Amps
หน้าเว็บ
กลุ่มบทความน่าสนใจ
- บาลีใหญ่ท่ามะโอ (121)
- ธรรมแท้ๆจากพระไตรปิฏก (81)
- ธรรม วินิจฉัย (37)
- เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวรูป ภาษาบาลี (32)
- เรียนบาลีใหญ่ (19)
- โปรแกรมเรียนบาลีใหญ่ (15)
- คาถา ต่างๆ (11)
- ทั่วไป (10)
- สื่อเผยแผ่ธรรมะ (8)
- โปรแกรมพระไตรปิฎก (6)
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
บาลีไวยากรณ์ จาก บาลีดิค ฝึกแปล ตอน อิติ แปลว่า ว่า และ ตฺวา ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์
อญฺญตโร ปุริโส / ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา / คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต /อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.
ที่วงเล็บไว้ว่า (วจเน ภริยาย )วุตฺเต เมื่อใช้จริงไม่นิยมวางถือว่ารู้กันว่าเป็นประโยคลักขณะ ลงสัตตมีวิภัตติแปลว่า ครั้นเมื่อ แปลเช่นนี้ว่า วจเน ครั้นเมื่อคำ อันภรรยา กล่าวแล้วว่า...คือ ประโยคเแทรกๆ เข้ามาช่วงไหนก็แปลช่วงนั้นได้เลย ทำเครื่องหมาย / ไว้จะได้กำหนดการแปลง่ายขึ้น
อญฺญตโร ปุริโส ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.
ปุริโส อ.บุรุษ อญฺญตโร ผู้ใดผู้หนึ่ง วตฺวา กล่าวแล้ว อิติ ว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ อชฺช ในวันนี้ อหํ อ. เรา กริสฺสามิ จักกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน อิมํ รตฺตึ ตลอดคืนนี้ ดังนี้
วจเน ครั้นเมื่อคำ อิติ ว่า สามิ ข้าแต่สามี ตวํ อ.ท่าน คจฺฉ จงไปเถิด ดังนี้ ภริยาย อันภรรยา วุตฺเต กล่าวแล้ว
อคจฺฉิ ได้ไปแล้ว กมฺมกรณฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่กระทำซึ่งงาน อตฺตโน ของตน
ที่ทำเครื่องหมาย / ไว้ในตอนถามก็เพื่อให้รู้ว่าประโยคส่วนไหนอยู่ในห้อง ส่วนไหนอยู่นอกห้อง (ประโยคเลขใน เลขนอก) แม้การแปลก็กำหนดตามที่ขีดไว้ และประโยคที่ใช้ในสถานการณ์จริงมักวาง วุตฺเต ไว้เพียงศัพท์เดียว ถือว่ารู้กัน แต่เวลาแปลต้องโยคเข้ามาตามเนื้อหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับบริบทด้วยครับ
บทที่ประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัยก็ดี อนฺต มาน ปัจจัยก็ดี หรือประโยคแทรกที่ประกอบด้วยฉัฏฐีหริอสัตตมีวิภัตติ กล่าวได้ว่ายังไม่จบประโยค จึงไม่ควรขึ้นบทประธานอื่นเข้ามาแปลร่วม เพราะจะทำให้ความหมายขัดแย้งกัน
ดังนั้น บทที่ประกอบด้วย ตฺวา, อนฺต, มาน หรือ ต ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์มักเป็นประโยคนอกห้อง ซึ่งประโยคนอกห้องต้องแปลก่อนแล้วเปิด อิติ ศัพท์เข้าไปแปลประโยคในห้องจนครบ แล้วเพิ่มคำว่า ดังนี้ หรือ ดังนี้เป็นต้น เข้ามา (ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ละไว้ส่วนมากเกี่ยวกับคาถา) แปลอย่างนี้เป็นทอดๆ จนจบประโยค (ดูที่กิริยาคุมพากย์เป็นหลัก อาจเป็นอาขยาต หรือกิตก์)
คำศัพท์ที่ให้นั้น ควรแยกเฉพาะ ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ ก็พอ ถ้าบอกขั้นตอนการทำตัวรูปอาจทำให้สับสน เพราะสนามหลวงก็มีขั้นตอนการทำตัวรูปเฉพาะตน (ดังเช่น คจฺฉติ มาจาก คมฺ ธาตุ+อ+ติ แปลงเป็น คจฺฉ สำเร็จรูป) ส่วนมูลกัจจายน์ซึ่งมีปทรูปสิทฺธิเป็นต้นก็มีการทำตัวรูปอีกลักษณะหนึ่งโดยมีการอ้างสูตรเป็นหลักฐาน ถ้านำมาปนกัน หลายๆ ท่านด้วยกันอาจเป็นงง? เช่น คจฺฉติ มาจาก คมุ ธาตุ+อ+ติ ทำตัวรูปโดย ลบสระที่สุดธาตุ ลง ติวิภัตติหลังคมฺ ลง อ ปัจจัย แปลง มฺ เป็น จฺฉฺ ด้วย คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ นำ ฉฺประกอบกับ อ สำเร็จรูปเป็น คจฺฉติ)
ถ้ายกมาแสดงควรเป็นมูลกัจจายน์ โดยเฉพาะมูลธาตุเดิม กมุ, คมุ (สนามหลวงบอก กมฺ, คมฺ) เป็นต้น
อธิตจฺฉติ แปลว่า ได้, ถึง บรรลุ, ปจฺจาคจฺฉติ กลับมา, อุคฺคจฺฉติ ขึ้น เอาความหมายที่ใช้บ่อยๆ ก่อนนะครับ พจนานุกรมมีหลายความหมายมากกลัวจะอึดอัดสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก
อญฺญตโร ปุริโส ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ
อญฺญตโร คนใดคนหนึ่ง ปุริโส บุรุษ ปฐมา
ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ
อชฺชาหํ อชฺช กับ อหํ วันนี้ข้าพเจ้า
อิมํ ทุติยา นี้
รตฺตึ ตลอดกลางคืน
กมฺมํ ซึ่งการงาน
กริสฺสามีติ กริสฺสามิ+อิติ จักกระทำ
วตฺวา กล่าวแล้ว
ปุริโส อ.บุรุษ อญฺญตโร ผู้หนึ่ง วตฺวา กล่าวแล้ว อิติ ว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ อชฺชาหํ วันนี้ข้าพเจ้า กริสฺสามิ จักกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน รตฺตึ ตลอดคืน อิมํ นี้
คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ
คจฺฉ จงไป
สามีติ สามิ+อิติ สามี
ภริยาย ภริยา วจเน กล่าว
วจเน ครั้นเมื่อคำ สามิ ข้าแต่สามี ตวํ อ.ท่าน ภริยาย ภริยา คจฺฉ จงไปเถิด
วุตฺเต กล่าวแล้ว
กมฺมกรณฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่กระทำซึ่งงาน อตฺตโน ของตน
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
แบบฝึกหัด ออนไลน์ ย้อนหลัง วัดท่ามะโอ 1 Apr 2020
แบบฝึกหัด ออนไลน์ ย้อนหลัง วัดท่ามะโอ 1 Apr 2020
ฝึกแปลประโยคแบบ อจฺจนฺตสํโยค ลงทุติยาวิภัตติมีคำแปลว่า สิ้น, ตลอด
1. อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กโรมิ. แปลและตัดสินว่าบทไหนในประโยคนี้เป็น ‘อัจจันตสังโยค’
2.อญฺญตโร ปุริโส / ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา / คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต /อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.
ที่วงเล็บไว้ว่า (วจเน ภริยาย )วุตฺเต เมื่อใช้จริงไม่นิยมวางถือว่ารู้กันว่าเป็นประโยคลักขณะ ลงสัตตมีวิภัตติแปลว่า ครั้นเมื่อ แปลเช่นนี้ว่า วจเน ครั้นเมื่อคำ อันภรรยา กล่าวแล้วว่า...คือ ประโยคเแทรกๆ เข้ามาช่วงไหนก็แปลช่วงนั้นได้เลย ทำเครื่องหมาย / ไว้จะได้กำหนดการแปลง่ายขึ้น
ควรฝึกแปลและแต่งร่วมกันไป เหนื่อยหน่อย แต่ทว่ามีผลคุ้มค่า
แปลมาด้วยครับ : คจฺฉติ, อาคจฺฉติ, ปจฺจาคจฺฉติ, อนุคจฺฉติ, อวคจฺฉติ, อุจฺคจฺฉติ, อธิคจฺฉติ.
เฉลยคำตอบ 1 Apr 2020
1. อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กโรมิฯ. อหํ อ.ข้าพเจ้า กโรมิ ย่อมกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน อิมํ รตฺตึ ตลอดคืนนี้
บทว่า รตฺติํ เป็นอัจจันตสังโยค
2. อญฺญตโร ปุริโส ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.
ปุริโส อ.บุรุษ อญฺญตโร ผู้ใดผู้หนึ่ง วตฺวา กล่าวแล้ว อิติ ว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ อชฺช ในวันนี้ อหํ อ. เรา กริสฺสามิ จักกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน อิมํ รตฺตึ ตลอดคืนนี้ ดังนี้
วจเน ครั้นเมื่อคำ อิติ ว่า สามิ ข้าแต่สามี ตวํ อ.ท่าน คจฺฉ จงไปเถิด ดังนี้ ภริยาย อันภรรยา วุตฺเต กล่าวแล้ว
อคจฺฉิ ได้ไปแล้ว กมฺมกรณฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่กระทำซึ่งงาน อตฺตโน ของตน
ที่ทำเครื่องหมาย / ไว้ในตอนถามก็เพื่อให้รู้ว่าประโยคส่วนไหนอยู่ในห้อง ส่วนไหนอยู่นอกห้อง (ประโยคเลขใน เลขนอก) แม้การแปลก็กำหนดตามที่ขีดไว้ และประโยคที่ใช้ในสถานการณ์จริงมักวาง วุตฺเต ไว้เพียงศัพท์เดียว ถือว่ารู้กัน แต่เวลาแปลต้องโยคเข้ามาตามเนื้อหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับบริบทด้วยครับ
บทที่ประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัยก็ดี อนฺต มาน ปัจจัยก็ดี หรือประโยคแทรกที่ประกอบด้วยฉัฏฐีหริอสัตตมีวิภัตติ กล่าวได้ว่ายังไม่จบประโยค จึงไม่ควรขึ้นบทประธานอื่นเข้ามาแปลร่วม เพราะจะทำให้ความหมายขัดแย้งกัน
ดังนั้น บทที่ประกอบด้วย ตฺวา, อนฺต, มาน หรือ ต ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์มักเป็นประโยคนอกห้อง ซึ่งประโยคนอกห้องต้องแปลก่อนแล้วเปิด อิติ ศัพท์เข้าไปแปลประโยคในห้องจนครบ แล้วเพิ่มคำว่า ดังนี้ หรือ ดังนี้เป็นต้น เข้ามา (ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ละไว้ส่วนมากเกี่ยวกับคาถา) แปลอย่างนี้เป็นทอดๆ จนจบประโยค (ดูที่กิริยาคุมพากย์เป็นหลัก อาจเป็นอาขยาต หรือกิตก์)
คำศัพท์ที่ให้นั้น ควรแยกเฉพาะ ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ ก็พอ ถ้าบอกขั้นตอนการทำตัวรูปอาจทำให้สับสน เพราะสนามหลวงก็มีขั้นตอนการทำตัวรูปเฉพาะตน (ดังเช่น คจฺฉติ มาจาก คมฺ ธาตุ+อ+ติ แปลงเป็น คจฺฉ สำเร็จรูป) ส่วนมูลกัจจายน์ซึ่งมีปทรูปสิทฺธิเป็นต้นก็มีการทำตัวรูปอีกลักษณะหนึ่งโดยมีการอ้างสูตรเป็นหลักฐาน ถ้านำมาปนกัน หลายๆ ท่านด้วยกันอาจเป็นงง? เช่น คจฺฉติ มาจาก คมุ ธาตุ+อ+ติ ทำตัวรูปโดย ลบสระที่สุดธาตุ ลง ติวิภัตติหลังคมฺ ลง อ ปัจจัย แปลง มฺ เป็น จฺฉฺ ด้วย คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ นำ ฉฺประกอบกับ อ สำเร็จรูปเป็น คจฺฉติ)
ถ้ายกมาแสดงควรเป็นมูลกัจจายน์ โดยเฉพาะมูลธาตุเดิม กมุ, คมุ (สนามหลวงบอก กมฺ, คมฺ) เป็นต้น
อธิตจฺฉติ แปลว่า ได้, ถึง บรรลุ, ปจฺจาคจฺฉติ กลับมา, อุคฺคจฺฉติ ขึ้น เอาความหมายที่ใช้บ่อยๆ ก่อนนะครับ พจนานุกรมมีหลายความหมายมากกลัวจะอึดอัดสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก
เพิ่มเติม
๓ แปลมาด้วยครับ : คจฺฉติ, อาคจฺฉติ, ปจฺจาคจฺฉติ, อนุคจฺฉติ, อวคจฺฉติ, อุจฺคจฺฉติ, อธิคจฺฉติ
คจฺฉติ ๑. ไป (อยู่) (ย่อม) ไป (จะ) ไป
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
คมุธาตุ + อปจจัย + วัตตมานาวิภัตติ
ปรัสบท เอก ปฐม
๒. _ผู้ไปอยู่
ศัพท์เดิม คจฺฉนฺต สัตตมี. เอก.
อาคจฺฉติ
ย่อมมา
คจฺฉติ แปลว่า ย่อมไป ใส่ อา อุปสัค
เข้าไปข้างหน้าธาตุ เรียกว่า ธาตฺวตฺถพาธก อุปสัค
อา + คมุ + อ + ติ
ปจฺจาคจฺฉติ
ไปหุง กลับมา
(ปจ ธาตุ + คมุ ธาตุ)
ปติบทหน้า+อาบทหน้า+อปัจจัย+ติ
อนุคจฺฉติ
ก. (เช่น ชโน อ.ชน) ย่อมไปตาม อนุ บทหน้า + คม ธาตุ ในความไป + อ ปัจจัยใน กัตตุวาจก + ติ วัตตมานาวิภัตติ แปลง คม ธาตุ เป็น คจฺฉ สำเร็จรูปเป็น อนุคจฺฉติ
อวคจฺฉติ
๑. ย่อมรู้ (อว อุปสัค + คมุ + อ + ติ)
๒. ก. ตกลงไป, บรรลุถึง, เข้าถึง
อุจฺคจฺฉติ ย่อมบินไป (อุจฺจ+คจฺฉติ)
อธิคจฺฉติ
บรรลุ ย่อมได้
อธิ + คมุ + อ + ติ
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ทำไมจึงต้องมีการเรียนภาษาบาลี เพื่อแปลพระบาลี สวดมนต์ รู้ความหมาย
การคัดลอกยังมีโอกาสผิดแล้ว การแปลจะไม่มีโอกาสผิดพลาดบ้างได้อย่างไร
การคัดลอกยังมีโอกาสผิดแล้ว การแปลจะไม่มีโอกาสผิดพลาดบ้างได้อย่างไร พระไตรปิฎก ทุกฉบับ มีโอกาสพิมพ์ผิดสะกดผิด โปรดทำความเข้าใจช้าๆ รวมถึงภาษไทยด้วย รูปนี้เป็นโปรแกรม ศัพท์พระบาลี ดึงออกจากโปรแกรม พระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ ดิจิตอล ทุกคำ มีคำบาลีที่ไม่ซ้ำกันประมาณ 17x,xxx จะเห็นว่า สีเหลือง มีคำศัพท์ที่ key ข้อมูลผิด (จริงๆ มีมากกว่านี้ แต่ได้ใช้เทคนิค คอมพิวเตอร์ นำออกไปมากแล้ว) ดังนั้น
ก่อนหน้า...พระไตรปิฎกบาลี อักษรกำพูชา ใบลาน(พม่า หรือ อื่นๆ) => พระไตรปิฎกบาลี อักษรไทย ใบลาน => บาลีอักษรไทย คัดลอกลงกระดาษ => บาลีอักษรไทย คัดลอกเข้าโรงพิมพ์ พิมพ์เป็นเล่ม => คัดลอกเข้าไฟล์คอมพิวเตอร์ => Convert to PDF => โปรแกรมพระไตรปิฎก => โปรแกรมดิกชันนารีบาลี => แปลเป็น พระไตรปิฎก ภาษาไทย => คัดลอก โรงพิมพ์... ไปเรื่อยๆ
ตรงนี้จะเห็นได้ว่าขบวนการคัดลอก มีโอกาสผิดพลาด (ไม่ได้ต่อว่าใครหน่วยงานใด) ถ้าไม่มีการคัดลอกเป็นอักษร หรือ การท่องเพียงอย่างเดียว ก็มีโอกาสผิดมากกว่า เพราะเป็น ท่องจำ สวดสาธยาย ต่อๆ กันมา ดังเช่น ภาษาอักกฤษ คนไทยพูด มาเลเซีย พม่า ลาว ... เป็นต้น พูดสำเนียงต่างกัน ดังนั้น การเรียนภาษาอังกฤษ บาลี ด้วยอักษร จึงมีการเรียน ฐานกรณ์ (การออกเสียงของอักษร)เป็นเบื้องต้น เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารไม่ให้ผิดเพี้ยนกันมากในแต่ละถิ่น และ เป็นสากล เช่น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส เป็นต้น
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563
รักซ้อน ซ่อนเงื่อน มีเมียน้อย กิ๊ก ผิดหรือไม่
รักซ้อน ซ่อนเงื่อน มีเมียน้อย กิ๊ก ผิดหรือไม่
ในสังคมเมืองปัจจุบัน มีทั้งหญิง และ ชาย ที่มี คู่ คบหามากกว่า ๑ ไม่ว่าจะต่างเพศ หรือ เพศเดียวกัน
ขอแยกประเด็นดังนี้
๑
ถ้าเรามองที่อัตตาตัวตน ศีล ๕ และ ตัวบทกฎหมาย และ ศีลธรรม คือ ผิดชัดเจน แต่ทั้งนี้ มนุษย์ ประกอบด้วยสัญชาติญาณสัตว์ที่มีต่อสิ่งเร้า โดย พระพุทธเจ้า ได้ให้ข้อธรรมในเรื่อง ความพอใจในกามคุณ ๕ ไว้ เพื่อให้เราได้ปฏิบัติตาม และ ระมัดระวังตนไม่ให้เกิดความประมาทในอารมณ์นั้นๆ (ซึ่ง ตรงนี้เป็นเหตุ ที่มนุษย์ปุถชนม์ อย่างข้าพเจ้า และ หลายๆท่านจะต้องฝึกฝนเรียนรู้เท่าทันเพื่อไม่ให้เกิด รักซ้อน อย่างที่เห็นเป็นข่าว) จากข้อนี้ พอจะสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะเป็น รัก ครั้งที่ ๑ ถึง ๑๐๐ ก็มักจะเกิดขึ้นจาก ความพอใจในกามคุณ ๕ แทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นของชั่วคราว จึงเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ มี ธรรม ในหมวดที่จะทำให้ มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างผาสุข และ เป็นเกราะป้องกันเพื่อที่จะไม่ให้ไปหา คู่ หรือ สังคมใหม่ ดังที่จะขอกล่าวโดยสรุปในข้อ ๒
๒ หมวดธรรมแห่งการ อยู่ร่วมกัน
สาราณียธรรม ๖ ประการ
พรมหมวิหาร ๔
มงคลสูตร ๓๘ ประการ
ทางตรงข้ามของความเสื่อมแห่ง โภคทรัพย์ ๔ ประการ
ที่ควรปฏิบัติ ซึ่งประกอบไปด้วย
๑ ไม่เล่นการพนัน
๒ ไม่ติดสุรา
๓ ไม่ติดนารี (ในยุคปัจจุบัน ก็จะ เป็น เพศที่ตนชอบ)
๔ เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ครับ
โดย พระพุทธองค์ ได้ให้แนวทาง ของ
กัลยานมิตร ๗ ประการ ไว้ดังนี้
๑ ปิโย เป็นที่รัก
๒ ครุ เป็นครู ที่เคารพ
๓ ภาวนีโย ถูกทำให้เจริญ
๔ วตฺตา พูดเป็น อธิบายชี้แจงข้อสงสัยได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
๕ วจน ขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (สามารถซักถามได้)
๖ พูดจาแถลงคำพูดที่ลึกซึ้งได้
๗ ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหายไม่เป็นประโยชน์
โดย สรุป ธรรมในหมวด ที่ ๒ นั้น เป็นธรรมแบบ กลางๆ ที่พะพุทธองค์ให้นี้ เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ให้ เพื่อเป็นการไม่ให้โทษเขา โทษเรา พิจารณา ทั้งเขา และ เรา เพื่อป้องกัน ไม่ให้คู่ ผู้ร่วมงาน ของตนหาคู่ หรือ สังคมใหม่ครับ กราบนมัสการ
วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563
การใช้ โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อเรียนรู้ คาถาธรรมบท สู่การแปลพระไตรปิฎกแบบยั่งยืน
การใช้ โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อเรียนรู้ คาถาธรรมบท สู่การแปลพระไตรปิฎกแบบยั่งยืน
เนื่องจาก
๑ โปรแกรม ThaiNewGenDict ได้ดึงคำศัพท์ (บท) พระบาลี มาจากพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐมาทุกคำแล้ว (ตัดคำซ้ำออกแล้ว ประมาณ 95%
๒ ยังไม่มีตำราเรียนใด หรือ ดิกชันนารีใด ที่มีคำศัพท์ ครบตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาต้องจำมาก และ เมื่อจะนำมาค้นคว้าภายหลังจึงยากเข้าไปอีก และ ใช้เวลาค้นคว้าคำศัพท์ เป็นเวลานาน
๓ การฝึกด้วยวิธีนี้ นอกจากจะไม่เป็นการค้านตำราเดิม และ ตำราโบราณแล้ว ยังทำให้ผู้ใช้หรือ ผู้ศึกษาได้รู้วิธีการประกอบคำ หรือ ทำตัวรูปแบบโบราณ อย่างถ่องแท้อีกด้วย
๔ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยลดการผิดพลาด ของการกรอกข้อมูล คำแปล รวมถึง ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากร ด้วย
โปรดช่วย กด Like กด แชร์ กด Follow Blog เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ให้กับคนรุ่นใหม่ สืบไป
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ถ้าต้องการให้หนังสือภาษาบาลีดิจิตอล มีผู้ใช้มากต้องติดตามคลิปนี้ การใช้ Font ภาษาบาลี ที่ถูกต้อง 100%
การใช้ ฟ้อนท์ ภาษาบาลี ที่ถูกต้อง 100%
การทำสื่อการสอน หนังสือ ภาษาบาลี ที่สามารถค้นคำง่ายได้ 100% โดย ไม่มีอักษรต่างดาว เมื่อ Copy ไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้ทุกโปรแกรม แสดงผลถูกต้องตาม อักขระภาษาบาลี ในทุกโปรแกรม หรือ อาจกล่าวง่ายๆว่า คลิปนี้จะแสดงถึง การใช้ Font ภาษาบาลี แบบถูกต้อง 100% อธิบายตั้งแต่การติดตั้ง Font ภาษาบาลี และ ข้อดีข้อเสียของฟ้อนต์ต่างๆ
ฟ้อนท์บาลี หรือ font บาลี ทำให้ หนังสือมีผู้ใช้มาก ต้องติดตาม การทำสื่อการสอน เพื่อการ ค้นคำง่าย ไม่มีอักษรต่างดาว ใช้กับโปรแกรมอื่นได้ทุกโปรแกรม แสดงผลถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ การติดตั้ง Font
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)