วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

 ๑๐. ทัณฑวรรค
               หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์๑
               ๑. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
           {๒๐} [๑๒๙]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมหวาดกลัวความตาย
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า
               ๒. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
                    [๑๓๐]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมรักชีวิต๒
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

กรณียเมตฺตสุตฺตํ

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ

กะระณียะเมตตสุตตัง

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25 
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
ข้อที่๑๐

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ
    [๑๐] กรณียมตฺถกุสเลน           ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจุํ
สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ        สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ       อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ      อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ฯ
น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ     เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ ฯ
สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ     สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ          ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา
ทีฆา วา เย มหนฺตา วา     มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา
ทิฏฺฐา วา เย ๑ จ อทิฏฺฐา เย ๑ จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
ภูตา วา สมฺภเวสี วา       สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ        นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ ๒ กิญฺจิ
พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺญา       นาญฺญมญฺญสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ฯ
มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ        อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ          มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ        มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ        อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ
ติฏฺฐญฺจรํ นิสินฺโน วา        สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ
เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย         พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ๑ ฯ
ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม           สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
กาเมสุ วิเนยฺย ๒ เคธํ     น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ ฯ

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
  ๙. เมตตสูตร
                  ว่าด้วยการแผ่เมตตา
   {๑๐} (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า    ดังนี้)
[๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒
ควรบำเพ็ญกรณียกิจ๓ควรเป็นผู้อาจหาญ    ซื่อตรง
เคร่งครัด    ว่าง่าย    อ่อนโยน    และไม่เย่อหยิ่ง
[๒] ควรเป็นผู้สันโดษ    เลี้ยงง่าย    มีกิจน้อย๔
มีความประพฤติเบา๕    มีอินทรีย์สงบ    มีปัญญารักษาตน
ไม่คะนอง๖    ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย
[๓] อนึ่ง    ไม่ควรประพฤติความเสียหายใด  ๆ
ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำหนิเอาได้
(ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ว่า)
ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข
มีความเกษม    มีตนเป็นสุขเถิด
[๔] คือ    เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง๑
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว    ขนาดกายใหญ่    ขนาดกายปานกลาง
ขนาดกายเตี้ย    ขนาดกายผอม    หรือขนาดกายอ้วน
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๕] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี    เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี
เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกลก็ดี    ภูตหรือสัมภเวสี๒ก็ดี
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๖] ไม่ควรข่มเหง    ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความโกรธและความแค้น
[๗] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์
ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต    ฉะนั้น
[๘] อนึ่ง    ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ
กว้างขวาง    ไม่มีเวร    ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด
ทั้งชั้นบน๑    ชั้นล่าง๒    และชั้นกลาง๓
[๙] ผู้แผ่เมตตาจะยืน    เดิน    นั่ง    หรือนอน
ควรตั้งสติ๔นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง
นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า    พรหมวิหาร
[๑๐] อนึ่ง    ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถือทิฏฐิ๕
มีศีล    ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ๖
กำจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว
ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป
เมตตสูตร จบ
ขุททกปาฐะ จบ

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

อะเสวนาจะพาลานัง มงคลสูตร ๓๘ ประการ

ปฐมํ มงฺคลสุตฺตํ
                    ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ 
     [๕]   เอวมฺเม   สุตํ  ฯ  เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ 
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ  อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา 
อภิกฺกนฺตาย     รตฺติยา     อภิกฺกนฺตวณฺณา     เกวลกปฺปํ     เชตวนํ 
โอภาเสตฺวา    เยน    ภควา   เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ 
อภิวาเทตฺวา   เอกมนฺตํ   อฏฺฐาสิ   เอกมนฺตํ  ฐิตา  โข  สา  เทวตา 
ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ 
     [๖] พหู เทวา มนุสฺสา จ        มงฺคลานิ อจินฺตยุํ
         อากงฺขมานา โสตฺถานํ       พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         อเสวนา จ พาลานํ         ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา 
         ปูชา จ ปูชนียานํ ๒        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ปฏิรูปเทสวาโส จ          ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
       อตฺตสมฺมาปณิธิ จ           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ         วินโย จ สุสิกฺขิโต 
         สุภาสิตา จ ยา วาจา       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ           ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห 
         อนากุลา จ กมฺมนฺตา        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ        ญาตกานญฺจ สงฺคโห 
         อนวชฺชานิ กมฺมานิ          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         อารตี วิรตี ปาปา          มชฺชปานา จ สญฺญโม 
         อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         คารโว จ นิวาโต จ        สนฺตุฏฺฐี จ กตญฺญุตา 
         กาเลน ธมฺมสฺสวนํ          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ขนฺตี จ โสวจสฺสตา         สมณานญฺจ ทสฺสนํ 
         กาเลน ธมฺมสากจฺฉา        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ        อริยสจฺจานทสฺสนํ 
         นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ         จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ 
         อโสกํ วิรชํ เขมํ           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         เอตาทิสานิ กตฺวาน         สพฺพตฺถมปราชิตา๋ 
         สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ       ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ ฯ 

บาลีสยามรัฐ เล่มที่๒๕ ข้อที่ ๕-๖ 

๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก
ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย
ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้ว
ในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดา
บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑
นี้เป็นอุดมมงคลการงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความเคารพ ๑
ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรม
โดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การ
ได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑
นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย
ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคล
ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

อาสวะที่ต้องละด้วยการใช้สอย

การพิจารณาปัจจัยสี่

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 12
พระสุตตันปิฎก มัชฌิมนิกาย เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ ขั้นต้น (บาลีสยามรัฐ ข้อที่ ๑๔)
....
 [๑๔]   กตเม   จ  ภิกฺขเว  อาสวา  ปฏิเสวนา  ปหาตพฺพา  ฯ
อิธ   ภิกฺขเว   ภิกฺขุ   ปฏิสงฺขา   โยนิโส   จีวรํ  ปฏิเสวติ  ยาวเทว
สีตสฺส  ปฏิฆาตาย  อุณฺหสฺส  ปฏิฆาตาย ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ ๑
ปฏิฆาตาย         ยาวเทว         หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถํ        ฯ

ปฏิสงฺขา   โยนิโส   ปิณฺฑปาตํ   ปฏิเสวติ  เนว  ทวาย  น  มทาย  น
มณฺฑนาย   น   วิภูสนาย   ยาวเทว  อิมสฺส  กายสฺส  ฐิติยา  ยาปนาย
วิหึสุปรติยา   พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย   อิติ   ปุราณญฺจ   เวทนํ  ปฏิหงฺขามิ
นวญฺจ  เวทนํ  น  อุปฺปาเทสฺสามิ  ยาตฺรา  จ  เม  ภวิสฺสติ  อนวชฺชตา
จ   ผาสุวิหาโร  จาติ  ๒  ฯ

ปฏิสงฺขา  โยนิโส  เสนาสนํ  ปฏิเสวติ
ยาวเทว    สีตสฺส    ปฏิฆาตาย    อุณฺหสฺส    ปฏิฆาตาย    ฑํสมกส-
วาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ   ๑   ปฏิฆาตาย  ยาวเทว  อุตุปริสฺสยวิโนทนํ
ปฏิสลฺลานารามตฺถํ   ฯ

ปฏิสงฺขา   โยนิโส  คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ
ปฏิเสวติ   ยาวเทว   อุปฺปนฺนานํ  เวยฺยาพาธิกานํ  เวทนานํ  ปฏิฆาตาย
อพฺยาปชฺฌปรมตาย   ฯ....

....
 {๑๔}  [๒๓]    อาสวะที่ต้องละด้วยการใช้สอย    เป็นอย่างไร
            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยจีวรเพียงเพื่อป้องกัน
ความหนาว    ความร้อน    เหลือบ    ยุง    ลม    แดด    และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอาย

 ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาตไม่ใช่เพื่อเล่น    ไม่ใช่เพื่อความ
มัวเมา    ไม่ใช่เพื่อประดับ๑    ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๒    แต่เพียงเพื่อกายนี้ดำรงอยู่ได้    เพื่อให้
ชีวิตินทรีย์เป็นไป    เพื่อบำบัดความหิว    เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์    ด้วยคิดเห็นว่า
'โดยอุบายนี้    เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้    และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น    ความ
ดำรงอยู่แห่งชีวิต    ความไม่มีโทษ    และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา'    แล้วจึงบริโภค
อาหาร

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อป้องกันความหนาว
ความร้อน    เหลือบ    ยุง    ลม    แดด    และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน    เพียงเพื่อบรรเทา
อันตรายที่เกิดจากฤดู    และเพื่อความยินดีในการหลีกเร้น(สำหรับการภาวนา)

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๓    เพียงเพื่อบรรเทา
เวทนาที่เกิดจากอาพาธต่าง  ๆ    ที่เกิดขึ้นแล้ว    และเพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด ....

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์ใช้ในปัจจุบันล้วนมาจากพุทธวจนะ

บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์ใช้ในปัจจุบันล้วนมาจากพุทธวจนะ

มีคำกล่าวจากบางสำนัก ว่า มีแต่การสวดสรรเสริญ พระพุทธคุณ และ เป็นคำแต่งใหม่ไม่ใช่พุทธวจนะ วันนี้จึงได้นำบทสวด ชุดสวดพระปริตร มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ตัวอย่างนี้อาจมีส่วนช่วยเล็กๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน เข้าใจ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันทั้ง สงฆ์ และ ฆราวาส
พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
ขุทฺทกปาเฐ รตนสุตฺตํ
           [๗] ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
               ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ฯ
               สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ
               อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ
              ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ
               เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ
               ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ
               ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ
......
 พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ขุททกปาฐะ  ๖.  รตนสูตร
  
                  ๖. รตนสูตร ๑
                  ว่าด้วยรตนะอันประณีต
            (พระผู้มีพระภาคตรัสรตนสูตรดังนี้)
                   {๗} [๑]                ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น๒
                                    หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ๓    ที่มาประชุมกันอยู่    ณ    ที่นี้
                                    ขอให้ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี    และจงฟังภาษิตโดยเคารพเถิด
         [๒]                เพราะฉะนั้นแล    ภูตทั้งปวง    ท่านจงใคร่ครวญ
                                    จงแผ่เมตตาต่อหมู่มนุษย์ด้วยเถิด
                                    มนุษย์เหล่าใดนำเครื่องเซ่นสรวงมาให้
                                    ทั้งกลางวันและกลางคืน
                                    เพราะเหตุนั้น    ขอท่านทั้งหลายอย่าประมาท
                                    จงรักษามนุษย์เหล่านั้น
.......

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น แบ่งได้ออกเป็น ๔ หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
อ้างอิงจาก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 01
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ อานาปานสติสมาธิกถา



เริ่มต้นปฏิบัติ

คุณวิเศษ

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน...

หาสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน

มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ

ภิกษุนั้นย่อมมีสติ(ลม)หายใจ เข้า มีสติ(ลม)หายใจออก

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึก(รู้ชัด) ว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกยาว
๒. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกสั้น
๓. (พึงศึกษาว่า)เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย)หายใจออก
๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๕. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก
๖. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก
๗. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก
๘. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๙. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก
๑๐. (พึงศึกษาว่า) เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก
๑๑. (พึงศึกษาว่า)  เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก
๑๒. (พึงศึกษาว่า) เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑๓. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก
๑๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจออก
๑๕. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจออก
๑๖. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจออก

สรุปประโยชน์

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

กิเลสในตัวตน

กิเลสในตัวตน

ในความมีทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมีทรวดทรง
งาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ความมัวเมา ความประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี
ความอยากได้เกินประมาณความมักมาก ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน
การชอบตกแต่ง การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย  ความเมา
อาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดงนิมิต การพูดติเตียน
การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขาความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความ
สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอ
เขาผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เสมอเขา
สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ความถือตัว ความ
ดูหมิ่นผู้อื่น ความเย่อหยิ่ง ความดูหมิ่นตัวเอง ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ความสำคัญ
ว่ามีอัตตาตัวตน ความถือตัวผิด ความคิดถึงญาติความคิดถึงชนบท ความคิดไม่ตายตัว ความ
คิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง ความคิดเกี่ยวด้วย
ความไม่มีใครดูหมิ่น