วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563

เลขยกกําลัง จำนวน สิบล้าน ขึ้นไป ใน ภาษาบาลีคืออะไร ในมุมมอง วิศวกร

การวิเคราะห์ เลขบาลี ตั้งแต่ 10 ล้านขึ้นไป ในมุมมอง วิศวกร

ถ้าเข้าใจ ภาษาบาลี จะทำให้เข้าใจ ระบบเลขยกกำลังได้ดีขึ้น
วิทยาศาสตร์ชั้นสูง เริ่มต้นจาก ระบบเลขยกกำลังนี้

สังขยา จำนวน โกฏิ (สิบล้าน) ขึ้นไป แสนของจำนวนนั้นๆ คูณด้วยร้อยเสมอ ดังนี้
สตสหสฺสานํ สตํ โกฏิ อ.ร้อย แห่งแสน ท. ชื่อว่าโกฏิ
100*100,000 = 10,000,000 = 10^(7)

โกฏิสตสหสฺสานํ สตํ ปโกฏิ. อ.ร้อย แห่งแสนโกฏิ ท. ชื่อว่าปโกฏิ.
100*100,000*10^(7) = 10^(7)*10^(7) = 10^(7+7) = 10^(14)

ปโกฏิสตสหสฺสานํ สตํ โกฏิปฺปโกฏิ. อ.ร้อย แห่งแสนปโกฏิ ท. ชื่อว่าโกฏิปฺปโกฏิ.
10^(7)*10^(14) = 10^(7+14) = 10^(21)

โกฏิปฺปโกฏิสตสหสฺสานํ สตํ นหุตํ. อ.ร้อย แห่งแสนโกฏิปโกฏิ ท. ชื่อว่านหุต.
10^(21+7) = 10^(28)

นหุตสตสหสฺสานํ สตํ นินฺนหุตํ. อ.ร้อย แห่งแสนนหุต ท. ชื่อว่านินฺนหุต.
10^(28+7) = 10^(35)

นินฺนหุตสตสหสฺสานํ สตํ อกฺโขภินี. อ.ร้อย แห่งแสนนินนหุต ท. ชื่อว่าอกฺโขภินี.
10^(35+7) = 10^(42)

อกฺโขภินีสตสหสฺสานํ สตํ พินฺทุ. อ.ร้อย แห่งแสนอักโขภินี ท. ชื่อว่าพินฺทุ.
10^(42+7) = 10^(49)

พินฺทุสตสหสฺสานํ สตํ อพฺพุทํ. อ.ร้อย แห่งแสนพินทุ ท. ชื่อว่าอพฺพุท.
10^(56)

อพฺพุทสตสหสฺสานํ สตํ นิรพฺพุทํ. อ.ร้อย แห่งแสนอัพพุทะ ท. ชื่อว่านิรพฺพุท.
10^(63)

นิรพฺพุทสตสหสฺสานํ สตํ อหหํ. อ.ร้อย แห่งแสนนิรัพพุทะ ท. ชื่อว่าอหห.
10^(70)

อหหสตสหสฺสานํ สตํ อพพํ. อ.ร้อย แห่งแสนอหหะ ท. ชื่อว่าอพพ.
10^(77)

อพพสตสหสฺสานํ สตํ อฏฏํ. อ.ร้อย แห่งแสนอพพะ ท. ชื่อว่าอฏฏ.
10^(84)

อฏฏสตสหสฺสานํ สตํ โสคนฺธิกํ. อ.ร้อย แห่งแสนอฏฏะ ท. ชื่อว่าโสคนฺธิก.
10^(91)

โสคนฺธิกสตสหสฺสานํ สตํ อุปฺปลํ. อ.ร้อย แห่งแสนโสคันธิกะ ท. ชื่อว่าอุปฺปล.
10^(98)

อุปฺปลสตสหสฺสานํ สตํ กุมุทํ. อ.ร้อย แห่งแสนอุปปละ ท. ชื่อว่ากุมุท.
10^(105)

กุมุทสตสหสฺสานํ สตํ ปุณฺฑรีกํ. อ.ร้อย แห่งแสนกุมุท ท. ชื่อว่าปุณฺฑรีก.
10^(112)

ปุณฺฑรีกสตสหสฺสานํ สตํ ปทุมํ. อ.ร้อย แห่งแสนปุณฑรีกะ ท. ชื่อว่าปทุม.
10^(119)

ปทุมสตสหสฺสานํ สตํ กถานํ. อ.ร้อย แห่งแสนปทุม ท. ชื่อว่ากถาน.
10^(126)

กถานสตสหสฺสานํ สตํ มหากถานํ. อ.ร้อย แห่งแสนกถานะ ท. ชื่อว่ามหากถาน.
10^(133)

มหากถานสตสหสฺสานํ สตํ อสงฺเขฺยยฺยํ. อ.ร้อย แห่งแสนมหากถานะ ท. ชื่อว่าอสงฺเขฺยยฺย
10^(140)

สรุปจาก ตำราเรียน วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง
โดย พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

(จะมีคลิป วีดีโอ ตามมาในไม่ช้า)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ