วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

ภาษิตประจำวันโดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา

ภาษิตประจำวันโดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา

   อนุสรณียสถานมิ่งมงคล
น้อมกมลกราบองค์พระชินศรี
ขอจงมีศิริสุขสวัสดี
บารมีพุทธองค์ทรงคุ้มครอง

    พระโพธิ์ชัยรัตนบัลลังก์รัตน์
ทรงขจัดมารพ่ายไม่หม่นหมอง
รุ้งรังษีรัศมีสาดสีทอง
ทิพย์ละอองเฉิดฉายในไพรวัน

     มองโพธิ์แก้ว,เดินจงกรมบรมสุข
นิรทุกข์ทบทวนธรรมล้ำสุขสันต์
ร่มนิโครธริมฝั่งน้ำเหลือรำพัน
หลายฝ่ายพลันเข้าพบนบมุนี

     มุจลินท์ละวิมานมาป้องปก
แม้ฝนตกไม่ต้ององค์พระทรงศรี
ต้นเกตใหญ่พระพายพลิ้วลิ้วลมดี
เสวยวิมุติสุขนี้เจ็ดทิวา

     รวมเจ็ดที่คือสัตตมหาสถาน
จำลองกาลเกิดต้นพระศาสนา
ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
น้อมบูชาเคียงอารามยามนี้เอย.

บุญบาป จะติดตัวเราไปยังปรโลก​ โลกเบื้องหน้า​

บุญบาป จะติดตัวเราไปยังปรโลก​ โลกเบื้องหน้า​

โดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา (ทองคำ เถรานนฺโท)

บุญคือความดี​ บาปคือความชั่​ว​  เพียง​ 2  ประการนี้เท่านั้น​ จะติดตัวเราไปยังปรโลก​ โลกเบื้องหน้า​  ซึ่งมีพระบาลีพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในพระสุตตันตปิฎก​ สคาถวรรค​ สังยุตตนิกายว่า
   อุโภ  ปุญฺญฺญฺจ​  ปาปญฺจ​   ยํ  มจฺโจ​ กุรุเต​  อิธ
   ตํ  หิ  ตสฺส​  สกํ   โหติ         ตญฺจ​  อาทาย​  คจฺฉติ
   ตญฺจสฺส​  อนุคํ    โหติ​         ฉายาว​  อนุปายินี
   ตสฺมา​  กเรยฺย​ กลฺยาณํ      นิจยํ​  สมฺปรายิกํ
   ปุญฺญานิ​  ปรโลกสฺมี​           ปติฏฺฐา  โหนฺติ​ ปาณินํ.

บุคคลผู้จะต้องตายเป็นธรรมดา​  กระทำบุญความดี
และบาปความชั่​ ทั้งสองอย่างไว้ในโลกนี้
บุญความดี​ บาปความชั่​ว​ นั้นย่อมตกเป็นของบุคคลนั้นไป​ ประดุจเงามตามตัว
  เพราะฉะนั้น​ บุคคลผู้ฉลาด​ เมื่อจะสะสมสิ่งที่จะติดตามตนไปยังสัมปรายภพได้​  ควรทำคุณงามความดีอันเป็นบุญกุศลเถิด
  เพราะว่า​ บุญความดีทั้งหลาย​ ย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสรรพสัตว์ในสัมปรายภพคือโลกหน้า​ ฯ

บาปความชั่ว

ขโณ​ โว​ มา​  อุปจฺจคา.​ อย่าพลาดโอกาสที่จะทำความดี.
ทนฺธํ  หิ  กรโต​ ปุญฺญํ   เพราะเมื่อทำความดีชักช้า
ปาปสฺมึ   รมตี  มโน​      ใจมักจะ(แขว)​ไปยินดีในทางเสีย.

อสาธารณมญฺเญสํ         อโจรหรโณ​  นิธิ
กยิราถ​  ธีโร​  ปุญฺญานิ​   โย​  นิธิ​  อนุคามิโก.
  ขุมทรัพย์คือบุญอันใด​  ไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น
โจรขโมย​ไม่ได้​                 ติดตามตนไปตลอดกาล
ผู้มีปรีชาชาญ​                   ควรฝังขุมทรัพย์นั้น​ เทอญ.

สิริ​ โภคานมาสโย​ สิริคือบุญ​ เป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติหรือทรัพย์สินอันเป็นรูปธรรมนามธรรม.

ดังที่ประมวลพลังบุญญานุภาพไว้ในนิธิกัณฑสูตรว่า
1.สุวณฺณตา​  มีผิวพรรณงามผุดผ่องนวลเนียน
2.สุสรตา        มีเสียงไพเราะ
3.สุสณฺฐานา​  มีสรีระองคาพยพสมส่วนรูปร่างดี
4.สุรูปตา​        มีรูปงาม​ หล่อ​ สวย​ ชวนทัศนา
5.อาธิปจฺจํ     มีความเป็นผู้นำเหนือมหาชน
         ฯลฯ
20.พุทฺธภูมิ​    สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
  กล่าวโดยสรุปพลานุภาพแห่งบุญ​ อำนวยผลหรือความสำเร็จเป็น​ 3  ระดับด้วยกันคือ
  1.ผลระดับสามัญ​   หรือมนุษย์สมบัติ
  2.ผลระดับวิสามัญ​ หรือสวรรคสมบัติ
  3.ผลระดับปรมัตถ์​  หรือนิพพานสมบัติ.

ภาษิตประจำวัน ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา

ภาษิตประจำวัน ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา  (ทองคำ เถรานนฺโท)

อิติปิโส ภควา ยาตรายามดี
วันพุธชัยศรี สวัสดีลาโภ
นะโมพุทธายะ

ทาน ศีล ภาวนา พาสุขสมบูรณ์

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา

บ้านเรือนที่ปกครองไม่ดี
เป็นทุกข์อย่างยิ่ง

ผ่านคืนวัน​  อย่างมั่นใจ​  ในศักดิ์ศรี
ทำความดี​   สร้างกุศล​    ดลสุขใจ
อุปสรรค​     ผันผานไป​   ไม่เก็บทุกข์
ใจเป็นสุข​    สติตื่น​          รู้ตัวตน.

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัดแปล ประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 28 Mar 2020

ฝึกแปลประโยคบาลี โดยท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ

ประโยคบาลี ฝึกหัด

เอกจฺโจ ปน ทานํ เม ทียเตติ (จินฺเตตฺวา) ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา สีลํ รกฺขติ

เฉลย

เฉลยแปล : เอกจฺโจ ปน ทานํ เม ทียเตติ (จินฺเตตฺวา) ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา สีลํ รกฺขติ.
   ปน ก็ เอกจฺโจ (ปุคฺคโล) อ.บุคคลบางคน จินฺเตตฺวา คิดแล้ว อิติ ว่า ทานํ อ.ทาน เม อันเรา ทียเต ถวายอยู่ ดังนี้ ตุฏฺฐจิตฺโต เป็นผู้มีจิตยินดีแล้ว หุตฺวา เป็น รกฺขติ ย่อมรักษา สีลํ ซึ่งศีล
 ในประโยคนี้ ตุฏฺฐจิตฺโต ประกอบด้วยปฐมาเหมือนประธาน แต่เพราะวางไว้หน้ากิริยาที่แปลว่า มี, เป็น  ดังนั้น จึงถือว่าบทว่า  ตุฏฺฐจิตฺโต เป็นวิกติกัตตา ในบทว่า หุตฺวา  ถ้าหากว่าไม่วาง หุตฺวา ไว้ในประโยค และแปลบท ตุฏฺฐจิตฺโต นี้ว่า ผู้มีจิตยินดีแล้ว จัดว่าเป็นวิเสสนะของ ปุคฺคโล ที่โยคเข้ามาแปลในตอนต้น 
 จึงอยากให้ทุกท่านทำความเข้าใจกับข้อปลีกย่อยในเรื่องการแปลให้ชัดเจนด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เราเข้าใจแนวทางภาษาบาลีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการกลับไทยเป็นมคธ  ‘เพราะการแปลทำให้รู้หลักสัมพันธ์ ๆ ทำให้รู้หลักการแต่งประโยคภาษาของชาวมคธ’ (ภาษาบาลี)
 เมื่อเข้าใจประโยคพื้นฐานชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจประโยคลักษณะอื่นๆ ดีขึ้น เนื่องจากประโยคที่เขียนให้ดูนี้มีลักษณะกัตตุวาจกอยู่ภายนอกซึ่งมีลักษณะของวิกติกัตตารรวมอยู่ด้วย 
 ข้อควรจำ ในประโยคนี้ ประโยคนอกห้อง ก็คือประโยคบอกเล่านั่นเอง ส่วนประโยคในห้อง เป็นประโยคความคิด ดังนั้น ประโยคที่อยู่ในห้องจึงสามารถสื่อความหมายได้หลากหลาย เช่น คำถาาม คำตอบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรืออนุญาต เป็นอาทิ

หุตฺวา แปลว่า เป็น ไม่แปลว่า เป็นแล้ว เพราะเป็นสมานกาลกิริยาใน รกฺขติ ครับ

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัด ออนไลน์บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 27 Mar 2020

แบบฝึกหัด ออนไลน์ ท่านอาจารย์ บุญถนอม ประจำวันที่ 27 Mar 2020

โจทย์

ทำสนธิบทเหล่านี้ คือ ปุริส +อิติ,  กญฺญา+อิติ, รตฺติ+อิติ, อิตฺถี+อิติ, ภิกฺขุ+อิติ, สพฺพญฺญู+อิติ, ปุริเส+อิติ, โค+อิติ, นิสีทติ+อิติ, โชเตติ+อิติ, พุทฺธํ+อิติ, จริตุํ+อิติ .
(วิญฺญาปนํ : การทำสนธินั้น หมายถึง การเชื่อมบท เรียกว่า สันธิสัมพันธะ)

ฝึกแต่ง
ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าแล้ว จักไปสู่วัดเพื่อถวายซึ่งทาน (ดังนี้) (คำศัพท์ เสฺว, ปาตราสภตฺต, ภุญฺชิตฺวา, อาราม, วิหาร, ทาน, ทาตุํ, จินฺเตสึ, คจฺฉิสฺสามิ, คมิสฺสามิ,  อิติ)

เฉลย

หลัก ๔ ข้อ เรื่อง อิติ ศัพท์ ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม

๑. อ, อุ + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อ หรือ อุ ให้ลบสระหลัง ทีฆะสระหน้า
๒. อา, อู, เอ, โอ + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อา, อู, เอ หรือ โอ ให้ลบสระหลัง
๓. อิ, อี + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นสระ อิ หรือ อี ให้ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง
๔. นิคหิต + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นนิคหิต ให้ลบสระ อิ ข้างหลัง แล้วแปลงนิคหิต เป็นวัคคันตะ นฺ

ปุริส +อิติ => ปุริสาติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๑ แปลว่า ว่า บุรุษ ดังนี้
กญฺญา+อิติ => กญฺญาติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า สาวน้อย ดังนี้
รตฺติ+อิติ => รตฺตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ราตรี ดังนี้
อิตฺถี+อิติ => อิตฺถีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า หญิง ดังนี้
ภิกฺขุ+อิติ => ภิกฺขูติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๑ แปลว่า ว่า ภิกษุ ดังนี้
สพฺพญฺญู+อิติ => สพฺพญฺญูติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า ผู้รู้ พระพุทธเจ้า ดังนี้
ปุริเส+อิติ => ปุริเสติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า ซึ่งบุรุษทั้งหลาย ดังนี้
โค+อิติ => โคติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๒ แปลว่า ว่า โคตัวผู้ ดังนี้
นิสีทติ+อิติ => นิสีทตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ย่อมนั่ง ดังนี้
โชเตติ+อิติ => โชเตตีติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๓ แปลว่า ว่า ย่อมให้สว่าง ดังนี้
พุทฺธํ+อิติ => พุทฺธนฺติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๔ แปลว่า ว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า ดังนี้
จริตุํ+อิติ => จริตุนฺติ หลัก ๔ ข้อ ใช้กฎข้อที่ ๔ แปลว่า ว่า เพื่อประพฤติ, เพื่ออันเที่ยวไป ดังนี้

เฉลย คำถามว่า  
ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้ารับประทานอาหารเช้าแล้ว จักไปสู่วัดเพื่อถวายซึ่งทาน
       อหํ จินฺเตสึ   เสฺว ปาตราสภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ทานํ  ทาตุํ อารามํ คจฺฉิสฺสามีติ. 
(เขียนแบบวางบทกิริยาคุมพากย์ไว้ข้างหน้าเพื่อเปิด อิติ ศัพท์ที่คั่นประโยคในห้องไว้ แบบนี้เป็นการล็อคขอบเขคประโยคนอกห้อง (ป. เลขนอก) ออกจากในห้อง (ป. เลขใน) ได้ชัดเจน เห็นปุุ๊ปรู้ปั๊ป ไม่ต้องดูไกล  แต่มีข้อสังเกตุว่า หากเป็นกิริยาในระหว่างใช้เพื่อเปิด อิติ ศัพท์ เข้าไปหาประโยคในห้องห้ามวางเด็ดขาด เช่่น อหํ จินฺเตตฺวา   เสฺว….คจฺฉิสฺสามีติ…  ต้องวางหลัง อิติ ศัพท์เท่านั้น เช่น อหํ   เสฺว….คจฺฉิสฺสามีติ  จินฺเตตฺวา ….ถือว่าเป็นกฏมาตรฐานในหลักการกลับไทยเป็นมคธเลยครับ
หรือเขียนว่า  
      อหํ    เสฺว ปาตราสภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ทานํ  ทาตุํ อารามํ คจฺฉิสฺสามีติ    จินฺเตสึ. 
ถ้าเขียนแบบประธานวางไว้ต้นประโยค ส่วนกิริยาคุมพากย์วางไว้สุดประโยคต้องสังเกตุนานหน่อยว่า ส่วนในนอกห้อง ส่วนไหนในห้อง) (หรือจะเขียนว่า เสฺว...คจฺฉิสฺสามีติ  อหํ จินฺเตสึ ก็ได้) 
        อย่าลืม ประธานประเภท ตุมฺหโยค กับ อมฺหโยค ประกอบก็ได้ ไม่ประกอบก็ได้ในประโยค (คือ ในห้องผมไม่ได้วางประธานไว้  ให้อนุมานรู้เอง)

ชาติยา สติยา ภยํ โหติ (ชาติยา ถี, ดังนั้น สติยา ก็ต้อง ถี ด้วย แต่งง่าย ๆ ก็ได้ว่า ชาติยา ภยํ โหติ ภัยมีเพราะชาติ เหมือน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปัจจยา วิญฺญาณํ เป็นต้น ส่วนของคุณสันต์ ประกอบวิภัตติยังไม่ตรงครับ อหํ วนฺทามิ สพฺเพ อาจริเย (ลงทุติยาฝ่ายพหุ)

เขียนแแบสมาส   สพฺพาจริเย วนฺทามิ,    สพฺพาจริเย วนฺทามหํ,   อหํ วนฺทามิ สพฺพาจริเย. วนฺทามหํ สพฺพาจริเย
แปลยกศัพ์ อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้ว อิติ ว่า เสฺว ในวันวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า คจฺฉิสฺสามิ จักไป อารามํ สู่วัด ทาตุํ เพื่ออันถวาย ทานํ ซึ่งทาน ดังนี้. (แปล อหํ นอกห้องก่อน แล้วเปิด อิติ เพื่อเข้าไปแปลในห้อง ซึ่งพบว่าประธานก็คือ อหํ เช่นกัน ให้แปลตามลำดับการแปล 8 ประการเหมือนเดิมครับ)

บางสำนักแปล อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้วว่า....เสฺว ในวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า ....ทานํ ซึ่งทาน อิติ ดังนี้.

อ.พม.ต่วนแปลเช่นนี้คือ   อหํ อ.ข้าพเจ้า จินฺเตสึ คิดแล้ว อิติ ว่า....เสฺว ในวันพรุ่งนี้ อหํ อ.ข้าพเจ้า ....ทานํ ซึ่งทาน อิติ ดังนี้.
แต่เมื่อแปลโดยพยัญชนะแล้วไม่ต่างกัน

ลองดึงคำบาลีออกแล้วแปลก็จะเห็นภาพชัดขึ้น
แปลโดยพยัญชนะ เช่น อ.ข้าพเจ้า  คิดแล้วว่า ในวันวันพรุ่งนี้  อ.ข้าพเจ้า  จักไป สู่วัด เพื่ออันถวาย  ซึ่งทาน ดังนี้.

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

ทำตัวรูปกิริยา อาขยาต และ แต่งประโยค 25 Mar 2020

การเรียนออนไลน์บาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ 25 Mar 2020

แปลบทกิริยาเหล่านี้ พร้อมเฉลย

เฉลย ท่านอาจารย์บุญถนอม นพโสภณ

ส่วนที่ถูกแล้วไม่แก้ไข ดูตามคุณสันต์ นะครับ แปลแต่ละคำได้ ก็ สาธุ สาธุ แล้วครับ แยกธาตุ ปัจจัยได้ถือว่าเป็นกำไร ครับ คำแปลควรจำให้ขึ้นใจ ทวนบ่อยๆ 
ปจฺจาคจฺฉติ ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ
ปทุสฺสติ  = ป บทหน้า+ยวิกรณปัจจัย+ติ / ทิวาทิ. (ทำร้าย,ประทุษร้าย)
จงฺกมติ  เทฺวภาวะ เป็น ก -กมุ+อ+ติ แปลง ก ที่เทฺวภาวะมาเป็น จ ลง นิคคหิตอาคมท้ายอัพภาส แล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตะ ง
ปกฺขนฺทติ = ป+ขนฺท+อ+ติ  (กฺ เทฺวภาวะ) ไม่ใช่ อนฺต เพราะเป็น กิ.อาขฺยาตครับ ถ้าลง อนฺต จะมีรูปเป็นกิ.กิตก์ว่า ปกฺขนฺทนฺโต
ปุจฺฉติ ย่อมถาม /พอมี อา บทหน้า แปลว่า ถามโดยเอื้อเฟื้อ หรือ บอกลา ครับ

ปกฺขนฺทติ+อิติ ,อิติ (แปลว่า ว่า..ดังนี้ ทำสนธิกันกับ ปกฺขนฺทติ. เช่น ถามเป็นบาลีว่า อาหารํ ภุญฺชตีติ วากฺยํ สกภาสาย ปริวตฺเตหิ. ท่านจงแปลวากยะว่า อาหารํ ภุญฺชติ 
ถ้านำบทอื่นมาไว้ท้าย เช่น นีสีทติ+อิติ ก็เป็น นิสีทตีติ ว่า นิสีทติ น่าจะชัดนะครับ

นิสีทติ
๑ นั่ง สิ้นสุดการไป (อยู่) (ย่อม) นั่ง สิ้นสุดการไป (จะ) นั่ง สิ้นสุดการไป
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
นิบทหน้า + สทธาตุ + อปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ
ปรัสบท เอก ปฐม

อาคจฺฉติ
ย่อมมา
คจฺฉติ แปลว่า ย่อมไป ใส่ อา อุปสัค
เข้าไปข้างหน้าธาตุ เรียกว่า ธาตฺวตฺถพาธก อุปสัค
อา + คมุ + อ + ติ

อุคฺคจฺฉติ
ย่อมขึ้นไป
(อุ อุปสัค+ คมุ ธาตุ + อ + ติ)


ปจฺจาคจฺฉติ
ไปหุง ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ

ปุจฺฉติ
ย่อมถาม ปุจฺฉ ปุจฺฉเน ในการถาม + อ + ติ

อาปุจฺฉติ
ย่อมถาม โดยเอื้อเฟื้อ อา- อาทร + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม, ความอำลา + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตต มานาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น อาปุจฺฉติ

ปทุสฺสติ
ประทุษร้าย
ป บทหน้า+ยวิกรณปัจจัย+ติ / ทิวาทิ. (ทำร้าย,ประทุษร้าย)

จงฺกมติ
ก้าวเท้า เดิน (อยู่) (ย่อม) ก้าวเท้า เดิน (จะ) ก้าวเท้า เดิน
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
กมุธาตุ + อปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ จงฺกม
ปรัสบท เอก ปฐม

เทฺวภาวะ เป็น ก -กมุ+อ+ติ แปลง ก ที่เทฺวภาวะมาเป็น จ ลง นิคคหิตอาคมท้ายอัพภาส แล้วแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตะ ง

อนุคจฺฉติ
ย่อมติดตาม

ปกฺขนฺทตีติ
ก. แล่นไปอยู่ ป + ขนฺท ธาตุ ในความแล่นไป + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อนฺต ปัจจัย ได้เป็น ปกฺขนฺทนฺต ดู อกิลมนฺต
วัตตมานาวิภัตติ ปรัสบท ปฐมบุรุษ เอกวจน

ปูพื้นฐานประโยค

บุรุษและสตรีรับประทานอาหารที่บ้านของตน
ปุริโส จ กญฺญา จ นิลยสฺส อตฺตโน อาหารํ ภุญฺชติ
อ.บุรุษ ด้วย สตรี ด้วย ย่อมรับประทานซึ่งอาหาร แห่งเรือน ของตน
ปุริโส จ อิตฺถี จ นิลยสฺส อตฺตโน อาหารํ ภุญฺชติ

แบบฝึกหัดประจำวัน

ฝึกเขียน ประโยคบาลี
บุรุษและสตรีรับประทานอาหารที่บ้านของตน

เฉลย
เฉลย: ปุริโส จ อิตฺถี จ อตฺตโน ฆเร ภตฺตํ ภุญฺชติ. หรือใช้กิริยาเป็นรูปพหูพจน์ก็ได้ว่า ภุญฺชนฺติ หมายความว่า การใช้กิริยาเป็นรูปเอกพจน์นั้นเรียกว่า ชาตยาเปกขะ มองหาศัพท์ชนิดหรือประเภทเดียวกัน ส่วนการใช้กิริยาเป็นรูปพหูพจน์นั้นเรียกว่า ทัพพาเปกขะ มองหาทัพพะ (ตัวบุคคล, สิ่งของ เป็นต้น) นี่คือจุดเน้นในการเขียน ไม่ต้องนำนิบาตตัวอื่นมาเขขียนผสมเพราะถามไว้ชัดเจนแล้วว่า บุรุษและสตรีทานอาหารในเรือนของตน คำที่แปลว่าบ้านมีหลายศัพท์ ให้เลือกใช้เอง แต่ข้อสำคัญคือลงวิภัตติให้ตรงความหมาย ดังนั้นคำว่า ที่บ้าน,ในเรือน เป็นอาทิ ต้องลงสัตตมีวิภัตติ (อายตนิบาต คำเชื่อม คือ ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน)

นิลยสฺส ไม่ถูกต้อง ต้องเป็น นิลเย ตามที่คุณ สันต์เขียนมา เขียนเต็มว่า ปุริโส จ อิตฺถี จ อตฺตโน นิลเย ภุญฺชนฺติ. (หรือ นิลยมฺหิ นิลยสฺมึ สัตตมีวิภัตติ)

เขียนตกคำหนึ่ง ว่า ....ภตฺตํ ภุญฺชนฺติ.

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

ThaiNewGenDict Version 2.4.0.0 บาลีดิค บาลีไวยากรณ์ พจนานุกรมไทยบาลี พจนานุกรมบาลีไทย ดิก ไทย บาลี บาลี พจนานุกรม คำศัพท์ภาษาบาลี จาก พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ หรือ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ

บาลีดิค บาลีไวยากรณ์ พจนานุกรมไทยบาลี พจนานุกรมบาลีไทย ดิก ไทย บาลี บาลี พจนานุกรม คำศัพท์ภาษาบาลี จาก พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ หรือ พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ

เป็นการนำ คำศัพท์ จาก พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ หรือ พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ มาทุกคำ ทั้งหมด มีศัพท์ อยู่ประมาณ 17x,xxx มีคำแปลให้แล้ว 26,xxx โดยประมาณ สามารถ update คำแปล ใช้เป็นสมุดบันทึกในห้องเรียนได้ ตามแบบฉบับ ของ บาลีไวยยากรณ์

โปรแกรม ThaiNewGenDict Version 2.4.0.0


Update โปรแกรม ThaiNewGenDict Version 2.4.0.0 คุณสมบัติที่ update เป็นการปรับขนาดหน้าจออัตโนมัติ ตามหน้าจอเครื่องที่ใช้ สามารถ download ได้ที่

Dictionary บาลี อักษรไทยที่สมบูรณ์ที่สุด
ThaiNewGenDict 

คุณสมบัติเพิ่มเติม

  • แก้ไขปรับปรุง ปรับขนาดหน้าจอ อัตโนมัติ ตามขนาดหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
  • เพิ่มปรับปรุงคำศัพท์ และ เพิ่มคำแปลได้ตนเอง (ควรมีการอ้างอิงคำแปล)
  • ผู้สร้าง มีคำแปลตามหลักบาลีใหญ่ให้จำนวนหนึ่งให้เท่านั้น (มากกว่า 28,000 คำ ไม่แปลให้ทั้งหมด เพียงหวังให้ผู้ศึกษาบาลี ได้ใช้ประโยชน์ จากโปรแกรมนี้ช่วยในการบันทึก คำแปลด้วยตนเอง ทั้งเป็นผู้ค้นคว้า ตำราใหม่ๆมาสนับสนุนการเรียนรู้)
  • มีประโยคตัวอย่าง จากท่านอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ กว่า 3,000 ประโยค