วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การตอบแทนคุณ บิดามารดา

ตอบแทนคุณ บิดา มารดา
๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน 
ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา 
ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา 
พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่าน 
ทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำ 
อย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ 
๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้ว 
แก่มารดาบิดาเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดง 
โลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธา 
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่
ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา 
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว 
และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ 

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ อะไร กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่
การเพ่งกษิณไฟได้มีมาแล้วตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดที่มีกษิณไฟเข็งกล้า สามารถบรรลุพระอรหันตผล หรือ พูดง่ายๆก็คือ กษิณไฟไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง ดังมีบันทึกในพระไตรปิฎกได้ดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 04
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา


 เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง

      [๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลอุรุเวลาแล้ว. ก็โดย
สมัยนั้นแล ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสป ๑ นทีกัสสป ๑ คยากัสสป ๑ อาศัยอยู่ในตำบล
อุรุเวลา. บรรดาชฎิล ๓ คนนั้น ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็น
หัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน. ชฎิลชื่อนทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็น
ผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๓๐๐ คน. ชฎิลชื่อคยากัสสป เป็นผู้นำ เป็น
ผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๒๐๐ คน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัสกะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกร
กัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
 อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      ภ. ลางที พญานาคจะไม่ทำให้เราลำบาก ดูกรกัสสป เอาเถิด ขอท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด.
      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง แล้วทรงปูหญ้า เครื่องลาด ประทับ
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่น
 ปาฏิหาริย์ที่ ๑
      [๓๘] ครั้งนั้น พญานาคนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปดังนั้น ครั้นแล้ว มี
ความขึ้งเคียดไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ
เราพึงครอบงำเดชของพญานาคนี้ด้วยเดชของตน ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
และเยื่อในกระดูก ดังนี้ แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว. พญานาค
นั้นทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเข้ากสิณสมาบัติมีเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ บันดาลไฟต้านทานไว้. เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้น โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลว
เพลิงดุจไฟลุกไหม้ทั่วไป. จึงชฎิลพวกนั้นพากันล้อมโรงบูชาเพลิง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา
พระมหาสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่. ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงครอบงำเดชของ
พญานาคนั้น ด้วยเดชของพระองค์ ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อใน
กระดูก ทรงขดพญานาคไว้ในบาตร โดยผ่านราตรีนั้น แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปด้วย
พระพุทธดำรัสว่า ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว
จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำเดช
ของพญานาคที่ดุร้าย  มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง ด้วยเดชของตนได้  แต่พระมหาสมณะ
นี้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.
  [๓๙] ที่แม่น้ำเนรัญชรา  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสป ว่าดังนี้:-
      ดูกรกัสสป  ถ้าท่านไม่หนักใจ  เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักวันหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ข้าพเจ้าหวังความสำราญจึงห้ามท่านว่า
ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย  มีฤทธิ์  เป็นอสรพิษ  มีพิษร้ายแรง  อย่าเลย  มันจะทำให้
ท่านลำบาก.
      ภ.  ลางที พญานาคนั้นจะไม่ทำให้เราลำบาก  ดูกรกัสสป  เอาเถิด  ท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      พระผู้มีพระภาคทรงทราบอุรุเวลกัสสปนั้นว่า อนุญาตให้แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ปราศจาก
ความกลัว  เสด็จเข้าไป.
      พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคผู้แสวงคุณความดี  เสด็จเข้าไปแล้ว  ไม่พอใจ  จึงบังหวน
ควันขึ้น.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัดเคือง  ทรงบังหวน
ควันขึ้นในที่นั้น.
      แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้  จึงพ่นไฟสู้.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์
ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น.
      เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้นแล้ว  โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง.  พวกชฎิลกล่าว
กันว่า ชาวเรา พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่.
      ครั้นราตรีผ่านไป  เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ.  แต่เปลวไฟสีต่างๆ  ของพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่.
      พระรัศมีสีต่างๆ  คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกาย
พระอังคีรส.
      พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว   ทรงแสดงแก่พราหมณ์ว่า  ดูกรกัสสป
นี่พญานาคของท่าน  เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว.
ครั้งนั้น  ชฎิลอุรุเวลกัสสป  เลื่อมใสยิ่งนัก  เพราะอิทธิปาฏิหารย์นี้ของพระผู้มีพระภาค
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่มหาสมณะ นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละ  ข้าพเจ้าจักบำรุงท่าน
ด้วยภัตตาหารประจำ....


วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ มาจากพระสูตรไหน

(หันทะ มะยัง อะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
ชะราธัมโมม๎หิ ชะรัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้;
พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้;
มะระณะธัมโมม๎หิ มะระณัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว,
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งหลายทั้งสิ้น ไม่ล่วงพ้นไปได้;
กัมมัสสะโกม๎หิ, (ญ. กัมมัสสะกาม๎หิ) เรามีกรรมเป็นสมบัติของตน;
กัมมะทายาโท, (ญ. กัมมะทายาทา) เราจะต้องได้รับมรดกของกรรมทุกอย่าง;
กัมมะโยนิ, เรามีกรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด;
กัมมะพันธุ, เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์;
กัมมะปะฏิสะระโณ, (ญ.กัมมะปะฏิสะระณา) เรามีกรรมเป็นที่พึ่ง;
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราจักกระทำกรรมใดไว้;
กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม;
ตัสสะ ทายาโท (ญ.ทายาทา) ภะวิสสามิ, เราจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป;
เอวัง อัมเหหิ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพัง, เราทั้งหลายควรพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้ ทุกวันๆ เถิด ฯ


พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

 ๑๐. ทัณฑวรรค
               หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์๑
               ๑. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
           {๒๐} [๑๒๙]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมหวาดกลัวความตาย
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า
               ๒. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
                    [๑๓๐]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมรักชีวิต๒
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

กรณียเมตฺตสุตฺตํ

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ

กะระณียะเมตตสุตตัง

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25 
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
ข้อที่๑๐

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ
    [๑๐] กรณียมตฺถกุสเลน           ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจุํ
สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ        สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ       อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ      อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ฯ
น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ     เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ ฯ
สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ     สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ          ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา
ทีฆา วา เย มหนฺตา วา     มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา
ทิฏฺฐา วา เย ๑ จ อทิฏฺฐา เย ๑ จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
ภูตา วา สมฺภเวสี วา       สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ        นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ ๒ กิญฺจิ
พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺญา       นาญฺญมญฺญสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ฯ
มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ        อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ          มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ        มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ        อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ
ติฏฺฐญฺจรํ นิสินฺโน วา        สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ
เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย         พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ๑ ฯ
ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม           สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
กาเมสุ วิเนยฺย ๒ เคธํ     น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ ฯ

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
  ๙. เมตตสูตร
                  ว่าด้วยการแผ่เมตตา
   {๑๐} (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า    ดังนี้)
[๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒
ควรบำเพ็ญกรณียกิจ๓ควรเป็นผู้อาจหาญ    ซื่อตรง
เคร่งครัด    ว่าง่าย    อ่อนโยน    และไม่เย่อหยิ่ง
[๒] ควรเป็นผู้สันโดษ    เลี้ยงง่าย    มีกิจน้อย๔
มีความประพฤติเบา๕    มีอินทรีย์สงบ    มีปัญญารักษาตน
ไม่คะนอง๖    ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย
[๓] อนึ่ง    ไม่ควรประพฤติความเสียหายใด  ๆ
ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำหนิเอาได้
(ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ว่า)
ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข
มีความเกษม    มีตนเป็นสุขเถิด
[๔] คือ    เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง๑
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว    ขนาดกายใหญ่    ขนาดกายปานกลาง
ขนาดกายเตี้ย    ขนาดกายผอม    หรือขนาดกายอ้วน
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๕] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี    เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี
เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกลก็ดี    ภูตหรือสัมภเวสี๒ก็ดี
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๖] ไม่ควรข่มเหง    ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความโกรธและความแค้น
[๗] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์
ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต    ฉะนั้น
[๘] อนึ่ง    ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ
กว้างขวาง    ไม่มีเวร    ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด
ทั้งชั้นบน๑    ชั้นล่าง๒    และชั้นกลาง๓
[๙] ผู้แผ่เมตตาจะยืน    เดิน    นั่ง    หรือนอน
ควรตั้งสติ๔นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง
นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า    พรหมวิหาร
[๑๐] อนึ่ง    ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถือทิฏฐิ๕
มีศีล    ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ๖
กำจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว
ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป
เมตตสูตร จบ
ขุททกปาฐะ จบ

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

อะเสวนาจะพาลานัง มงคลสูตร ๓๘ ประการ

ปฐมํ มงฺคลสุตฺตํ
                    ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ 
     [๕]   เอวมฺเม   สุตํ  ฯ  เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ 
เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ  อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา 
อภิกฺกนฺตาย     รตฺติยา     อภิกฺกนฺตวณฺณา     เกวลกปฺปํ     เชตวนํ 
โอภาเสตฺวา    เยน    ภควา   เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ 
อภิวาเทตฺวา   เอกมนฺตํ   อฏฺฐาสิ   เอกมนฺตํ  ฐิตา  โข  สา  เทวตา 
ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ 
     [๖] พหู เทวา มนุสฺสา จ        มงฺคลานิ อจินฺตยุํ
         อากงฺขมานา โสตฺถานํ       พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         อเสวนา จ พาลานํ         ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา 
         ปูชา จ ปูชนียานํ ๒        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ปฏิรูปเทสวาโส จ          ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
       อตฺตสมฺมาปณิธิ จ           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ         วินโย จ สุสิกฺขิโต 
         สุภาสิตา จ ยา วาจา       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ           ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห 
         อนากุลา จ กมฺมนฺตา        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ        ญาตกานญฺจ สงฺคโห 
         อนวชฺชานิ กมฺมานิ          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         อารตี วิรตี ปาปา          มชฺชปานา จ สญฺญโม 
         อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         คารโว จ นิวาโต จ        สนฺตุฏฺฐี จ กตญฺญุตา 
         กาเลน ธมฺมสฺสวนํ          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ขนฺตี จ โสวจสฺสตา         สมณานญฺจ ทสฺสนํ 
         กาเลน ธมฺมสากจฺฉา        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ        อริยสจฺจานทสฺสนํ 
         นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ         จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ 
         อโสกํ วิรชํ เขมํ           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ 
         เอตาทิสานิ กตฺวาน         สพฺพตฺถมปราชิตา๋ 
         สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ       ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ ฯ 

บาลีสยามรัฐ เล่มที่๒๕ ข้อที่ ๕-๖ 

๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก
ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย
ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้ว
ในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑
วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดา
บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑
นี้เป็นอุดมมงคลการงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความเคารพ ๑
ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ความกตัญญู ๑ การฟังธรรม
โดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคลความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การ
ได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑
นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น
อุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัย
ในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคล
ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ