วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ประพันธ์ คาถา โดยหลวงพ่อท่ามะโอ

ประพันธ์ คาถา โดยหลวงพ่อท่ามะโอ

พระภัททันตธัมมานันท มหาเถระ อัครมหาบัณฑิต



คำถวายน้ำบูชาคุณพระพุทธเจ้า

อรหตาทีหิ นวคุเณหิ สมนฺนาคตสฺส สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อิมํ ปานียํ เทมิ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมถวายน้ำดื่ม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมทั้ง ๙ ประการ มีความเป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นต้น

อิทํ เม ปญฺญํ นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ
บุญนี้ของข้าพเจ้า จงเป็นเหตุปัจจัยให้บรรลุถึงพระนิพพาน

คำอาราธนาธรรม

กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส  โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย  เทเสตุ ธมฺมเทสนํ
ปวงข้าพเจ้าทั้งหลาย มีจิตหมายฟังพระธรรม
ขอท่านโปรดแนะนำ  พระธรรมขององค์มุนี
เมตตาอนุเคราะห์ เวลาเหมาะสิริดี
แสดงธรรมประดามี  แก่ปวงข้าพเจ้าเทอญ

คำอุทิศส่วนบุญกุศล

อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ

อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ

ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนบุญนี้ให้แด่ ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา อาจารย์ และ พระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย

คำอธิยายเพิ่มเติม

อิธ ทวนฺเท อจฺจิตตรํ ปุพฺพํ นิปตติ ปรสฺเสว ลิงคญฺจฯ
ในทวันทสมาสบทนี้ บทที่ควรเคารพนับถือมากกว่าต้องวางไว้ข้างหน้า
และมีลิงค์ตามบทหลัง
สาริปุตตโมคฺคลฺลานา, สมณพฺราหฺมณา, 
พฺราหฺมณคหปติกา, ขตฺติยพฺราหฺมณา, เทวมนุสฺสา,
มาตาปิตโร เป็นต้นโดยมาก รูปที่ไม่ตามกฏก็มี 
เช่น มนุสฺสเทวา ชายาปติ เป็นต้น
กฺวจิ อปฺปสรํ ปุพฺพํ นิปตติ. บางครั้งวางบทที่มีพยางค์น้อยไว้หน้า
เช่น จนฺทสุริยา
กฺวจิ อิวณฺณุวณฺณนฺตานํ ปุพฺพนิปาโต.
บางทีวางอิวัณณะและอุวัณณะไว้หน้า (มักวางไว้หน้า อการนต์)
เช่น อคฺคิธูมา, คติพุธิภุชปฐหรกรสยา

กฺวจิ สราทิอการนฺตานํ ปุพฺพนิปาโต.
วางศัพท์ที่มีสระอยู่ต้นคำและออักษรออยู่ท้าย 
เช่น อตฺถธมฺมา, อตฺถสทฺทา 
แต่ กฺวจิ แสดงความไม่แน่นอนจึงมีรูปว่า สทฺทตฺถา ได้เช่นกัน
สงฺขฺยาทฺวนฺเท- อปฺปสงฺขฺยา ปุพฺพํ นิปตติ.
ในสังขยาทวันทสมาส จำนวนน้อยวางไว้บทหน้า
เช่น เอกกทุกํ หมวดหนึ่งและหมวดสอง 
ทุกติกํ หมวดสองและหมวดสาม เป็นต้น
เยภุยฺเยน เจตฺถ-
อจฺจิตปฺปสฺสรํ ปุพฺพํ 
อิวณฺณุวณฺณกํ กฺวจิ
ทฺวนฺเท สราทฺยการนฺตํ
พหูสฺวนิยโม ภเวฯ (คาถาในรูปสิทธิ)
อนึ่ง ในทวันทสมาสนี้ ส่วนมาก
บทที่ควรเคารพนับถือ และบทที่พยางค์น้อย 
ย่อมเป็นบทหน้า (วางไว้หน้า),
บทที่มี อิวัณณะและอุวัณณ(ลงท้าย)ย่อมเป็นบทหน้า,
บทที่มีสระอยู่ต้นและมีออักษรอยู่ท้ายย่อมเป็นบทหน้า 
ในบางที่ แต่ความไม่แน่นอน ย่อมมี
ในสมาสที่มีศัพท์หลายศัพท์
กล่าวมานี้เป็นเหตุผลของการวางศัพท์สมาส
ตามความเหมาะสมที่กล่าวไว้ในทวันทสมาส 
(ดูเรื่อง ทวันทสมาสในปทรูปสิทธิ 
ฉบับอาจารย์คันธสาราภิวงศ์ หรือพ.ม. สมลักษณ์)
อิทํ เม ปุญฺญํ นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ. 
(ช่วยแก้ ปญฺญํ เป็นปุญฺญํ ด้วยในฉบับที่โพตส์มา)
อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ.
(บางทีท่านก็ใช้ เสสสตฺตานํ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ