การบันทึก รูปวิเคราะห์ ประโยคตัวอย่าง และ คำศัพท์ บาลี จากประโยคแบบฝึกหัดออนไลน์ ท่ามะโอ 1 May 2020
แบบฝึกหัดประจำวันที่ 1 May 2020
1. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต เป็นประโยคอะไร แปลอย่างไร
2. และ เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต โหติ เป็นประโยคอะไร แปลอย่างไร
เฉลย แบบฝึกหัดวันที่ 1 May 2020
1. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต. เป็นประโยคกัมมวาจก
พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า เทวมนุสฺเสหิ อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ปูชิโต บูชาแล้ว
2. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต โหติ. เป็นประโยคกัตฺตุวาจก (ครูบาอาจารย์มักนิยมพูดกันว่า ประโยคกัตนอกกรรมใน คือ โหติ บทนี้ เป็น กัตตุรูป ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ ส่วนเนื้อความมีลักษณะของประโยคกรรมตามข้อ 1)
พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า เทวมนุสฺเสหิ ปูชิโต เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาแล้ว โหติ ย่อมเป็น (แปลรวบด้วยอำนาจความที่เชื่อมโยงกัน)
เทวมนุสฺเสหิ อนภิหิตกัตตา ครับ
ต ปัจจัยนั้น หากลงหลังอกัมมกธาตุมักเป็นกัตตุรูป ถ้าลงหลัง สกัมมกธาตุมักเป็นกัมมรูป เช่น ลง ต ปัจจัย หลัง อกัมมกธาตุ เช่น ฐิโต ฐิตา ฐิตํ ยืนแล้ว อุปฺปนฺโน อุบัติแล้ว, เกิดขึ้นแล้ว ปริปุณฺโณ บริบูรณ์แล้ว, เต็มแล้ว อ่านทบทวนอยูเสมอ จนจำนำไปใช้เป็น
ลง ต หลังสกัมมกธาตุ เช่น ทินฺโน, ทินฺนา, ทินฺนํ อันเขา...ให้, ถวาย, กโต กตา กตํ อันเขา...ทำ, คหิโต คหิตา คหิตํ อันเขา...ถืออาเแล้ว, อุคฺคณฺหิโต อุคฺคณฺหิตา อุคฺคณฺหิตํ อันเขา...เรียนแล้ว คำว่า เขา เป็นเพียงตัวอย่างในการแปล ดังนั้นในประโยคจริงต้องแปลไปตามเนื้อหานั้นๆ เช่น มยา ธมฺโม อุคฺคณฺหิโต แปลว่า ธรรมอันเราเรียนแล้ว, ชเนหิ ปาฬิ อุคฺคณฺหิตา ภาษาบาลีอันเชนทั้งหลายเรียนแล้ว, อมฺเหหิ สิปฺปํ อุคฺคณฺหิตํ ศิลปะอันเราทั้งหลายเรียนแล้ว
นี้เป็นการฝึกแต่งประโยคสั้นๆ สะสมคำศัพท์แบบไม่ต้องท่องโดยการนำมาใช้บ่อยๆ นั่นเอง แม้เวลาอ่านพอเห็นปุ๊ปก็สามารถกำหนดได้ทันทีว่าเป็นประโยคอะไร มีความหมายว่าอย่างไร สำคัญต้องชัดเจนในเรื่องของความจำซึ่งจะทำให้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
ปริยนฺต แปลว่า ที่สุด, สุดท้าย ไม่ใช่ท่ามกลาง ,มชฺฌ ท่ามกลาง, อาทิ เบื้องต้น
อนภิหิตกัตตา 2 อย่าง (ใช้ในประโยคกรรม, เหตุกรรม)
1. อนภิหิตกัตตา คือบทที่ประกอบด้วยตติยาวิภัตติโดยครง,
เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต
2. ฉัฏฐีอนภิหิตกัตตา คือฉัฏฐีฉัฏฐีวิภัตติที่ลงในอรรถตติยากัตตา
เทวมนุุสฺสานํ พุทฺโธ ปูชิโต
เป็นตัวอย่างที่แต่งขึ้นเองแต่มีใช้แน่นอน
บทอนภิหิตกัตตาใช้เป็น เอกวจนะ หรือพหุวจะก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ