วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา

วัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติ
การจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน.
คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยว
จาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์
อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า
ก็ยังทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้ เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วันหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา
วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วง
ไปแล้ววันหนึ่ง พึงเข้าพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือนหนึ่ง
พึงเข้าพรรษาหลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล.

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ชีวิตเปรียบดังเม็ดฝน

พระพุทธเจ้าได้เปรียบเปรย ฝนตกหนัก ก็ไม่ต่างกับชีวิต อย่างไร ?
" ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด 
 ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์ มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ "

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

เหตุเกิดแห่งวิญญาน

[๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระพุทธเจ้าสอน หนทางแห่งความร่ำรวย

พระพุทธเจ้าสอน วิถีทางแห่งความร่ำรวย (ไม่จน)
ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์
พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 23 ข้อที่144 หน้าที่ 223

ทางเสื่อมแห่งทรัพย์

...โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบ 
อย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลง 
สุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่วเพื่อนชั่ว ๑ ฯ 

ทางเจริญแห่งทรัพย์
...ดูกรพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ 
คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี 
เพื่อนดี ๑ ดูกรพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ไหลออก ๔ ทาง...

มีทรัพย์ ไม่มีความสุข ก็ไม่มีความหมาย

...ดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้า 
แก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ 
ปัญญาสัมปทา ๑ ฯ 

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธาคือ เชื่อ 
พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต...

ดูกรพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้น จากปาณา 
ติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูกร 
พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสีลสัมปทา ฯ 

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทินคือ 
ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามือชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ 
ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรพยัคฆปัชชะนี้เรียกว่าจาคสัมปทา ฯ 

ดูกรพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ 
ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ 
โดยชอบ ดูกรพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทาดูกรพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล 
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ฯ 
คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม 
เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา 
ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ...

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

อานิสงส์ การสร้างอาราม มีกล่าวอยู่ แต่ อุโบสถ มิได้มี ดังนี้

อานิสงส์ การสร้างอุโบสถ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่
รวบรวมอานิสงส์ จากพระสูตรต่างๆ ยังไม่พบว่า มีพระสูตรใดกล่าวถึงอานิสงส์ จากการสร้างอุโบสถ มีแต่อานิสงส์ ของการสร้าง อาราม เท่านั้น





แล้ววัดในปัจจุบันเล่า คือ ?











วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อานิสสง การถวายกุฏิที่พักสงฆ์

#คาถาอนุโมทนาวิหารทาน

[๒๐๓] วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยัง ป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู(ฤดูหมอกหรือน้ำค้าง) นอกจากนั้นวิหารยังป้องกันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อ    หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณาและเพื่อเห็น    แจ้งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ 

เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้าง วิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยู่ในวิหารนี้เถิด 

อนึ่ง  พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้าและเสนาสนะ อันเหมาะ   สมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอ ย่อม  แสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ทั่วถึง  แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาท่านราชคหเศรษฐี ด้วยคาถาเหล่านี้  แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ฯ

+++++++++++++++++++++++++++

 พุทธานุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด
  [๒๐๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร ๑ เรือนมุงแถบเดียว ๑  เรือนชั้น ๑ เรือนโล้น ๑ ถ้ำ ๑ ฯ

  [๒๐๑] ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้วได้กล่าวว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหารแล้ว บัดนี้เป็นการสมควรที่จะสร้างได้ราชคหเศรษฐีให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังโดยวันเดียวเท่านั้น ครั้นให้สร้างเสร็จแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูล  อาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหาร    ของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดย ดุษณีภาพ ครั้นเศรษฐีทราบว่า ทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมทำประทักษิณ กลับไปแล้ว ให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตโดยล่วง ราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว    ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    ถวายวิหาร
  [๒๐๒] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก ถือบาตรจีวร  เสด็จไปยังนิเวศน์ของราชคหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาด   ถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  จึงราชคหเศรษฐี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น    ประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาค  ผู้เสวยแล้ว ลดพระหัสถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการ   สวรรค์ ได้ให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังนี้ไว้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ในวิหารเหล่านั้นพระพุทธเจ้าข้า

  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคหบดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวายวิหารเหล่า  นั้นแก่สงฆ์
จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ราชคหเศรษฐีทูลรับพระพุทธดำรัส แล้ว ได้ถวายวิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์ จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา

  ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่ราชคหเศรษฐีด้วยคาถาเหล่านี้ว่าดังนี้:

#คาถาอนุโมทนาวิหารทาน

[๒๐๓] วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยัง ป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้นวิหารยังป้องกันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อ    หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณาและเพื่อเห็น    แจ้งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ 

เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้าง วิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยู่ในวิหารนี้เถิด 

อนึ่ง  พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้าและเสนาสนะ อันเหมาะ   สมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอ ย่อม  แสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ทั่วถึง  แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาท่านราชคหเศรษฐี ด้วยคาถาเหล่านี้  แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ฯ

#คำสอนพระพุทธเจ้า
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ธรรม โปรแกรมพระไตรปิฎก แจกฟรี เราพัฒนาอะไร

ธรรม ไม่ต้องค้นหาพระสูตร พระไตรปิฎกฟรี

ติดตามกันได้ keyword หรือ ทางลัดสู่เนื้อหาของนิพพานในพระไตรปิฎก

Download ได้ฟรี โปรแกรมพระไตรปิฎก

http://dharma-of-buddha.blogspot.com/2015/08/download-thaitipitaka-down-load.html