วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ อะไร กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่
การเพ่งกษิณไฟได้มีมาแล้วตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดที่มีกษิณไฟเข็งกล้า สามารถบรรลุพระอรหันตผล หรือ พูดง่ายๆก็คือ กษิณไฟไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง ดังมีบันทึกในพระไตรปิฎกได้ดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 04
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา


 เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง

      [๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลอุรุเวลาแล้ว. ก็โดย
สมัยนั้นแล ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสป ๑ นทีกัสสป ๑ คยากัสสป ๑ อาศัยอยู่ในตำบล
อุรุเวลา. บรรดาชฎิล ๓ คนนั้น ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็น
หัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน. ชฎิลชื่อนทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็น
ผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๓๐๐ คน. ชฎิลชื่อคยากัสสป เป็นผู้นำ เป็น
ผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๒๐๐ คน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัสกะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกร
กัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
 อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      ภ. ลางที พญานาคจะไม่ทำให้เราลำบาก ดูกรกัสสป เอาเถิด ขอท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด.
      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง แล้วทรงปูหญ้า เครื่องลาด ประทับ
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่น
 ปาฏิหาริย์ที่ ๑
      [๓๘] ครั้งนั้น พญานาคนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปดังนั้น ครั้นแล้ว มี
ความขึ้งเคียดไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ
เราพึงครอบงำเดชของพญานาคนี้ด้วยเดชของตน ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
และเยื่อในกระดูก ดังนี้ แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว. พญานาค
นั้นทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเข้ากสิณสมาบัติมีเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ บันดาลไฟต้านทานไว้. เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้น โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลว
เพลิงดุจไฟลุกไหม้ทั่วไป. จึงชฎิลพวกนั้นพากันล้อมโรงบูชาเพลิง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา
พระมหาสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่. ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงครอบงำเดชของ
พญานาคนั้น ด้วยเดชของพระองค์ ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อใน
กระดูก ทรงขดพญานาคไว้ในบาตร โดยผ่านราตรีนั้น แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปด้วย
พระพุทธดำรัสว่า ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว
จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำเดช
ของพญานาคที่ดุร้าย  มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง ด้วยเดชของตนได้  แต่พระมหาสมณะ
นี้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.
  [๓๙] ที่แม่น้ำเนรัญชรา  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสป ว่าดังนี้:-
      ดูกรกัสสป  ถ้าท่านไม่หนักใจ  เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักวันหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ข้าพเจ้าหวังความสำราญจึงห้ามท่านว่า
ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย  มีฤทธิ์  เป็นอสรพิษ  มีพิษร้ายแรง  อย่าเลย  มันจะทำให้
ท่านลำบาก.
      ภ.  ลางที พญานาคนั้นจะไม่ทำให้เราลำบาก  ดูกรกัสสป  เอาเถิด  ท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      พระผู้มีพระภาคทรงทราบอุรุเวลกัสสปนั้นว่า อนุญาตให้แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ปราศจาก
ความกลัว  เสด็จเข้าไป.
      พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคผู้แสวงคุณความดี  เสด็จเข้าไปแล้ว  ไม่พอใจ  จึงบังหวน
ควันขึ้น.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัดเคือง  ทรงบังหวน
ควันขึ้นในที่นั้น.
      แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้  จึงพ่นไฟสู้.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์
ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น.
      เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้นแล้ว  โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง.  พวกชฎิลกล่าว
กันว่า ชาวเรา พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่.
      ครั้นราตรีผ่านไป  เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ.  แต่เปลวไฟสีต่างๆ  ของพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่.
      พระรัศมีสีต่างๆ  คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกาย
พระอังคีรส.
      พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว   ทรงแสดงแก่พราหมณ์ว่า  ดูกรกัสสป
นี่พญานาคของท่าน  เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว.
ครั้งนั้น  ชฎิลอุรุเวลกัสสป  เลื่อมใสยิ่งนัก  เพราะอิทธิปาฏิหารย์นี้ของพระผู้มีพระภาค
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่มหาสมณะ นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละ  ข้าพเจ้าจักบำรุงท่าน
ด้วยภัตตาหารประจำ....


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ