แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรียนบาลีใหญ่ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรียนบาลีใหญ่ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เรียน ภาษาบาลี วันละประโยค จากหนังสือ วิปัสสนาชุนี อารัมภบท ประโยคที่ ๒

 ประโยคที่ อารัมภบท

อิติ จิตฺตํ ปหํเสตฺวา วิปสฺสิตฺวา ตทา คเต.

จิตฺตํ

นาม นปุง. กลุ่ม จิตฺต ศัพท์เดิม จิตฺต ใจ

ปฐมา เอก. อันว่าใจ ประธาน

สุทธกัตตา สยกตฺตา อภิหิตกตฺตา ปกติกตฺตา สปฺปธาน

ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ใจ กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

๒ จิต, สภาพที่รู้อารมณ์ (จินฺต + )

ปหํเสตฺวา+หส ธาตุ ร่าเริง +เณ+ตฺวา ให้ร่าเริง ให้เบิกบาน

อิติ เป็น นิ. ว่า_ดังนี้, คือ, เพราะเหตุนั้น, ด้วยประการ ฉะนี้, ดังนี้แล เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ แปลว่า ว่า_ดังนี้

วิปสฺสิตฺวา จักเพ่งกำหนด

ตทา อัพ. ในกาลนั้น, . กาลนั้น มาจาก ต ศัพท์ ลง ทา ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น ตทา

คเต

นาม นปุง. กลุ่ม จิตฺต ศัพท์เดิม คต ไปแล้ว

ทุติยา พหุ. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ไปแล้ว ทั้งหลาย กรรมในประโยค

อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม

สัตตมี เอก. ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ, เหนือ, บน ไปแล้ว สถานที่ทำ

พยาปิกาธาระ สมีปาธาระ อาธาระ ลักขณะ เหตวัตถะ อุปสิเลสิกาธาระ อุปสิเลสิกาธาระ

แปล ประโยคที่ ๒ อารัมภบท

(อหํ - เมื่อข้าพเจ้า) จิตฺตํ - ยังจิต ปหํเสตฺวา – ให้เบิกบาน อิติ - ด้วยพระคุณของพระไตรรัตน์สุดอัศจรรย์เห็นปานนี้แล้ว (เข้าใจว่า ยกบทสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม และ พระ สงฆ์ เข้ามาแปลด้วย) วิปสฺสิตฺวา จักเพ่งกำหนด ตทา คเต – ซึ่งสภาวะธรรม (กล่าวคือจิต และ รูป) ที่กำลังดำเนิน(เป็นอยู่)ในขณะนั้น



วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เรียน ภาษาบาลี วันละประโยค จากหนังสือ วิปัสสนาชุนี ตอน อารัมภบท บรรทัดที่ ๑

ภาษาบาลี จากหนังสือ วิปัสนาชุนี ตอน อารัมภบท บรรทัดที่ ๑

เกริ่นนำ

เนื่องจาก ข้าพเจ้าเอง มีเวลาค่อนข้างน้อย ด้วยกิจการงาน ประกอบกับ ได้ทำโปรแกรม ดิกชันนารี บารี ThaiNewGenDict แจก ในเวลาก่อนหน้า ซึ่ง เหมาะแก่การใช้เรียนรู้คำศัพท์ บาลี เพื่อให้รวดเร็ว แก่การเรียนรู้ และ ปฏิบัติ ซึ่ง การเรียนบาลี ของตัวข้าเจ้าเอง ไม่ได้ต้องการเพื่อ เป็นนักภาษาศาสตร์ หรือ สอบเอาวุฒิอะไร เพียงแต่ จากประสบการณ์ ที่ได้ทำโปรแกรม ThaiTipitaka แจกฟรี และ ศึกษาพระไตรปิฎก ภาษาไทย พบว่ามีคำทับศัพท์ค่อนข้างมาก จึงพยายาม หา กลอุบาย เพื่อให้ตัวเอง ไม่ต้องห่างจากภาษาบาลี และ การศึกษาธรรม ในขณะที่ยังสามารถทำงานได้แบบไม่บกพร่อง แล้วนำความรู้มาใช้เพื่อการปฏิบัติต่อไป
ดังนั้น เมื่อมาพบ หนังสือ วิปัสสนาชุนี ที่ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา ได้มีการแปลยก ศัพท์ ไว้ดีแล้ว ง่ายแก่การนำมาศึกษาเพิ่มเติม ควบคู่กับโปรแกรม ThaiNewGenDict ก็มีโอกาส ที่ข้าพเอง จะสามารถ เรียนรู้บาลี ได้เร็วขึ้น ใช้เนื้อหาในหนังสือเป็นแรงจูงใจ ในการ เรียนบาลี แบบพร้อมใช้ จึงได้จัดทำรวมไว้ ใน Blog นี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทาง ให้ผู้ศึกษาใหม่ ได้ใช้วิธีการ และ แนวคิดนี้ไปใช้ ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นประโยชน์มาก สำหรับทุกท่าน

ผู้รจนา(แต่ง)คัมภีร์วิปัสสนาชุนี

มหาสีสยาดอ มีฉายาว่าโสภณมหาเถระ
เกิดวันศุกร์แรม 3 ค่ำเดือน 8 พ.ศ 2437 ณหมู่บ้านชิดคุณหยั่ว อำเภอเฉว่โผ่ จังหวัดสกาย ประเทศพม่า




ผู้แปล และ เรียบเรียง

ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา



วิปัสนาชุนี ตอน อารัมภบท บรรทัดที่ ๑

อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม    อโห สํโฆ อนุตฺตโร

อโห แปลว่า นิ. โอ เป็นนิบาตมีเนื้อความต่างๆ [ธ. ๓: วิฑูฑภวตฺถุ หน้า ๕]
พุทฺธ ธมฺม สํฆ และ อนุตฺตร ล้วนเป็น อะ การันต์ ทำตัวรูป แบบ ปุริส ดังนั้น

พุทฺโธ ธมฺโม สํโฆ อนุตฺตโร ล้วนเป็น ปฐมา วิภัตติ เอก. วจนะ
โดย อนุตฺตโร เป็น วิเสสนะ แปลว่า ยอดเยี่ยม

ดังนั้น ถ้าแปลแบบย่อๆ (แบบข้าพเจ้าเอง) อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม    อโห สํโฆ อนุตฺตโร
อันว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า โอ! ช่างวิเศษเยี่ยมยอดจริงหนอ

ในขณะที่ท่านอาจารย์ จำรูญ ซึ่งท่านมีความรู้ และ นัยยะ ของภาษา ได้ดีกว่าข้าพเจ้า มากมายนัก ได้แปลไว้ในหนังสือ ได้อย่างไพเราะว่า
พุทฺโธ - พระพุทธ อโห อนุตฺตโร ช่างทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดไม่มีผู้ใดอื่นยิ่งกว่า
ธมฺโม - พระธรรม อโห อนุตฺตโร ช่างเป็นสิ่งล้ำค่าสูงสุด ไม่มีสิ่งอื่นใดยื่งกว่า
สํโฆ - พระสงฆ์ อโห อนุตฺตโร ช่างเป็นผู้ล้ำเลิศ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เรียนภาษาบาลี ที่ เรียนบาลี ได้ ที่ไหน เรียนบาลีด้วยตนเอง ได้ไหม เรียนบาลียากไหม เรียนพระบาลี สำนักเรียนบาลี

เรียนภาษาบาลี

ที่ เรียนบาลี ได้ ที่ไหน

คำถามนี้ ผู้ถาม มาก พอสมควร  วัดท่ามะโอ ต.เวียงเหนือ จ.ลำปาง เป็นหนึ่งในวัดที่มีการสอน แบบ บาลีไวยากรณ์ ใหญ่ ซี่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การเรียนภาษาบาลีในประเทศไทย ที่นำหลักสูตรมาจากประเทศพม่า ประวัติ ดังจะอ่านได้จาก

เรียนบาลีด้วยตนเอง เรียนบาลีทางไปรษณีย์ เรียนบาลีออนไลน์ ได้ไหม

คำตอบ คือ ได้ แต่ควรมีผู้รู้ ที่คอยแนะนำ เพื่อให้การเรียนรู้กระชับขึ้น และ บางสำนักเรียนก็มีการเปิดสอน หรือ ในเพจ มีการ แจกโปรแกรม ดิกบาลี เพื่อการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้นไปอีก รวมถึง วีดีโอ การเรียนรู้จากห้องเรียน และ การเรียนออนไลน์ วัดท่ามะโอ และ เป็นที่แรกของ การเรียนภาษาบาลีในประเทศไทย ที่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ ภาษาบาลี

เรียนบาลียากไหม

เป็นอีกหนึ่งคำถาม ที่ผู้เรียนใหม่ มักจะถาม ความเห็นส่วนตัว ยาก หรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การตั้งคำถามตัวเองว่า ต้องการเรียนบาลีเพื่ออะไร ชอบ การเรียนบาลี หรือไม่ ตรงนี้เป็นจุดพื้นฐานที่จะตอบตนเองว่า เรียนบาลียากไหม ถ้ามีความต้องการอยากเรียนรู้ ภูเขาก็พังทลายได้ 😂😂😂

สำนักเรียนบาลี วัดท่ามะโอ

เป็นหนึ่งในสำนักที่ได้นำเทคโนโลยี มาสู่ การ เรียนพระบาลี ดังจะเห็นได้จาก ประวัติการนำ คอมพิวเตอร์ ที่ดีที่สุดในอดีตมาใช้ในการสร้างตำราภาษาบาลี ตั้งแต่ปี คศ.2000



วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ถ้าต้องการให้หนังสือภาษาบาลีดิจิตอล มีผู้ใช้มากต้องติดตามคลิปนี้ การใช้ Font ภาษาบาลี ที่ถูกต้อง 100%

การใช้ ฟ้อนท์ ภาษาบาลี ที่ถูกต้อง 100%

การทำสื่อการสอน หนังสือ ภาษาบาลี ที่สามารถค้นคำง่ายได้ 100% โดย ไม่มีอักษรต่างดาว เมื่อ Copy ไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้ทุกโปรแกรม แสดงผลถูกต้องตาม อักขระภาษาบาลี ในทุกโปรแกรม หรือ อาจกล่าวง่ายๆว่า คลิปนี้จะแสดงถึง การใช้ Font ภาษาบาลี แบบถูกต้อง 100% อธิบายตั้งแต่การติดตั้ง Font ภาษาบาลี และ ข้อดีข้อเสียของฟ้อนต์ต่างๆ

ฟ้อนท์บาลี หรือ font บาลี ทำให้ หนังสือมีผู้ใช้มาก ต้องติดตาม การทำสื่อการสอน เพื่อการ ค้นคำง่าย ไม่มีอักษรต่างดาว ใช้กับโปรแกรมอื่นได้ทุกโปรแกรม แสดงผลถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ การติดตั้ง Font



วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ประพันธ์ คาถา โดยหลวงพ่อท่ามะโอ

ประพันธ์ คาถา โดยหลวงพ่อท่ามะโอ

พระภัททันตธัมมานันท มหาเถระ อัครมหาบัณฑิต



คำถวายน้ำบูชาคุณพระพุทธเจ้า

อรหตาทีหิ นวคุเณหิ สมนฺนาคตสฺส สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อิมํ ปานียํ เทมิ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมถวายน้ำดื่ม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมทั้ง ๙ ประการ มีความเป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นต้น

อิทํ เม ปญฺญํ นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ
บุญนี้ของข้าพเจ้า จงเป็นเหตุปัจจัยให้บรรลุถึงพระนิพพาน

คำอาราธนาธรรม

กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส  โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย  เทเสตุ ธมฺมเทสนํ
ปวงข้าพเจ้าทั้งหลาย มีจิตหมายฟังพระธรรม
ขอท่านโปรดแนะนำ  พระธรรมขององค์มุนี
เมตตาอนุเคราะห์ เวลาเหมาะสิริดี
แสดงธรรมประดามี  แก่ปวงข้าพเจ้าเทอญ

คำอุทิศส่วนบุญกุศล

อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ

อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ

ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนบุญนี้ให้แด่ ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา อาจารย์ และ พระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย

คำอธิยายเพิ่มเติม

อิธ ทวนฺเท อจฺจิตตรํ ปุพฺพํ นิปตติ ปรสฺเสว ลิงคญฺจฯ
ในทวันทสมาสบทนี้ บทที่ควรเคารพนับถือมากกว่าต้องวางไว้ข้างหน้า
และมีลิงค์ตามบทหลัง
สาริปุตตโมคฺคลฺลานา, สมณพฺราหฺมณา, 
พฺราหฺมณคหปติกา, ขตฺติยพฺราหฺมณา, เทวมนุสฺสา,
มาตาปิตโร เป็นต้นโดยมาก รูปที่ไม่ตามกฏก็มี 
เช่น มนุสฺสเทวา ชายาปติ เป็นต้น
กฺวจิ อปฺปสรํ ปุพฺพํ นิปตติ. บางครั้งวางบทที่มีพยางค์น้อยไว้หน้า
เช่น จนฺทสุริยา
กฺวจิ อิวณฺณุวณฺณนฺตานํ ปุพฺพนิปาโต.
บางทีวางอิวัณณะและอุวัณณะไว้หน้า (มักวางไว้หน้า อการนต์)
เช่น อคฺคิธูมา, คติพุธิภุชปฐหรกรสยา

กฺวจิ สราทิอการนฺตานํ ปุพฺพนิปาโต.
วางศัพท์ที่มีสระอยู่ต้นคำและออักษรออยู่ท้าย 
เช่น อตฺถธมฺมา, อตฺถสทฺทา 
แต่ กฺวจิ แสดงความไม่แน่นอนจึงมีรูปว่า สทฺทตฺถา ได้เช่นกัน
สงฺขฺยาทฺวนฺเท- อปฺปสงฺขฺยา ปุพฺพํ นิปตติ.
ในสังขยาทวันทสมาส จำนวนน้อยวางไว้บทหน้า
เช่น เอกกทุกํ หมวดหนึ่งและหมวดสอง 
ทุกติกํ หมวดสองและหมวดสาม เป็นต้น
เยภุยฺเยน เจตฺถ-
อจฺจิตปฺปสฺสรํ ปุพฺพํ 
อิวณฺณุวณฺณกํ กฺวจิ
ทฺวนฺเท สราทฺยการนฺตํ
พหูสฺวนิยโม ภเวฯ (คาถาในรูปสิทธิ)
อนึ่ง ในทวันทสมาสนี้ ส่วนมาก
บทที่ควรเคารพนับถือ และบทที่พยางค์น้อย 
ย่อมเป็นบทหน้า (วางไว้หน้า),
บทที่มี อิวัณณะและอุวัณณ(ลงท้าย)ย่อมเป็นบทหน้า,
บทที่มีสระอยู่ต้นและมีออักษรอยู่ท้ายย่อมเป็นบทหน้า 
ในบางที่ แต่ความไม่แน่นอน ย่อมมี
ในสมาสที่มีศัพท์หลายศัพท์
กล่าวมานี้เป็นเหตุผลของการวางศัพท์สมาส
ตามความเหมาะสมที่กล่าวไว้ในทวันทสมาส 
(ดูเรื่อง ทวันทสมาสในปทรูปสิทธิ 
ฉบับอาจารย์คันธสาราภิวงศ์ หรือพ.ม. สมลักษณ์)
อิทํ เม ปุญฺญํ นิพฺพานสฺส ปจฺจโย โหตุ. 
(ช่วยแก้ ปญฺญํ เป็นปุญฺญํ ด้วยในฉบับที่โพตส์มา)
อิมํ ปุญฺญภาคํ อยฺยกอยฺยิกามาตาปิตุอาจริยุปชฺฌายานํ สพฺพสตฺตานญฺจ เทมิ.
(บางทีท่านก็ใช้ เสสสตฺตานํ)

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

สุดยอดเทคโนโลยีเผยแผ่ธรรมะ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง since year 2000

สุดยอดเทคโนโลยีเผยแผ่ธรรมะ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

การใช้เทคโนโลยี ระดับโลก เผยแพร่พระพุทธศาสนา

วัดท่ามะโอ ถือได้ว่าเป็น หนึ่งในวัดที่ได้นำ เทคโนโลยีชั้นสูง มาใช้ในการทำตำหรับตำรา และ 
การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดังจะแสดงได้ จากวีดีโอนี้


วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

แต่งประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ วากยสัมพันธ์ พื้นฐานกัตตุวาจก ๑

แต่งประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ วากยสัมพันธ์ หลักสูตรเร่งรัด ปธ.๖ สู่ ปธ.๗

จากการเข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อ สอบถามปัญหาบาลี สู่ การเริ่มเรียนหลักสูตรเร่งรัดบาลีใหญ่สำหรับ ภิกษุ ท่านพระอาจารย์ ร้อยธรรม (ปธ.๖) จากสำนักปฏิบัติธรรม สวนวังแสงธรรม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

หลักสูตรนี้ มี อาจารย์ ๓ ท่าน สามารถติดต่อได้ที่วัดท่ามะโอ

  • พระอาจารย์ ภันเต หรอย ปธ.๙ ประโยค (ขออนุญาติ ใช้ชื่อเล่น ของท่านเนื่องจากผู้โพสต์มีกิจเร่งรีบไม่ได้ถามฉายาท่านมาไว้ จึงออภัยไว้ ณ.ที่นี้) 
  • ท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ (ปธ.๗)
  • ท่านอาจารย์ เขมานันท์ ละออ (ปธ.๖)




วีดีโอการสอน รวมระยะเวลากว่า ชั่วโมงครึ่งในวันแรก

แต่งประโยคบาลีใหญ่ ท่ามะโอ วากยสัมพันธ์ หลักสูตรเร่งรัด ปธ.๖ สู่ ปธ.๗ โดยท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ โปรดใช้หูฟัง



วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

จากศิษย์บาลีใหญ่ หลวงพ่อใหญ่ วัดท่ามะโอ

หลวงพ่อ พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ

เรื่องเล่าโดย ท่านอาจารย์ จำรูญ ธรรมดา


  • หลวงพ่อจะไม่ตอบอะไรแบบเลื่อนลอย
  • วัดเป็นสำนักเรียนจะเน้นเรียน และ ท่องจำตำราเรียน
  • หลวงพ่อเป็นนักค้นคว้า
  • ท่านเป็นคนเอาใจใส่ลูกศิษย์มาก
  • ท่านเสียสละ ชีวิต เพื่อภาษาบาลีใหญ่
  • เป็นความโชคดีของคนไทย ที่ได้พบหลวงพ่อ




วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมา ตำนาน บาลีใหญ่ เมืองไทย

ประวัติ ตำนาน บาลีใหญ่ ประเทศไทย


ประวัติ ความเป็นมา บาลีใหญ่ เมืองไทย รวบรวมเนื่องในโอกาส ครบรอบ มรณภาพ หลวงปู่ ธัมมา นันทะ ท่ามะโอ .ลำปาง ปี พศ.๒๕๖๒
จากศิษย์ ถึง ศิษย์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ
จากอาจารย์ สู่ อาจารย์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ

ประวัติวัดท่ามะโอ

วัดท่ามะโอ ตำาบลเวียงเหนือ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗ อุบาสกชาวพม่าชื่อ
“อู สั่งโอง” เป็นผู้สร้าง มีประวัติย่อต่อไปนี้
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาล
ที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี มีอุบาสกชาวพม่าชื่อ อู สังโองได้เข้ามาประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าไม้ในจังหวัดลำาปาง
อุบาสก อู สั่งโองเป็นผู้นับถือและเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมั่นคง สมบูรณ์ด้วยศรัทธาปรารถนาความเจริญ
รุ่งเรืองแห่งพระศาสนา ได้บริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินในบริเวณท่ามะโอริมแม่น้ำาวัง สร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ (ตรง
กับ จ.ศ. ๑๒๕๖) เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ก็ได้สร้างถาวรวัตถุภายในวัดคือ กุฏิ หอฉัน ศาลาการเปรียญ วัจกุฎี
บ่อน้ำ โรงพระอุโบสถและกำาแพงก่ออิฐ ได้อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณรผู้อยู่ในวัดด้วยปัจจัย ๔ เป็นประจำเสมอมา
เมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้ว บรรดาบุตรหลานของท่านก็ได้อุปถัมภ์วัดและพระภิกษุสามเณรสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้
ชื่อของวัดนี้ เรียกตามคำาบาฬีว่า “มาตุลุงฺคติตฺถาราม” เรียกตามภาษาไทยว่า “วัดท่ามะโอ” เพราะ
อาศัยท่ามะโอหรือท่าส้มโอ คำาว่า “วัด” ตรงกับคำาบาฬีว่า “อาราม” คำาว่า “ท่า” ตรงกับคำาบาฬีว่า “ติตฺถ”
คำาว่า “มะโอ” ตรงกับคำาบาฬีว่า “มาตุลุงฺค” คำาทั้ง ๓ คือ อารามะ, ติตถะ, มาตุลุงคะ, เมื่อสับเปลี่ยนคำ
หน้าไปไว้หลัง สับเปลี่ยนคำหลังมาไว้คำหน้า ก็สำาเร็จรูปเป็น “มาตุลุงคติตถาราม” แปลว่า “วัดท่ามะโอ”
สำาหรับพื้นที่วัด ภายในกำแพง มีเนื้อที่กว้าง ๔๐ วา ยาว ๔๐ วา, ภายนอกกำแพงทิศเหนือ มีเนื้อที่กว้าง
๑๘ วา ยาว ๓๑ วา

ลำดับเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ

  • รูปที่ ๑ พระอาจารย์ อู นันทิยะ มรณภาพปีใดไม่ปรากฏ
  • รูปที่ ๒ พระอาจารย์ อู ติกขะ มรณภาพปีใดไม่ปรากฏ
  • รูปที่ ๓ พระอาจารย์ อู เนมินทะ อัครมหาบัณฑิต มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๙
  • รูปที่ ๔ พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต
พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ นั้น พระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัด
นครสวรรค์ ได้ขอต่อสภาพระพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่ามาเป็นครูสอนพระไตรปิฎกประจำวัดโพธาราม สภา
พุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าได้จัดส่งมาตามความประสงค์ของพระธรรมคุณาภรณ์ พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ
พร้อมด้วย อู โสภณะ ได้เดินทางจากประเทศพม่า เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ และถึงวัดโพธาราม
ในวันเดียวกัน

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอาจารย์ อู เนมินทะ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ได้ขอท่านอาจารย์ อู ธัมมานันทะ
ต่อสภาพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าเพื่อมาอยู่วัดท่ามะโอ สภาพุทธศาสนาได้อนุมัติและได้แจ้งให้ทางวัดโพธาราม
ทราบ พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ ได้เดินทางจากวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๐๙ และถึงวัดท่ามะโอในวันเดียวกัน เมื่อพระอาจารย์ อู เนมินทะ มรณภาพแล้ว ท่านได้ดำรงตำาแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ และได้ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาฬีขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐

ชีวประวัติ : พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ


ท่านเกิดที่หมู่บ้านตาสี อำาเภอเยสะโจ จังหวัดปขุกกู ในวันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ พ.ศ. ๒๔๖๓
(ตรงกับวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓) เป็นบุตรของนายโผติด นางงวยยิ ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดในหมู่บ้านของท่านเอง
ท่านมีพี่น้องอยู่ ๔ คน และเป็นลูกอันดับสามในบรรดาพี่น้องชายทั้ง ๔ คนนั้น
ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาของท่านนำไปฝากพระญาณเถระ
ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตงทัด หมู่บ้านตาสินั่นเอง ได้เล่าเรียนหนังสือต่าง ๆ เริ่มต้นแต่ชั้นอนุบาลประถมเป็นต้นมา
จนถึงบทสวดมนต์ต่าง ๆ คือ พระปริตรทั้ง ๑๑ สูตร คัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชัยมังคลคาถา ชินบัญชรทั้ง
ภาคบาฬีและภาคแปลด้วย รวมทั้งโหราศาสตร์ต่าง ๆ ที่ใช้ตัวเลขเป็นภาษาบาฬี อันเป็นวิธีการเรียนสมัยดั้งเดิม
ของพม่า
เมื่อท่านอายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระวิจารินทะเป็นอุปัชฌาจารย์ได้รับฉายาบาฬีว่า
“ธัมมานันทะ” สามเณรธัมมานันทะได้ท่องจำนาสนะ ทัณฑกรรม เสขิยวัตรและขันธกวัตร ๑๔ อย่างได้ตั้งแต่ยัง
เป็นเด็กวัดอยู่ หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาจารย์จึงได้ให้ท่องจำกัจจายนสูตร รวมทั้งคำแปลตาม
คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ และสอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ด้วย
หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปวัดปัตตปิณฑิการาม ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอเยสะโจ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ต่าง ๆ
คือ พาลาวตาร กัจจายนะ สัททนีติ (สุตตมาลา) อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระ
วินัยปิฎก ในสำานักของพระอุตตรมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการาม
เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยมีท่าน
อาจารย์สุชาตะ ซึ่งเป็นศิษย์ท่านอาจารย์อุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดยองเปนตา จังหวัดมองลำไยจุน
มีโยมอุปัฏฐากถวายอัฏฐบริขาร คือ นายพละ นางเสงมยะ อยู่ที่ บ้านเลขที่ ๒๐ ถนนซี จังหวัดมองลำไยจุน
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านอาจารย์อุตตระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการามได้ส่งท่านไปเรียนพระปริยัติ
ธรรมต่อในสำนักของท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล ท่านศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
และ คัมภีร์ปทวิจาร ในขณะนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันดเลเป็นจุดเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ เพราะ
เป็นเมืองหลวงอันดับสองรองจากกรุงย่างกุ้ง ดังนั้น ท่านจึงย้ายจากจังหวัดมันดเลไปสู่จังหวัดมะไลย ได้ศึกษา
คัมภีร์อภิธาน ฉันท์ อลังการะ เภทจินตา และกัจจายนสาระ ในสำนักของท่านอาจารย์จันทโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริ
โสมาราม หมู่บ้านกันจี จังหวัดมะไลยนั้น และ ยังได้ศึกษาคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ วิธีการทำรูปตามนัยของคัมภีร์
กัจจายนะ นามปทมาลา อาขยาตปทมาลา คัมภีร์พระอภิธรรมต่าง ๆ คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และ
ธาตุกถา รวม ๕ ปี ด้วยกัน จนกระทั่งสงครามโลกสงบ
ในสมัยนั้น จังหวัดปขุกกูและอำเภอเยสะใจ ไม่นิยมสอบสนามหลวงเป็นทางการเพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้
แตกฉานเท่านั้น ดังนั้น ท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรเรื่อยมาจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ หลังจาก
สงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านจึงได้เริ่มสอบสนามหลวงได้ชั้น “ปถมะแหง่” ในขณะที่ท่านพำนักอยู่ ณ วัดสิริโสมาราม
หลังจากนั้น จึงย้ายไปวัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล อันเป็นที่พำนักเดิม และสอบได้ชั้น “ปถมะลัด” ที่นั้นพระ
อาจารย์ที่สอนคัมภีร์ต่าง ๆ ให้ คือ ท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์, พระชาเนยยพุทธิ, พระสุวัณณโชติภิวงศ์ และ
พระอานันทปัณฑิตาภิวงศ์
หลังจากนั้น ท่านย้ายไปอยู่วัดเวยันโภงตา สอบชั้น “ปถมะจี” ได้เป็นอันดับสามของประเทศและสอบชั้น
“ธัมมาจริยะ” ได้ในปีต่อมา ณ สำานักเรียนวัดเวยันโภงตานั้น
สมัยนั้น ท่านอาจารย์กัลยาณะเจ้าอาวาสวัดเวยันโภงตามีชื่อเสียงมากในการสอนคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะใน
เมืองมันดเล ท่านจึงได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นธัมมาจริยะกับท่านอาจารย์กัลยาณะ และในขณะที่ท่านกำลังจะสอบชั้น
“ปถมะจี” ท่านยังไปศึกษาคัมภีร์ปัฏฐานเป็นพิเศษด้วยที่วัดปัฏฐานาราม ภูเขาสะไกย จังหวัดสะไกย โดยมีท่าน
อาจารย์อินทกะ (อัครมหาบัณฑิต) เป็นผู้สอน
ท่านสอบคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะได้ ๓ คัมภีร์ คือ ปาราชิกบาฬี และอรรถกถา สีลักขันธวรรคบาฬีและ
อรรถกถา ธัมมสังคณีบาฬีและอัฏฐสาลินีอรรถกถา ได้รับตราตั้งว่า “สาสนธชธัมมาจริยะ” นอกจากนั้นท่านยัง
สอบคัมภีร์พิเศษในชั้นธัมมาจริยะได้อีกคือ คัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกายอรรถกถา และวิภังคาทิ-
อรรถกถา จึงได้รับตราตั้งอีกว่า “สาสนธชสิริปวรธัมมาจริยะ” ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัดต่าง ๆ เช่น
วัดสิริโสมาราม จังหวัดมะไลย วัดปัตตปิณฑิการาม อำเภอเยสะโจ และวัดเวยันโภงตา จังหวัดมันดเล
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางกรมการศาสนาของประเทศสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านเป็นพระธรรม
ทูต เพื่อการเผยแผ่พระศาสนาเถรวาทในต่างประเทศ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่กะบาเอ ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์เพื่อการ
เผยแผ่ (ธัมมทูตวิทยาลัย) ศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น
เวลานั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์
มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอพระอาจารย์ผู้เชื่ยวชาญในพระปริยัติธรรมเพื่อมาสอนพระปริยัติ
ธรรมที่วัดโพธาราม ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่ารับรองกับท่านว่า เมื่อท่านสอนพระปริยัติธรรมใน
ประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งท่านต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม
จังหวัดนครสวรรค์ตามที่กรมการศาสนานิมนต์ โดยได้เดินทางมาในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ในเวลา
นั้นท่านมีภาระสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรจำานวน ๒๐๐ รูป ในวัดโพธารามเมื่อครบกำาหนดแล้ว
ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ได้นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อท่านจึงได้พำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็น
เวลาถึง ๖ ปี
ในขณะพำนักอยู่ที่นครสวรรค์นั้น ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าได้นิมนต์ท่านเพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์
พจนานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ ในสมัยปัจฉิมฎีกาสังคายนา
ที่กะบาเอ ณ กรุงย่างกุ้ง ท่านจึงได้เดินทางกลับประเทศของท่านเป็นการชั่วคราว เพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรม
พระไตรปิฎกฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ มีสุโพธาลังการฎีกาเป็นต้น รวม ๑ ปี หลัง
จากที่การสังคายนาพระบาฬี อรรถกถาและฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่าง ๆ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมายัง
วัดโพธารามตามเดิม
ในขณะนั้น ท่านอาจารย์เนมินทะ (อัครมหาบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ชราภาพมากแล้ว จึงได้มี
หนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า มีความประสงค์จะนิมนต์ท่านอาจารย์ธัมมานันทะให้มาเผยแผ่พระ
ศาสนาที่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำาปาง ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าก็ได้มีหนังสือมาถึงท่าน ดังนั้น ท่านจึง
ย้ายจากจังหวัดนครสวรรค์มาอยู่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำาปาง ในวันขึ้น ๘ ค่ำา เดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๘ (ตรงกับวัน
ที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘) หลังจากที่ท่านมาอยุ่ที่นี่ได้ ๕ เดือน ท่านอาจารย์เนมินทะเจ้าอาวาสวัดท่ามะ
โอก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ท่านอาจารย์ธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอสืบต่อมา ท่านได้
เริ่มกิจการเผยแผ่พระศาสนาทางด้านพระปริยัติธรรมด้วยการตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นในวันพฤหัสบดี แรม ๒
ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๑๐ (ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐) ท่านสามารถก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมให้มีชื่อเสียงขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะศิษยานุศิษย์ของท่านสามารถสอบได้ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาฬีทุก ๆ
ปีเป็นจำานวนมาก
เนื่องจากการศึกษาพระไตรปิฎกจำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์ คือ คัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์วุตโตทัย และ คัมภีร์สุโพธาลังการ ท่านจึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระ
ไตรปิฎกทั้ง ๔ คัมภีร์นั้น ด้วยการสอนอธิบายและให้นักศึกษาท่องจำคัมภีร์เหล่านั้นพร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแผ่ ถึง
แม้ว่าท่านจะชราภาพมากแล้ว ก็ไม่คำานึงถึงตัวท่านเอง ท่านได้อุตสาหะสั่งสอนศิษย์ให้พยายามศึกษาเล่าเรียนจน
ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งศิษยานุศิษย์เหล่านั้นก็ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้ภาษาบาฬีเป็นอย่างดี

คัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษาและใช้เป็นคัมภีร์ค้นคว้านั้น ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้จัดพิมพ์ไว้ รวม ๒๐ คัมภีร์ด้วยกัน คือ


๑.กัจจายนะ ๒.ปทรูปสิทธิ
๓.โมคคัลลานพยากรณะ ๔.สัททนีติสุตตมาลา
๕.นยาสะ ๖.อภิธาน
๗.สุโพธาลังการะ ๘.ฉันท์
๙.สุโพธาลังการปุราณฎีกา ๑๐.สุโพธาลังการอภินวฎีกา
๑๑.ขุททสิกขา, มูลสิกขา ๑๒.ธาตวัตถสังคหะ
๑๓.เภทจินตา ๑๔. กัจจายนสาระ
๑๕.ณวาทิโมคคัลลานะ ๑๖.พาลาวตาร
๑๗.สังขยาปกาสกะ ๑๘.สังขยาปกาสกฎีกา
๑๙.ปโยคสิทธิ ๒๐.วุตโตทยฉันโทปกรณ์แปล

ส่วนคัมภีร์ที่ท่านรจนาด้วยตนเองมี ๔ คัมภีร์ คือ

๑.สำนวนภาษาในพระพุทธศาสนา
๒.อุปสัมปทกัมมวาจาวินิจฉัย
๓.สังขิตตปาติโมกขุทเทสวินิจฉัย
๔.นานาวินิจฉัย

ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐบาลสหภาพพม่าได้เห็นเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแผ่พระศาสนาของท่าน
อาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ จึงได้น้อมถวายตำาแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต” อันทรงเกียรติ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๙
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้น้อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพุทธศาสตร์ และใน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านอาจารย์ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรสาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการบูชาเกียรติคุณ
ความดีของท่านซึ่งจะเป็นทิฏฐานุคติอันดีงามแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายสืบต่อไป

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ฯ