วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เรียน ภาษาบาลี วันละประโยค จากหนังสือ วิปัสสนาชุนี อารัมภบท ประโยคที่ ๓-๔

 ประโยคที่ - อารัมภบท

วิปสฺสนานยํ กสฺสํ สีฆํ มคฺคาทิปาปกํ

ทิฏฺเฐ ธมฺเมว สาธูนํ ยถาวุตฺตํ วิปสฺสตนฺติ.

ที่มาของคำศัพท์ตามไวยยากรณ์

วิปสฺสนานยํ => วิปสฺสนา+นย

วิปสฺสนา

๑ น.,อิต. วิปัสสนา อิต. แจกเหมือน กญฺญา เช่น ฉ.เอก. วิปสฺสนาย แห่งวิปัสสนา แต่ใน ธรรมบทภาค ๑ เรื่องโกสัมพี หน้า ๕๘ เป็นนปุ. วิปสฺสนํ อ. วิปัสสนา

๒ นาม อิตถี กลุ่ม กญฺญา ศัพท์เดิม วิปสฺสนา วิปัสสนา

ปฐมา เอก. อันว่าวิปัสสนา ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ปฐมา พหุ. อันว่าวิปัสสนา ทั้งหลาย ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

อาลปนะ พหุ. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ วิปัสสนา ทั้งหลาย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ วิปัสสนา ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

นย

(ขอจง )นำไป (จง )นำไป (ขอโปรดจง )นำไป

ความปรารถนา การสั่งบังคับให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การนิมนต์

กาลอันถูกกล่าวใกล้ ๆ

นีธาตุ + อปจจัย + ปญจมีวิภัตติ ปรัสบทอย่างเดียว เน

ปรัสบท เอก มัชฌิม

๒ การนำไป, นัย

(นิปุพฺพ + สิ เสวายํ ในการเสพ + ) (กัมมสาธนะ)

๓ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม นย นัย

อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ นัย คำการร้องเรียก

อาลปนะ

นยํ

นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม นย นัย

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ นัย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


กสฺส

๑ น.,ปุ. แก่ใคร, ของใคร ศัพท์เดิมเป็น กึ แปลง กึ เป็น ก อ การันต์ในปุงลิงค์ ลง ส จตุตถีวิภัตติ และฉัฏฐีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ แปลง ส เป็น สฺส สำเร็จรูปเป็น กสฺส

๒ น.ปุง. ใคร, อะไร, ไหน

กึสทฺทปทมาลา จตุต ฉัต เอก

๓ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม กสฺส แก่ใคร

อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ แก่ใคร คำการร้องเรียก

อาลปนะ

กสฺสํ

นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม กสฺส แก่ใคร

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ แก่ใคร กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


สีฆ

. . พลัน, เร็ว ปุ. แจกเหมือน ปุริส เช่น ต.เอก. สีเฆน (ชเวน) ด้วยฝีเท้า อันเร็ว

. (วิ.) คล่อง, พลัน, ฉับพลัน, เร็ว, ไว, ฉับไว, ว่องไว, ด่วน, เชี่ยว. วิ. เสติ ลหุํ หุตฺวา ปวตฺตตีติ สีฆํ. สิ คติยํ, โฆ, ทีโฆ. .

๓ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม สีฆ ว. เร็ว พลัน

อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ว. เร็ว พลัน คำการร้องเรียก

อาลปนะ

สีฆํ

นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม สีฆ ว. เร็ว พลัน

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ว. เร็ว พลัน กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม


มคฺคาทิปาปกํ

อันสามารถยังให้ถึงมรรคผลนิพพาน


ทิฏฺฐ

๑ ก. อัน…เห็นแล้ว ทิส ธาตุ ในความเห็น + ต ปัจจัย แปลง ต เป็น ฏฺ ลบ ส ที่สุดธาตุ ได้รูป เป็น ทิฏฺ

๒ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม ทิฏฺฐ ก. อัน_เห็นแล้ว

อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ก. อัน_เห็นแล้ว คำการร้องเรียก

อาลปนะ

(ปุ.) ความยินดี, ความพอใจล ความแช่มชื่น. ตุสฺ ตุฎฺยํ, โต. แปลง ต เป็น ฎฺ ลบ สฺ แปลง อุ เป็น อิ แปลง ตฺ เป็น ทฺ.

ทิฏฺเฐ

๑ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม ทิฏฺฐ ก. อัน_เห็นแล้ว

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ก. อัน_เห็นแล้ว ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

สัตตมี เอก. ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ, เหนือ, บน ก. อัน_เห็นแล้ว สถานที่ทำ

พยาปิกาธาระ สมีปาธาระ อาธาระ ลักขณะ เหตวัตถะ อุปสิเลสิกาธาระ อุปสิเลสิกาธาระ

๒ นาม อิตถี กลุ่ม กญฺญา ศัพท์เดิม ทิฏฺฐา ก. อัน_เห็นแล้ว

อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ก. อัน_เห็นแล้ว คำการร้องเรียก

อาลปนะ


ธมฺเมว

ธรรมมะ_นั่นเทียว

ธมฺเม+เอว


สาธูนํ

แก่สาธุชน


ยถาวุตฺตํ

ซึ่งประการทั้งปวงที่ได้กล่าวแล้ว

ยถา+วุตฺต


วิปสฺสตนฺติ

วิปสฺสตํ+อิติ ว่า..ผู้เพ่ง..ดังนี้

หลักสนธิ ๔ ข้อ เรื่อง อิติ ศัพท์

. นิคหิต + อิติ ถ้าบทหน้า ท้ายศัพท์เป็นนิคหิต ให้ลบสระ อิ ข้างหลัง แล้วแปลงนิคหิต เป็นวัคคันตะ นฺ

วิปสฺสตนฺติ


แปลยกศัพท์ โดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ตามหนังสือ

กสฺสํ จัก รจนา วิปสฺสนานยํ ซึ่งคัมภีร์อันมีนามว่า วิปัสสนาชุนี (วิปัสสนานัย หลักการวิปัสสนา) มคฺคาทิปาปกํ อันสามารถยังให้ถึงมรรคผลนิพพาน สีฆํ ได้อย่างรวดเร็ว ทิฏฺเฐ ธมฺ+เอว ในอัตภาพปัจจุบันนี้นั่นเทียว สาธูนํ แก่สาธุชน วิปสฺสตผู้เพ่งเพียร ยถาวุตฺตํ ตามนัยที่จะกล่าวในคัมภีร์นี้


ในประโยคเดียวกันได้มี พระอาจารย์ พระคันธสาราภิวงศ์ ในขณะที่ท่านได้ จำพรรษาอยู่ที่ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง ในหนังสือ วิปัสสนานัย เล่มที่ ๑ ได้แปลไว้ได้อย่างงดงามเช่นกัน (ไม่ได้แปลยกศัพท์ไว้) ว่า ดังนี้

อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม อโห สํโฆ อนุตฺตโร

อิติ จิตฺตํ ปหํเสตฺวา วิปสฺสิตฺวา ตทา คเต.

วิปสฺสนานยํ กสฺสํ สีฆํ มคฺคาทิปาปกํ

ทิฏฺเฐ ธมฺเมว สาธูนํ ยถาวุตฺตํ วิปสฺสตนฺติ.


พระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดา ผู้สูงสุดน่าอัศจรรย์

พระธรรม เป็นคำสอนสูงสุด น่าอัศจรรย์

พระสงฆ์ พระอริยบุคคล ผู้สูงสุดน่าอัศจรรย์

ข้าพเจ้ากำหนดรู้จิต ที่เบิกบาน และ รูป ที่เกิดร่วมกับจิตในกาลนั้นแล้ว จักแต่ง คัมภีร์วิปัสสนานัย

ซึ่งยังสัตบุรุษ ผู้กำหนดรู้ตามนัย ที่กล่าวไว้ให้ บรรลุมรรคผล และ นิพพาน ในปัจจุบันชาติ โดยพลัน


จากตรงนี้ จึงจะเห็นได้ว่า เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นผู้ใหม่ในพระบาลี จึงได้นำหนังสือ วิปัสสนาชุนี ที่มีการแปลยกศัพท์ ประกอบกับ ตำราบาลีไวยากรณ์ จากวัดท่ามะโอ ต.วังเหนือ อ.เมือง จังหวัดลำปาง เทคนิคทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม ThaiNewGendictมาเป็นเอกสารอ้างอิง ในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เรียน ภาษาบาลี วันละประโยค จากหนังสือ วิปัสสนาชุนี อารัมภบท ประโยคที่ ๒

 ประโยคที่ อารัมภบท

อิติ จิตฺตํ ปหํเสตฺวา วิปสฺสิตฺวา ตทา คเต.

จิตฺตํ

นาม นปุง. กลุ่ม จิตฺต ศัพท์เดิม จิตฺต ใจ

ปฐมา เอก. อันว่าใจ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ใจ กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

๒ จิต, สภาพที่รู้อารมณ์ (จินฺต + )

ปหํเสตฺวา+หส ธาตุ ร่าเริง +เณ+ตฺวา ให้ร่าเริง ให้เบิกบาน

อิติ เป็น นิ. ว่า_ดังนี้, คือ, เพราะเหตุนั้น, ด้วยประการ ฉะนี้, ดังนี้แล เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ แปลว่า ว่า_ดังนี้

วิปสฺสิตฺวา จักเพ่งกำหนด

ตทา อัพ. ในกาลนั้น, . กาลนั้น มาจาก ต ศัพท์ ลง ทา ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น ตทา

คเต

นาม นปุง. กลุ่ม จิตฺต ศัพท์เดิม คต ไปแล้ว

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ไปแล้ว ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

สัตตมี เอก. ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ, เหนือ, บน ไปแล้ว สถานที่ทำ

พยาปิกาธาระ สมีปาธาระ อาธาระ ลักขณะ เหตวัตถะ อุปสิเลสิกาธาระ อุปสิเลสิกาธาระ

แปล ประโยคที่ ๒ อารัมภบท

(อหํ - เมื่อข้าพเจ้า) จิตฺตํ - ยังจิต ปหํเสตฺวา – ให้เบิกบาน อิติ - ด้วยพระคุณของพระไตรรัตน์สุดอัศจรรย์เห็นปานนี้แล้ว (เข้าใจว่า ยกบทสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม และ พระ สงฆ์ เข้ามาแปลด้วย) วิปสฺสิตฺวา จักเพ่งกำหนด ตทา คเต – ซึ่งสภาวะธรรม (กล่าวคือจิต และ รูป) ที่กำลังดำเนิน(เป็นอยู่)ในขณะนั้น



วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เรียน ภาษาบาลี วันละประโยค จากหนังสือ วิปัสสนาชุนี ตอน อารัมภบท บรรทัดที่ ๑

ภาษาบาลี จากหนังสือ วิปัสนาชุนี ตอน อารัมภบท บรรทัดที่ ๑

เกริ่นนำ

เนื่องจาก ข้าพเจ้าเอง มีเวลาค่อนข้างน้อย ด้วยกิจการงาน ประกอบกับ ได้ทำโปรแกรม ดิกชันนารี บารี ThaiNewGenDict แจก ในเวลาก่อนหน้า ซึ่ง เหมาะแก่การใช้เรียนรู้คำศัพท์ บาลี เพื่อให้รวดเร็ว แก่การเรียนรู้ และ ปฏิบัติ ซึ่ง การเรียนบาลี ของตัวข้าเจ้าเอง ไม่ได้ต้องการเพื่อ เป็นนักภาษาศาสตร์ หรือ สอบเอาวุฒิอะไร เพียงแต่ จากประสบการณ์ ที่ได้ทำโปรแกรม ThaiTipitaka แจกฟรี และ ศึกษาพระไตรปิฎก ภาษาไทย พบว่ามีคำทับศัพท์ค่อนข้างมาก จึงพยายาม หา กลอุบาย เพื่อให้ตัวเอง ไม่ต้องห่างจากภาษาบาลี และ การศึกษาธรรม ในขณะที่ยังสามารถทำงานได้แบบไม่บกพร่อง แล้วนำความรู้มาใช้เพื่อการปฏิบัติต่อไป
ดังนั้น เมื่อมาพบ หนังสือ วิปัสสนาชุนี ที่ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา ได้มีการแปลยก ศัพท์ ไว้ดีแล้ว ง่ายแก่การนำมาศึกษาเพิ่มเติม ควบคู่กับโปรแกรม ThaiNewGenDict ก็มีโอกาส ที่ข้าพเอง จะสามารถ เรียนรู้บาลี ได้เร็วขึ้น ใช้เนื้อหาในหนังสือเป็นแรงจูงใจ ในการ เรียนบาลี แบบพร้อมใช้ จึงได้จัดทำรวมไว้ ใน Blog นี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทาง ให้ผู้ศึกษาใหม่ ได้ใช้วิธีการ และ แนวคิดนี้ไปใช้ ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นประโยชน์มาก สำหรับทุกท่าน

ผู้รจนา(แต่ง)คัมภีร์วิปัสสนาชุนี

มหาสีสยาดอ มีฉายาว่าโสภณมหาเถระ
เกิดวันศุกร์แรม 3 ค่ำเดือน 8 พ.ศ 2437 ณหมู่บ้านชิดคุณหยั่ว อำเภอเฉว่โผ่ จังหวัดสกาย ประเทศพม่า




ผู้แปล และ เรียบเรียง

ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา



วิปัสนาชุนี ตอน อารัมภบท บรรทัดที่ ๑

อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม    อโห สํโฆ อนุตฺตโร

อโห แปลว่า นิ. โอ เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ [ธ. ๓: วิฑูฑภวตฺถุ หน้า ๕]
พุทฺธ ธมฺม สํฆ และ อนุตฺตร ล้วนเป็น อะ การันต์ ทำตัวรูป แบบ ปุริส ดังนั้น

พุทฺโธ ธมฺโม สํโฆ อนุตฺตโร ล้วนเป็น ปฐมา วิภัตติ เอก. วจนะ
โดย อนุตฺตโร เป็น วิเสสนะ แปลว่า ยอดเยี่ยม

ดังนั้น ถ้าแปลแบบย่อๆ (แบบข้าพเจ้าเอง) อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม    อโห สํโฆ อนุตฺตโร
อันว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า โอ! ช่างวิเศษเยี่ยมยอดจริงหนอ

ในขณะที่ท่านอาจารย์ จำรูญ ซึ่งท่านมีความรู้ และ นัยยะ ของภาษา ได้ดีกว่าข้าพเจ้า มากมายนัก ได้แปลไว้ในหนังสือ ได้อย่างไพเราะว่า
พุทฺโธ - พระพุทธ อโห อนุตฺตโร ช่างทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดไม่มีผู้ใดอื่นยิ่งกว่า
ธมฺโม - พระธรรม อโห อนุตฺตโร ช่างเป็นสิ่งล้ำค่าสูงสุด ไม่มีสิ่งอื่นใดยื่งกว่า
สํโฆ - พระสงฆ์ อโห อนุตฺตโร ช่างเป็นผู้ล้ำเลิศ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นอนไม่หลับทำไงดี สารพัดวิธีแก้อาการนอนไม่หลับ โดยใช้ ธรรมมะ และ Monitor คุณภาพการนอนโดยใช้ Smartwatch

เอาชนะ อาการนอนไม่หลับ

โดยใช้ ธรรมมะ และ Monitor คุณภาพการนอนโดยใช้ Smartwatch

นอนไม่หลับทำไงดี ง่วงแต่นอนไม่หลับ เครียดนอนไม่หลับ วิธีทำให้นอนหลับ



วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การหลับลึก แบบมีคุณภาพ เป็นอย่างไร หรือ อาจกล่าวได้ว่า Best Sleep Qualities เป็นอย่างไร

Best Sleep Qualities เป็นอย่างไร

ครั้งก่อน พูดถึงเรื่อง Smart Watch ที่ปกติ ข้าเจ้าเป็นคนนอนน้อย เลยเจอ การนอนแค่ 2 ระดับ Good and Poor 😆😆😆
เมื่อวานกลับจาก การเดินทางไกล ข้ามจังหวัด เลยหลับค่อนข้างยาวหน่อย เลย ได้ คุณภาพ การนอน เป็น Best Qualities
Best Sleep Qualities มีเงื่อนไข อยู่ว่า นอนรวมกันแล้ว เกิน 8 ชม. ขึ้นไป หลับลึก มากกว่า 40% ของ การนอนปกติ หรือ Light Sleep 😘😘
ต่อจากครั้งที่แล้ว พระพุทธองค์ ได้มีพระดำรัสถึง ผู้เจริญเมตตา จะทำให้หลับสนิท ไม่ฝันร้าย
ครั้งนี้ พบพระสูตร เพิ่มเติมอีกว่า ถ้าหลับเพลิน แต่ขาดสติ ก็มีผลเสียได้เช่น กัน ดังนั้น เราควรหมั่นเจริญสติก่อน นอนหลับควบคุ่กันไปด้วย ดังพุทธพจน์ ที่ว่า😇😇😇
...นอนหลับคุมสติ มีคุณ ๕ ประการ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ ๕ ประการนี้ คือ
หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการ นี้แล....😇😇😇
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 05
พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ
ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
ข้อที่ 156





วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

ชีวิตคือการเตรียมพร้อม คำสอน เกี่ยวกับครอบครัว การอยู่ร่วมกัน ทำให้รวย

ชีวิตคือการเตรียมพร้อม 🥰🥰🥰

หลากหลายคำถาม 😁😁 พี่ทำอุปกรณ์ Hitech น่าจะรวย 😁😁😁
เคยมีแวปหนึ่ง คิดว่า เราเกิดผิดประเทศ ?
ภาษาบาลี มีคำหนึ่ง ใน มงคล 38 ประการ ปฏิรูปเทสวาโส แปลว่า อยู่ในประเทศ ที่เหมาะสม ประเทศที่ดี แล้วประเทศไหนล่ะ 😄😄😄
ประเทศที่ดี เป็นอย่างไร ในอดีตทางตะวันตก นักวิทยาศาสตร์ เคยโดนกวาดล้าง โดยสำนักวาติกัน กว่าจะมาเป็นเทคโนโลยีในวันนี้ บ้างก็ว่า เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนา 😁😁😁
แล้วถ้าบอกว่า อดีตชาติ มีจริง ถ้าเราเคยอยู่ในยุคที่ นักวิทยาศาสตร์ โดนกวาดล้าง แล้ว อธิษฐานว่าขอเกิดในประเทศ ที่มีพระพุทธศาสนาเล่า 😁😁😁 ยากเกินคาดเดา ใช่ไหม ที่แน่ๆ เมืองไทย ปลูกอะไรกินก็ขึ้น 😃😃😃
ในพระพุทธศาสนา ได้มีคำสอนมากมาย เกี่ยวกับครอบครัว การอยู่ร่วมกัน และ ระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความเสื่อมแก่ทรัพย์ องค์ประกอบที่ทำให้รวย โดยชอบ
เช่่น
...ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่น
ประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ
ฝ่ายพลเรือน หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำได้...
...โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ
คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑
ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง..
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ข้อที่ 144

ลักษณะของ กลฺยาณมิตฺต ๗ ประการ (กัลยาณมิตร)
๑ ปิโย เป็นที่รัก
๒ ครุ เป็นครู ที่เคารพ
๓ ภาวนีโย ถูกทำให้เจริญ
๔ วตฺตา พูดเป็น อธิบายชี้แจงข้อสงสัยได้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
๕ วจน ขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (สามารถซักถามได้)
๖ พูดจาแถลงคำพูดที่ลึกซึ้งได้
๗ ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหายไม่เป็นประโยชน์

ประกอบการมีคู่ครอง

ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบำรุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์ สามีด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. จัดการงานดี
๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงดี
๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง
(สํ.ส.๑๕/๑๖๕)

ดังนั้น คำตอบเมื่อมีคนถามว่า ทำไม ทำ Hi-technology จึงยังไม่รวย ธรรมมะ อันเป็น อกาลิโก จากพระไตรปิฎก ตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดแจ้ง ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก ถึงแม้จะเขียนยาว แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้เข้าไปอยู่ในใจแล้ว มันสั้นนิดเดียว ขอ สรรพมงคลธรรม จงมีแด่ทุกท่านเจริญพร



วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564

Smart Watch เทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ และ การหลับลึก

Smart Watch เทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ และ การหลับลึก

เทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ในอดีต เครื่องใหญ่โต ไหง เป็น Smart Watch ตัวนิดเดียวไปได้
น่าจะเป็นโรงแรมนี้ ราวปี พศ.2538 😁😁
มีโอกาส ได้ไป เมือง บอสตัน USA คนเดียว พักที่โรงแรมนี้
วันนั้น ในอดีต ช่วงๆนี้แหละ ประเทศไทยยัง ไม่มี ถนนลอยฟ้า และ มุดดิน เหมือนในปัจจุบัน และ ทำให้เราสงสัยว่า ทำไมประเทศไทยถึงไม่ทำ ดูศิวิลัย เสียจริง สำหรับเราในยุคนั้น แพค มาม่า ต้มยำ กับ รสเป็ดพะโล้ ไป 2 แพค อร่อยมาก เพราะ ที่นั่นมีแต่อาหารจืดๆ มื้อเย็น บริษัทแม่ไม่ได้เลี้ยงข้าว กิน Steak ทุกเย็นกับข้าวผัด เฉลี่ย 13 เหรียญ ทุกวัน มะม่วงมัน ลูกละ ราว 40 (1USD = 25 บาท ตอนนั้น) บ้านเรา กิโลกรัมละ 25 บาท
เครื่องมือแพทย์ เป็นเครื่อง Electrolyte และ Blood Gas ซึ่งวัด Oxygen ในเลือดด้วย ปัจจุบัน เป็น Function นึงอยู่ใน Smart Watch 🤓🤨😄
หลักการ ของเครื่อง คือ เอาน้ำยาเข้าไปผสมกับ Blood และ Serum (เขียนภาษาอังกฤษ กันผู้จินตนาการสูงอาเจียน 😄😄) ทำให้เกิดการแตกตัวของสาร เป็นประจุไฟฟ้า ผ่านหัว Electrode ที่ความเร็วคงที่ สูตรคำนวณ คือ dQ/dt เป็น กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ผ่าน Current Amplifier นำมาผ่านตัวต้านทาน วัดเป็นค่าแรงดัน convert ออกมาเป็นความเข้มข้นของ สารนั้นๆ เป็น mMol/mL (มิลลิโมลต่อมิลลิลิตร ถ้าจำผิดขออภัย) 😄😄
ปัจจุบัน กลายเป็น Function หนึ่งใน Smart Watch โอ้ แม่เจ้า ตัวนิดเดียว และ ที่ชอบมาก คือ การประเมินว่า แต่ละวัน ของแต่ละคน ควรเดินเท่าไร และ การหลับลึก หลังจากใช้ทำให้รู้ว่า การดำเนินชีวิตเราปกติ การเดิน วิ่งของเราในกิจวัตรประจำวัน เพียงพอที่จะทำให้ร่างกาย เข็งแรงอยู่ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนัก แต่การหลับลึก ถือว่า เป็นบุญ ของแต่ละคนจริงๆ ไม่เท่ากัน ในขณะที่ ร่างกายต้องการ หลับลึก เพียง 1.30 ชม. ขึ้นไป ซึ่งไม่มาก สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานหนักมากๆ ควรมีการทำสมาธิ เป็นประจำ เพื่อ เพิ่ม เวลาในการหลับลึก เพราะ การพักผ่อนนอนหลับ เป็นผลพวงจากกาย และ จิต ที่เราได้ใช้งานตลอดทั้งวัน ดังพุทธพจน์ ที่กล่าว..
"..เมื่อเมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภ
สม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันร้าย ๑
เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑  เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑ เทพยดารักษา ๑ ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี
ศาตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑ จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าผุดผ่อง ๑ ไม่หลงทำกาละ ๑
เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมเกิดในพรหมโลก ๑ เมื่อเมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลเสพมา
แต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติ
สั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ นี้แล."

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 08
พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร ข้อที่ 1004