วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำสอนของพุทธองค์

คำกลอนแปลงจาก คำสอนของพุทธองค์ รู้ว่าสุข อย่าลุ่มหลง จะเกิดโลภ รู้ว่าทุกข์มีโศก อย่าเศร้าหมอง อย่าไปจมกองทุกข์ ให้เข้าไปมอง แล้วค่อยๆลองถอยห่าง มองดูจนทุกข์คลาย ให้รู้ว่าจิตนี้ช่างเบื่อหนัก ว่าได้ รัก โลภ โกรธ และ หลง ทำให้คนเรานี้ มีทุกข์ระทม เลยต้องจม อยู่ในวัฏสงสาร เมื่อได้รู้อย่างนี้ ทำไมต้องทรมาร พระองค์ ทรงสอนให้ก้าวผ่านสู่นิพพานเอย

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่เกิดอีก

        ทรงแสดงจตุราริยสัจ   [๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น   ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาครับสั่งพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวก เธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ .... ทุกขสมุทยอริยสัจ .... ทุกขนิโรธอริยสัจ .... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธ อริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอด แล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.           นิคมคาถา   [๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยว   ไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เรา   และพวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดเราและพวก   เธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่งทุกข์ เราและพวกเธอก็ได้   ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.         _________________

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศีลละองค์ ห้า

ที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้ ดูกรวัจฉะเรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้าง
ดูกรวัจฉะ
อีกประการหนึ่ง เราย่อมกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ท่านผู้มีศีลมีผลมาก ที่ให้ในคนทุศีล หาเหมือน
เช่นนั้นไม่ ทั้งท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ละองค์ ๕ เหล่าไหน
ได้ คือ ละกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ท่านผู้มี
ศีลละองค์ ๕ นี้ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน คือ ประกอบด้วยศีลขันธ์ที่เป็นของ
พระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็น
ของพระ อเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสน
ขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านที่
ละองค์ ๕ ได้ ประกอบด้วยองค์ ๕ ดังกล่าวมามีผลมาก ฯ

ศีลละองค์5 ถีนมิทธะ ความท้อถอย ความง่วง .....อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นสองคำคือ อุทธัจจะ กับ กุกกุจจะ .....อุทธัจจะ หมายถึงความฟุ้งซ่าน อึดอัดกลัดกลุ้ม กังวล ทำให้เกิดความเครียด ความหงุดหงิด ในคำไทยใช้ว่า อุทธัจ คือความฟุ้งซ่านความประหม่า ความขวยเขิน ....กุกกุจจะ หมายถึงความรำคาญใจ ความวิตกกังวล ทำให้อึดอัด กลุ้มใจ ....อุทธัจจกุกกุจจะ จัดเป็น นิวรณ์ คือ เครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงความดีและปดิกั้นความดีมิให้เข้าถึงจิต  ....อุทธัจจกุกกุจจะ เกิดจากใจที่ไม่สงบ แก้ได้ด้วยการเจริญกสิณและมรณัสสติ วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว เรียกเต็มว่า พระอเสขะ หรือ อเสขบุคคล อเสขะ ได้แก่พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเลสอีก เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คาถาพระรอด

อิมัง พุทธะสักขีปะฏิมัง อะภิปูชะยามะ
อะยัง พุทธะสักขีปะฏิมายะ ปูชะนัสสะ
อานิสังโส อัมหากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุฯ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปุริสคติ ๗ ประการ


ปุริสคติสูตร
     [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบัน
ก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่
กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่
ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญา
อันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือ
ภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้น
ไป ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่
เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็นบท
อันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดย
อาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูก
เผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนักเปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตี
แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
 สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน
เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงเปรียบเหมือนเมื่อนาย
ช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้
ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและ
ควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพเปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้
ไม้กอและป่าไม้ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปุริสคติ ประการ
นี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มี
แก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อัน
เป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา
วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ


โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๖/๒๘๘ ข้อที่ ๒๘๔ - ๒๘๖
[๒๘๔]  โอรัมภาคิยสังโยชน์  [สังโยชน์เบื้องต่ำ] อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ          [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
๒. วิจิกิจฉา            [ความสงสัย]
๓. สีลัพตปรามาส        [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย
ศีลหรือพรต]
๔. กามฉันทะ         [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
. พยาบาท          [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
[๒๘] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] อย่าง
๑. รูปราคะ            [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
๒. อรูปราคะ           [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
๓. มานะ              [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
๔. อุทธัจจะ            [ความคิดพล่าน]
. อวิชชา             [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]