วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำตัวรูป กลุ่มนามปุริส

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำตัวรูป กลุ่มนามปุริส

เพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

คำอธิบายเพิ่มเติมจากในวีดีโอ

หลักการ ทำตัวรูปจากศัพท์เดิม โดยใช้สูตรคอมพิวเตอร์ให้เป็น บท (คำเชื่อม และ ความหมาย)
กลุ่มนี้คือ ศัพท์เดิม ที่เป็น นาม ปุงลิงค์ อะ การันต์ (ลงท้ายด้วย อะ และ ทำตัวรูปเหมือน ปุริส)
มีทั้งหมด ๑๑๕ คำ (ถ้าจะให้รู้ความหมายได้รวดเร็วต้องท่องอย่างหนัก หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจำ)
หลังประกอบวิภัตติ แล้ว กลุ่มปุริส จะได้ บท (ศัพท์ที่ประกอบวิภัตติ แล้ว จำนวน ๒๓ คำ)
3,565
แต่ปัญหาคือ ในแต่ละ ศัพท์เดิม ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะ จึงไม่ได้ใช้หมดทุกบท หรือ ไม่ได้ใช้ทุกวิภัตตินั่นเอง
ไม่เชื่อ ลองดู

คำถาม ทำไมในพระไตรปิฎก มีไม่ครบตามที่เรียน คำตอบ ที่พอจะเทียบเคียงกันได้คือ
เหมือนภาษาอังกฤษ ถ้าเราจะอ่านหนังสือ คอมพิวเตอร์ คำถามคือ หนังสือ คอมพิวเตอร์ ก็มีคำศัพท์ ภาษาอังกฤษไม่ครบเช่นกัน
จะเห็นได้จาก มีตำราเรียน ภาษาอังกฤษ เพื่อจุดประสงค์แตกต่างกันไป

คำถามต่อมาคือ ตำราโบราณ เรามาใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวรูปจะเหมือนกันหรือ ไม่ คำตอบคือ เหมือน เพราะ
สรุป อักษร ออกเสียงเองไม่ได้ ต้องอาศัยสระ โดยมีฐานกรณ์ เป็นตัวกำหนด การออกเสียงเพื่อให้เป็นสากล เหมือนกันทั่วโลก
ก่อนอื่น ตำราทำตัวรูป ครูบาอาจารย์ บอกมาว่า เป็นการทำมาจากตำราไวยยากรณ์ สันสกฤษ

ลองมาทำตัวรูปกัน 
ทำโดยคอมพิวเตอร์ ลด จาก ๒ สูตร กัจจายน เหลือ สูตรเดียว
อะ ในภาษาบาลี ไม่ปรากฎ รูปให้เห็น จึงเป็นที่มาให้ ไม่ต้องใช้สูตร ปุพฺพมโธฐิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย
และ สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
จึงนำมาประกอบได้เลย
ปุริสา จะสังเกตุได้ว่า คอมพิวเตอร์ เหลือสูตรเดียว
สูตรคอมพิวเตอร์ ใช้สูตรเดียวกันทุกวิภัตติ ต่างกันเพียงแค่ สระประกอบตัวสุดท้าย ของศัพท์
ในที่นี้ ปุริส คือ ส
สระวิภัติ
ถ้าเป็น โอ และ เอ เอามาไว้หน้า ส
อักษรต่อท้าย
เอา อักษรต่อท้าย มาต่อหลังจาก ส เช่น 

ขั้นตอนต่อไป คือ copy คำแปล ของบท ไปใส่ในโปรแกรม ดิกชันนารี
ลองเปลี่ยนดู เนื่องจาก ผู้แนะนำได้ทำไปหลายคำแล้วจึง ขอ ข้ามไปต่อเลย

เนื่องจากโปรแกรมนี้ ได้ถูกจัดคำแปล เป็นรูปแบบเรียบร้อยแล้วเพื่อความรวมเร็วในการกรอกข้อมูล และ เป็นระเบียบ
สอดคล้องกับไวยากรณ์
จึงขอลองทำให้ดูเลย

พอทำหลายๆคำศัพท์ จะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นต้องท่องก็จะจำได้ การ copy ก็จะเร็วขึ้น และที่สำคัญ
พุทธพจน์ ผิดไม่ได้ การทำให้เป็นรูปแบบดังที่แสดงนี้ จะช่วยลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลได้แน่นอน

ที่ Download โปรแกรม ตามดูเลย

good night นมัสการลา ภิกษุ สามเณร ทุกรูป ขออภัย ไม่สะดวกใช้เสียง




วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ทำงานเพราะอะไร ในแบบพุทธ

ทำงานเพราะอะไร ในแบบพุทธ (พุทธเศรษฐศาสตร์)

ในขณะที่มนุษย์ ถูกบีบคั้นด้วยระบบทุนนิยม จนทำให้บุคคลในสังคมเกิดความเครียดจนลุกลามเป็นความขัดแย้งในระดับมหภาค(โลก) ดังนั้น เราจะใช้แง่มุมใดในพระพุทธศาสนา เพื่อพิจารณา สามารถติดตามได้จาก วีดีโอ ด้านล่างนี้
หมายเหตุ กรณีที่วีดีโอ อาจไม่สามารถแสดงได้ในเพจ ผู้ติดตามสามารถตาม Link ด้านล่างเข้าไปดูได้

ตอนที่๑


ตอนที่ ๒


วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

โปรแกรม ThaiNewGenDict Version 2.1.0.0

โปรแกรม ThaiNewGenDict Version 2.1.0.0

Link เพื่อ Download ThaiNewGenDict Version 2.1.0.0


คุณสมบัติ

  • โปรแกรมหนังสือ ThaiNewGenDict นอกจากจะมีคำศัพท์จาก พระไตรปิฎกบาลี-สยามรัฐ (ที่ไม่ซ้ำกัน) หมดทุกคำแล้ว (แม้คำแปลยังไม่ครบ แต่ก็ถือว่ามีคำศัพท์บาลี มากที่สุดในประเทศไทย) ประโยคในห้อง ไลน์ ที่ถูกบันทึกไว้ ปัจจุบันสามารถที่จะถูกนำมา Copy เข้าไปในโปรแกรม word Document เพื่อจัดทำหนังสือได้แล้ว

  • ก้าวหน้าถึงขั้นสูงสุดประโยคไลน์ที่ถูกบันทึกไว้สามารถนำมา บันทึกไว้ในรูปแบบ html ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ออกทางเวปไซท์ ได้ทันทีครับ


ขั้นตอนการติดตั้ง

  • UnZip File (คงชื่อ Folder ไว้เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์) เก็บไว้ใน Drive ใดก็ได้

  • ติดตั้ง Font ของโปรแกรม ใน Folder Font ลง Windows

  • ใช้งานได้โดยการ Double Click ที่โปรแกรม หรือ อาจสร้าง Shot cut ไว้บน DeskTop เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้


วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ประกาศปรับปรุงระบบ รายงานประโยคบาลี ให้สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรม เวิร์ดได้

ประกาศปรับปรุงระบบ รายงานประโยคบาลี ให้สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรม เวิร์ดได้

วิญญาปนํ: โปรแกรมหนังสือ ThaiNewGenDict นอกจากจะมีคำศัพท์จาก พระไตรปิฎกบาลี-สยามรัฐ (ที่ไม่ซ้ำกัน) หมดทุกคำแล้ว (แม้คำแปลยังไม่ครบ แต่ก็ถือว่ามีคำศัพท์บาลี มากที่สุดในประเทศไทย) (happy) ประโยคในห้อง ไลน์ ที่ถูกบันทึกไว้ ปัจจุบันสามารถที่จะถูกนำมา Copy เข้าไปในโปรแกรม word Document เพื่อจัดทำหนังสือได้แล้ว (ขอเวลาทดสอบปรับปรุงจุดบกพร่องอีกเล็กน้อย ก็จะสมารถ ปล่อยให้ Download เพื่อใช้งานกันได้ฟรีๆ) (happy)


วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ธรรมการกล่าววาจาสำหรับนักปกครอง (เพิ่มเติมจากหมวดพรหมวิหาร ๔)

ธรรมการกล่าววาจาสำหรับนักปกครอง

ที่มา

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
ยถาภตอวรรณสูตร

พระบาลี

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

[๒๓๖]   ปญฺจหิ  ภิกฺขเว  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  อาวาสิโก  ภิกฺขุ
ยถาภตํ    นิกฺขิตฺโต    เอวํ    นิรเย    กตเมหิ   ปญฺจหิ   อนนุวิจฺจ
อปริโยคาเหตฺวา      อวณฺณารหสฺส     วณฺณํ     ภาสติ     อนนุวิจฺจ
อปริโยคาเหตฺวา  วณฺณารหสฺส  อวณฺณํ  ภาสติ  อนนุวิจฺจ อปริโยคาเหตฺวา
อปฺปสาทนีเย   ฐาเน   ปสาทํ   อุปทํเสติ   อนนุวิจฺจ  อปริโยคาเหตฺวา
ปสาทนีเย   ฐาเน   อปฺปสาทํ   อุปทํเสติ   สทฺธาเทยฺยํ  วินิปาเตติ  ฯ
อิเมหิ   โข   ภิกฺขเว   ปญฺจหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต  อาวาสิโก  ภิกฺขุ
ยถาภตํ  นิกฺขิตฺโต  เอวํ  นิรเย  ฯ  ปญฺจหิ  ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
อาวาสิโก   ภิกฺขุ   ยถาภตํ   นิกฺขิตฺโต   เอวํ  สคฺเค  กตเมหิ  ปญฺจหิ
อนุวิจฺจ    ปริโยคาเหตฺวา    อวณฺณารหสฺส   อวณฺณํ   ภาสติ   อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา      วณฺณารหสฺส      วณฺณํ      ภาสติ      อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา   อปฺปสาทนีเย   ฐาเน   อปฺปสาทํ   อุปทํเสติ  อนุวิจฺจ
ปริโยคาเหตฺวา   ปสาทนีเย   ฐาเน   ปสาทํ   อุปทํเสติ   สทฺธาเทยฺยํI
น   วินิปาเตติ   อิเมหิ   โข   ภิกฺขเว   ปญฺจหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต
อาวาสิโก ภิกฺขุ ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต เอวํ สคฺเคติ ฯ

สรุปเรียบเรียงเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย

[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูก
นำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน...

  1. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้ควรตำหนิ
  2. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
  3. ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
  4. ไม่ใคร่ครวญ ไม่ พิจารณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
  5. ย่อมยังศรัทธา ให้ตกไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน

  1. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
  2. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
  3. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
  4. ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏ ในที่อันควรเลื่อมใส
  5. ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป



วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ทำตัวรูปคำกริยากิต นามกิตบาลี 16 ตุลาคม 2562

ทำตัวรูปคำกริยากิต นามกิตบาลี 16 ตุลาคม 2562

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ กิต อาขยาต  ทำตัวรูปคำกริยา นาม กิตบาลี วิภัตติ วาจก ธาตุ แบบสัมพันธ์ 16 ตุลาคม 2562 โดยท่านอาจารย์ อุดม เขมานันท์ ละออ
(โปรดใช้หูฟัง)
เรียน ภาษา บาลี เพื่อให้ แปล บาลี เป็น ไทย ได้ เทคนิค วิธี การ แปล บาลี
บาลีอาขยาต, บาลีใหญ่ท่ามะโอ, บาลีเรียนสบาย, ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม นามาขยาต ปทรูปสิทธิบาลี กัจจายนสุตตปาฐะ เพื่อให้อ่านบทสวดมนต์บาลีได้

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา นาม กิต บาลีใหญ่ท่ามะโอ 16 ตุลาคม 2562 ตอนที่ 1


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา นาม กิต บาลีใหญ่ท่ามะโอ 16 ตุลาคม 2562 ตอนที่ 2


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา นาม กิต บาลีใหญ่ท่ามะโอ 16 ตุลาคม 2562 ตอนที่ 3



วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เครื่องมือป้อนคำศัพท์กลุ่มนาม แบบสมบูรณ์ คำแปลตามหลักบาลีใหญ่

เครื่องมือป้อนคำศัพท์กลุ่มนาม แบบสมบูรณ์ คำแปลตามหลักบาลีใหญ่ (ยิ่งกว่าพิศดาร)

เป็นการผสมผสาน คำแปล แบบโบราณ ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่

อาจารย์ผู้ให้ความรู้ความรู้ ตำหรับตำรา และ แนวคิด ตามแนวบาลีใหญ่ สำนักท่ามะโอ

  • เซยาดอ นันทะ สิริ
  • พระอาจารย์  (ธิติพงศ์) อุตฺตมปญฺโญ
  • พระมหาสมปอง มุทิโต
  • ท่านอาจารย์บุญถนอม นพโสภณ
  • ท่านอาจารย์ เขมานันท์ ละออ
  • ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา
  • ฯลฯ

คุณสมบัติ

  • ทำตัวรูปในกลุ่มวิภัตติ เดียวกัน ในเวลาไม่ถึง 10 วินาที พร้อมคำแปล
  • copy คำแปล เพื่อบันทึก ในโปรแกรม ThaiNewGenDict ตามหลักบาลีใหญ่ รู้ทั้งความหมายและคำแปล ภายในไม่เกิน ๑ นาที ต่อ หนึ่งคำศัพท์ (๑ บท)
  • ทำให้การค้นหาความหมายภายหลัง รวดเร็วขึ้น (ปัจจับัน ๑๕ ตค. ๒๕๖๒) สะสม ศัพท์เดิม พร้อมทำตัวรูปบันทึก มากกว่า ๓๐๐ ศัพท์ โดยประมาณ ใน กลุ่มนาม เฉลีย ๒๕ บท ต่อหนึ่งคำศัพท์เดิม ดังนั้น ได้คำศัพท์ที่สำเร็จรูปแล้วกว่า ๗,๕๐๐ ศัพท์ โดยประมาณ
  • โปรแกรม ThaiNewGenDict Version ล่าสุดได้ดึงคำศัพท์ทุกคำ มากว่า ๑๗๐,๐๐๐ คำศัพท์(บท) จากพระไตรปิฎก บาลี สยามรัฐ (ที่อยู่ใน ThaiTipitaka) มาทั้งหมดแล้ว (ถือได้ว่าเป็นดิกชันนารี ดิจิตอล ที่มีคำศัพท์ มากที่สุดในประเทศไทย ถึงแม้ คำแปลยังไม่ครบทุกคำก็ตาม)
  • มีส่วนสามารถบันทึกประโยค บาลีตัวอย่างจาก กลุ่มไลน์ พุทฺธภาสาสมิติ
  • ป้องกันการผิดพลาดจากการบันทึกคำแปล
  • รอทุกท่านพิสูจน์ เรียนรู้การใช้งาน ได้ด้วยตัวเอง