วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์ใช้ในปัจจุบันล้วนมาจากพุทธวจนะ

บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์ใช้ในปัจจุบันล้วนมาจากพุทธวจนะ

มีคำกล่าวจากบางสำนัก ว่า มีแต่การสวดสรรเสริญ พระพุทธคุณ และ เป็นคำแต่งใหม่ไม่ใช่พุทธวจนะ วันนี้จึงได้นำบทสวด ชุดสวดพระปริตร มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ตัวอย่างนี้อาจมีส่วนช่วยเล็กๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน เข้าใจ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันทั้ง สงฆ์ และ ฆราวาส
พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
ขุทฺทกปาเฐ รตนสุตฺตํ
           [๗] ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ
               ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ฯ
               สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ
               อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ
              ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ
               เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ
               ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ
               ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ
......
 พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ขุททกปาฐะ  ๖.  รตนสูตร
  
                  ๖. รตนสูตร ๑
                  ว่าด้วยรตนะอันประณีต
            (พระผู้มีพระภาคตรัสรตนสูตรดังนี้)
                   {๗} [๑]                ภูตทั้งหลายผู้สิงสถิตอยู่บนภาคพื้น๒
                                    หรือผู้สิงสถิตอยู่ในอากาศ๓    ที่มาประชุมกันอยู่    ณ    ที่นี้
                                    ขอให้ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี    และจงฟังภาษิตโดยเคารพเถิด
         [๒]                เพราะฉะนั้นแล    ภูตทั้งปวง    ท่านจงใคร่ครวญ
                                    จงแผ่เมตตาต่อหมู่มนุษย์ด้วยเถิด
                                    มนุษย์เหล่าใดนำเครื่องเซ่นสรวงมาให้
                                    ทั้งกลางวันและกลางคืน
                                    เพราะเหตุนั้น    ขอท่านทั้งหลายอย่าประมาท
                                    จงรักษามนุษย์เหล่านั้น
.......

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น แบ่งได้ออกเป็น ๔ หมวด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
อ้างอิงจาก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 01
พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ อานาปานสติสมาธิกถา



เริ่มต้นปฏิบัติ

คุณวิเศษ

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน...

หาสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน

มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ

ภิกษุนั้นย่อมมีสติ(ลม)หายใจ เข้า มีสติ(ลม)หายใจออก

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึก(รู้ชัด) ว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกยาว
๒. (พึงศึกษาว่า)เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึก(รู้ชัด)ว่าหายใจออกสั้น
๓. (พึงศึกษาว่า)เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวง(รู้ทั่วกาย)หายใจออก
๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๕. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก
๖. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก
๗. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก
๘. (พึงศึกษาว่า) เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๙. (พึงศึกษาว่า) เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก
๑๐. (พึงศึกษาว่า) เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก
๑๑. (พึงศึกษาว่า)  เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก
๑๒. (พึงศึกษาว่า) เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑๓. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจออก
๑๔. (พึงศึกษาว่า) เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ(ความสิ้นกำหนัด)หายใจออก
๑๕. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ(ความดับ ทุกข์) หายใจออก
๑๖. (พึงศึกษาว่า)  เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน ไม่ยึดถือ)หายใจออก

สรุปประโยชน์

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

กิเลสในตัวตน

กิเลสในตัวตน

ในความมีทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมีทรวดทรง
งาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ความมัวเมา ความประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี
ความอยากได้เกินประมาณความมักมาก ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน
การชอบตกแต่ง การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย  ความเมา
อาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดงนิมิต การพูดติเตียน
การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขาความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความ
สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอ
เขาผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เสมอเขา
สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ความถือตัว ความ
ดูหมิ่นผู้อื่น ความเย่อหยิ่ง ความดูหมิ่นตัวเอง ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ความสำคัญ
ว่ามีอัตตาตัวตน ความถือตัวผิด ความคิดถึงญาติความคิดถึงชนบท ความคิดไม่ตายตัว ความ
คิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง ความคิดเกี่ยวด้วย
ความไม่มีใครดูหมิ่น

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ศีล 10 บาลี ไทย แปล

ศีล 10 เต็ม สำเนียงไทย (มหานิกาย ธรรมยุตินิกาย ปรับสำเนียง เล็กน้อย)
1. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากทำลายชีวิต
2. อทินนา ทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. อพรัหมะจริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
4. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากพูดเท็จ
5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6. วิกาละโภชนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเวลาตั้งแต่เลยเที่ยงขึ้นไปจนถึงขึ้นเช้าวันใหม่
7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี
8. มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฺฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ :  เว้นจากการประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
9. อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี
10. ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากการรับทองและเงิน

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

ความรู้สึกดีๆ เหมือนกับได้มาเจอ "ญาติผู้ใหญ่" ที่ไม่ได้พบกันเสียนานนม

ความรู้สึกดีๆ เหมือนกับได้มาเจอ "ญาติผู้ใหญ่" ที่ไม่ได้พบกันเสียนานนม

++++++
สุสิมะ ! แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น ดังนี้.
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕๑/๒๙๐.
++++++
พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับไม่ลง.
พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับได้.
ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ด้วยไม่มีการผูกเวร ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล.
-บาลี มหา. วิ. ๕/๓๑๒/๒๓๘.
++++++
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๕๔, ๒๕๖/๒๖๗, ๒๖๙.

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา

วัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติ
การจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน.
คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยว
จาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์
อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า
ก็ยังทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้ เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วันหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา
วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วง
ไปแล้ววันหนึ่ง พึงเข้าพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือนหนึ่ง
พึงเข้าพรรษาหลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล.

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ชีวิตเปรียบดังเม็ดฝน

พระพุทธเจ้าได้เปรียบเปรย ฝนตกหนัก ก็ไม่ต่างกับชีวิต อย่างไร ?
" ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด 
 ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์ มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ "