วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กัลยาณมิตร 7 ประการ

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร

 [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพควรคบเป็นมิตร
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑
เป็นที่เคารพ ๑ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดพูด ๑ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑ พูดถ้อยคำ
ลึกซึ้ง ๑ ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
 ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
ข้อที่ 34



 [๓๔]   สตฺตหิ   ภิกฺขเว   ธมฺเมหิ   สมนฺนาคโต   ภิกฺขุ  มิตฺโต
เสวิตพฺโพ   ภชิตพฺโพ   ปยิรุปาสิตพฺโพ  อปิ  ปนุชฺชมาเนนปิ  ฯ  กตเมหิ
สตฺตหิ   ปิโย   จ   โหติ   มนาโป  จ  ครุ  จ  ภาวนีโย  จ  วตฺตา
จ   วจนกฺขโม   จ   คมฺภีรญฺจ   กถํ  กตฺตา  โหติ  โน  จ  อฏฺฐาเน
นิโยเชติ   ฯ  อิเมหิ  โข  ภิกฺขเว  สตฺตหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  ภิกฺขุ
มิตฺโต เสวิตพฺโพ ภชิตพฺโพ ปยิรุปาสิตพฺโพ อปิ ปนุชฺชมาเนนปีติ ฯ
         ปิโย จ  ครุ ภาวนีโย   วตฺตา จ วจนกฺขโม
         คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา       โน จฏฺฐาเน นิโยชเย
         ยสฺมึ เอตานิ ฐานานิ      สํวิชฺชนฺตีธ ปุคฺคเล
         โส มิตฺโต มิตฺตกาเมน     อตฺถกามานุกมฺปโก
         อปิ นาสิยมาเนน         ภชิตพฺโพ ตถาวิโธติ ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

ฝึกธรรม ทุกที่ ทุกเวลา

ปฏิบัติธรรม ทุกที่ ทุกเวลา

ปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องไปนั่งสมาธิตามวัด หรือ สถานปฏิบัติธรรม แต่สามารถปฏิบัติได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอริยาบถ สามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน


กรธาตุ สัตตมีวิภัตติ เมื่อสำเร็จรูปแล้ว คล้ายกับวัตตมานา

กรธาตุ สัตตมีวิภัตติ เมื่อสำเร็จรูปแล้ว คล้ายกับวัตตมานา

กรธาตุ + ยิรปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ กยิรา

เมื่อสำเร็จรูปแล้ว คล้ายกับวัตตมานาวิภัตติ (ด้วย กวฺจิ ธาตุ) 


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

10.46 นาที ย่อจาก ๑ ชั่วโมง กับการทำตัวรูปคอมพิวเตอร์

10.46 นาที ย่อจาก ๑ ชั่วโมง กับการทำตัวรูปคอมพิวเตอร์ กรธาตุ ปัญจมีวิภัตติ

ใช้เวลาทำตัวรูป ๑ ชั่วโมง สำหรับ
กรธาตุ + โอปัจจัย + ปัญจมีวิภัตติ กโร

เหตุผล เพราะมีรูปพิเศษ และ มีการเปลี่ยนรูปหลายบท(ศัพท์หลายตัว)


จากศิษย์บาลีใหญ่ หลวงพ่อใหญ่ วัดท่ามะโอ

หลวงพ่อ พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ

เรื่องเล่าโดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา


  • หลวงพ่อจะไม่ตอบอะไรแบบเลื่อนลอย
  • วัดเป็นสำนักเรียนจะเน้นเรียน และ ท่องจำตำราเรียน
  • หลวงพ่อเป็นนักค้นคว้า
  • ท่านเป็นคนเอาใจใส่ลูกศิษย์มาก
  • ท่านเสียสละ ชีวิต เพื่อภาษาบาลีใหญ่
  • เป็นความโชคดีของคนไทย ที่ได้พบหลวงพ่อ




วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

รีบแก้กรรมด่วน

รีบแก้กรรมด่วน

คนไทยมักจะบอกว่า ปล่อย ให้เค้าได้รับกรรม (ไม่ดี) ไปซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ในขณะที่ขบวนการทางพระพุทธศาสนา มีวิธีป้องกัน ผู้กระทำความผิด (ศีลธรรม) มิให้มีอำนาจ หรือ เป็นผู้นำ ติดตามได้จาก


การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติ กรรมฐาน เจริญสมาธิ ภาวนา

การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติ กรรมฐาน เจริญสมาธิ ภาวนา

โดย ท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

การเตรียมตัวก่อนเริ่มปฏิบัติพระธรรม กรรมฐาน หรือ การเตรียมตัวก่อนเริ่มเจริญสติ สมาธิ ภาวนา มักไม่ได้มีการกล่าวถึงบ่อยนัก วันนี้ทางเพจ มี เคล็ดลับ เล็กๆ น้อยๆ นำมาฝาก


สรุปหลักที่ต้องรู้ก่อน ๓ อย่าง

  1. ปริยัตติ (ความรู้ด้านทฤษฎี ตามหลักที่ต้องอ้างอิงถึงพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก)
  2. สิ่งที่ต้องกระทำก่อนเข้าปฏิบัติ (ปุพฺพกิจฺจ ภาวนา)
  3. พิธีกรรมในตอนที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติ (วิธี สมาทาน กรรมฎฺฐาน)

ปุพฺพกิจฺจ ภาวนา

  • ตัด ปริโภชฺช (สิ่งที่ผูกพันธ์ หน่วงเหนี่ยวให้ใจห่วงกังวล หรือ สิ่งที่ใจติดข้อง)
  • เข้าหา กลฺยาณมิตฺต (เพื่อนที่คอยแนะนำการปฏิบัติให้สอดคล้องกับพุทธพจน์ เช่น ครู อาจารย์)
  • เลือกสถานที่ที่เหมาะแก่การภาวนา (สปฺปาย)

ปริโภชฺช ๑๐ อย่าง (วิสุทธิมรรค)

  • อาวาส ข้าวของเครื่องใช้ในอาวาส (บ้าน)
  • กุล หรือ ตระกูล (ครอบครัว ผู้อุปถัมป์ เกื้อกูล)
  • ลาภ รายได้ หรือ ผลประโยชน์
  • คณะ (หมู่คณะ)
  • กมฺม (การงาน)
  • การเดินทางไกล
  • ญาติ พี่น้อง อาจารย์ ลูกศิษย์
  • ความเจ็บป่วยของตนเอง
  • การศึกษาเล่าเรียน
  • อิทฺธิ (ฤทธิ์) เช่นความสำเร็จต่างๆ เกียรติยศชื่อเสียง

ลักษณะของ กลฺยาณมิตฺต ๗ ประการ (กัลยาณมิตร)

  • ปิโย เป็นที่รัก
  • ครุ เป็นครู ที่เคารพ
  • ภาวนีโย ถูกทำให้เจริญ
  • วตฺตา พูดเป็น อธิบายชี้แจงข้อสงสัยได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  • วจน ขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (สามารถซักถามได้)
  • พูดจาแถลงคำพูดที่ลึกซึ้งได้
  • ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหายไม่เป็นประโยชน์

ความถูกจริต ๖ ประการ

  • ราคจริตฺ ราคะจริต รักสวยรักงาม
  • โทส จริตฺ โทสะจริต หงุดหงิดขัดใจง่าย
  • โมห จริต หลง งมงาย เขลา
  • ศรัทธาจริต เห็นอะไรก็ซาบซึ้งง่าย
  • พุทธิ จริต เชื่อด้วยปัญญา
  • วิตก จริต คิดอะไรจับจดฟุ้งซ่าน

กรรมฐาน

  • สมถะ ต้องเลือกให้ถูกกับจริต เพื่อให้เกิดสมาธิ
  • วิปัสนา ไม่ต้องห่วงจริตมาก
  • อานาปานสติ ถือว่า สากล

สปฺปาย ๗ ประการ

  • สถานที่ปฏิบัติ ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ
  • โคจร (แหล่งอาหาร)
  • การพูดคุย เกื้อกูลแก่การเจริญสมาธิ
  • บุคคล ที่เราสบายใจ
  • โภชนะ อาหาร
  • อุตุ (ดิน ฟ้า อากาศ)
  • อิริยาบถ (เกื้อกูล อิริยาบททั้งสี่)