วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 3-8

พรั่งพร้อมด้วยสุข ไม่มีทุกข์

นครของเราชื่อกบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นโยมบิดาของเรา โยมมารดาบังเกิดเกล้าของเรา
เรียกพระนามว่า มายาเทวี เราครอบครองอาคารสถานอยู่ ๒๙ ปี
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุจันทะ โกกนุทะ และ
โกญจะ มีสนมนารีกำนัลในแปดหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดา
สวยงาม มเหสีของเรานามว่า ยโสธรา บุตรชายของเราชื่อว่าราหุล...

 [๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์อย่างยิ่งไม่มีทุกข์โดยส่วนเดียว
ได้ยินว่า พระชนกรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้เพื่อเราภายในนิเวศน์ ให้ปลูกอุบลไว้สระหนึ่ง
 ปทุมไว้สระหนึ่ง ปุณฑริกไว้สระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา แต่เราไม่ได้ใช้ไม้จันทน์เมืองกาสี
เท่านั้น ผ้าโพก เสื้อผ้านุ่ง ผ้าห่มของเรา ล้วนเกิดในเมืองกาสี มีคนคอยกั้นเศวตฉัตรให้เรา
ตลอดคืนตลอดวัน ด้วยหวังว่า    หนาว    ร้อน    ธุลี    หญ้า    หรือน้ำค้าง   อย่าเบียดเบียน
พระองค์ท่านได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีปราสาท ๓ หลัง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ ในฤดูหนาว
 ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนเรานั้นแลถูกบำเรอด้วยดนตรี
ซึ่งไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน บนปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มิได้ลงมาข้างล่าง
ปราสาทเลย ในนิเวศน์แห่งพระชนกของเรา เขาให้ข้าวสาลีระคนด้วยมังสะแก่ทาสกรรมกร
บุรุษ ทำนองเดียวกับที่ในนิเวศน์ของเขาอื่น เขาให้ข้าวป่นอันมีน้ำส้มเป็นที่สอง ฉะนั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลายเรานั้นซึ่งประกอบด้วยความสำเร็จเห็นปานดังนี้ เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง...

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 2

ประสูตร และ พระมารดาสิ้นพระชนม์

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 2

ทำนาย หลังประสูตร เจ้าชายสิทธัตถะ

[๑๓๓] พระมหาบุรุษยินดีในวจีสัจ ในธรรม [กุศลกรรมบถ] ความฝึกตน
ความสำรวม ความเป็นผู้สะอาด ศีลที่เป็นอาลัย อุโบสถกรรม ความ
ไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และกรรมอันไม่ สาหัส สมาทานแล้วมั่นคง ทรง
ประพฤติมาแล้วอย่างรอบคอบ เพราะกรรมนั้น พระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่
ไตรทิพย์ เสวย ความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินยินดี จุติจากไตร
ทิพย์แล้ว เวียนมาในโลกนี้ เหยียบปฐพีด้วยฝ่าพระบาทอันเรียบ พวก
พราหมณ์ผู้ทำนายพระลักษณะมาประชุมกันแล้วทำนายว่า พระราชกุมารนี้
มีฝ่าพระบาทประดิษฐานเรียบ เป็นคฤหัสถ์หรือ บรรพชิต ก็ไม่มีใคร
ข่มได้ พระลักษณะนั้นย่อมเป็นนิมิตส่อง เนื้อความนั้น พระราชกุมารนี้
เมื่ออยู่ครองฆราวาส ไม่มีใคร สามารถข่มได้ มีแต่ครอบงำพวกปรปักษ์
เหล่าศัตรูมิอาจย่ำยีได้ ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้หาข่มได้ไม่ เพราะ
ผลแห่งกุศล กรรมนั้น ถ้าพระราชกุมารเช่นนั้น เข้าถึงบรรพชา ทรง
ยินดี ยิ่งด้วยความพอใจในเนกขัมมะ จะมีพระปรีชาเห็นแจ่มแจ้ง เป็น
อัครบุคคล ไม่ถึงความเป็นผู้อันใครๆ ข่มได้ ย่อมเป็นผู้ สูงสุดกว่า
นรชน อันนี้แลเป็นธรรมดาของพระกุมารนั้น ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน
ได้เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาภัยคือความ หวาดกลัวและความหวาดเสียว
จัดความรักษาปกครองป้องกันโดยธรรม และ บำเพ็ญทานพร้อมด้วยวัตถุอันเป็นบริวาร เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันตนทำสั่งสม พอกพูน
ไพบูลย์ ฯ
ตถาคตย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณ
ทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์
และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหา
ปุริสลักษณะนี้ คือ ในฝ่าพระบาททั้ง ๒ มีจักรเกิดเป็นอันมาก มีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุม
บริบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวง มีระหว่างอันกุศลกรรมแบ่งเป็นอันดี พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษ
ณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อ
เป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือ มีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็น คฤหบดี เป็น
ชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็น กองทหาร เป็นนายประตู เป็น
อำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็น ราชกุมาร ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือน
ทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระ พุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือ มี
บริวารเป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร
เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้ พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าว 

คาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า ฯ 

พุทธลัษณะ 32 ประการ

อาญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็น
บรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ฯ
ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่าไหน อันเป็นเหตุ
ให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มี มหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว
มีพระราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วย แก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมี
สาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ฯ
[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็ พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี (เรียบเสมอ)
ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของ
มหาบุรุษนั้น ฯ
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ข้าแต่สมมติเทพ แม้ การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒
ของพระราชกุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็เป็น
มหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วย ทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขด
เป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกาย
ของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท (ดำคม) ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งขนง มีสีขาวอ่อนควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติเทพ แม้ การที่พระราช
กุมารนี้ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริส  ลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่า นี้ ซึ่งมีคติ
เป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณา
จักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
คฤหบดีแก้ว ปริณายาแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูป
ทรงสมเป็น วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้อง ใช้
อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออก ผนวชเป็นบรรพชิต
จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส อันเปิดแล้วในโลก ฯ 

พระมารดา ของพระพุทธเจ้า สวรรคต ภายใน ๗ วัน
[๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้   วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำ
ไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

อานิสสงของอานานปานสติ

แผนผังอานิสสงของอานาปาสติ



[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรใน 
อันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก 
มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้ 
บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ 
ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ 
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว 
อย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี 
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมี 
สติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ 
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ 
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจ 
ออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก 
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า 
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเรา 
จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียก 
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตาม 
พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หาย 
ใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตาม 
พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผล 
มาก มีอานิสงส์มาก ฯ 
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว 
อย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ 
ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย 
ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก 
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย 
ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว 
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก 
ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า 
พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจ 
ออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หาย 
ใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา 
เห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนา 
ชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาใน 
เวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเรา 
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ 
ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายใน 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ 
วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร 
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า 
บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ