วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

คาถา ภาษิตภาษาบาลีประจำวัน เทศกาล

คาถา ภาษิตประจำวัน เสาร์ และ วันจันทร์ 

คาถาภาษิต ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา (ทองคำ เถรานนฺโท)

วันพฤหัสฯ


อิติปิ  โส  ภควา  ยาตรายามดี
วันพฤหัสบดีเจริญชัยศรีมงคล
โรคาถอยหนี  สวัสดีลาโภ  นโม​ พุทฺธาย
นะ​  มะ​ พะ​ ธะ​   เอวัง​ โหตุ  โสตฺถิ  เม​  สัพพะทา
เดินทางปลอดภัยมีโชคมีชัยทุกทิศทุกทาง
ทาน​ ศีล​ ภาวนา​ พาสุขสมบูรณ์
อาปูรติ​  ธีโร​  ปุญฺญสฺส​    โถกํ   โถกํปิ​ อาจินํ.
ธีรชนสร้างความดี​    ทีละน้อยๆ​ ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี.

ส่งท้ายปีเก่าไทย

วันพฤหัสบดี​ 19 บุญรักษาเทพคุ้มครอง
พระพุทธคุณ56  พระธรรมคุณ​ 38  พระสังฆคุณ​ 14  บุญกุศลที่สั่งสม
กำลังใจอันสูงส่งสร้างบารมี
ตลอดรอดฝั่ง​ พระนิพพานทุกท่านเทอญ.

ปีเก่าไทยสยามก็ล่วงพ้นไปแล้ว
ปีใหม่ไทยสยามก็มารอดถึง
ขอให้สัพพะเคราะห์​ สัพพะโรค​ สัพพะภัย
เคราะห์ภายใน​      ให้ถอนออก
เคราะห์ภายนอก​   ก็ให้ถอยหนี
เคราะห์ข้างหลัง​    อย่าไปอยู่คอย
เคราะห์ข้างหน้า​    อย่าไปไล่ทัน
เคราะห์ปี​  เคราะห์เดือน​  เคราะห์วัน​ เคราะห์ยาม​ ให้หนีไปไกลๆ
    ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืน​  อยู่เย็นเป็นสุข​  ทุกผู้ทุกคนเทอญ.

อปราชิตบัลลังก์​ 
ชนะใดมิกลายให้พ่ายแพ้​    ชนะแน่แท้จริงอันยิ่งใหญ่
ชนะไม่ผูกเวรแสนเย็นใจ​    ชนะไร้ศัตรูคู่จองจำ.

๑. อายุวัฑฒะโก ขอให้เจริญด้วยอายุ
๒. ธะนะวัฑฒะโก เจริญด้วยทรัพย์
๓. สิริวัฑฒะโก เจริญด้วยสิริมงคล
๔. ยะสะวัฑฒะโก ให้เจริญด้วยยศ
๕. พะละวัฑฒะโก เจริญด้วยพละกำลัง
๖. วัณณะวัฑฒะโก เจริญด้วยวรรณะ
๗. สุขะวัฑฒะโก ให้เจริญด้วยความสุข

คาถาภาษิต ประจำวันเสาร์

สัพเพ​ พุทฺธา​ เตชัปปัตตา
ปัจเจกานัญจะ​  โย​ เตโช, 
อะระหันตานัญจะ​  เตเชนะ
รักขัง​ พันธามิ​  สัพพะโส.

  อันจิตตั้งกำลังสิบนามวันเสาร์
น้อมเหนือเกล้ายกฤทธามาขยาย
องค์พระธรรมสุดล้ำคำบรรยาย
คุณเหลือหลายปกป้องจนพ้นโพยภัย
พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
ชี้ทางสวรรค์นิพพานเลิศประเสริฐใส
ศีล​ สมาธิ​ ปัญญา​ ทั้งกายใจ
สามดวงได้ไตรพิมุตติสุทธิชน.

คาถาภาษิต ประจำวันจันทร์

    สัพเพ​ พุทธา​ เขมัปปัตตา
ปัจเจกานัญจะ​ ยัง​ เขมัง
อะระหันตานัญจะ​ เตเชนะ
รักขัง​ พันธามิ​ สัพพะโส.

     วันจันทร์นี้มีพลัง​สิบห้า
องค์พุทธาลุถึงซึ่งเกษม
อรหันต์ปัจเจกองค์คงปรีดิ์เปรม
ถึงธรรมเขมวิโมกข์มีโชคชัย​ฯ

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

แบบฝึกหัด บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 30 Mar 2020

แบบฝึกหัด บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 30 Mar 2020

ฝึกแต่งประโยค เพิ่มคำศัพท์

ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งเห็นอุบาสิกา 2 คนผู้กำลังมาอยู่สู่วัดท่ามะโอ เข้าไปหาแล้วถามว่า พวกคุณย่อมปราถนาเพื่อเยี่ยมซึ่งภิกษุรูปไหนหรือ
(คำศัพท์ กิร, ขลุ, สุทํ อุปาสก, อุปาสิกา, อาคจฺฉนฺตี, เอก, ทฺวิ, อุปสงฺกมิตฺวา, ปุจฺฉิ, ปสฺสิตุํ, อิจฺฉถ, อิติ, กตร, กตม)

เฉลย ทวนคำถาม

ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งเห็นอุบาสิกา 2 คนผู้กำลังมาอยู่สู่วัดท่ามะโอ เข้าไปหาแล้วถามว่า พวกคุณย่อมปราถนาเพื่อเยี่ยมซึ่งภิกษุรูปไหนหรือ
คำตอบ
เอโก กิร อุปาสโก เทฺว อุปาสิกาโย ท่ามะโออารามํ อาคจฺฉนฺติโย ทิสฺวา อุปสงฺกมิตฺวา กตมํ ภิกฺขุํ ปสฺสิตุํ อิจฺฉถาติ ปุจฺฉิ.
ในประโยคฝึกหัดนี้ วางบทกรรมคือ อุปาสิกาโย กับบทว่า เทฺว ซึ่งเป็นสังขยาวิเสสนะไว้หน้า ส่วนบทกิริยาที่ประกอบด้วย อนฺต (หรือ มาน หรือ ต) ซึ่งเป็นวิเสสนะของบทว่า อุปาสิกาโย นิยมวางไว้ด้านหลังเพื่อป้องกันความสับสนว่าขยายบทไหนในประโยค ถ้าจะแต่งว่า  ท่ามะโออารามํ อาคจฺฉนฺติโย เทฺว อุปาสิกาโย ทิสฺวา ก็ได้แต่ดูไม่สดุดตา ไม่สดุดใจ ดังนั้น จึงเฉลยตามที่พบเห็นโดยมาก ถ้าทุกท่านเข้าสู่ระบบการแปลธรรมบทอรรถกถาลองสังเกตุดูวิธีการใช้ด้วย คืออย่างเพียงฝึกแปลอย่างเดียวแต่ให้สังเกตุวิธีใช้แล้วทดลองใช้ตาม ด้วยนะครับ

กิร ขลุ สุทํ วางต้นประโยคไม่ได้ครับ ต้องวางเป็นอันดับถัดมา เอโก กิร ....

ประโยคปกติแต่งตามหลักไวยากรณ์นั่นเอง แต่ประโยคแบบต้องจำดังเช่นที่ผมยกตัวอย่างให้ว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อชินิ มนติ อิมํ ฯลฯ ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ. ซึ่งเป็นประโยคต้นเรื่อง

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563

คาถาภาษิต ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา 13 Apr 2020

คาถาภาษิต ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา (ทองคำ เถรานนฺโท) 13 Apr 2020

นะโม พุทฺธายะ​ นะ เสริมส่ง​, โม เสริมสุข พุทฺ​ เสริมโชค​ ธา​ เสริมลาภ ยะ​ เสริมทรัพย์ วาสนาบารมี

สจฺจํ  เว  อมตา​ วาจา​ เอส​   ธมฺโม​  สนนฺตโน
สจฺเจ​  อตฺเถ  จ​ ธมฺเม​ จ​ อหุ    สนฺโต​  ปติฏฺฐิตา.
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า
สัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
วงฺคีสเถร.​ขุ.​เถร.​26/434

พูดอย่าให้เป็นพิษ​     คิดอย่าให้เป็นกรรม
ทำอย่าให้เป็นโทษ​    ละความโกรธจะได้ไม่ทุกข์.

แบบฝึกหัด แปลยกศัพท์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ ประจำวันที่ 29 Mar 2020

โดย ท่านอาจารย์บุญถนอม นพโสภณ

แบบฝึกหัด แปลยกศัพท์

สามเณโร ภิกฺขุ โหติ ลองแปลยกศัพท์ประโยคนี้แล้วจะเข้าใจขึ้น คล้ายๆ เอกจฺโจ (ปุคฺคโล) ....ตุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (ลองเอา ป.ในห้องออกไปจากใจก่อน) ต่างกันเพียง โหติ เป็นกิริยาคุมพากย์ แต่ หุตฺวา เป็น กิริยาในระหว่าง แต่มีวิธีแปลเหมือนกันเพียงแต่ซับซ้อนขึ้นเนื่องจากสัมพันธ์กับบทอื่นด้วยนั่นเอง

เฉลย

เฉลย
สามเณโร อ. สามเณร ภิกฺขุ เป็นพระภิกษุ โหติ ย่อมเป็นฯ    ในป. นี้ สามเณโร เป็น ปกติกัตตา ส่วน ภิกฺขุ เป็น วิกติกัตตา เพราะเปลี่ยนภาวะ เข้ากับกิริยาที่แปลว่า มี เป็น (ใช้กับธาตุ 4 ตัวคือ หู ภู อส และ ชน (ลง ต ปัจจัยมีรูป ชาต โดยแปลง น ของ ชน ธาตุเป็น อา)

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม

จงแปลประโยคนี้  สามเณโร ภิกฺขุ หุตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ภาเวติ.    เขียนถามแบบบาลีว่า สามเณโร ภิกฺขุ หุตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ภาเวตีติ อิมสฺส วากฺยสฺส อตฺถํ นิทสฺเสหิ. (ภาเวติ+อิติ)

อธิบายเรื่อง สมานกาลกริยา ใน ธรรมบท

ประโยคที่มีลักษณะ สมานกาลกริยา ในธรรมบทอรรถกถา
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ.
เป็นประโยคต้นเรื่องในธรรมอรรถกถา ซึ่งจะมีลักษณะเช่นนี้เป็นส่วนมาก บทว่า อารพฺภ (อา+รภ+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น พฺภ แล้วลบที่สุดธาตุ [ดูสูตร 645 มหทเภหิ มฺมยฺหชฺชพฺภทฺธา จ ในปทรูปสิทธิ ] ) เป็นบท สมานกาลกริยาของ กเถสิ แปลว่า ปรารภ (ซึ่งพระติสสเถระ) กเถสิ ตรัสแล้ว….ลองแปลดูก่อนนะครับ
วิญฺญาปนํ :   อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ (มํ+อิติ)  อิติ ศัพท์ตัวนี้มีการแปลพิเศษดังนี้  คือ (ว่า...ดังนี้เป็นต้น) เพราะยังไม่จบคาถา เนื่องจากคาถาหนึ่งนั้นส่วนมากแล้วจะมี 4 บาท อิติ ศัพท์ตัวนี้จึงมีอรรถ อาทฺยัตถะ อรรถคือเป็นต้น จึงนิยมแปลอย่างนี้ คือ (...ว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ ดังนี้เป็นต้น)
อตฺถํ นิทสฺเสเหิ (อ. ท่าน จงแสดง ซึ่งอรรถ [ความหมาย, คำแปล]
รูปปกติ คือ อารภิตฺวา ปรารภแล้ว
อารทฺธา (อา+รภ+ต)

เฉลย  การเทียเคียงประโยค

1. สามเณโร ภิกฺขุ  โหติ.
สามเณโร อ. สามเณร ภิกฺขุ  เป็นพระภิกษุ โหติ  ย่อมเป็น
2. สามเณโร ภิกฺขุ หุตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ภาเวติ. 
สามเณโร อ. สามเณร ภิกฺขุ เป็นพระภิกษุ หุตฺวา เป็น กมฺมฏฺฐานํ ยังพระกรรมฐาน ภาเวติ ย่อมให้เจริญ
ป. แรก ภิกฺขุ เป็นวิกติกัตตา ใน โหติ  จบประโยคแค่นี้ /ส่วน ป. ที่ 2 เป็นการขยายประโยค  ภิกฺขุ เป็นวิกติกัตตา ใน หุตฺวา ส่วน หุตฺวา เพิ่มหน้าที่ เป็น สมานกาลกิริยา ใน ภาเวติ เพราะเป็นกิริยาที่ทำร่วมกัน กิริยาคุมพากย์  ต้องการให้ทุกท่านมองลักษณะโครงสร้างให้ออกจึงแสดงอุทาหรณ์ในเชิงเเปรียบเทียบให้ดูเท่านั้น

ประโยคที่มี สมานกาลกิริยา ในธรรมบทอรรถกถา
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ  อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ.
แปลว่า :  สตฺถา อ. พระศาสดา วิหรนฺโต ทรงประทับอยู่ เชตวเน ณ พระวิหารชื่อเชตวัน อารพฺภ ทรงปรารภ ติสฺสตฺเถรํ ซึ่งพระติสสเถระ กเถสิ ตรัสแล้ว อิมํ ธมฺมเทสนํ ซึ่งพระธรรมเทสนา นี้  อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ  ว่า อกฺโกจฺฉิมํ อวธิ ดังนี้ เป็นต้น  
(อันที่จริงผมแปลเป็นแนวทางไว้บ้างแล้ว ถ้าในประโยคประธานมีอยู่ไม่ต้องเพิ่มเข้ามา ยกเว้นบางประโยค มีแต่วิเสสนะ ไม่มีประธาน ต้องเพิ่มมา โดยมากมักเป็นประเภทคุณศัพท์เช่น เอกจฺโจ สพฺโพ โย โส ฯลฯ)

คาถาต้นเรื่องเช่นนี้ ไมต้องแปล อารพฺภ ผมอธิบายแล้วว่าเป็น สมานกาลกิรยา ให้แปลก่อน แต่ไม่ต้องใส่คำว่า แล้ว เข้ามา ลักษณะการแปลเช่นนี้จำเป็นแบบมาตรฐานเลย แต่สำนวนอาจต่างกัน บางท่านอาจแปลว่า เมื่อประทับอยู่ ในพระวิหารชื่อว่าเชตวัน ฯลฯ
จะมีการเรียก วิกติกัตตา ก็ต่อเมื่อบทนั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับกริยาที่มีคำแปลว่า มี, เป็น เท่านั้นนอกนั้นไม่เกี่ยว

กิตก์มี 2 ประการ คือ นามกิตก์ กับกิริยากิตก์ ส่วนมากแล้ว ศัพท์ทั้งมวลต้นกำเนิดล้วนมาแต่ธาตุเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นบางศัพท์เมื่อสำเร็จรูปแล้วถือเป็นนาม บางศัพท์เป็นได้ทั้งนามและกิริยา ขึ้นอยู่ที่การนำไปใช้ ในเรื่องของการแปลนั้น ถ้าเป็นชื่อ บุคคล วัตถุ สัตว์ สิ่งของนิยมแปลทับศัพท์ เช่น ปุริโส แปลว่า บุรุษ (มาจาก ปูร ธาตุ+อิสปัจจัย+สิ) วิ.ว่า มาตาปิตูนํ หทยํ ปูเรตีติ ปุริโส (บุคคลใดยังหทัยของมารดาและบิดาให้เต็มเปี่ยม บุคคลนั้น ชื่อว่า บุรุษ จึงไม่จำเป็นต้องแปลแบบโวหารว่า ‘ปุริโส อ. บุคคลผู้ยังหทัยของมารดาและบิดาให้เต็มเปี่ยม’ แต่ประการใดเลย ฉะนั้น คำว่า ภิกขุ ก็เช่นกัน มักจะแปลทับศัพท์ว่า พระภิกษุ แต่เราสามารถอธิบายขยายความทางไวยากรณ์ว่า ภิกฺขุ คำนี้แปลอย่างนี้เพราะอะไร เพราะมาจาก...ที่คุณสันต์นำมากล่าวไว้ ที่ต้องพูดเช่นนี้กลัวบางท่านจะสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะแปลอย่างไรดี

อธิบายคาถาธรรมบทเพิ่มเติม

ประโยคว่า อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ เป็นประโยคต้นเรื่องในอรรถกถาธรรมบท และเป็นประโยคต้นแบบทั้งในเรื่องการแปล และกลับไทยเป็นมคธด้วย ต้องจำประโยคแบบนนีไว้ครับ โดยเฉพาะที่ผมแปลยกศัพท์เป็นแนวทางไว้ให้เพราะจะมีการวางบทแต่ละบทแตกต่างจากที่เราเรียนมาในบางส่วน เช่นการเน้นคาถา เนื่องจากถ้าเขียนตามปกติก็จะธรรมดาไป ดูการเขียนประโยคแบบเน้นข้อความ กับการเขียนแบบปกติธรรมดานะครับ
1.  ประโยคแบบจากธรรมบท เน้นคาถา)
 อกฺโกจฺฉิม มํ อวธิ มนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ กเถสิ.
2.  เขียนเลียนแบบไม่ได้เน้น
สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต ติสฺสตฺเถรํ อารพฺภ อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มนฺติ อิมํ ธมฺมเทสนํ กเถสิ. 
แปลเหมือนกัน แต่ไม่มีการเน้นความคือคาถา ดังนั้น ควรจำประโยคแบบให้ขึ้นใจทั้งบาลีและการแปล
เห็นไหมครับ เข้าใจไวยากรณ์อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ต้องฝึกแปล ฝึกแต่งด้วยจึงจะเพิ่มความชำนาญได้ แม้เพียงประโยคกัตตุวาจกก็ยังมีรายละเอียดเพียบเลย ถ้าเข้าใจดีแล้วประโยคในลักษณะอื่นๆ ก็ไม่ต่างกันมากเข้าใจได้ไม่ยาก อย่าพึ่งท้อ ถ้าเราเข้าใจรายละเอียดได้ดีแล้วก็สามารถนำไปใช้ได้ ครับ ซึ่งตอนนี้เราทุกคนกับลังฝึกอยู่  
มา ยตฺถ วา ตตฺถ วา ติฏฺฐถ, ทฬฺหํเยว ปน ปุรโต  อภิกฺกเมยฺยาถ
อย่าหยุดอยู่กับที่ แต่พึงก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

คาถาภาษิต ประจำวันที่ 12 Apr 2020 โดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา

คาถาภาษิต ประจำวันที่ 12 Apr 2020 โดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา (ทองคำ เถรานนฺโท)

ราหุ​  จนฺทํ​ ปมุญฺจสิ​ 
ราหุ​   สุริยํ​ ปมุญฺจสิ
ย่อมปล่อยซึ่งจันทิมเทวบุตร, สุริยเทวบุตร

สพฺพทุกฺขา​ ปมุจฺจเร​ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

A​   Beautiful​   Soul​  จิตต์ประภัสสร​ ไม่มีวันลืมเลือนล
Is​   Never​   Forgotten.

ปมุญฺจเร​ ย่อมปล่อย(ป+มุจฺ+อ+รุธาทิคณะ)
อุ.ราหุ​ จนฺทํ​ ปมุญฺจสิ

ปมุจฺจเร​ ย่อมพ้น​ (ป+มุจฺ+ย​ ทิวาทิคณะ)​อุ.เอตํ  สรณาคมฺม​ สพฺพทุกฺขา​ ปมุจฺจติ.


มงคล​  3​ สาย
พุธสํ​ มงฺคลํ  โลเก        ทุกฺขนาสกรํ   กรํ
พุธสํ​    สรณํ​ อจฺฉ​        สุขกาโมสิ​  เจ​  ตุวํ.

พระพุทธ​ พระธรรม​ พระสงฆ์​ ประเสริฐ​ ทำลายทุกข์ให้พินาศ​ เป็นมงคลในโลก
ท่านจงถึงพระพุทธ​ พระธรรม​ พระสงฆ์​ เป็นทึ่พึ่งเถิด​  ถ้าท่านปรารถนาความสุข.

   เกิดเป็นคน​         อยากจะพ้น​      ความทนทุกข์
พบความสุข​          ปรีเปรม​             เกษมศาสนติ์
จงสรวมองค์​         ด้วยมงคล​         สามประการ
ดังบรรหาร​           เรืองมหิทธิ์        ชิดใจกาย
    ทุกข์จะหาย​     ภัยจะห่าง​          สร่างความโศก
เสื่อมคลายโรค​    อยู่เป็นสุข​         สมใจหมาย
บารมี​                    พระตรีรัตน์​       ขจัดมลาย
เร่งขวนขวาย​       หามงคล​           สรวมตนเอย.


                  สิริ​   โภคานมาสโย
      สิริเป็นที่มารวมแห่งโภคะทั้งหลาย
องค์พุทโธประทานธรรมเป็นคำสอน
สร้างกุศลผลบุญหนุนเนืองนอน
กรรมดีย้อนทุกยามติดตามเยือน
       ยังประโยชน์โปรดสุขให้ทุกข์สร่าง
จัดอยู่อย่างก้าวหน้ามิคลาเคลื่อน
พร้อมโภคะทั้งผองครองครัวเรือน
เป็นเสมือนทรัพย์เสริมสุขเพิ่มพูน
       เราสร้างบุญสุนทร์ทานดุจธารไหล
สู่สายใจธรรมถวิลมิสิ้นสูญ
ชาตินี้หรือชาติไหนไม่อาดูร
โภคะกูลหนุนนอนย้อนผลบุญ.

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของปีเก่าไทย
ขอส่งพรพระอันเป็นมงคล
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา ขอเหล่าเทวดาจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ.                                  
ขอให้มีความสุขความเจริญรุ่งเรือง คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางที่ดีที่งาม ขอให้สำเร็จสมปรารถนาทุกประการเทอญ.

ภาษิตประจำวันโดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา

ภาษิตประจำวันโดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา

   อนุสรณียสถานมิ่งมงคล
น้อมกมลกราบองค์พระชินศรี
ขอจงมีศิริสุขสวัสดี
บารมีพุทธองค์ทรงคุ้มครอง

    พระโพธิ์ชัยรัตนบัลลังก์รัตน์
ทรงขจัดมารพ่ายไม่หม่นหมอง
รุ้งรังษีรัศมีสาดสีทอง
ทิพย์ละอองเฉิดฉายในไพรวัน

     มองโพธิ์แก้ว,เดินจงกรมบรมสุข
นิรทุกข์ทบทวนธรรมล้ำสุขสันต์
ร่มนิโครธริมฝั่งน้ำเหลือรำพัน
หลายฝ่ายพลันเข้าพบนบมุนี

     มุจลินท์ละวิมานมาป้องปก
แม้ฝนตกไม่ต้ององค์พระทรงศรี
ต้นเกตใหญ่พระพายพลิ้วลิ้วลมดี
เสวยวิมุติสุขนี้เจ็ดทิวา

     รวมเจ็ดที่คือสัตตมหาสถาน
จำลองกาลเกิดต้นพระศาสนา
ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
น้อมบูชาเคียงอารามยามนี้เอย.

บุญบาป จะติดตัวเราไปยังปรโลก​ โลกเบื้องหน้า​

บุญบาป จะติดตัวเราไปยังปรโลก​ โลกเบื้องหน้า​

โดย ท่านเจ้าคุณพระปริยัติธรรมธาดา (ทองคำ เถรานนฺโท)

บุญคือความดี​ บาปคือความชั่​ว​  เพียง​ 2  ประการนี้เท่านั้น​ จะติดตัวเราไปยังปรโลก​ โลกเบื้องหน้า​  ซึ่งมีพระบาลีพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้ในพระสุตตันตปิฎก​ สคาถวรรค​ สังยุตตนิกายว่า
   อุโภ  ปุญฺญฺญฺจ​  ปาปญฺจ​   ยํ  มจฺโจ​ กุรุเต​  อิธ
   ตํ  หิ  ตสฺส​  สกํ   โหติ         ตญฺจ​  อาทาย​  คจฺฉติ
   ตญฺจสฺส​  อนุคํ    โหติ​         ฉายาว​  อนุปายินี
   ตสฺมา​  กเรยฺย​ กลฺยาณํ      นิจยํ​  สมฺปรายิกํ
   ปุญฺญานิ​  ปรโลกสฺมี​           ปติฏฺฐา  โหนฺติ​ ปาณินํ.

บุคคลผู้จะต้องตายเป็นธรรมดา​  กระทำบุญความดี
และบาปความชั่​ ทั้งสองอย่างไว้ในโลกนี้
บุญความดี​ บาปความชั่​ว​ นั้นย่อมตกเป็นของบุคคลนั้นไป​ ประดุจเงามตามตัว
  เพราะฉะนั้น​ บุคคลผู้ฉลาด​ เมื่อจะสะสมสิ่งที่จะติดตามตนไปยังสัมปรายภพได้​  ควรทำคุณงามความดีอันเป็นบุญกุศลเถิด
  เพราะว่า​ บุญความดีทั้งหลาย​ ย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสรรพสัตว์ในสัมปรายภพคือโลกหน้า​ ฯ

บาปความชั่ว

ขโณ​ โว​ มา​  อุปจฺจคา.​ อย่าพลาดโอกาสที่จะทำความดี.
ทนฺธํ  หิ  กรโต​ ปุญฺญํ   เพราะเมื่อทำความดีชักช้า
ปาปสฺมึ   รมตี  มโน​      ใจมักจะ(แขว)​ไปยินดีในทางเสีย.

อสาธารณมญฺเญสํ         อโจรหรโณ​  นิธิ
กยิราถ​  ธีโร​  ปุญฺญานิ​   โย​  นิธิ​  อนุคามิโก.
  ขุมทรัพย์คือบุญอันใด​  ไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น
โจรขโมย​ไม่ได้​                 ติดตามตนไปตลอดกาล
ผู้มีปรีชาชาญ​                   ควรฝังขุมทรัพย์นั้น​ เทอญ.

สิริ​ โภคานมาสโย​ สิริคือบุญ​ เป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติหรือทรัพย์สินอันเป็นรูปธรรมนามธรรม.

ดังที่ประมวลพลังบุญญานุภาพไว้ในนิธิกัณฑสูตรว่า
1.สุวณฺณตา​  มีผิวพรรณงามผุดผ่องนวลเนียน
2.สุสรตา        มีเสียงไพเราะ
3.สุสณฺฐานา​  มีสรีระองคาพยพสมส่วนรูปร่างดี
4.สุรูปตา​        มีรูปงาม​ หล่อ​ สวย​ ชวนทัศนา
5.อาธิปจฺจํ     มีความเป็นผู้นำเหนือมหาชน
         ฯลฯ
20.พุทฺธภูมิ​    สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
  กล่าวโดยสรุปพลานุภาพแห่งบุญ​ อำนวยผลหรือความสำเร็จเป็น​ 3  ระดับด้วยกันคือ
  1.ผลระดับสามัญ​   หรือมนุษย์สมบัติ
  2.ผลระดับวิสามัญ​ หรือสวรรคสมบัติ
  3.ผลระดับปรมัตถ์​  หรือนิพพานสมบัติ.