วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ธรรมการกล่าววาจาสำหรับนักปกครอง (เพิ่มเติมจากหมวดพรหมวิหาร ๔)

ธรรมการกล่าววาจาสำหรับนักปกครอง

ที่มา

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
ยถาภตอวรรณสูตร

พระบาลี

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

[๒๓๖]   ปญฺจหิ  ภิกฺขเว  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  อาวาสิโก  ภิกฺขุ
ยถาภตํ    นิกฺขิตฺโต    เอวํ    นิรเย    กตเมหิ   ปญฺจหิ   อนนุวิจฺจ
อปริโยคาเหตฺวา      อวณฺณารหสฺส     วณฺณํ     ภาสติ     อนนุวิจฺจ
อปริโยคาเหตฺวา  วณฺณารหสฺส  อวณฺณํ  ภาสติ  อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา
อปฺปสาทนีเย   ฐาเน   ปสาทํ   อุปทํเสติ   อนนุวิจฺจ  อปริโยคาเหตฺวา
ปสาทนีเย   ฐาเน   อปฺปสาทํ   อุปทํเสติ   สทฺธาเทยฺยํ  วินิปาเตติ  ฯ
อิเมหิ   โข   ภิกฺขเว   ปญฺจหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  อาวาสิโก  ภิกฺขุ
ยถาภตํ  นิกฺขิตฺโต  เอวํ  นิรเย  ฯ  ปญฺจหิ  ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
อาวาสิโก   ภิกฺขุ   ยถาภตํ   นิกฺขิตฺโต   เอวํ  สคฺเค  กตเมหิ  ปญฺจหิ
อนุวิจฺจ    ปริโยคาเหตฺวา    อวณฺณารหสฺส   อวณฺณํ   ภาสติ   อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา      วณฺณารหสฺส      วณฺณํ      ภาสติ      อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา   อปฺปสาทนีเย   ฐาเน   อปฺปสาทํ   อุปทํเสติ  อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา   ปสาทนีเย   ฐาเน   ปสาทํ   อุปทํเสติ   สทฺธาเทยฺยํI
น   วินิปาเตติ   อิเมหิ   โข   ภิกฺขเว   ปญฺจหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต
อาวาสิโก ภิกฺขุ ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต เอวํ สคฺเคติ ฯ

สรุปเรียบเรียงเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย

[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูก
นำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน...

  1. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้ควรตำหนิ
  2. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
  3. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
  4. ไม่ใคร่ครวญ ไม่ พิจารณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
  5. ย่อมยังศรัทธา ให้ตกไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน

  1. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
  2. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
  3. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
  4. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏ ในที่อันควรเลื่อมใส
  5. ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ