แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมแท้ๆจากพระไตรปิฏก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมแท้ๆจากพระไตรปิฏก แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จากบทเรียนออนไลน์ท่ามะโอ 20200504 สู่การค้นคว้าพระไตรปิฎก

ภทฺเทกรตฺตสุตฺตํ

แปลยกศัพท์

ภควา เอตทโวจ ภทฺเทกรตฺตสฺส โว ภิกฺขเว อุทฺเทสญฺจ วิภงฺคญฺจ เทเสสฺสามิฯ ตํ สุณาถ
สาธุกํ มนสิกโรถ ภาสิสฺสามีติฯ



บทแปลพระบาลี ทั้งพระสูตร

๑.  ภัทเทกรัตตสูตร  (๑๓๑)
      [๕๒๖]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
      สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  พระผู้มี  พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดง
อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย  พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น  จง
ใส่ใจให้ดี  เราจักกล่าวต่อไป  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า  ชอบแล้ว  พระพุทธเจ้าข้า  ฯ
      [๕๒๗]  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
      บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่
      มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว  และสิ่งที่
      ยังไม่มาถึง  ก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
      ไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ  ได้  บุคคลนั้นพึง
      เจริญธรรมนั้นเนืองๆ  ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียใน
      วันนี้แหละ  ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความ
      ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
      พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความเพียร
      ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่ง
      เจริญ  ฯ
      [๕๒๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร  คือ  รำพึงถึง
ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้วได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่
ล่วงแล้ว  ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีวิญญาณ
อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯ
      [๕๒๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ  ไม่รำพึงถึง
ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาล
ที่ล่วงแล้ว  ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ได้มีวิญญาณ
อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ฯ
      [๕๓๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไรคือ  รำพึงถึง
ความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคตพึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาล
อนาคต  พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีสังขาร  อย่างนี้ในกาลอนาคต  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล  ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ฯ
      [๕๓๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ  ไม่รำพึง
ถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ  ว่า  ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีเวทนาอย่างนี้ใน
กาลอนาคต  พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีสังขาร  อย่างนี้ในกาลอนาคต  พึงมีวิญญาณ
อย่างนี้ในกาลอนาคต  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
      [๕๓๒]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร  คือ  ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้  เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ  ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้ฝึก
ในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ  ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ไม่ได้ฝึกในธรรมของ
สัตบุรุษ  ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น  อัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง  เล็งเห็นรูปในอัตตา
บ้าง  เล็งเห็นอัตตาในรูป  บ้าง  ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามี
เวทนาบ้าง  เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง  ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง  เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในสัญญา
บ้าง  ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง  เล็งเห็นสังขาร
ในอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้างย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง  เล็งเห็น
อัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง  เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง  เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง  ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย  อย่างนี้แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ
      [๕๓๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร  คือ  อริยสาวก
ผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ  ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ฝึกดีแล้วใน
ธรรมของพระอริยะ  ได้เห็นสัตบุรุษ  ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความ  เป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง  ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี
เวทนาบ้าง  ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง  ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็ง
เห็นอัตตาในสัญญาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี
สังขารบ้าง  ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง  ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง  ไม่
เล็งเห็นอัตตา  ในวิญญาณบ้าง  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน  ฯ
      [๕๓๔]  บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่
            ยังไม่มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป
            แล้ว  และสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคล
            ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน
            ในธรรมนั้นๆ  ได้  บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
            ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
            ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยน
            กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
            พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความ
            เพียร  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่า
            ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ  ฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  คำที่เรากล่าวไว้ว่า  เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น  เราอาศัยเนื้อความดังนี้  กล่าวแล้ว  ด้วยประการฉะนี้  ฯ
      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี  พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล  ฯ
          จบ  ภัทเทกรัตตสูตร  ที่  ๑

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

รัตนสูตร บาลี พร้อม คำแปล จากพระไตรปิฎก กล่าวไว้อย่างไร ใช้แก้ Covod-19 ?

บทสวดรัตนสูตร กับชื่อเมืองเวสาลี

พอมีการประกาศสวดพระปริตร รัตตนสูตร เป็นหนึ่งใน หลายบทของบทสวดพระปริตร ที่อรรถกถา(ตามการบันทึก) ว่า มีโรคระบาดเกิดขึ้นที่ เมืองเวสาลี โดย มีโรคระบาด เกิดขึ้น โดยชาวเมือง แก้ไขปัญหาทุกอย่างจนไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว จึง ได้นิมนต์ พระพุทธเจ้า ให้ช่วย โดย บทสวดรัตนสูตร เป็นบทที่ พระพุทธเจ้า ทรงมีพระดำรัสให้พระอานนท์ (ในขณะนั้นบรรลุธรรมในระดับ โสดาบัน) สวดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและโรคระบาด (ยังไม่ได้ค้นคว้าต่อว่าเป็นโรคอะไร ซึ่งตามหลักบาลีไวยากรณ์ อหิวาตกโรค มีบางท่าน ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นด้วยลม และ มีบางท่านสงสัยว่า มีการรับรองเหตุการณ์นี้ (อรรถกถา) ว่าเป็นจริงในสมัยพระพุทธกาลหรือไม่ หรือ เป็นการเขียนอรรถกาถาเพิ่มในส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ภายหลังหรือไม่) เหตุการณ์นี้ (ตามบันทึก อรรถกถา) ระบุว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เมืองเวสาลี ซึ่งก็ยังไม่มีอธิบายในวงกว้าง (อธิบายเฉพาะผู้เข้าไปเรียนฯ)ว่า มีองค์ประกอบใดบ้างที่ทำให้ การสวดบทนี้ทำไมจึงได้สำฤทธิ์ผล และ สำฤทธิ์ ผลทุกกรณีหรือไม่



สำหรับในพื้นที่ประเทศไทย(ปัจจุบัน) ก็มีการจำลองเมืองๆ หนึ่งชื่อว่า เมืองเก่าเวสาลี ซึ่งเมืองจำลองได้ถูกสร้างจำลองไว้ใน สมัยทวาราวดี (บางท่านว่า ได้รับอิทธิพลจากลาว) ที่ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ตามเพจ

พระไตรปิฎก ฉบับ แปลภาษาไทย รัตนสูตร

โดยสรุป เป็นการแผ่เมตตา สรรเสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และ พระสังฆคุณ โดยมีเนื้อความดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ

[๗] ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุม
กันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดย
เคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจง
แผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน
ทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์
เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระ
ตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น
ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรม
อันประณีต ธรรมชาติอะไรๆเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็น
ธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ
สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ บุคคล ๘จำพวก ๔ คู่
อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน
เป็นสาวกของพระตถาคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมี
ผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความ
สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดม
ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง
เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและชีวิต] พระอริยบุคคลเหล่านั้น
บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดย
เปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะ
ลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า
เป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้
เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรง
แสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้
ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี
จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส
อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว
พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น[นิพพาน] ทีเดียว อนึ่ง พระอริย
บุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [คือ
อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้พระอริยบุคคลนั้นยัง
ทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านไม่
ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน
อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความ
สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นใน
คิมหันตฤดู ฉันใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็น
เครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้นพุทธรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทาน
ธรรมอันประเสริฐทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้
ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิต
อันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว
เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะ
แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์
เหล่านี้ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้า
ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดี
จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือ
ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ
พระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความ
สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือ
ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ
พระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี
จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ
จบรัตนสูตร ฯ

พระไตรปิฎกบทพระบาลี

[๗] ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ฯ
สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ
อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ
ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ
เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ
ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ
ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ
ยํ กิญฺจิ วิตฺตํ อิธ วา หุรํ วา
สคฺเคสุ วา ยํ รตนํ ปณีตํ
น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ
ยทชฺฌคา สกฺยมุนี สมาหิโต
น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ ปริวณฺณยี สุจึ
สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ
สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เย ปุคฺคลา อฏฺฐ สตํ ปสฏฺฐา
จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ
เต ทกฺขิเณยฺยา สุคตสฺส สาวกา
เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เย สุปฺปยุตฺตา มนสา ทฬฺเหน
นิกฺกามิโน โคตมสาสนมฺหิ
เต ปตฺติปตฺตา อมตํ วิคยฺห
ลทฺธา มุธา นิพฺพุตึ ภุญฺชมานา
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยถินฺทขีโล ปฐวึ สิโต สิยา
จตุพฺภิ วาเตภิ อสมฺปกมฺปิโย
ตถูปมํ สปฺปุริสํ วทามิ
โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เยรียสจฺจานิ วิภาวยนฺติ
คมฺภีรปญฺเญน สุเทสิตานิ
กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา
น เต ภวํ อฏฺฐมมาทิยนฺติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย
ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ
สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ
สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ
จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต
ฉ จาภิฐานานิ อภพฺโพ กาตุํ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ
กาเยน วาจายุท เจตสา วา
อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺฉทาย
โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
เยรียสจฺจานิ วิภาวยนฺติ
คมฺภีรปญฺเญน สุเทสิตานิ
กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา
น เต ภวํ อฏฺฐมมาทิยนฺติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย
ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ
สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ
สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ
จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต
ฉ จาภิฐานานิ อภพฺโพ กาตุํ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ
กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ
กาเยน วาจายุท เจตสา วา
อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺฉทาย
ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ
พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ
ธมฺมํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ
ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข
ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ
สงฺฆํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ
รตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯ

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ความเหลื่อมล้ำ ฐานะการเงิน มาจาก กรรมเก่าหรือไม่

ความร่ำรวย ความยากจน มาจากกรรมเก่าหรือไม่

ความเชื่อของลัทธิเก่า


พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
หน้าที่ 0238 ข้อที่ 62

[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า
ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า (ติตถะ) หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการที่เรียกว่า "ท่า" เพราะเป็นที่อันสัตว์
ทั้งหลายข้ามไป ลอยไป และ เร่ร่อนไปด้วยการผุดขึ้น และ ดำลงไม่มีที่สิ้นสุด (องฺ.ติก.อ.  ๒/๖๒/๑๗๓,  องฺ.ติก.ฏีกา  ๒/๖๒/๑๗๙)
๓ ประการ ซึ่งเมื่อถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียงเข้า ก็อ้างการถือสืบ ๆ กันมา ยืน
กรานอยู่ในหลักอกิริยวาทะ ๒
ที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข
    ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วน
    แต่มีกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ"
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข
 ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
 มีการเนรมิตของพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ"
 ๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข
ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย"
            บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า "สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนมี
กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ" เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้
ว่า "ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า"
"สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมด ล้วนแต่มีกรรมที่ทำไว้ในปาง
ก่อนเป็นเหตุ"
ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า "จริง"
เราจะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า "ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์  ประพฤติผิดพรหมจรรย์  พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิตพยาบาท และ เป็นมิจฉาทิฏฐิ"

อนึ่ง  เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนโดยความเป็นแก่นสารย่อมไม่มี
ความพอใจหรือความพยายามว่า "สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ" ก็เมื่อไม่ได้
กรณียกิจ และ อกรณียกิจโดยจริงจังมั่นคง ดังมากล่าวนี้ สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็น
ของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน นี้แลเป็น
วาทะที่ ๑ สำหรับข่มโดยชอบธรรมของเราต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
(๑) บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า "สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ" เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า "ทราบมาว่า จริงหรือ ที่ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า "สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขที่บุรุษบุคคลนี้เสวย ทั้งหมดล้วนแต่มีการ
เนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ" ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้ยอมรับว่า "จริง" เราก็จะกล่าวกับท่านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า "ถ้าอย่างนั้น
เพราะการเนรมิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นเหตุ ท่านทั้งหลายก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์
ฯลฯ และ เป็นมิจฉาทิฏ" ...

อ้างอิงการแปลพระสูตรนี้จาก ฉบับหลวง

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
หน้าที่ 0167 ข้อที่ 501

  [๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ อย่างนี้ ถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซ้ไล่เลียง
เข้า ย่อมอ้างลัทธิสืบๆ มา ตั้งอยู่ในอกิริยทิฐิ ๓ อย่าง ทิฐิ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนีว่า สุข   ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้นล้วนแต่มีการสร้างสรรของอิสรชนเป็นเหตุ
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนแต่หาเหตุหาปัจจัยมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้ง ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลเสวยนั้น ล้วนมีแต่กรรม
ที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุเราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า

ได้ยินว่าท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เสวยนั้น ล้วนแต่มีกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ จริงหรือ ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้นถูก
เราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญาว่าจริง
เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลายจักต้องฆ่าสัตว์ จักต้องลักทรัพย์ จักต้องประพฤติกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ จักต้องพูดเท็จ จัก---ต้องพูดคำส่อเสียด จักต้องพูดคำหยาบ จักต้องพูดคำเพ้อเจ้อ จักต้องมากไปด้วยอภิชฌา จักต้องมีจิตพยาบาท จักต้องมีความเห็นผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ได้ทำไว้แต่ก่อนโดยความเป็นแก่นสาร ความพอใจหรือความพยายามว่า กิจนี้ควรทำหรือว่ากิจนี้ไม่ควรทำ ย่อมจะมีไม่ได้ ก็เมื่อไม่ได้กรณียกิจและอกรณียกิจ
โดยจริงจังมั่นคงดังนี้ สมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตัว ย่อมจะสำเร็จไม่ได้ แก่ผู้มีสติฟั่นเฟือน
 ไร้เครื่องป้องกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะสำหรับข่มขี่ที่ชอบธรรม ในสมณพราหมณ์พวก
นั้นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้อย่างนี้แลเป็นข้อแรก...

วินิจฉัยเพิ่มเติม

ชีวิตมี 2 ส่วน
๑. ส่วนที่รับเป็นผล ๒. ส่วนที่ทำเป็นเหตุ. 
ผลของกรรมเก่าเป็นไปตามอำนาจกรรม จะได้รับสิ่งที่ดีหรือร้ายก็ต้องได้รับ.
ส่วนที่ทำกรรมใหม่จะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ก็จะกลายเป็นกรรมเก่า เมื่อสำเร็จลง และ จะให้ผลในโอกาสที่ควร.

อ่านสำนวนไทยๆ ที่แปล ยังมึนๆ เล็กน้อย จะขอสรุป ดังนี้ เพราะ ถ้าบอกไม่เกี่ยวซะทีเดียว ก็ไม่ต่างจากพราห์มที่บอกว่า (ฐานะของตนสูงส่ง เพราะ ทำกรรมดีมาเพียงอย่างเดียว แม้แต่พระพุทธองค์ เองก็ได้พูดถึงเรื่องอดีตชาติ ในพระสูตรอื่นๆ)
จากพิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้ว คำกล่าวนี้ เป็นการบอก พาร์หมว่า
๑. ถ้ามัวแต่คำนึงถึงกรรมเก่า (ไม่ได้บอกว่าเก่าแค่ไหน อาจเป็นเมื่อวานก็ได้ เช่น เมื่อวานนาย ก. ปล้นร้านทอง วันนี้เลยโดนจับ) และ ไม่พิจารณา "สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ" ก็จะไม่มีเครื่องป้องกัน (ในการกระทำความชั่ว)
๒. ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้ยอมรับว่า "จริง" เราจะกล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า "ถ้าอย่างนั้น เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ท่านทั้งหลาย ก็จักเป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีจิตพยาบาท และ เป็นมิจฉาทิฏฐิ" 
(ก็เป็นจริงด้วย ไม่ใช่เรื่อง กรรมดีเพียงอย่างเดียว)
๓. สมณวาทะที่เป็นธรรม เป็นของเฉพาะตัวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีเครื่องป้องกัน

ดังนั้นโดยสรุป ของพระสูตรนี้ จากการวินิจฉัย(ของผู้เขียน) ทั้งหมดข้างต้น น่าจะเป็นการบอกว่า พราห์ม มีความเห็นผิดเพราะ ไม่วินิจฉัยให้ครอบคลุมมากกว่า (เพราะพราห์ม มักอ้างว่าตนวิเศษสุด)

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กัลยาณมิตร 7 ประการ

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร

 [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑
เป็นที่เคารพ ๑ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดพูด ๑ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑ พูดถ้อยคำ
ลึกซึ้ง ๑ ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
 ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
ข้อที่ 34



 [๓๔]   สตฺตหิ   ภิกฺขเว   ธมฺเมหิ   สมนฺนาคโต   ภิกฺขุ  มิตฺโต
เสวิตพฺโพ   ภชิตพฺโพ   ปยิรุปาสิตพฺโพ  อปิ  ปนุชฺชมาเนนปิ  ฯ  กตเมหิ
สตฺตหิ   ปิโย   จ   โหติ   มนาโป  จ  ครุ  จ  ภาวนีโย  จ  วตฺตา
จ   วจนกฺขโม   จ   คมฺภีรญฺจ   กถํ  กตฺตา  โหติ  โน  จ  อฏฺฐาเน
นิโยเชติ   ฯ  อิเมหิ  โข  ภิกฺขเว  สตฺตหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  ภิกฺขุ
มิตฺโต เสวิตพฺโพ ภชิตพฺโพ ปยิรุปาสิตพฺโพ อปิ ปนุชฺชมาเนนปีติ ฯ
         ปิโย จ  ครุ ภาวนีโย   วตฺตา จ วจนกฺขโม
         คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา       โน จฏฺฐาเน นิโยชเย
         ยสฺมึ เอตานิ ฐานานิ      สํวิชฺชนฺตีธ ปุคฺคเล
         โส มิตฺโต มิตฺตกาเมน     อตฺถกามานุกมฺปโก
         อปิ นาสิยมาเนน         ภชิตพฺโพ ตถาวิโธติ ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ธรรมการกล่าววาจาสำหรับนักปกครอง (เพิ่มเติมจากหมวดพรหมวิหาร ๔)

ธรรมการกล่าววาจาสำหรับนักปกครอง

ที่มา

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
ยถาภตอวรรณสูตร

พระบาลี

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

[๒๓๖]   ปญฺจหิ  ภิกฺขเว  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  อาวาสิโก  ภิกฺขุ
ยถาภตํ    นิกฺขิตฺโต    เอวํ    นิรเย    กตเมหิ   ปญฺจหิ   อนนุวิจฺจ
อปริโยคาเหตฺวา      อวณฺณารหสฺส     วณฺณํ     ภาสติ     อนนุวิจฺจ
อปริโยคาเหตฺวา  วณฺณารหสฺส  อวณฺณํ  ภาสติ  อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา
อปฺปสาทนีเย   ฐาเน   ปสาทํ   อุปทํเสติ   อนนุวิจฺจ  อปริโยคาเหตฺวา
ปสาทนีเย   ฐาเน   อปฺปสาทํ   อุปทํเสติ   สทฺธาเทยฺยํ  วินิปาเตติ  ฯ
อิเมหิ   โข   ภิกฺขเว   ปญฺจหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  อาวาสิโก  ภิกฺขุ
ยถาภตํ  นิกฺขิตฺโต  เอวํ  นิรเย  ฯ  ปญฺจหิ  ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
อาวาสิโก   ภิกฺขุ   ยถาภตํ   นิกฺขิตฺโต   เอวํ  สคฺเค  กตเมหิ  ปญฺจหิ
อนุวิจฺจ    ปริโยคาเหตฺวา    อวณฺณารหสฺส   อวณฺณํ   ภาสติ   อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา      วณฺณารหสฺส      วณฺณํ      ภาสติ      อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา   อปฺปสาทนีเย   ฐาเน   อปฺปสาทํ   อุปทํเสติ  อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา   ปสาทนีเย   ฐาเน   ปสาทํ   อุปทํเสติ   สทฺธาเทยฺยํI
น   วินิปาเตติ   อิเมหิ   โข   ภิกฺขเว   ปญฺจหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต
อาวาสิโก ภิกฺขุ ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต เอวํ สคฺเคติ ฯ

สรุปเรียบเรียงเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย

[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูก
นำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน...

  1. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้ควรตำหนิ
  2. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
  3. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
  4. ไม่ใคร่ครวญ ไม่ พิจารณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
  5. ย่อมยังศรัทธา ให้ตกไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน

  1. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
  2. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
  3. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
  4. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏ ในที่อันควรเลื่อมใส
  5. ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป



วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พุทธพจน์ วันแห่งความรัก

พุทธพจน์ วันแห่งความรัก วิสาขาสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
ข้อที่ 176
... 
พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมี
สิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้น
ก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใด
มีสิ่งที่รัก ๑๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ
...
ยเกจิ โสกา ปริเทวิตา วา๔
               ทุกฺขา จ [๑] โลกสฺมึ อเนกรูปา
               ปิยํ ปฏิจฺจ ภวนฺติ เอเต
               ปิเย อสนฺเต น ภวนฺติ เอเต
               ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา
#๑ โป. เต ฯ

ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลายอย่างนี้
      มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักเมื่อไม่มีสัตว์หรือ
      สังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี
      เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ
      ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนา
      ความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็น
      ที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

การดับสูญของพระสัทธรรม พระพุทธองค์ ตรัสไว้มีสาเหตุมาจากอะไร

ป้องกันการดับสูญพระสัทธรรม ด้วยการเรียนรู้พระบาลี

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
ข้อที่ 266

ทฺวเม   ภิกฺขเว  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย
อนฺตรธานาย    สํวตฺตนฺติ    กตเม   เทฺว   ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ   ปทพฺยญฺชนํ
อตฺโถ   จ   ทุนฺนีโต   ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส   ภิกฺขเว   ปทพฺยญฺชนสฺส  อตฺโถปิ
ทุนฺนโย  โหติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว  เทฺว  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย
อนฺตรธานาย   สํวตฺตนฺติ   ฯ   เทฺวเม   ภิกฺขเว   ธมฺมา   สทฺธมฺมสฺส
ฐิติยา    อสมฺโมสาย    อนนฺตรธานาย    สํวตฺตนฺติ    กตเม    เทฺว
สุนิกฺขิตฺตญฺจ   ปทพฺยญฺชนํ   อตฺโถ   จ   สุนีโต   สุนิกฺขิตฺตสฺส   ภิกฺขเว
ปทพฺยญฺชนสฺส   อตฺโถปิ  สุนโย  โหติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว  เทฺว  ธมฺมา
สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺตีติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหาย
แห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑อรรถที่นำมาไม่ดี ๑
แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะ
ที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พระพักตร์ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง และ พุทธลักษณะ 32 ประการ

ที่มาของรูปภาพ

รูปภาพที่เชื่อกันว่า เป็นภาพถ่ายที่มีคนไปถ่ายรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา แล้วมีภาพพระพุทธเจ้าติดมาในฟิล์ม บ้างก็เชื่อว่า เป็นภาพที่วาดโดยโอรสของรัชกาลที่ ๕ บ้างก็เชื่อว่า เป็นภาพวาดของจิตรกรชาวฝรั่งเศส


ความจริงแล้วรูปต้นฉบับนั้นเป็นภาพวาดที่วาดโดย ใช้สีน้ำมันบนผ้าใบขนาด กว้าง 290 ซม. ยาว 366 ซม. ของ Las tentaciones de Buda (The temptation of Buddha) 1916 - 1921

แหล่งข้อมูลบางแห่งแปลงภาพนี้ให้เป็นสีขาวดำ เพื่อให้ภาพดูเก่าและดูขลังขึ้น !


ภาพดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาสเปนว่า Las tentaciones de Buda (ตรงกับภาษาอังกฤษคือ The temptation of Buddha) วาดโดยจิตรกรชาวสเปน ที่ชื่อ Eduardo Chicharro  จิตรกรท่านนี้ได้รับแรงบันดาลใจในศาสนาตะวันออกจาก รพินทรนาถ ฐากูร ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นคนเอเชีย คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับใน สาขาวรรณกรรม

Artist Eduardo Chicharro 1873 - 1949

Eduardo Chicharro ได้วาดภาพนี้ขึ้นระหว่าง ปี พศ. 2459 – 2464 (ใช้เวลาวาดประมาณ 5-6 ปี) ปัจจุบันภาพนี้แขวนอยู่ที่ La Academia de Bellas Artes de San Fernando (The Academy of fined arts of St. Ferdinan) กรุงมาดริดประเทศสเปน

ที่มา https://th-th.facebook.com/notes/siriphong-pakaratsakun/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87/10153375704698423/

พระพุทธลักษณะ 32 ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหา
บุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะ ได้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้
๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาท
ประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ ฯ
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำ ข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็
มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ฯ
๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็น
กุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของ
พระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การตอบแทนคุณ บิดามารดา

ตอบแทนคุณ บิดา มารดา
๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน 
ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา 
ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา 
พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่าน 
ทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำ 
อย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ 
๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้ว 
แก่มารดาบิดาเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดง 
โลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธา 
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่
ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา 
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว 
และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ 

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ อะไร กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่
การเพ่งกษิณไฟได้มีมาแล้วตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดที่มีกษิณไฟเข็งกล้า สามารถบรรลุพระอรหันตผล หรือ พูดง่ายๆก็คือ กษิณไฟไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง ดังมีบันทึกในพระไตรปิฎกได้ดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 04
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา


 เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง

      [๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลอุรุเวลาแล้ว. ก็โดย
สมัยนั้นแล ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสป ๑ นทีกัสสป ๑ คยากัสสป ๑ อาศัยอยู่ในตำบล
อุรุเวลา. บรรดาชฎิล ๓ คนนั้น ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็น
หัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน. ชฎิลชื่อนทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็น
ผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๓๐๐ คน. ชฎิลชื่อคยากัสสป เป็นผู้นำ เป็น
ผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๒๐๐ คน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัสกะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกร
กัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
 อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      ภ. ลางที พญานาคจะไม่ทำให้เราลำบาก ดูกรกัสสป เอาเถิด ขอท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด.
      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง แล้วทรงปูหญ้า เครื่องลาด ประทับ
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่น
 ปาฏิหาริย์ที่ ๑
      [๓๘] ครั้งนั้น พญานาคนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปดังนั้น ครั้นแล้ว มี
ความขึ้งเคียดไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ
เราพึงครอบงำเดชของพญานาคนี้ด้วยเดชของตน ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
และเยื่อในกระดูก ดังนี้ แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว. พญานาค
นั้นทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเข้ากสิณสมาบัติมีเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ บันดาลไฟต้านทานไว้. เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้น โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลว
เพลิงดุจไฟลุกไหม้ทั่วไป. จึงชฎิลพวกนั้นพากันล้อมโรงบูชาเพลิง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา
พระมหาสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่. ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงครอบงำเดชของ
พญานาคนั้น ด้วยเดชของพระองค์ ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อใน
กระดูก ทรงขดพญานาคไว้ในบาตร โดยผ่านราตรีนั้น แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปด้วย
พระพุทธดำรัสว่า ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว
จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำเดช
ของพญานาคที่ดุร้าย  มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง ด้วยเดชของตนได้  แต่พระมหาสมณะ
นี้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.
  [๓๙] ที่แม่น้ำเนรัญชรา  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสป ว่าดังนี้:-
      ดูกรกัสสป  ถ้าท่านไม่หนักใจ  เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักวันหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ข้าพเจ้าหวังความสำราญจึงห้ามท่านว่า
ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย  มีฤทธิ์  เป็นอสรพิษ  มีพิษร้ายแรง  อย่าเลย  มันจะทำให้
ท่านลำบาก.
      ภ.  ลางที พญานาคนั้นจะไม่ทำให้เราลำบาก  ดูกรกัสสป  เอาเถิด  ท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      พระผู้มีพระภาคทรงทราบอุรุเวลกัสสปนั้นว่า อนุญาตให้แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ปราศจาก
ความกลัว  เสด็จเข้าไป.
      พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคผู้แสวงคุณความดี  เสด็จเข้าไปแล้ว  ไม่พอใจ  จึงบังหวน
ควันขึ้น.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัดเคือง  ทรงบังหวน
ควันขึ้นในที่นั้น.
      แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้  จึงพ่นไฟสู้.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์
ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น.
      เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้นแล้ว  โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง.  พวกชฎิลกล่าว
กันว่า ชาวเรา พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่.
      ครั้นราตรีผ่านไป  เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ.  แต่เปลวไฟสีต่างๆ  ของพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่.
      พระรัศมีสีต่างๆ  คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกาย
พระอังคีรส.
      พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว   ทรงแสดงแก่พราหมณ์ว่า  ดูกรกัสสป
นี่พญานาคของท่าน  เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว.
ครั้งนั้น  ชฎิลอุรุเวลกัสสป  เลื่อมใสยิ่งนัก  เพราะอิทธิปาฏิหารย์นี้ของพระผู้มีพระภาค
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่มหาสมณะ นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละ  ข้าพเจ้าจักบำรุงท่าน
ด้วยภัตตาหารประจำ....


วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ มาจากพระสูตรไหน

(หันทะ มะยัง อะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
ชะราธัมโมม๎หิ ชะรัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้;
พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้;
มะระณะธัมโมม๎หิ มะระณัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว,
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งหลายทั้งสิ้น ไม่ล่วงพ้นไปได้;
กัมมัสสะโกม๎หิ, (ญ. กัมมัสสะกาม๎หิ) เรามีกรรมเป็นสมบัติของตน;
กัมมะทายาโท, (ญ. กัมมะทายาทา) เราจะต้องได้รับมรดกของกรรมทุกอย่าง;
กัมมะโยนิ, เรามีกรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด;
กัมมะพันธุ, เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์;
กัมมะปะฏิสะระโณ, (ญ.กัมมะปะฏิสะระณา) เรามีกรรมเป็นที่พึ่ง;
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราจักกระทำกรรมใดไว้;
กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม;
ตัสสะ ทายาโท (ญ.ทายาทา) ภะวิสสามิ, เราจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป;
เอวัง อัมเหหิ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพัง, เราทั้งหลายควรพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้ ทุกวันๆ เถิด ฯ


พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

 ๑๐. ทัณฑวรรค
               หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์๑
               ๑. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
           {๒๐} [๑๒๙]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมหวาดกลัวความตาย
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า
               ๒. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
                    [๑๓๐]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมรักชีวิต๒
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

กรณียเมตฺตสุตฺตํ

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ

กะระณียะเมตตสุตตัง

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25 
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
ข้อที่๑๐

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ
    [๑๐] กรณียมตฺถกุสเลน           ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจุํ
สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ        สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ       อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ      อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ฯ
น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ     เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ ฯ
สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ     สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ          ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา
ทีฆา วา เย มหนฺตา วา     มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา
ทิฏฺฐา วา เย ๑ จ อทิฏฺฐา เย ๑ จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
ภูตา วา สมฺภเวสี วา       สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ        นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ ๒ กิญฺจิ
พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺญา       นาญฺญมญฺญสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ฯ
มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ        อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ          มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ        มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ        อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ
ติฏฺฐญฺจรํ นิสินฺโน วา        สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ
เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย         พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ๑ ฯ
ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม           สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
กาเมสุ วิเนยฺย ๒ เคธํ     น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ ฯ

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
  ๙. เมตตสูตร
                  ว่าด้วยการแผ่เมตตา
   {๑๐} (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า    ดังนี้)
[๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒
ควรบำเพ็ญกรณียกิจ๓ควรเป็นผู้อาจหาญ    ซื่อตรง
เคร่งครัด    ว่าง่าย    อ่อนโยน    และไม่เย่อหยิ่ง
[๒] ควรเป็นผู้สันโดษ    เลี้ยงง่าย    มีกิจน้อย๔
มีความประพฤติเบา๕    มีอินทรีย์สงบ    มีปัญญารักษาตน
ไม่คะนอง๖    ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย
[๓] อนึ่ง    ไม่ควรประพฤติความเสียหายใด  ๆ
ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำหนิเอาได้
(ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ว่า)
ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข
มีความเกษม    มีตนเป็นสุขเถิด
[๔] คือ    เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง๑
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว    ขนาดกายใหญ่    ขนาดกายปานกลาง
ขนาดกายเตี้ย    ขนาดกายผอม    หรือขนาดกายอ้วน
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๕] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี    เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี
เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกลก็ดี    ภูตหรือสัมภเวสี๒ก็ดี
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๖] ไม่ควรข่มเหง    ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความโกรธและความแค้น
[๗] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์
ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต    ฉะนั้น
[๘] อนึ่ง    ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ
กว้างขวาง    ไม่มีเวร    ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด
ทั้งชั้นบน๑    ชั้นล่าง๒    และชั้นกลาง๓
[๙] ผู้แผ่เมตตาจะยืน    เดิน    นั่ง    หรือนอน
ควรตั้งสติ๔นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง
นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า    พรหมวิหาร
[๑๐] อนึ่ง    ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถือทิฏฐิ๕
มีศีล    ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ๖
กำจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว
ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป
เมตตสูตร จบ
ขุททกปาฐะ จบ

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

อะเสวนาจะพาลานัง มงคลสูตร ๓๘ ประการ

ปฐมํ มงฺคลสุตฺตํ
                    ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ 
     [๕]   เอวมฺเม   สุตํ  ฯ  เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ 
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ  อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา 
อภิกฺกนฺตาย     รตฺติยา     อภิกฺกนฺตวณฺณา     เกวลกปฺปํ     เชตวนํ 
โอภาเสตฺวา    เยน    ภควา   เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ 
อภิวาเทตฺวา   เอกมนฺตํ   อฏฺฐาสิ   เอกมนฺตํ  ฐิตา  โข  สา  เทวตา 
ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ 
     [๖] พหู เทวา มนุสฺสา จ        มงฺคลานิ อจินฺตยุํ
         อากงฺขมานา โสตฺถานํ       พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         อเสวนา จ พาลานํ         ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา 
         ปูชา จ ปูชนียานํ ๒        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ปฏิรูปเทสวาโส จ          ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
       อตฺตสมฺมาปณิธิ จ           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ         วินโย จ สุสิกฺขิโต 
         สุภาสิตา จ ยา วาจา       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ           ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห 
         อนากุลา จ กมฺมนฺตา        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ        ญาตกานญฺจ สงฺคโห 
         อนวชฺชานิ กมฺมานิ          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         อารตี วิรตี ปาปา          มชฺชปานา จ สญฺญโม 
         อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         คารโว จ นิวาโต จ        สนฺตุฏฺฐี จ กตญฺญุตา 
         กาเลน ธมฺมสฺสวนํ          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ขนฺตี จ โสวจสฺสตา         สมณานญฺจ ทสฺสนํ 
         กาเลน ธมฺมสากจฺฉา        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ        อริยสจฺจานทสฺสนํ 
         นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ         จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ 
         อโสกํ วิรชํ เขมํ           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         เอตาทิสานิ กตฺวาน         สพฺพตฺถมปราชิตา๋ 
         สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ       ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ ฯ 

บาลีสยามรัฐ เล่มที่๒๕ ข้อที่ ๕-๖ 

๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก
ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย
ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้ว
ในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดา
บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑
นี้เป็นอุดมมงคลการงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความเคารพ ๑
ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรม
โดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การ
ได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑
นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย
ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคล
ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

อาสวะที่ต้องละด้วยการใช้สอย

การพิจารณาปัจจัยสี่

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 12
พระสุตตันปิฎก มัชฌิมนิกาย เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ ขั้นต้น (บาลีสยามรัฐ ข้อที่ ๑๔)
....
 [๑๔]   กตเม   จ  ภิกฺขเว  อาสวา  ปฏิเสวนา  ปหาตพฺพา  ฯ
อิธ   ภิกฺขเว   ภิกฺขุ   ปฏิสงฺขา   โยนิโส   จีวรํ  ปฏิเสวติ  ยาวเทว
สีตสฺส  ปฏิฆาตาย  อุณฺหสฺส  ปฏิฆาตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ๑
ปฏิฆาตาย         ยาวเทว         หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ        ฯ

ปฏิสงฺขา   โยนิโส   ปิณฺฑปาตํ   ปฏิเสวติ  เนว  ทวาย  น  มทาย  น
มณฺฑนาย   น   วิภูสนาย   ยาวเทว  อิมสฺส  กายสฺส  ฐิติยา  ยาปนาย
วิหึสุปรติยา   พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย   อิติ   ปุราณญฺจ   เวทนํ  ปฏิหงฺขามิ
นวญฺจ  เวทนํ  น  อุปฺปาเทสฺสามิ  ยาตฺรา  จ  เม  ภวิสฺสติ  อนวชฺชตา
จ   ผาสุวิหาโร  จาติ  ๒  ฯ

ปฏิสงฺขา  โยนิโส  เสนาสนํ  ปฏิเสวติ
ยาวเทว    สีตสฺส    ปฏิฆาตาย    อุณฺหสฺส    ปฏิฆาตาย    ฑํสมกส-
วาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ   ๑   ปฏิฆาตาย  ยาวเทว  อุตุปริสฺสยวิโนทนํ
ปฏิสลฺลานารามตฺถํ   ฯ

ปฏิสงฺขา   โยนิโส  คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ
ปฏิเสวติ   ยาวเทว   อุปฺปนฺนานํ  เวยฺยาพาธิกานํ  เวทนานํ  ปฏิฆาตาย
อพฺยาปชฺฌปรมตาย   ฯ....

....
 {๑๔}  [๒๓]    อาสวะที่ต้องละด้วยการใช้สอย    เป็นอย่างไร
            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยจีวรเพียงเพื่อป้องกัน
ความหนาว    ความร้อน    เหลือบ    ยุง    ลม    แดด    และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอาย

 ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาตไม่ใช่เพื่อเล่น    ไม่ใช่เพื่อความ
มัวเมา    ไม่ใช่เพื่อประดับ๑    ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๒    แต่เพียงเพื่อกายนี้ดำรงอยู่ได้    เพื่อให้
ชีวิตินทรีย์เป็นไป    เพื่อบำบัดความหิว    เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์    ด้วยคิดเห็นว่า
'โดยอุบายนี้    เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้    และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น    ความ
ดำรงอยู่แห่งชีวิต    ความไม่มีโทษ    และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา'    แล้วจึงบริโภค
อาหาร

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อป้องกันความหนาว
ความร้อน    เหลือบ    ยุง    ลม    แดด    และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน    เพียงเพื่อบรรเทา
อันตรายที่เกิดจากฤดู    และเพื่อความยินดีในการหลีกเร้น(สำหรับการภาวนา)

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๓    เพียงเพื่อบรรเทา
เวทนาที่เกิดจากอาพาธต่าง  ๆ    ที่เกิดขึ้นแล้ว    และเพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด ....

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์ใช้ในปัจจุบันล้วนมาจากพุทธวจนะ

บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์ใช้ในปัจจุบันล้วนมาจากพุทธวจนะ

มีคำกล่าวจากบางสำนัก ว่า มีแต่การสวดสรรเสริญ พระพุทธคุณ และ เป็นคำแต่งใหม่ไม่ใช่พุทธวจนะ วันนี้จึงได้นำบทสวด ชุดสวดพระปริตร มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ตัวอย่างนี้อาจมีส่วนช่วยเล็กๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน เข้าใจ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันทั้ง สงฆ์ และ ฆราวาส
พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
ขุทฺทกปาเฐ รตนสุตฺตํ
           [๗] ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
               ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ฯ
               สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ
               อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ
              ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ
               เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ
               ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ
               ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ
......
 พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ขุททกปาฐะ  ๖.  รตนสูตร
  
                  ๖. รตนสูตร ๑
                  ว่าด้วยรตนะอันประณีต
            (พระผู้มีพระภาคตรัสรตนสูตรดังนี้)
                   {๗} [๑]                ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น๒
                                    หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ๓    ที่มาประชุมกันอยู่    ณ    ที่นี้
                                    ขอให้ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี    และจงฟังภาษิตโดยเคารพเถิด
         [๒]                เพราะฉะนั้นแล    ภูตทั้งปวง    ท่านจงใคร่ครวญ
                                    จงแผ่เมตตาต่อหมู่มนุษย์ด้วยเถิด
                                    มนุษย์เหล่าใดนำเครื่องเซ่นสรวงมาให้
                                    ทั้งกลางวันและกลางคืน
                                    เพราะเหตุนั้น    ขอท่านทั้งหลายอย่าประมาท
                                    จงรักษามนุษย์เหล่านั้น
.......

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น แบ่งได้ออกเป็น ๔ หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
อ้างอิงจาก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 01
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ อานาปานสติสมาธิกถา



เริ่มต้นปฏิบัติ

คุณวิเศษ

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน...

หาสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน

มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ

ภิกษุนั้นย่อมมีสติ(ลม)หายใจ เข้า มีสติ(ลม)หายใจออก

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึก(รู้ชัด) ว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกยาว
๒. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกสั้น
๓. (พึงศึกษาว่า)เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย)หายใจออก
๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๕. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก
๖. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก
๗. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก
๘. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๙. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก
๑๐. (พึงศึกษาว่า) เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก
๑๑. (พึงศึกษาว่า)  เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก
๑๒. (พึงศึกษาว่า) เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑๓. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก
๑๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจออก
๑๕. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจออก
๑๖. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจออก

สรุปประโยชน์

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

กิเลสในตัวตน

กิเลสในตัวตน

ในความมีทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมีทรวดทรง
งาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ความมัวเมา ความประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี
ความอยากได้เกินประมาณความมักมาก ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน
การชอบตกแต่ง การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย  ความเมา
อาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดงนิมิต การพูดติเตียน
การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขาความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความ
สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอ
เขาผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เสมอเขา
สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ความถือตัว ความ
ดูหมิ่นผู้อื่น ความเย่อหยิ่ง ความดูหมิ่นตัวเอง ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ความสำคัญ
ว่ามีอัตตาตัวตน ความถือตัวผิด ความคิดถึงญาติความคิดถึงชนบท ความคิดไม่ตายตัว ความ
คิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง ความคิดเกี่ยวด้วย
ความไม่มีใครดูหมิ่น