วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

การดับสูญของพระสัทธรรม พระพุทธองค์ ตรัสไว้มีสาเหตุมาจากอะไร

ป้องกันการดับสูญพระสัทธรรม ด้วยการเรียนรู้พระบาลี

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
ข้อที่ 266

ทฺวเม   ภิกฺขเว  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย
อนฺตรธานาย    สํวตฺตนฺติ    กตเม   เทฺว   ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ   ปทพฺยญฺชนํ
อตฺโถ   จ   ทุนฺนีโต   ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส   ภิกฺขเว   ปทพฺยญฺชนสฺส  อตฺโถปิ
ทุนฺนโย  โหติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว  เทฺว  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย
อนฺตรธานาย   สํวตฺตนฺติ   ฯ   เทฺวเม   ภิกฺขเว   ธมฺมา   สทฺธมฺมสฺส
ฐิติยา    อสมฺโมสาย    อนนฺตรธานาย    สํวตฺตนฺติ    กตเม    เทฺว
สุนิกฺขิตฺตญฺจ   ปทพฺยญฺชนํ   อตฺโถ   จ   สุนีโต   สุนิกฺขิตฺตสฺส   ภิกฺขเว
ปทพฺยญฺชนสฺส   อตฺโถปิ  สุนโย  โหติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว  เทฺว  ธมฺมา
สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺตีติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหาย
แห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑อรรถที่นำมาไม่ดี ๑
แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะ
ที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พระพักตร์ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง และ พุทธลักษณะ 32 ประการ

ที่มาของรูปภาพ

รูปภาพที่เชื่อกันว่า เป็นภาพถ่ายที่มีคนไปถ่ายรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา แล้วมีภาพพระพุทธเจ้าติดมาในฟิล์ม บ้างก็เชื่อว่า เป็นภาพที่วาดโดยโอรสของรัชกาลที่ ๕ บ้างก็เชื่อว่า เป็นภาพวาดของจิตรกรชาวฝรั่งเศส


ความจริงแล้วรูปต้นฉบับนั้นเป็นภาพวาดที่วาดโดย ใช้สีน้ำมันบนผ้าใบขนาด กว้าง 290 ซม. ยาว 366 ซม. ของ Las tentaciones de Buda (The temptation of Buddha) 1916 - 1921

แหล่งข้อมูลบางแห่งแปลงภาพนี้ให้เป็นสีขาวดำ เพื่อให้ภาพดูเก่าและดูขลังขึ้น !


ภาพดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาสเปนว่า Las tentaciones de Buda (ตรงกับภาษาอังกฤษคือ The temptation of Buddha) วาดโดยจิตรกรชาวสเปน ที่ชื่อ Eduardo Chicharro  จิตรกรท่านนี้ได้รับแรงบันดาลใจในศาสนาตะวันออกจาก รพินทรนาถ ฐากูร ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นคนเอเชีย คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับใน สาขาวรรณกรรม

Artist Eduardo Chicharro 1873 - 1949

Eduardo Chicharro ได้วาดภาพนี้ขึ้นระหว่าง ปี พศ. 2459 – 2464 (ใช้เวลาวาดประมาณ 5-6 ปี) ปัจจุบันภาพนี้แขวนอยู่ที่ La Academia de Bellas Artes de San Fernando (The Academy of fined arts of St. Ferdinan) กรุงมาดริดประเทศสเปน

ที่มา https://th-th.facebook.com/notes/siriphong-pakaratsakun/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87/10153375704698423/

พระพุทธลักษณะ 32 ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหา
บุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะ ได้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้
๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาท
ประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ ฯ
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำ ข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็
มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ฯ
๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็น
กุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของ
พระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การตอบแทนคุณ บิดามารดา

ตอบแทนคุณ บิดา มารดา
๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน 
ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา 
ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา 
พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่าน 
ทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำ 
อย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ 
๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้ว 
แก่มารดาบิดาเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดง 
โลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธา 
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่
ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา 
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว 
และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ 

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ อะไร กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่

เตโช คือ การเพ่งกษิณไฟอย่างหนึ่ง กำจัดกิเลสได้จริงหรือไม่
การเพ่งกษิณไฟได้มีมาแล้วตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดที่มีกษิณไฟเข็งกล้า สามารถบรรลุพระอรหันตผล หรือ พูดง่ายๆก็คือ กษิณไฟไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง ดังมีบันทึกในพระไตรปิฎกได้ดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 04
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา


 เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง

      [๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลอุรุเวลาแล้ว. ก็โดย
สมัยนั้นแล ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสป ๑ นทีกัสสป ๑ คยากัสสป ๑ อาศัยอยู่ในตำบล
อุรุเวลา. บรรดาชฎิล ๓ คนนั้น ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็น
หัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน. ชฎิลชื่อนทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็น
ผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๓๐๐ คน. ชฎิลชื่อคยากัสสป เป็นผู้นำ เป็น
ผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๒๐๐ คน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัสกะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกร
กัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
 อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่าน
ไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย
มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.
      ภ. ลางที พญานาคจะไม่ทำให้เราลำบาก ดูกรกัสสป เอาเถิด ขอท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด.
      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง แล้วทรงปูหญ้า เครื่องลาด ประทับ
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่น
 ปาฏิหาริย์ที่ ๑
      [๓๘] ครั้งนั้น พญานาคนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปดังนั้น ครั้นแล้ว มี
ความขึ้งเคียดไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ
เราพึงครอบงำเดชของพญานาคนี้ด้วยเดชของตน ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
และเยื่อในกระดูก ดังนี้ แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว. พญานาค
นั้นทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเข้ากสิณสมาบัติมีเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ บันดาลไฟต้านทานไว้. เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้น โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลว
เพลิงดุจไฟลุกไหม้ทั่วไป. จึงชฎิลพวกนั้นพากันล้อมโรงบูชาเพลิง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา
พระมหาสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่. ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงครอบงำเดชของ
พญานาคนั้น ด้วยเดชของพระองค์ ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อใน
กระดูก ทรงขดพญานาคไว้ในบาตร โดยผ่านราตรีนั้น แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปด้วย
พระพุทธดำรัสว่า ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว
จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำเดช
ของพญานาคที่ดุร้าย  มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง ด้วยเดชของตนได้  แต่พระมหาสมณะ
นี้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.
  [๓๙] ที่แม่น้ำเนรัญชรา  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสป ว่าดังนี้:-
      ดูกรกัสสป  ถ้าท่านไม่หนักใจ  เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักวันหนึ่ง.
      อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ข้าพเจ้าหวังความสำราญจึงห้ามท่านว่า
ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย  มีฤทธิ์  เป็นอสรพิษ  มีพิษร้ายแรง  อย่าเลย  มันจะทำให้
ท่านลำบาก.
      ภ.  ลางที พญานาคนั้นจะไม่ทำให้เราลำบาก  ดูกรกัสสป  เอาเถิด  ท่านจงอนุญาตโรง
บูชาเพลิง.
      พระผู้มีพระภาคทรงทราบอุรุเวลกัสสปนั้นว่า อนุญาตให้แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ปราศจาก
ความกลัว  เสด็จเข้าไป.
      พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคผู้แสวงคุณความดี  เสด็จเข้าไปแล้ว  ไม่พอใจ  จึงบังหวน
ควันขึ้น.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัดเคือง  ทรงบังหวน
ควันขึ้นในที่นั้น.
      แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้  จึงพ่นไฟสู้.
      ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์
ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น.
      เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้นแล้ว  โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง.  พวกชฎิลกล่าว
กันว่า ชาวเรา พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่.
      ครั้นราตรีผ่านไป  เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ.  แต่เปลวไฟสีต่างๆ  ของพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่.
      พระรัศมีสีต่างๆ  คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกาย
พระอังคีรส.
      พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว   ทรงแสดงแก่พราหมณ์ว่า  ดูกรกัสสป
นี่พญานาคของท่าน  เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว.
ครั้งนั้น  ชฎิลอุรุเวลกัสสป  เลื่อมใสยิ่งนัก  เพราะอิทธิปาฏิหารย์นี้ของพระผู้มีพระภาค
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่มหาสมณะ นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละ  ข้าพเจ้าจักบำรุงท่าน
ด้วยภัตตาหารประจำ....


วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ มาจากพระสูตรไหน

(หันทะ มะยัง อะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
ชะราธัมโมม๎หิ ชะรัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้;
พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้;
มะระณะธัมโมม๎หิ มะระณัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว,
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งหลายทั้งสิ้น ไม่ล่วงพ้นไปได้;
กัมมัสสะโกม๎หิ, (ญ. กัมมัสสะกาม๎หิ) เรามีกรรมเป็นสมบัติของตน;
กัมมะทายาโท, (ญ. กัมมะทายาทา) เราจะต้องได้รับมรดกของกรรมทุกอย่าง;
กัมมะโยนิ, เรามีกรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด;
กัมมะพันธุ, เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์;
กัมมะปะฏิสะระโณ, (ญ.กัมมะปะฏิสะระณา) เรามีกรรมเป็นที่พึ่ง;
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราจักกระทำกรรมใดไว้;
กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม;
ตัสสะ ทายาโท (ญ.ทายาทา) ภะวิสสามิ, เราจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป;
เอวัง อัมเหหิ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพัง, เราทั้งหลายควรพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้ ทุกวันๆ เถิด ฯ


พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

 ๑๐. ทัณฑวรรค
               หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์๑
               ๑. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
           {๒๐} [๑๒๙]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมหวาดกลัวความตาย
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า
               ๒. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
                    [๑๓๐]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมรักชีวิต๒
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕