การพิจารณาปัจจัยสี่
พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 12
พระสุตตันปิฎก มัชฌิมนิกาย เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ ขั้นต้น (บาลีสยามรัฐ ข้อที่ ๑๔)
....
[๑๔] กตเม จ ภิกฺขเว อาสวา ปฏิเสวนา ปหาตพฺพา ฯ
อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ ปฏิเสวติ ยาวเทว
สีตสฺส ปฏิฆาตาย อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ๑
ปฏิฆาตาย ยาวเทว หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ ฯ
ปฏิสงฺขา โยนิโส ปิณฺฑปาตํ ปฏิเสวติ เนว ทวาย น มทาย น
มณฺฑนาย น วิภูสนาย ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา ยาปนาย
วิหึสุปรติยา พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย อิติ ปุราณญฺจ เวทนํ ปฏิหงฺขามิ
นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ อนวชฺชตา
จ ผาสุวิหาโร จาติ ๒ ฯ
ปฏิสงฺขา โยนิโส เสนาสนํ ปฏิเสวติ
ยาวเทว สีตสฺส ปฏิฆาตาย อุณฺหสฺส ปฏิฆาตาย ฑํสมกส-
วาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ๑ ปฏิฆาตาย ยาวเทว อุตุปริสฺสยวิโนทนํ
ปฏิสลฺลานารามตฺถํ ฯ
ปฏิสงฺขา โยนิโส คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ
ปฏิเสวติ ยาวเทว อุปฺปนฺนานํ เวยฺยาพาธิกานํ เวทนานํ ปฏิฆาตาย
อพฺยาปชฺฌปรมตาย ฯ....
....
{๑๔} [๒๓] อาสวะที่ต้องละด้วยการใช้สอย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยจีวรเพียงเพื่อป้องกัน
ความหนาว ความร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอาย
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาตไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความ
มัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ๑ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๒ แต่เพียงเพื่อกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้
ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า
'โดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความ
ดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา' แล้วจึงบริโภค
อาหาร
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อป้องกันความหนาว
ความร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทา
อันตรายที่เกิดจากฤดู และเพื่อความยินดีในการหลีกเร้น(สำหรับการภาวนา)
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๓ เพียงเพื่อบรรเทา
เวทนาที่เกิดจากอาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว และเพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ