วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 3

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 3

พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต

สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

พาหุสัจจะ (การมีความรู้มาก) ๑ ศิลป (การทำงานช่าง) ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต (การพูดด้วยถ้อยคำไพเราะห์) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๔ ๑๐ ๓๘)


มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห

อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การบำรุงมารดา บิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล (การสะสางการงานไม่ให้ยุ่งเหยิง) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๑๓ ๓๘)


ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ ญาตกานญฺจ สงฺคโห

อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การให้ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ (การงานที่ปราศจากโทษ) ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๔ ๑๗ ๓๘)




วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 2

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 2

ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา

อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ


การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๖ ๓๘)





ภาษาบาลี คือ อะไร พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ความเชื่อมโยง อักษร ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก บอกอะไรเราได้บ้าง

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาษาบาลี

บาลี (บาลี: ปาลิ पालि; สันสกฤต: पाळि ปาฬิ); (อังกฤษ: Pali) เป็นไวยากรณ์ที่เก่าแก่แขนงหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี


จุดเริ่ม การศึกษาที่มาของภาษาบาลี และ ที่มาของคลิปนี้

ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี



การเพิ่ม Font ภาษาบาลี

การเพิ่ม Font ภาษาบาลี

 1. ให้ทำการ เพิ่ม Font

1.1 Download Font บาลี


1.2 แตก Zip ไฟล์ เลือก Font แค่ที่เห็นเป็นชื่อชัดๆก็พอ แล้วทำการ Click ขวา Install for all users




Font แนะนำ Buddhawajana และ BuddhawajanaPali เมื่อต้องการพิมพ์งาน ภาษาบาลีเนื่องจากเห็นชัดทุกระดับ Font และ ภาษาบาลี โดยเฉพาะ ญ ฐ จุดล่าง นิคคหิต ใช้เป็นอักษรบน Keyboard ปกติได้ ไม่ต้องใช้อักษรพิเศษ และ เมื่อ Copy ข้อความจากเอกสาร ไปใช้ที่อื่น เช่น Facebook Line และ อื่นๆ จะไม่มีอักษรขยะ แต่จะมองเห็น เป็น ญ ฐ มีฐานเท่านั้น (กรณีไม่มีจุดล่าง)

1.3 ให้ดำเนินการตรวจสอบ ที่ Control Panel ของ Windows เลือก Locale เป็น ภาษาไทย





วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

บาลีไวยากรณ์ จากตำราโบราณ รวมท่อง พร้อมตัวอย่าง กัจจายนะสูตร ครบทั้ง 7 กัณฑ์

 กัจจายนะ

1. สนธิกัณฑ์


2. นามกัณฑ์


3. การกกัณฑ์





4. สมาสกัณฑ์




5. ตัทธิตกัณฑ์





6. อาขยาตกัณฑ์




7. กิพพิธานกัณฑ์




ตัวอย่างการใช้ คัมภีร์ กัจจายนะ ประกอบคำ ในภาษาบาลี




วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 1

 เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี


อถ โข อญฺญตรา เทวตา

อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺปํ เชตวนํ

โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ

อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา

ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ

ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามแห่งราตรีล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อถึงที่ประทับ ได้ถวายบังคม(อภิวาท) แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

   

พหู เทวา มนุสฺสา จ มงฺคลานิ อจินฺตยุํ

อากงฺขมานา โสตฺถานํ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล อันประเสริฐเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า)


อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา

ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล  (๓ ๐ ๓๘)



วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07
พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
...
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติ
พราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
บังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระ    พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ
ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา   บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
       พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก   เธอจึงได้
กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้
เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น   ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา  รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
ยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา    สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรา
อนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ



ภาษา อังกฤษ บาลี ภาษาไทย มาจากภาษาเดียวกัน? พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ใช่ภาษาบาลี หรือไม่