วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จิตหลุดพ้น


นันทิขยสูตรที่ ๑
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง  ความเห็นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึง
สิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลินเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เรา
จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุ
นั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้น
ราคะเพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า
จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
นันทิขยสูตรที่ ๒
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยงความเห็นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึง
สิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลินเพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึง
เรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็นเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า
ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๒
นันทิขยสูตรที่ ๓
[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และ
จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบาย
อันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบาย
อันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๓
นันทิขยสูตรที่ ๔
[๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบาย
อันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง
ธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็น
จริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึง
สิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ