วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น แบ่งได้ออกเป็น ๔ หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
อ้างอิงจาก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 01
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ อานาปานสติสมาธิกถา



เริ่มต้นปฏิบัติ

คุณวิเศษ

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน...

หาสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน

มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ

ภิกษุนั้นย่อมมีสติ(ลม)หายใจ เข้า มีสติ(ลม)หายใจออก

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึก(รู้ชัด) ว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกยาว
๒. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกสั้น
๓. (พึงศึกษาว่า)เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย)หายใจออก
๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๕. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก
๖. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก
๗. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก
๘. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๙. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก
๑๐. (พึงศึกษาว่า) เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก
๑๑. (พึงศึกษาว่า)  เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก
๑๒. (พึงศึกษาว่า) เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑๓. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก
๑๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจออก
๑๕. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจออก
๑๖. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจออก

สรุปประโยชน์

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ