรมขององค์มุนี
เมตตาอนุเคราะห์ เวลาเหมาะสิริดี
แสดงธรรมประดามี  แก่ปวงข้าพเจ้าเทอญ

คำอุทิศส่วนบุญกุศล

อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ

อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ

ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนบุญนี้ให้แด่ ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา อาจารย์ และ พระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย

คำอธิยายเพิ่มเติม

อิธ ทวนฺเท อจฺจิตตรํ ปุพฺพํ นิปตติ ปรสฺเสว ลิงคญฺจฯ
ในทวันทสมาสบทนี้ บทที่ควรเคารพนับถือมากกว่าต้องวางไว้ข้างหน้า
และมีลิงค์ตามบทหลัง
สาริปุตตโมคฺคลฺลานา, สมณพฺราหฺมณา, 
พฺราหฺมณคหปติกา, ขตฺติยพฺราหฺมณา, เทวมนุสฺสา,
มาตาปิตโร เป็นต้นโดยมาก รูปที่ไม่ตามกฏก็มี 
เช่น มนุสฺสเทวา ชายาปติ เป็นต้น
กฺวจิ อปฺปสรํ ปุพฺพํ นิปตติ. บางครั้งวางบทที่มีพยางค์น้อยไว้หน้า
เช่น จนฺทสุริยา
กฺวจิ อิวณฺณุวณฺณนฺตานํ ปุพฺพนิปาโต.
บางทีวางอิวัณณะและอุวัณณะไว้หน้า (มักวางไว้หน้า อการนต์)
เช่น อคฺคิธูมา, คติพุธิภุชปฐหรกรสยา

กฺวจิ สราทิอการนฺตานํ ปุพฺพนิปาโต.
วางศัพท์ที่มีสระอยู่ต้นคำและออักษรออยู่ท้าย 
เช่น อตฺถธมฺมา, อตฺถสทฺทา 
แต่ กฺวจิ แสดงความไม่แน่นอนจึงมีรูปว่า สทฺทตฺถา ได้เช่นกัน
สงฺขฺยาทฺวนฺเท- อปฺปสงฺขฺยา ปุพฺพํ นิปตติ.
ในสังขยาทวันทสมาส จำนวนน้อยวางไว้บทหน้า
เช่น เอกกทุกํ หมวดหนึ่งและหมวดสอง 
ทุกติกํ หมวดสองและหมวดสาม เป็นต้น
เยภุยฺเยน เจตฺถ-
อจฺจิตปฺปสฺสรํ ปุพฺพํ 
อิวณฺณุวณฺณกํ กฺวจิ
ทฺวนฺเท สราทฺยการนฺตํ
พหูสฺวนิยโม ภเวฯ (คาถาในรูปสิทธิ)
อนึ่ง ในทวันทสมาสนี้ ส่วนมาก
บทที่ควรเคารพนับถือ และบทที่พยางค์น้อย 
ย่อมเป็นบทหน้า (วางไว้หน้า),
บทที่มี อิวัณณะและอุวัณณ(ลงท้าย)ย่อมเป็นบทหน้า,
บทที่มีสระอยู่ต้นและมีออักษรอยู่ท้ายย่อมเป็นบทหน้า 
ในบางที่ แต่ความไม่แน่นอน ย่อมมี
ในสมาสที่มีศัพท์หลายศัพท์
กล่าวมานี้เป็นเหตุผลของการวางศัพท์สมาส
ตามความเหมาะสมที่กล่าวไว้ในทวันทสมาส 
(ดูเรื่อง ทวันทสมาสในปทรูปสิทธิ 
ฉบับอาจารย์คันธสาราภิวงศ์ หรือพ.ม. สมลักษณ์)
อิทํ เม ปุญฺญํ นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ. 
(ช่วยแก้ ปญฺญํ เป็นปุญฺญํ ด้วยในฉบับที่โพตส์มา)
อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ.
(บางทีท่านก็ใช้ เสสสตฺตานํ)