การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติ กรรมฐาน เจริญสมาธิ ภาวนา
โดย ท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
การเตรียมตัวก่อนเริ่มปฏิบัติพระธรรม กรรมฐาน หรือ การเตรียมตัวก่อนเริ่มเจริญสติ สมาธิ ภาวนา มักไม่ได้มีการกล่าวถึงบ่อยนัก วันนี้ทางเพจ มี เคล็ดลับ เล็กๆ น้อยๆ นำมาฝาก
สรุปหลักที่ต้องรู้ก่อน ๓ อย่าง
- ปริยัตติ (ความรู้ด้านทฤษฎี ตามหลักที่ต้องอ้างอิงถึงพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก)
- สิ่งที่ต้องกระทำก่อนเข้าปฏิบัติ (ปุพฺพกิจฺจ ภาวนา)
- พิธีกรรมในตอนที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติ (วิธี สมาทาน กรรมฎฺฐาน)
ปุพฺพกิจฺจ ภาวนา
- ตัด ปริโภชฺช (สิ่งที่ผูกพันธ์ หน่วงเหนี่ยวให้ใจห่วงกังวล หรือ สิ่งที่ใจติดข้อง)
- เข้าหา กลฺยาณมิตฺต (เพื่อนที่คอยแนะนำการปฏิบัติให้สอดคล้องกับพุทธพจน์ เช่น ครู อาจารย์)
- เลือกสถานที่ที่เหมาะแก่การภาวนา (สปฺปาย)
ปริโภชฺช ๑๐ อย่าง (วิสุทธิมรรค)
- อาวาส ข้าวของเครื่องใช้ในอาวาส (บ้าน)
- กุล หรือ ตระกูล (ครอบครัว ผู้อุปถัมป์ เกื้อกูล)
- ลาภ รายได้ หรือ ผลประโยชน์
- คณะ (หมู่คณะ)
- กมฺม (การงาน)
- การเดินทางไกล
- ญาติ พี่น้อง อาจารย์ ลูกศิษย์
- ความเจ็บป่วยของตนเอง
- การศึกษาเล่าเรียน
- อิทฺธิ (ฤทธิ์) เช่นความสำเร็จต่างๆ เกียรติยศชื่อเสียง
ลักษณะของ กลฺยาณมิตฺต ๗ ประการ (กัลยาณมิตร)
- ปิโย เป็นที่รัก
- ครุ เป็นครู ที่เคารพ
- ภาวนีโย ถูกทำให้เจริญ
- วตฺตา พูดเป็น อธิบายชี้แจงข้อสงสัยได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
- วจน ขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (สามารถซักถามได้)
- พูดจาแถลงคำพูดที่ลึกซึ้งได้
- ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหายไม่เป็นประโยชน์
ความถูกจริต ๖ ประการ
- ราคจริตฺ ราคะจริต รักสวยรักงาม
- โทส จริตฺ โทสะจริต หงุดหงิดขัดใจง่าย
- โมห จริต หลง งมงาย เขลา
- ศรัทธาจริต เห็นอะไรก็ซาบซึ้งง่าย
- พุทธิ จริต เชื่อด้วยปัญญา
- วิตก จริต คิดอะไรจับจดฟุ้งซ่าน
กรรมฐาน
- สมถะ ต้องเลือกให้ถูกกับจริต เพื่อให้เกิดสมาธิ
- วิปัสนา ไม่ต้องห่วงจริตมาก
- อานาปานสติ ถือว่า สากล
สปฺปาย ๗ ประการ
- สถานที่ปฏิบัติ ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ
- โคจร (แหล่งอาหาร)
- การพูดคุย เกื้อกูลแก่การเจริญสมาธิ
- บุคคล ที่เราสบายใจ
- โภชนะ อาหาร
- อุตุ (ดิน ฟ้า อากาศ)
- อิริยาบถ (เกื้อกูล อิริยาบททั้งสี่)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ