วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 (31+1) อย่าง บ้างก็เรียก อาการ 32 กรรมฐาน 32 กอง

 ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 อย่าง

ภาษาบาลี ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย อวัยวะ 32 ประการ เดิมที มี 31 
คำว่า มตฺถลุงฺคํ เดิมทีนั้นในพุทธสุภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมคำว่า มตฺถลุงฺคํ เยื่อในสมองไว้ในคำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ คือ เยื่อในกระดูกแล้ว
ในเวลามีการจัดหมวดหมู่ เป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้ท่องได้ง่าย ดังนี้
เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ,
มํสํ นหารู อฏฺฐิ อฏฺฐิมิญฺชํ วกฺกํ,
หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ, 
อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ มตฺถลุงฺคํ, 
ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท, 
อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺฆาณิกา ลสิกา มุตฺตนฺติ

แปลความว่า ในร่างกายเรานี้มีส่วนต่างๆ อยู่ คือ

            ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง 
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม 
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด 
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง เลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร 












วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

เวปโปรแกรม พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา

 เวปโปรแกรม พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา




การตั้งค่า Font ไทย Windows10 Windows11

 การตั้งค่า Font Thai Windows10 Windows11

เราสามารถตั้งค่า Font ไทย สำหรับใช้ ในทุกโปรแกรม โปรแกรมพระไตรปิฎก ภาษาไทย และ โปรแกรมบาลี ดิกชันนารี ลำดับขั้นตอนตามรูปภาพ






วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

พระธรรมเทศนา เทศนาธรรม เรื่องความตาย โดย พระมหาวีรชัย นันทะวังโส ป.ธ.๙ แห่ง วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

 เทศนาธรรม เรื่อง ความตาย เรื่องราวจากพุทธพจน์ การพิจารณาอย่างไร เพื่อไม่ให้ต้องตายอีก โดย พระมหาวีรชัย นันทะวังโส ป.ธ.๙ แห่ง วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

ประโยค พระบาลี ที่มักใช้ในกลุ่มศิษย์ บาลีไวยากรณ์ใหญ่ วัดท่ามะโอ ซึ่งจะแตกต่างจากที่ใช้กันอยู่ทั่วไปดังในคลิปแสดงธรรม (ใช้ได้ทั้งสองแบบ)
คาถาอาราธนาธรรม (หลวงพ่อวัดท่ามะโอ)
กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส  
โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย  
เทเสตุ ธมฺมเทสนํฯ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เวลาฟังพระสัทธรรมมาถึงพร้อมแล้ว พวกข้าพเจ้าปรารถนาฟังพระธรรมเทศนาของพระจอมมุนี ขอท่านโปรดอาศัยเมตตานุเคราะห์ แสดงพระธรรมเทศนาให้ข้าพเจ้าทั้งหลายรับฟังเถิด
กาพย์ยานี 11 คำประพันธ์
ปวงข้าพเจ้าทั้งหลาย  มีจิตหมายฟังพระธรรม
ขอท่านโปรดแนะนำ  พระธรรมขององค์มุนี
เมตตาอนุเคราะห์  เวลาเหมาะสิริดี
แสดงธรรมประดามี  แก่ปวงข้าพเจ้าเทอญฯ



วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

สรุปการใช้ คำกริยา อาขยาต ภาษาบาลี ปัญจมีวิภัตติ พร้อมฝึกสัมพันธ์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ

 สรุปการใช้ คำกริยา อาขยาต ภาษาบาลี ปัญจมีวิภัตติ เบื้องต้น ฝึกสัมพันธ์

ประโยค ตัวอย่าง ปัญจมีวิภัตติ
โดยท่านอาจารย์ เขมานันท์ ละออ
ใช้โปรแกรมแต่งเสียงเพื่อให้ฟังได้ชัดขึ้น



วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 3

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 3

พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต

สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

พาหุสัจจะ (การมีความรู้มาก) ๑ ศิลป (การทำงานช่าง) ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต (การพูดด้วยถ้อยคำไพเราะห์) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๔ ๑๐ ๓๘)


มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห

อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การบำรุงมารดา บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล (การสะสางการงานไม่ให้ยุ่งเหยิง) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๑๓ ๓๘)


ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ ญาตกานญฺจ สงฺคโห

อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การให้ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ (การงานที่ปราศจากโทษ) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๔ ๑๗ ๓๘)