แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวรูป ภาษาบาลี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวรูป ภาษาบาลี แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

บาลีไวยากรณ์ จาก บาลีดิค ฝึกแปล ตอน อิติ แปลว่า ว่า และ ตฺวา ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์

แบบฝึกหัด แปล บาลีไวยากรณ์ วัดท่ามะโอ

บาลีไวยากรณ์ จาก บาลีดิค ฝึกแปล ตอน อิติ แปลว่า ว่า และ ตฺวา ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์

ฝึกแปลประโยคบาลี

อญฺญตโร  ปุริโส  / ภทฺเท อชฺชาหํ  อิมํ รตฺตึ กมฺมํ  กริสฺสามีติ วตฺวา / คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย ) วุตฺเต /อตฺตโน  กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ. 
ที่วงเล็บไว้ว่า (วจเน ภริยาย )วุตฺเต  เมื่อใช้จริงไม่นิยมวางถือว่ารู้กันว่าเป็นประโยคลักขณะ ลงสัตตมีวิภัตติแปลว่า ครั้นเมื่อ แปลเช่นนี้ว่า วจเน ครั้นเมื่อคำ อันภรรยา กล่าวแล้วว่า...คือ  ประโยคเแทรกๆ เข้ามาช่วงไหนก็แปลช่วงนั้นได้เลย  ทำเครื่องหมาย  / ไว้จะได้กำหนดการแปลง่ายขึ้น

เฉลย

อญฺญตโร ปุริโส  ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา  คจฺฉ  สามีติ (วจเน ภริยาย )  วุตฺเต  อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ.

ปุริโส อ.บุรุษ  อญฺญตโร ผู้ใดผู้หนึ่ง วตฺวา กล่าวแล้ว อิติ ว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ อชฺช ในวันนี้ อหํ อ. เรา กริสฺสามิ จักกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน อิมํ รตฺตึ ตลอดคืนนี้ ดังนี้
วจเน ครั้นเมื่อคำ อิติ ว่า สามิ ข้าแต่สามี ตวํ อ.ท่าน คจฺฉ จงไปเถิด ดังนี้ ภริยาย อันภรรยา วุตฺเต กล่าวแล้ว  
อคจฺฉิ ได้ไปแล้ว กมฺมกรณฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่กระทำซึ่งงาน อตฺตโน ของตน

ที่ทำเครื่องหมาย / ไว้ในตอนถามก็เพื่อให้รู้ว่าประโยคส่วนไหนอยู่ในห้อง ส่วนไหนอยู่นอกห้อง (ประโยคเลขใน เลขนอก) แม้การแปลก็กำหนดตามที่ขีดไว้ และประโยคที่ใช้ในสถานการณ์จริงมักวาง วุตฺเต ไว้เพียงศัพท์เดียว ถือว่ารู้กัน แต่เวลาแปลต้องโยคเข้ามาตามเนื้อหานั้น ๆ ขึ้นอยู่กับบริบทด้วยครับ
บทที่ประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัยก็ดี อนฺต มาน ปัจจัยก็ดี หรือประโยคแทรกที่ประกอบด้วยฉัฏฐีหริอสัตตมีวิภัตติ กล่าวได้ว่ายังไม่จบประโยค จึงไม่ควรขึ้นบทประธานอื่นเข้ามาแปลร่วม เพราะจะทำให้ความหมายขัดแย้งกัน

ดังนั้น บทที่ประกอบด้วย ตฺวา, อนฺต, มาน หรือ ต ปัจจัย ที่อยู่หลัง อิติ ศัพท์มักเป็นประโยคนอกห้อง ซึ่งประโยคนอกห้องต้องแปลก่อนแล้วเปิด อิติ ศัพท์เข้าไปแปลประโยคในห้องจนครบ แล้วเพิ่มคำว่า ดังนี้ หรือ ดังนี้เป็นต้น เข้ามา (ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ละไว้ส่วนมากเกี่ยวกับคาถา) แปลอย่างนี้เป็นทอดๆ จนจบประโยค (ดูที่กิริยาคุมพากย์เป็นหลัก อาจเป็นอาขยาต หรือกิตก์)

คำศัพท์ที่ให้นั้น ควรแยกเฉพาะ ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ ก็พอ ถ้าบอกขั้นตอนการทำตัวรูปอาจทำให้สับสน เพราะสนามหลวงก็มีขั้นตอนการทำตัวรูปเฉพาะตน (ดังเช่น คจฺฉติ มาจาก คมฺ ธาตุ+อ+ติ แปลงเป็น คจฺฉ สำเร็จรูป) ส่วนมูลกัจจายน์ซึ่งมีปทรูปสิทฺธิเป็นต้นก็มีการทำตัวรูปอีกลักษณะหนึ่งโดยมีการอ้างสูตรเป็นหลักฐาน ถ้านำมาปนกัน หลายๆ ท่านด้วยกันอาจเป็นงง? เช่น คจฺฉติ มาจาก คมุ ธาตุ+อ+ติ ทำตัวรูปโดย ลบสระที่สุดธาตุ ลง ติวิภัตติหลังคมฺ  ลง อ ปัจจัย แปลง มฺ เป็น จฺฉฺ ด้วย คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ นำ ฉฺประกอบกับ อ สำเร็จรูปเป็น คจฺฉติ)

ถ้ายกมาแสดงควรเป็นมูลกัจจายน์ โดยเฉพาะมูลธาตุเดิม กมุ, คมุ (สนามหลวงบอก กมฺ, คมฺ) เป็นต้น

อธิตจฺฉติ แปลว่า ได้, ถึง บรรลุ, ปจฺจาคจฺฉติ กลับมา, อุคฺคจฺฉติ ขึ้น เอาความหมายที่ใช้บ่อยๆ ก่อนนะครับ พจนานุกรมมีหลายความหมายมากกลัวจะอึดอัดสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก

Short Note จากวีดีโอ

อญฺญตโร ปุริโส  ภทฺเท อชฺชาหํ อิมํ รตฺตึ กมฺมํ กริสฺสามีติ วตฺวา  คจฺฉ  สามีติ (วจเน ภริยาย )  วุตฺเต  อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ

อญฺญตโร คนใดคนหนึ่ง ปุริโส บุรุษ ปฐมา
ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ
อชฺชาหํ อชฺช กับ อหํ วันนี้ข้าพเจ้า
อิมํ ทุติยา นี้
รตฺตึ ตลอดกลางคืน
กมฺมํ ซึ่งการงาน
กริสฺสามีติ กริสฺสามิ+อิติ จักกระทำ
วตฺวา กล่าวแล้ว

ปุริโส อ.บุรุษ อญฺญตโร ผู้หนึ่ง วตฺวา กล่าวแล้ว อิติ ว่า ภทฺเท แน่ะนางผู้เจริญ อชฺชาหํ วันนี้ข้าพเจ้า กริสฺสามิ จักกระทำ กมฺมํ ซึ่งการงาน รตฺตึ ตลอดคืน อิมํ นี้

คจฺฉ สามีติ (วจเน ภริยาย )  วุตฺเต  อตฺตโน กมฺมกรณฏฺฐานํ อคจฺฉิ

คจฺฉ จงไป
สามีติ สามิ+อิติ สามี
ภริยาย ภริยา วจเน กล่าว

วจเน ครั้นเมื่อคำ สามิ ข้าแต่สามี ตวํ อ.ท่าน ภริยาย ภริยา คจฺฉ จงไปเถิด

วุตฺเต กล่าวแล้ว
กมฺมกรณฏฺฐานํ สู่ที่เป็นที่กระทำซึ่งงาน อตฺตโน ของตน


วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การใช้ โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อเรียนรู้ คาถาธรรมบท สู่การแปลพระไตรปิฎกแบบยั่งยืน

การใช้ โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อเรียนรู้ คาถาธรรมบท สู่การแปลพระไตรปิฎกแบบยั่งยืน

เนื่องจาก
๑ โปรแกรม ThaiNewGenDict ได้ดึงคำศัพท์ (บท) พระบาลี มาจากพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐมาทุกคำแล้ว (ตัดคำซ้ำออกแล้ว ประมาณ 95%
๒ ยังไม่มีตำราเรียนใด หรือ ดิกชันนารีใด ที่มีคำศัพท์ ครบตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาต้องจำมาก และ เมื่อจะนำมาค้นคว้าภายหลังจึงยากเข้าไปอีก และ ใช้เวลาค้นคว้าคำศัพท์ เป็นเวลานาน
๓ การฝึกด้วยวิธีนี้ นอกจากจะไม่เป็นการค้านตำราเดิม และ ตำราโบราณแล้ว ยังทำให้ผู้ใช้หรือ ผู้ศึกษาได้รู้วิธีการประกอบคำ หรือ ทำตัวรูปแบบโบราณ อย่างถ่องแท้อีกด้วย
๔ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยลดการผิดพลาด ของการกรอกข้อมูล คำแปล รวมถึง ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากร ด้วย

โปรดช่วย กด Like กด แชร์ กด Follow Blog เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ให้กับคนรุ่นใหม่ สืบไป


วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การบันทึก รูปวิเคราะห์ ประโยคตัวอย่าง และ คำศัพท์ บาลี จากประโยคแบบฝึกหัดออนไลน์ ท่ามะโอ 1 May 2020

การบันทึก รูปวิเคราะห์ ประโยคตัวอย่าง และ คำศัพท์ บาลี จากประโยคแบบฝึกหัดออนไลน์ ท่ามะโอ 1 May 2020

แบบฝึกหัดประจำวันที่ 1 May 2020

1. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต เป็นประโยคอะไร แปลอย่างไร
2. และ เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต โหติ เป็นประโยคอะไร แปลอย่างไร

เฉลย แบบฝึกหัดวันที่ 1 May 2020

1. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต. เป็นประโยคกัมมวาจก
พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า  เทวมนุสฺเสหิ อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ปูชิโต  บูชาแล้ว 
2. เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต โหติ.  เป็นประโยคกัตฺตุวาจก (ครูบาอาจารย์มักนิยมพูดกันว่า ประโยคกัตนอกกรรมใน คือ โหติ บทนี้ เป็น กัตตุรูป ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ ส่วนเนื้อความมีลักษณะของประโยคกรรมตามข้อ 1)
พุทฺโธ อ.พระพุทธเจ้า เทวมนุสฺเสหิ  ปูชิโต เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาแล้ว  โหติ  ย่อมเป็น (แปลรวบด้วยอำนาจความที่เชื่อมโยงกัน)

เทวมนุสฺเสหิ อนภิหิตกัตตา  ครับ
ต ปัจจัยนั้น หากลงหลังอกัมมกธาตุมักเป็นกัตตุรูป ถ้าลงหลัง สกัมมกธาตุมักเป็นกัมมรูป เช่น ลง ต ปัจจัย หลัง อกัมมกธาตุ เช่น ฐิโต ฐิตา ฐิตํ ยืนแล้ว  อุปฺปนฺโน อุบัติแล้ว, เกิดขึ้นแล้ว ปริปุณฺโณ บริบูรณ์แล้ว, เต็มแล้ว อ่านทบทวนอยูเสมอ จนจำนำไปใช้เป็น
ลง ต หลังสกัมมกธาตุ เช่น ทินฺโน, ทินฺนา, ทินฺนํ  อันเขา...ให้, ถวาย, กโต กตา กตํ  อันเขา...ทำ, คหิโต คหิตา คหิตํ อันเขา...ถืออาเแล้ว, อุคฺคณฺหิโต อุคฺคณฺหิตา อุคฺคณฺหิตํ อันเขา...เรียนแล้ว  คำว่า เขา เป็นเพียงตัวอย่างในการแปล ดังนั้นในประโยคจริงต้องแปลไปตามเนื้อหานั้นๆ เช่น มยา ธมฺโม อุคฺคณฺหิโต แปลว่า ธรรมอันเราเรียนแล้ว,  ชเนหิ ปาฬิ  อุคฺคณฺหิตา ภาษาบาลีอันเชนทั้งหลายเรียนแล้ว,  อมฺเหหิ สิปฺปํ อุคฺคณฺหิตํ ศิลปะอันเราทั้งหลายเรียนแล้ว

นี้เป็นการฝึกแต่งประโยคสั้นๆ สะสมคำศัพท์แบบไม่ต้องท่องโดยการนำมาใช้บ่อยๆ นั่นเอง แม้เวลาอ่านพอเห็นปุ๊ปก็สามารถกำหนดได้ทันทีว่าเป็นประโยคอะไร มีความหมายว่าอย่างไร สำคัญต้องชัดเจนในเรื่องของความจำซึ่งจะทำให้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
ปริยนฺต  แปลว่า ที่สุด, สุดท้าย ไม่ใช่ท่ามกลาง ,มชฺฌ ท่ามกลาง, อาทิ เบื้องต้น

อนภิหิตกัตตา 2 อย่าง (ใช้ในประโยคกรรม, เหตุกรรม)

1. อนภิหิตกัตตา คือบทที่ประกอบด้วยตติยาวิภัตติโดยครง,
เทวมนุสฺเสหิ พุทฺโธ ปูชิโต
2. ฉัฏฐีอนภิหิตกัตตา คือฉัฏฐีฉัฏฐีวิภัตติที่ลงในอรรถตติยากัตตา 
เทวมนุุสฺสานํ พุทฺโธ ปูชิโต 
เป็นตัวอย่างที่แต่งขึ้นเองแต่มีใช้แน่นอน
บทอนภิหิตกัตตาใช้เป็น เอกวจนะ หรือพหุวจะก็ได้


วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จากบาลีพุทธพจน์ เพียงประโยคเดียว บันทึกความหมายศัพท์ได้เป็นหลายร้อยคำ

ทำอย่างไร จากบาลีพุทธพจน์ เพียงประโยคเดียว บันทึกความหมายศัพท์ได้เป็นหลายร้อยคำ (บท) หลายร้อยบรรทัด

ทำอย่างไร จากบาลีพุทธพจน์ เพียงประโยคเดียว ในแบบฝึกหัด การเรียนออนไลน์ วัดท่ามะโอ บันทึกความหมายศัพท์ได้เป็นหลายร้อยคำ (บท) ความหมายหลายร้อยบรรทัด ไม่ต้องใช้บุคคลากร เป็นร้อย ถ้าดูจบ จะได้เรียนรู้วิธีที่ถูกต้อง เพื่อพิสูจน์ว่าทำได้จริง ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากรณ์ ทั้ง บาลีใหญ่ และ บาลีไวยยากรณ์ น้อย เปรียญธรรม สนามหลวง พื้นฐานที่ต้องเรียนรู้ก่อนหน้า ทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม ThaiNewGenDict เรียนบาลีอย่างไรไม่ต้องท่อง แต่จำศัพท์ได้อย่างยั่งยืน ถูกต้องตามบาลีไวยยากรณ์ คำศัพท์ ไม่มีใครช่วยได้ต้องจำ และ ทำด้วยตนเองเท่านั้น เรียนรู้เพื่อสะสม คือ อย่างนี้นี่เอง สิ่งนี้เป็นเครื่องทุ่นแรงสำหรับ ผู้ศึกษาในยุคนี้ ไม่มีใครเคยทำมาก่อน มีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่เท่ามนุษย์ ที่ฝึกฝนตนเองมาเป็นอย่างดี (อย่างหนัก)



วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

เรียนบาลีใหญ่ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ผู้เริ่มต้น จนถึงขั้นค้นคว้า ตำราโบราณ และ พระไตรปิฎก เร็วสู้ Covid

เรียนบาลีใหญ่ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ผู้เริ่มต้น จนถึงขั้นค้นคว้า ตำราโบราณ และ พระไตรปิฎก

เรียนบาลีใหญ่ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ได้ ตั้งแต่ผู้เริ่มต้น จนถึงขั้นค้นคว้า ตำราโบราณ และ พระไตรปิฎก การบันทึกคำศัพท์ คำแปล เพื่อให้ถูกต้องตามหลักบาลีไวยากรณ์ มีคำศัพท์พระบาลีทุกคำ ที่บรรจุอยู่ใน พระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐ รวมถึง แนวทางค้นคว้า หาคำศัพท์ พร้อมคำแปล ได้ด้วยตนเอง




วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

กรธาตุ สัตตมีวิภัตติ เมื่อสำเร็จรูปแล้ว คล้ายกับวัตตมานา

กรธาตุ สัตตมีวิภัตติ เมื่อสำเร็จรูปแล้ว คล้ายกับวัตตมานา

กรธาตุ + ยิรปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ กยิรา

เมื่อสำเร็จรูปแล้ว คล้ายกับวัตตมานาวิภัตติ (ด้วย กวฺจิ ธาตุ) 


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

10.46 นาที ย่อจาก ๑ ชั่วโมง กับการทำตัวรูปคอมพิวเตอร์

10.46 นาที ย่อจาก ๑ ชั่วโมง กับการทำตัวรูปคอมพิวเตอร์ กรธาตุ ปัญจมีวิภัตติ

ใช้เวลาทำตัวรูป ๑ ชั่วโมง สำหรับ
กรธาตุ + โอปัจจัย + ปัญจมีวิภัตติ กโร

เหตุผล เพราะมีรูปพิเศษ และ มีการเปลี่ยนรูปหลายบท(ศัพท์หลายตัว)


วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

กโรติ ย่อมกระทำที่ทำตัวรูปไม่ ธรรมดา

ภาษาบาลี กร ธาตุ ที่ ทำตัวรูปไม่ธรรมดา

กระทำ (อยู่) (ย่อม) กระทำ (จะ) กระทำ
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
กรธาตุ + โอปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ กโร

ปรัสบท


อัตตโนบท

เอก special พหุ พหุ special เอก เอก special พหุ พหุ
ติ เร อนฺติ
เต เร อนฺเต
กโรติ กุพฺพนฺติ กโรนฺติ
กุรุเต
กุพฺพนฺเต
สิ เร
เส
วฺเห
กโรสิ
กโรถ
กุรุเส
กุรุวฺเห
ามิ
าม
เอ
ามฺเห
กโรมิ
กโรม
กุพฺเพ
กุรุมฺเห

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

เทคนิคการลดรูปสูตรเงื่อนไข ด้วย Search functions

เทคนิคการลดรูปสูตรเงื่อนไข ด้วย Search functions

Excel หรือ LibreOffice 

คณฺหา
ปคฺคณฺหา
นิคฺคณฺหา

๓ รูปนี้ ประกอบด้วย ...คณฺหา
รูปพิเศษ ปรัสบท เอกวจน ปฐมบุรุษ ตัดสระ อา ออกก่อนผสม ติ เข้าไป

สูตรคือ =IF(OR($A$4="ปหิณา",SEARCH("*คณฺหา",$A$4)),$A$6&D3,IF($A$4="หน",$A$4&C3,""))


วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เทคนิคการลดรูปสูตรเงื่อนไข แต่รองรับการทำตัวรูปมากขึ้น

8.56 นาที เทคนิคการลดรูปสูตรเงื่อนไข แต่รองรับการทำตัวรูปมากขึ้น

เพิ่ม RIGHT($A$4,3)="ชฺฌ" เข้าไปในเงื่อนไข ของ IF
หมายเหตุ คำกลุ่ม ปติบทหน้า + วิธธาตุ + ยปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ (กัตตุ) ปฎิวิชฺฌ
ไม่พบในพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐ


วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วิธีการใช้ Notepad เป็นที่เก็บข้อมูล และจัดรูปแบบชั่วคราว

วิธีการใช้ Notepad เป็นที่เก็บข้อมูล และจัดรูปแบบชั่วคราวก่อนบันทึกข้อมูล

วิธีการใช้ Notepad เป็นที่เก็บข้อมูล และจัดรูปแบบชั่วคราวก่อนบันทึกข้อมูล ลงใน ThaiNewGenDict เพื่อความรวดเร็ว
ลองทดสอบบันทึกหลังจากจัดรูปแบบเรียบร้อย
เพื่อความรวดเร็ว เทคนิคการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรดติดตาม วีดีโอก่อนหน้า

ถูกตัด (อยู่) (ย่อม) ถูกตัด (จะ) ถูกตัด
ปัจจุบันแท้ ปัจจุบันใกล้อดีต ปัจจุบันใกล้อนาคต
ฉิทิธาตุ + ยปัจจัย + วัตตมานาวิภัตติ (กรรม) ฉิชฺช





วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

6.22 นาที สูตรพื้นฐานการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ กับพุทธพจน์

สูตรพื้นฐานการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ กับพุทธพจน์

สูตรพื้นฐานการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ กับพุทธพจน์ ซึ่งเป็นตรรกพื้นฐานของสรรพสิ่ง

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 11
พระสุตตันปิฎก ทีฆนิกาย เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค
 [๒๗๖]   อปเรปิ   จตฺตาโร   ปุคฺคลา   ตโม  ตมปรายโน  ตโม โชติปรายโน โชติ ตมปรายโน โชติ โชติปรายโน ฯ
บุคคล ๔ ประเภท
มืดมา มืดไป
มืดมา สว่างไป
สว่างมา มืดไป
สว่างมา สว่างไป


วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ การซ้อน if หรือ สร้างเงื่อนไขซ้อน

4.17 นาที การทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ การซ้อน if หรือ สร้างเงื่อนไขซ้อนเพื่อใช้กับ ThaiNewGenDict

บทเรียนแนะนำตัวอย่าง
รูปแบบ คำสั่งการพิจารณาเงื่อไข if ชั้นเดียว
if(condition, yes do?, no do?)

เนื่องจาก กลุ่มศัพท์ตัวอย่าง ทาธาตุ + อปจจัย + สัตตมีวิภัตติ ทท มีรูปพิเศษดังนี้
ตัวอย่างนี้ เรากำหนดรูปแบบ เพื่อให้รู้ว่าในกลุ่มศัพท์ดังกล่าว (ที่เราจะทำตัวรูป) มีรูปพิเศษชุดใดบ้าง

๑ เงื่อนไขแรก เป็น y เพื่อบอกว่าส่วนใดมีรูปพิเศษ
๒ กรณีที่ตัวอักษรที่ ๒ ด้านขวา ไม่ใช่สละ เอ ให้ใส่ เอ เข้าไปก่อนอักษรตัวสุดท้าย

นำคำแปลอัตโนมัตติ ที่จัดรูปแบบไว้ดีแล้ว มาใส่ลงใน Notepad ก่อน copy คำแปลลงโปรแกรม ThaiNegenDict




(ควร )ให้ (พึง )ให้
อนุมติ อนุญาต ปริกปฺป การคาดคะเนระหว่างเหตุกับผล ปตฺถน ความปรารถนา วิธิ การกระทำ
กาลอันถูกกล่าวใกล้ ๆ
ทาธาตุ + อปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ ทท

ปรัสบท เอก ปฐม ปรัสบท พหุ ปฐม อัตตโนบท เอก ปฐม อัตตโนบท พหุ ปฐม
ปรัสบท เอก มัชฌิม ปรัสบท พหุ มัชฌิม อัตตโนบท เอก มัชฌิม อัตตโนบท พหุ มัชฌิม
ปรัสบท เอก อุตตม ปรัสบท พหุ อุตตม อัตตโนบท เอก อุตตม อัตตโนบท พหุ อุตตม

พระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐ (ศัพท์ในโปรแกรมนี้มาจากพระไตรปิฎก บาลี สยามรัฐทุกคำ)
นามาขยาต
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น รวม
รูปสิทธิทีปนี เล่ม ๒
พระอาจารย์มหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ (พระอาจารย์ต่วน)

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ความหมายศัพท์หลาย นัย ประโยชน์ จากการใช้ ThaiNewGenDict

ความหมายศัพท์หลาย นัย ประโยชน์ จากการใช้ ThaiNewGenDict และ การทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

อสฺส มีความหมาย ๓ อย่าง

๑ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม อสฺส ม้า
อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ม้า คำการร้องเรียก
อาลปนะ
๒. (ควร )มี เป็น (พึง )มี เป็น
อนุมติ อนุญาต ปริกปฺป การคาดคะเนระหว่างเหตุกับผล
กาลอันถูกกล่าวใกล้ ๆ
อสธาตุ + อปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ ปรัสบทอย่างเดียว อสฺส
ปรัสบท เอก ปฐม ปรัสบท เอก มัชฌิม

อสฺสํ มีความหมาย ๒ อย่าง

๑ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม อสฺส ม้า
ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ม้า กรรมในประโยค
อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม
๒ (ควร )มี เป็น (พึง )มี เป็น
อนุมติ อนุญาต ปริกปฺป การคาดคะเนระหว่างเหตุกับผล
กาลอันถูกกล่าวใกล้ ๆ
อสธาตุ + อปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ ปรัสบทอย่างเดียว อสฺส
ปรัสบท เอก อุตตม

ภวิสฺสติ มีที่มา หรือ ทำตัวรูป ได้ ๓ แบบ

(จัก)มี เป็น
กาลที่ยังมาไม่ถึง
มีที่มาจาก ๓ รูป
๑ ภู ธาตุ + ภวิสสันตีวิภัตติ ภวิ
๒ อสธาตุ + ภวิสสันตีวิภัตติ อิอาคม ภวิ
๓ ภวิสฺสนฺตุ สมึ (แปลง นฺตุ กับ สมึ เป็น ติ ด้วย โตติตา สสฺมึนาสุ)
ปรัสบท เอก ปฐม




วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การใช้โปรแกรม ThaiNewGendict เพื่อตรวจสอบการทำตัวรูป

การใช้โปรแกรม ThaiNewGendict เพื่อตรวจสอบการทำตัวรูป คำที่มีใช้งานอยู่จริง

พื้นฐาน โปรแกรม ThaiNewGenDict ได้มีการดึงคำศัพท์ จากพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐมาครบถ้วนแล้ว มาไว้ในระบบฐานข้อมูลของโปรแกรม

จะเห็นว่าในแบบเรียน อาจทำตัวอย่างไว้ไม่ครบทุกคำศัพท์ ดังนั้นในฐานะผู้ศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือเพื่อคอยตรวจสอบการใช้งานที่มีอยู่จริง โดย จะต้องมีคลังคำศัพท์ที่มากพอ ซึ่ง ThaiNewGenDict มีคำศัพท์บาลี ที่ใช้จริงมากกว่า แสน ๗ หมื่นคำ


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำตัวรูป อาขยาต ด้วยคอมพิวเตอร์

วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำตัวรูป อาขยาต ด้วยคอมพิวเตอร์

คลิปนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แบบ เร่งด่วน ในขณะทำตัวรูป เพื่อความรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อการนำไปปรับปรุงและใช้เป็นการถาวรณ์ต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

6.29 นาที จุดสังเกตุ หลักการทำตัวรูปง่ายๆ ๒ วิภัตติ สุดท้าย ของอาขยาต

จุดสังเกตุ หลักการทำตัวรูปง่ายๆ ๒ วิภัตติ สุดท้าย ของอาขยาต

ภวิสสันตีวิภัตติ
กาลาติปัตติวิภัตติ
ให้ท่านผู้ศึกษา ลองฝึกทำด้วยตนเองตามจุดสังเกตุ ที่เสนอโดยวิธีนี้ (เพื่อการเรียนรู้ที่รวดเร็วในกาลต่อไป)

หนังสือที่ใช้อ้างอิง นามาขยาต


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

12.22 นาที เจาลึก อัชชตนี KeyPoint

12.22 นาที เจาลึก อัชชตนี KeyPoint จากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

เจาลึก อัชชตนี KeyPoint
เจาะสูตรตัวรูปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
อัตโนบทไม่มีรูปพิเศษ = n
อัตโนบท อุตมบุรุษ เอกไม่มีรูปพิเศษ = n
ปฏิเสธ ซ้อน ปฏิเสธ (ไม่ กับ ไม่ คือ ใช่ (มี)) จะเห็นว่ามีครบ

อัตโนบทไม่มีรูปพิเศษ = y
อัตโนบท อุตมบุรุษ เอกไม่มีรูปพิเศษ = y
จะเห็นว่าไม่มี ในรูปที่กำหนด

หลักการทำตัวรูปไวยากรณ์ เบื้องต้นต้อง สามารถนำไปใช้ให้ได้มากที่สุดในวิภัตตินั้นๆ
บันทึกการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ ข้อดีอีกอย่างสามารถ ทำให้เรารู้ได้ว่าในพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐนั้นมีใช้หรือไม่
จากการทำตัวรูป บางชุดจะเห็นได้ว่า ไม่มีอยู่ใน พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ นั้น โดยส่วนตัวยังคงมีความเชื่อใน ๓ ลักษณะคือ
๑ ใน อดีต ภาษาดั้งเดิม น่าจะมีการใช้มากกว่าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดั่ง พุทธพจน์ ที่กล่าว คำสอนเปรียบดั่งใบไม้ในกำมือ
๒ ภาษาอังกฤษ ที่มีใช้ทั้งหมด มีมากกว่าที่ระบุในหนังสือสอนคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยี ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
หลักการตรงนี้ สามารถนำไปใช้กับพระไตรปิฎก ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้หมดข้อกังขาเรื่องพุทธพจน์ ทั่วโลกตรงกันหรือไม่ หรือ ทำให้ทราบแน่ชัดว่าที่ไม่ตรงกันเพราะอะไร
๓ ตามความเห็น ผู้จัดทำ ณ.ปัจจุบัน พฤษจิกายน พศ.๒๕๖๒ คาดว่าการที่บันทึกไม่ตรงกันน่าจะเกิดจากฐานกรณ์ ด้วยอึกประการหนึ่ง เพราะ สมัยโบราณเป็นการท่องจำสืบต่อกันมา และ การบันทึกเป็นอักษรได้เกิดขึ้นมาภายหลัง

เนื่องจากหลังทำตัวรูป ตามหลักบาลีไวยากรณ์ ของ ปทรูปสิทธิ ซึ่ง มีเป็นจำนวนมาก เป็น % เมื่อเทียบในบาลีสยามรัฐ สิ่งที่ต้องหาคำตอบต่อไปคือ โดยมากของตำรานี้ เทียบกับตำราชุดใด
ซึ่งทางผู้จัดทำจะได้ทำบันทึกศัพท์ ตาม ไวยากรณ์ ของตำรานี้อีกครั้งหนึ่งในกาลต่อไป ตามที่เวลาจะอำนวย

ประโยชน์ ของการใช้ Software บันทึกข้อมูลอีกประการหนึ่ง คือ ลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง และ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างกันได้ทั่วโลก ในเสี้ยวนาที

บางท่านอาจมองว่า การทำตัวรูปทำได้ยาก เฉกเช่นเดียวกับการจำให้ได้มากครบ 100% ในทุกคำศัพท์ตามหลักบาลีไวยากรณ์ ตรงนี้ไม่รวมถึงผลเสียที่เกิดจากการจำผิดพลาด
หมายเหตู คอมพิวเตอร์ มีสังขารที่ยาวนานกว่าร่างกายมนุษย์ ตราบที่พลังงานของโลกยังไม่หมด ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยังไม่ล่มสลาย

เอวัง


วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

37.05 นาที สูตรทำตัวรูปที่ซับซ้อน ๒ วิภัตติคู่ ปโรกขาวิภัติ อัชชตนีวิภัตติ

37.05 นาที สูตรทำตัวรูปที่ซับซ้อน ๒ วิภัตติคู่ ปโรกขาวิภัติ อัชชตนีวิภัตติ

พร้อมหลักการช่วยจำจากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

วันนี้เสนอ การทำตัวรูป ๒ วิภัตติ ไม่มีเสียง Background เนื่องจากมีจุดสังเกตุค่อนข้างมาก
๑ ปโรกขาวิภัติ
ไม่มี อ อาคม หน้าธาตุ
ประกอบคำว่า แล้ว ใช้ใน อดีตล่วงแล้วไม่มีกำหนด
ดูการทำตัวรูปกันเลย
ที่ท่องในตำรา ปรัสบท คือ
อ อุ เอ ตฺถ อํ มฺห
การใช้จริง
อ อุ เอ ิตฺถ อํ ิมฺห
อัตตโนบท คือ
 ิตฺถ ิเร ิตฺโถ ิวฺโห อึ ิมฺเห
หมายเหตุ สมัยก่อนใช้พิมพ์ดีด และ โปรแกรมเอกสารทั่วไปไม่สามารถพิมพ์ สระ ิ ตัวเดียวได้ จึงเป็นที่มาว่าต้องพิมพ์ อิตฺถ แต่เนื่องจาก โปรแกรม spreadsheet ที่ใช้อยู่นี้ Libreoffice สามารถใช้ได้ จึงใช้รูปสระโดด เพราะ ทำให้สูตรคอมพิวเตอร์สั้นลง
สำหรับ ปโรกขฯ มีหลักการทำตัวรูปเท่านี้ ลองทดสอบสูตรกันดู
ปรัสสปทัตตะ
y
สำหรับประโยคกรรม

๒ อัชชตนี วิภัตติ
การทำตัวรูปซับซ้อนที่สุด
ให้จัดช่องให้ตรงกับวีดีโอ เพื่อให้สูตรที่ใช้ตรงกัน
เพื่อความรวดเร็วของการบันทึกให้ หยุด วีดีโอชั่วคราวขณะที่ทำสูตรบนคอมฯ ตาม

นมัสการ ขอกราบขอบพระคุณผู้ติดตามชม (หลังทำตัวรูปเสร็จควรบันทึก พร้อมคำแปลลงใน โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อการค้นหาได้สะดวกในภายหน้า)