วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรียนภาษาบาลี ที่ เรียนบาลี ได้ ที่ไหน เรียนบาลีด้วยตนเอง ได้ไหม เรียนบาลียากไหม เรียนพระบาลี สำนักเรียนบาลี

เรียนภาษาบาลี

ที่ เรียนบาลี ได้ ที่ไหน

คำถามนี้ ผู้ถาม มาก พอสมควร  วัดท่ามะโอ ต.เวียงเหนือ จ.ลำปาง เป็นหนึ่งในวัดที่มีการสอน แบบ บาลีไวยากรณ์ ใหญ่ ซี่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนภาษาบาลีในประเทศไทย ที่นำหลักสูตรมาจากประเทศพม่า ประวัติ ดังจะอ่านได้จาก

เรียนบาลีด้วยตนเอง เรียนบาลีทางไปรษณีย์ เรียนบาลีออนไลน์ ได้ไหม

คำตอบ คือ ได้ แต่ควรมีผู้รู้ ที่คอยแนะนำ เพื่อให้การเรียนรู้กระชับขึ้น และ บางสำนักเรียนก็มีการเปิดสอน หรือ ในเพจ มีการ แจกโปรแกรม ดิกบาลี เพื่อการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้นไปอีก รวมถึง วีดีโอ การเรียนรู้จากห้องเรียน และ การเรียนออนไลน์ วัดท่ามะโอ และ เป็นที่แรกของ การเรียนภาษาบาลีในประเทศไทย ที่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ ภาษาบาลี

เรียนบาลียากไหม

เป็นอีกหนึ่งคำถาม ที่ผู้เรียนใหม่ มักจะถาม ความเห็นส่วนตัว ยาก หรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การตั้งคำถามตัวเองว่า ต้องการเรียนบาลีเพื่ออะไร ชอบ การเรียนบาลี หรือไม่ ตรงนี้เป็นจุดพื้นฐานที่จะตอบตนเองว่า เรียนบาลียากไหม ถ้ามีความต้องการอยากเรียนรู้ ภูเขาก็พังทลายได้ 😂😂😂

สำนักเรียนบาลี วัดท่ามะโอ

เป็นหนึ่งในสำนักที่ได้นำเทคโนโลยี มาสู่ การ เรียนพระบาลี ดังจะเห็นได้จาก ประวัติการนำ คอมพิวเตอร์ ที่ดีที่สุดในอดีตมาใช้ในการสร้างตำราภาษาบาลี ตั้งแต่ปี คศ.2000



วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สามาวดี ธรรมบท สุนโข คจฺฉติ แปลว่า เรียนรู้จาก วีดีโอ การศึกษา ภาษาบาลี พร้อมคําแปล ประกอบคำอธิบาย บาลีไวยากรณ์ แบบฝึกหัด วัดท่ามะโอ ใช้ บาลีดิค

แบบฝึกหัดประจำวันที่ 3 Apr 2020

คำถาม

ฝึกแต่ง ประโยคลักขณะ
ครั้นเมื่ออรุณขึ้นแล้ว ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบาน 
(คำศัพท์ ปุปฺผติ บาน อุคฺคต ขึ้นแล้ว ปุปฺผ ดอกไม้ )
ฝึกแปลยกศัพท์ ประโยคลักขณะ (อุ. จากธรรมบท เรื่องสามาวดี ภาค 2)
ปจฺเจกพุทฺเธ เวลํ สลฺลกฺเขตฺวา นิกฺขนฺเต, โส (สุนโข) ภุสฺสนฺโต ปุรโต ปุรโต ว คจฺฉติ
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ากำหนดเวลาออกไปแล้ว สุนัขนั้นก็เดินเห่าไปข้างหน้าๆ เทียว

ในวาจกทั้ง 5 นั้นอาจมีลักษณะพิเศษแทรกเข้ามา เช่น  ปกติกัตตา- วิกติกัตตาบ้าง, อนาทร- อนาทรกิริยาบ้าง, ลักขณ -ลักขณกิริยาบ้าง, นิทธารณะ- นิทธารณียะบ้าง จึงเรียกชื่อไปตามลักษณะที่แยกย่อยนั้น เช่น ประโยค วิกติกัตตา, ประโยคอนาทร และประโยคลักขณะ เป็นต้น ครับ

ประโยคที่ให้ฝึกแปลนี้มีประโยคแทรกที่เป็นลักขณะ (เครื่องหมายหรือข้อสังเกตุในการจดจำ) จึงเรียกกันว่า ประโยคลักขณะ

แต่โดยโครงสร้างของประโยคแล้วคือ กัตตุวาจก ที่มีประโยคแทรกข้างหน้านั่นเอง แทรกมาตรงไหนแปลตรงนั้นเลย ครับผม



เฉลย :

1.  ฝึกแต่ง ประโยคลักขณะ
ครั้นเมื่ออรุณขึ้นแล้ว ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบาน    
อรุเณ อุคฺคเต,ปุปฺผานิ ปุปฺผนฺติฯ. 
อรุเณ  ครั้นเมื่ออรุณ. อุคฺคเต ขึ้นไปแล้ว. บุปฺผานิ อ.ดอกไม้ท. ปุปฺผนฺติ ย่อมบาน

2.  ฝึกแปลยกศัพท์ ประโยคลักขณะ (อุ. จากธรรมบท เรื่องสามาวดี ภาค 2)
ปจฺเจกพุทฺเธ เวลํ สลฺลกฺเขตฺวา นิกฺขนฺเต, โส (สุนโข) ภุสฺสนฺโต ปุรโต ปุรโต ว คจฺฉติ
ปจฺเจกพุทเธ ครั้นเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า สลฺลกฺเขตวา กำหนดแล้ว เวลํ ซึ่งเวลา นิกฺขนฺเต ออกไปแล้ว โส (สุนโข) อ.สุนัขนั้น ภุสฺสนโต เห่าอยู่ คจฺฉติ ย่อมไป ปุรโต ในที่ข้างหน้า ปุรโตว ในที่ข้างหน้านั่นเทียว
แปลโดยอรรถว่า 
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ากำหนดเวลาออกไปแล้ว สุนัขนั้นก็เดินเห่าไปข้างหน้าๆ เทียว

ประโยคลักขณะมีลักษณะพิเศษ คือ บทสุทธนามประกอบด้วย ฉัฏฐี หรือ สัตตมีวิภัตติ มาพร้อมด้วยบทกริยากิตก์ที่ประกอบด้วย อนฺต หรือ มาน หรือ ต ปัจจัยที่ประกอบด้วยลิงค์ วจนะ และวิภัตติเหมือนบทสุทธนามนั้นๆ วางไว้หน้าหรือหลังบทสุทธนามก็ได้ แทรกเข้ามาในที่ไหนก็เรียงไว้ตรงนั้น คือ ต้น กลาง หรือท้ายประโยคนั่นเอง ที่จัดเป็นประโยคแทรก เพราะความหมายยังไม่บริบูรณ์ ถือว่าเป็นวลี เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยค 
อย่าลืมว่า ประธานในประโยคทุกประโยคต้องประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเท่านั้น ซึ่งจะมีประโยคแทรกเข้ามาหรือไม่ ข้อนั้นไม่เกี่ยวกันเลย ครับ อย่าเข้าใจสับสน ประโยคลักขณะนั้นสื่อเพียงให้รู้ว่าสุนัขเห่าตอนไหน เหมือนดอกไม้บานตอนไหน คำอธิบายนี้คงชัดเจนขึ้น (ถ้าไม่เข้าใจ ลองเอาบทลักขณะออก เช่น ปุปฺผานิ ปุปฺผนฺติ ดอกไม้บาน แต่ไม่รู้ว่าบานตอนไหน การใส่ประโยคลักขณะแทรกว่า อรุเณ อุคฺคเต  (เมื่ออรุณขึ้น) เข้ามาจึงระบุเวลาได้ชัดเจนขึ้น)

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อายสฺมา ภคุ คือ ทูรโตว อนฺต ปัจจัย บาลีดิค ติด Search ประโยค แบบฝึกหัด วัดท่ามะโอ

แบบฝึกหัด ประจำวันที่ 2 Apr 2020 ข้อที่ 2

ฝึกแปล ภาษาบาลี

อทฺทสา โข อายสฺมา ภคุ ภควนฺตํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํฯ 
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล  
ไม่ใช่ประโยคเดียวกัน จึงต้องแปลแยกประโยค

เพิ่มแปลมาด้วย อปคจฺฉติ, อุปคจฺฉติ, ปุจฺฉติ อาปุจฺฉติ, ปฏิปุจฺฉติ ชานาติ, ปชานาติ, สญฺชานาติ, อนุชานาติ, อภิชานาติ

เฉลย

อทฺทสา โข อายสฺมา ภคุ ภควนฺตํ ทูรโตว อาคจฺฉนฺตํฯ
ภคุ อ.พระภิกษุชื่อว่าภคุ อายสฺมา ผู้มีอายุ โข แล อทฺทสา ได้เห็นแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อาคจฺฉนฺตํ ผู้เสด็จมาอยู่ ทูรโตว แต่ที่ไกลนั่นเทียว
(โข เป็น นิบาต มีอรรถวจนาลังการะ (ประดับคำ) พม่าไม่นิยมแปล แต่ไทยนิยม แต่ โข นิบาตตัวนี้แปลทีหลังได้ครับ)
สังเกตุการวางบทกรรม และบทวิเสสนะที่มี อนฺต ปัจจัยในประโยคด้วย


อันที่จริงผมเคยอธิบายไว้แล้วนะครับ ว่า อนฺต มาน ปัจจัยวางได้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
แต่ถ้าบทที่มี อนฺต นั้นเป็นปฐมาอยู่หลังประธาน เรียกอัพภันตรกิริยา, อยฺ่หน้าประธานเรียกว่่า วิเสสนะ
ยกเว้นวิภัตติอื่นให้เรียกว่า วิเสสนะทั้งหมด
สพฺพทิสาสุ คชฺชนฺโต มหาเมโฆ อุฏฐหิ. ป.นี้ คชฺชนฺโต คือ วิเสสนะ ครับ วางหน้า ประธาน
ในหมู่บ้านชื่อว่า

อปคจฺฉติ ก. ไปปราศ, หลีกไป, กระเด็นออก

อุปคจฺฉติ เข้าถึงแล้ว อุป + คม ธาตุ ในความไป,ความถึง มี อุป อยู่หน้า  แปลว่า เข้าถึง + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อี  อัชชัตตนีวิภัตติ แปลง คม ธาตุ เป็น คจฺฉ รัสสะ อี  เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น อุปคจฺฉิ

ปุจฺฉติ ๑ ย่อมถาม ปุจฺฉ ปุจฺฉเน ในการถาม + อ + ติ

อาปุจฺฉติ ย่อมถาม โดยเอื้อเฟื้อ อา- อาทร + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม, ความอำลา + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ วัตต มานาวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น อาปุจฺฉติ

ปฏิปุจฺฉติ ถามเฉพาะแล้ว ปฏิ + ปุจฺฉ ธาตุ ในความถาม + อ ปัจจัยในกัตตุวาจก + อี อัชชัตตนีวิภัตติ รัสสะ  อี เป็น อิ สำเร็จรูปเป็น ปฏิปุจฺฉิ

ชานาติ
รู้ (อยู่) (ย่อม) รู้ (จะ) รู้
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
ญาธาตุ + นาปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ ชานา
ปรัสบท เอก ปฐม

ปชานาติ
รู้โดยประการต่างๆ (อยู่) (ย่อม) รู้โดยประการต่างๆ (จะ) รู้โดยประการต่างๆ
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
ปบทหน้า + ญาธาตุ + นาปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ ปชานา
ปรัสบท เอก ปฐม

สญฺชานาติ
จำได้ (อยู่) (ย่อม) จำได้ (จะ) จำได้
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
สํบทหน้า + ญาธาตุ + นาปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ สญฺชานา
ปรัสบท เอก ปฐม

อนุชานาติ
ก. (เช่น เสฏฺฐี อ. เศรษฐี) ย่อมอนุญาต  อนุ บทหน้า + ญา ธาตุ ในความรู้ มี อนุ อยู่หน้า  แปลว่า อนุญาต + นา ปัจจัยในกัตตุวาจก + ติ  วัตตมานาวิภัตติ แปลง ญา ธาตุ เป็น ชา สำเร็จรูป เป็น อนุชานาติ

อภิชานาติ ย่อมไม่รู้

โตปัจจัย ลงหลังจากสุทธนามบ้าง หลังสัพพนามบ้าง (๑) เป็นเครื่องหมายตติยาวิภัตติ
แปลว่า “ข้าง..., โดย...”, (๒) เป็นเครื่องหมายปัจมีวิภัตติ แปลว่า “แต่..., จาก...., กว่า...,
เหตุ” และ (๓) เป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน..., บน...”เป็นต้น ถ้าลงหลังสุทธนาม
แปลออกสำเนียงอายตนิบาตของวิภัตติได้เลย ถ้าลงหลังวิเสสนสัพพนาม เวลาจะแปล ให้โยค
สุทธนามเข้ามาประกอบ จึงจะแปลได้

ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม พม.ต่วน พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

ทูรโตว นมสฺสนฺติ ย่อมนอบน้อม แต่ที่ไกลเทียว

รูปสิทธิทีปนี เล่ม 1 พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ




วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ปน แปลว่า ปน หมายถึง ภคุ คือ

ปน แปลว่า ปน หมายถึง ภคุ คือ

ปน แปลว่า ปน หมายถึง มีผู้ค้นหา ไม่มาก ใน Google Search Engine ดังนั้น ทางเพจ จึงได้นำ ประโยคตัวอย่างประโยค ท่ามะโอ มา เสิร์ฟ ให้ถึงบ้าน

แบบฝึกหัด ประจำวันที่ 2 Apr 2020 ข้อที่ 1

1. เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา ภคุ พาลกโลณการคาเม วิหรติฯ 
ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภคุอยู่ในบ้านพาลกโลณการ

เฉลย

1. เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา ภคุ พาลกโลณการคาเม วิหรติฯ
โข ปน ก็แล เตน สมเยน ในสมัยนั้น ภคุ อ.พระภิกษุชื่อว่าภคุ อายสฺมา ผู้มีอายุ วิหรติ ย่อมอาศัยอยู่ พาลกโลณการคาเม ในหมู่บ้านของพาลกโลณการ
(ชื่อทางสัมพันธ์ ปน วากยารัมภโชตกะ โข วจนาลังการะ ในร้อยแก้ว แต้ในร้อยกรอง หรือคาถา เรียกว่า ปทปูรณะ และ สมเยน ตติยากาลสัตตมี)


วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

กัลยาณมิตร แปลว่า มีกี่ประเภท อะไรบ้าง กลฺยาณกมฺมํ แปลว่า

กัลยาณมิตร แปลว่า มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ภาษาบาลี คำว่า กลฺยาณกมฺมํ แปลว่า

กัลยาณกรรม ซึ่งการผูกมิตร
กลฺยาณ+กมฺมํ
ลักษณะของ กลฺยาณมิตฺต ๗ ประการ (กัลยาณมิตร)
๑ ปิโย เป็นที่รัก
๒ ครุ เป็นครู ที่เคารพ
๓ ภาวนีโย ถูกทำให้เจริญ
๔ วตฺตา พูดเป็น อธิบายชี้แจงข้อสงสัยได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
๕ วจน ขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (สามารถซักถามได้)
๖ พูดจาแถลงคำพูดที่ลึกซึ้งได้
๗ ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหายไม่เป็นประโยชน์


สุขี แปลว่า ตามหลักบาลีไวยากรณ์ จาก บาลีดิค ThaiNewGenDict

สุขี แปลว่า




คำว่า สุขี ดูเป็นการคุ้นชินมากสำหรับ ภาษาไทย เพราะ ภาษาไทย ได้นำ คำนี้มาจาก ภาษาบาลี ซึ่งในภาษา บาลี ก็แปล ว่าความสุข แต่กรณีที่นำมาใช้แปลบาลี หรือ แต่ประโยค พระบาลีนั้น จะต้อง ถูกต้องตามบาลีไวยากรณ์ ดังจะได้กล่าวถึง ความหมายดังต่อไปนี้

สุขี 
จัดอยู่ในกลุ่มการทำตัวรูปแบบ นาม ปุง. กลุ่ม ทณฺฑี ศัพท์เดิม สุขี ผู้มีความสุข
ปฐมา เอก. อันว่าผู้มีความสุข ประธาน (ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคได้)
สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน (ชื่อสัมพันธ์)
ปฐมา พหุ. อันว่าผู้มีความสุข ทั้งหลาย ประธาน
สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ผู้มีความสุข ทั้งหลาย คำการร้องเรียก (หน้าทีเป็นคำร้องเรียกก็ได้)
อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ผู้มีความสุข ทั้งหลาย กรรมในประโยค (เป็นกรรม ในประโยค ก็ได้)
อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ อรรถคาถา เป็นการอธิบายความหมายของ พุทธพจน์ ไม่ใช่คำแต่งใหม่ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บทวิเคราะห์ สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ

อันว่ารสพระธรรม ย่อมชนะ ซึ่งรสทั้งหลาย

บทวิเคราะห์ ๑ ถ้าไม่มี อรรถคาถา และ ผู้ขยายความ อรรถคาถา ถึงแม้อ่านบทแปล ก็ยังยากจะเข้าใจ เช่น

สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ

แปลแบบตรงตัว เลยคือ อันว่ารสพระธรรม ย่อมชนะ ซึ่งรส ทั้งหลาย

คำถาม
๑ ธมฺมรโส
กรณี เรากล่าว รสพระธรรม "ธมฺมรโส" ตามหลักบาลี ไวยยากรณ์ เป็นคำเอกพจน์ ในขณะที่ (คณะผู้จัดทำ 84000.org ในตัวอย่างนี้) ผู้รู้ สมัยโบราณ ก็ครูบาอาจารย์ สมัยปัจจุบัน โรงเรียนปริยัติธรรม ต่างๆ เป็นต้น จะอธิบาย ได้ ว่า ไม่ใช่ ธรรมหมวดเดียว และ ธรรม ในที่นี้ ประกอบด้วย ธรรมหลายหมวด เช่น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และกล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ประการ เป็นต้น ดังรูป


นอกจากนี้ การอธิบาย ของกลุ่มผู้รู้ จะทำให้เราทราบว่า มีธรรมอะไรบ้าง ดังนั้น อรรถคาถา นั้น ไม่ใช่คำแต่งใหม่ ที่มี กลุ่มคนบางกลุ่ม กล่าวอ้างโจมตี

บทวิเคราะห์ ๒ ชินาติ แปลว่าชนะ ใคร? ชนะ ใคร?

กรณีที่เรา ไม่ทราบ พระบาลีบ้าง (เน้นคำว่าบ้าง แบบถูกต้องถึงแม้จะน้อยนิด) กรณีเรา(ไม่ทราบ) ก็จะไม่เข้าใจความหมายประโยคที่ว่า

โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย สิกฺขนฺโต ปิฏกตฺตยํ
ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย วเน อนฺธคโช ยถา ฯ
นิรุตติ บ่ ขีดเขียน แต่ไปเพียรเรียนพระไตร
ทุกบท ย่อมสงสัย ดังช้างไพรไร้ดวงตา

ชินาติ ในประโยคนี้ กลุ่มผู้รู้ ใช้ว่า ประเสริฐกว่า ถ้าเทียบในภาษาไทย ถือว่าใช้ ศัพท์ ที่สูงกว่า ชนะ ซึ่งก็หมายความว่า ชนะได้เหมือนกัน ดังนั้น บางสำนัก กล่าวอ้าง เป็นสำนักเดียวที่เผยแผ่ พุทธพจน์ สำนักอื่นบิดเบือนกันหมด  ทั้งๆที่ สำนักตนอ้างอิงแต่ภาษาไทยนั้น ดังนั้น การที่ใช้คำแทน ในภาษาไทย ดังเช่น ในประโยคนี้ จะเห็นได้ว่า
"ผู้เรียนพระบาลี ไม่ใช่เป็นผู้บิดเบือน พุทธพจน์ หรือ แต่งเติมพุทธพจน์ แม้แต่น้อย" 
* (ในภาษาบาลี เรียก "ประโยค" ว่า "วาจก") 

ชี้แจง

รูปด้านล่างนี้ คือ เนื้อความ เทียบเคียง ของโปรแกรมพระไตร ปิฎก ThaiTipitaka กรณีที่เราอ่านพระไตรปิฎก แปล เพียงอย่างเดียว เล่มเดียว เพียงแค่บทแปล เพียงบทเดียว ก็ยังยาก เพราะ การเทียบเคียง พระไตรปิฎก ภาษาบาลี และ ภาษาไทยนั้น เป็นการเทียบเคียง ข้อ ในพระไตรปิฎก ดังนั้น กว่าจะหาความหมายคำ หรือ ความหมายของประโยค สั้นๆ เพียงประโยคเดียว ยากยิ่ง ถ้าไม่ได้เรียนพระบาลี บ้าง (เน้นคำว่า บ้าง)



จากจุดนี้ จึงเป็นที่มา ในยุคปัจจุบัน จึงมี โรงเรียน ปริยัตติธรรม เกิดขึ้น มากมาย ทั้งเป็นที่นิยม และ ไม่เป็นที่นิยม โดยที่ทุกสำนักที่มีความรู้ถึงขั้นถูกต้องในธรรมแล้ว ล้วนแต่มีความเห็นเป็นหนึ่งเดียว ในภาพรวมเพราะเข้าใจในบทบาลี ที่ถ่องแท้ จากตำราโบราณ

ขอธรรมมะ สวัสดี จงมีแด่ทุกท่านที่มี ธรรมมะ เพื่อการ ปล่อยวาง