วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กามาทีนวกถา

ในกามาทีนวกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง โดยปริยาย มิใช่อันเดียว จะยกมาแสดงในที่นี้แต่สังเขปพอได้ใจความ กามแปลว่า ความใคร่ความติดใจ ท่านแบ่งเป็น ๒ คือ กิเลสกามอย่าง ๑ วัตถุกามอย่าง ๑ ความกำหนัดรักใคร่ ยินร้าย ยินดี โลภ โกรธ หลง เป็นต้น เป็นลักษณะของกิเลส รูป รส เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณทรัพย์ เป็นลักษณะของวัตถุ.

ถ้าจะย่นลงคงเป็นหนึ่ง เพราะวัตถุก็เป็นที่ตั้งของกิเลส ถ้าไม่มีวัตถุเป็นที่ตั้ง กิเลสก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ ตกลงวัตถุ ๑ กาม ๑ กิเลส ๑ ประชุมกันเข้าเป็นกามกิเลส ย่นกามกิเลสลงเป็นหนึ่ง คงเหลืออยู่แต่กาม ถ้ากล่าวว่ากามคำเดียวเท่านั้น ผู้ฟังต้องเข้าใจว่า ได้กล่าวพร้อมทั้ง ๓ ประการ บรรดากามทั้งหลายจะเป็นของมนุษย์ หรือเป็นของทิพย์ก็ตาม ความเป็นจริงย่อมมีความยินดีน้อย ประกอบด้วยโทษทุกข์ภัยความคับแค้นมากลำบากในสามกาล คือการแสวงหา ๑ การบริหารรักษา ๑ การวิโยคพลัดพราก ๑. ความเป็นจริงของสัตวโลกที่ได้รับโทษทุกข์ภัยความคับแค้นต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปอยู่ทุกวันนี้ ย่อมมีกามเป็นต้นเหตุ ผู้ที่ติดคุกติดตารางจองโซ่จำตรวนซึ่ง เป็นไปอยู่ทุกวันนี้ ก็มีกามนั้นเองเป็นต้นเหตุ ผู้ที่เป็นคดีร้องฟ้องต้องฏีกาตามโรงศาลตามชั้นตามภูมิ เป็นต้นว่า พระราชาต่อพระราชายกพยุหยาตราเข้าประชิดชิงชัยซึ่งกันและกัน หรือพ่อค้า เศรษฐี กุฎมพี แพศย์ ศูทร เป็นต้น จะเกิดวิวาทขึ้นเจ้า ขึ้นข้า ท้าทายจับท่อนไม้ก้อนดิน ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็ย่อมมีกามเป็นต้นเหตุ ธรรมชาติของกามมีความยินดีน้อย มีโทษทุกข์ภัยมาก ลำบากแก่ผู้ปกครอง กามทั้งหลายท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนหลุมถ่านเพลิง อาจที่จะทำบุคคลผู้ตกลงไปให้ถึงความตายหรือได้รับทุกข์แทบประดาตาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านเปรียบไว้เหมือนก้อนมังสะ ถ้าสัตว์ตัวใดคาบไว้ ย่อมได้รับสับตอดขบกัดแต่หมู่ของตน อีกอย่างหนึ่งท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนคบเพลิง ถ้าผู้ใดถือไว้ไม่ว่าง เมื่อต้องลม ย่อมจะคุล่วงเผาผลาญร่างกายให้ได้ความลำบาก อีกอย่างหนึ่ง ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนผลไม้ เมื่อมีขึ้นในต้นใด ย่อมทำให้กิ่งก้านสาขาให้ยับเยินป่นปี้ เกิดแต่ผู้ต้องการผล อีกอย่างหนึ่งท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนคบดาบและคมหลาว ผู้ใดเผลอไม่ระวังไปกระทบเข้า ย่อมจะได้รับความเจ็บปวดทุกขเวทนา อีกอย่างหนึ่ง ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนศีรษะงูอสรพิษ ผู้ไม่พินิจไปเหยียบเข้า ย่อมจะได้รับทุกข์เกิดแต่พิษถึงแก่ตายหรือแทบประดาตาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนเขียงสับเนื้อเข้า เขาต้องการสับแต่เนื้อ โดนเขียงกร่อนลงทุกที อีกอย่างหนึ่ง กามทั้งหลายท่านเปรียบไว้ดังของยืมท่านมาใช้ เสร็จกิจแล้วต้องส่งเจ้าของไป อีกอย่างหนึ่ง ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนของฝันเห็น ตื่นแล้วก็สูญไปเท่านั้นอาศัยส่วนเปรียบของกามตามที่ท่านกล่าวไว้นั้น ได้ใจความว่ามีความสุขความยินดีน้อย ประกอบด้วยโทษทุกข์ภัยความคับแค้นมาก เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ในโลกก่อนพุทธกาลหรือครั้งพุทธกาล หรือในทุกวันนี้ก็มักเห็นโทษของกาม จึงพากันบรรพชา ประพฤติพรตเว้นกามาฆรสถานเป็นฤาษีปริพาชกนับไม่ถ้วน หวังเพื่อจะหนีกามเป็นต้นเหตุ ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็เห็นโทษของกามจึงได้ออกภิเนกษกรมณ์ ทรงผนวช ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้อมตธรรมของจริงแล้ว ก็ยกโทษของกามขึ้นแสดงว่าเป็นของผิด ดังแสดงกามสุขัลลิกานุโยค ในเบื้องต้นแห่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นตัวอย่าง พอเป็นทางให้เราทั้งหลาย ตรองตามว่ากามทั้งหลายเป็นของมีโทษจริงด้วย เมื่อเห็นโทษขอมกาม ซึ่งเป็นส่วนของมนุษย์ ประกอบด้วยโทษอย่างนี้ ๆ แม้ถึงกามารมณ์ซึ่งเป็นของทิพย์ของสวรรค์ ก็คงมีโทษมากคุณน้อยเหมือนกัน เพราะไม่พ้นลักษณะทั้ง ๓ คือ เกิดขึ้นตั้งอยู่แปรไปเป็นธรรมดา ถึงจะเป็นเทวดา อินทร์ พรหมก็ยังตกอยู่ในระหว่างไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยง แล้วจะไปหมายเอา ความ สุขมาแต่ที่ไหนหรือจะเห็นว่า อายุยืนมีความสุข ในข้อนี้ตรองดูให้ดี อายุยืนอายุสั้นก็เท่ากัน เพราะความสุขความทุกข์มีจำเพาะปัจจุบันเท่านั้น ถึงจะมีอายุยืนเท่าไร สุขทุกข์ที่เป็นอดีตแต่เช้า วันนี้ถอยหลังคืนไปจนถึงวันเกิด จะเอามาเป็นสุขเป็นทุกข์ในกลางวันวันนี้ก็ไม่ได้ ความสุขความทุกข์ที่เป็นส่วนอนาคตยังไม่มาถึง นับแต่เย็นวันนี้ไปจนถึงวันตาย จะเอามาใช้เป็นสุขเป็นทุกข์ในกลางวันวันนี้ก็เป็นอันไม่ได้ จำเพาะใช้ได้แต่สุขทุกข์ซึ่งเป็นส่วนปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าใช้แต่สุขและทุกข์ส่วนปัจจุบันเท่านั้น ถึงอายุยืนอายุสั้นก็เท่ากัน มีปัจจุบันด้วยกัน.

ถ้าตรึกตรองให้เห็นโทษและคุณ ปรากฏขึ้นด้วยตนเช่นนี้ ก็คงจะมีความเบื่อหน่ายในกามรมณ์ เพราะเห็นความไม่เที่ยงแปรไป เป็นทุกข์เป็นอนัตตาทั่วไป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นกองรูปภายในก็ไม่เที่ยง รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เป็นกองรูปภายนอกคู่กับรูปภายในก็ไม่เที่ยง ใจเป็นนามธรรม ภายในก็ไม่เที่ยง ธรรมมารมณ์เป็นนามธรรมภายนอก คู่กับนามธรรมภายในไม่เที่ยง เมื่อสิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นของไม่เที่ยงบีบคั้นอยู่ จะสุขจะทุกข์อย่างไรก็ดี จะควรเลื่อมใสยินดีด้วยเรื่องอะไร รูปนามนั้นเองเป็นชาติกาม ก็รูปนามเป็นของไม่เที่ยงอยู่โดยธรรมดา กามทั้งหลายถึงจะเป็นของทิพย์ของสวรรค์ ชื่อว่าเป็นของไม่เที่ยงทั้งสิ้น ใช่จะไม่เที่ยงอย่างเดียวเมื่อไร ยังมีเพลิงเผาอยู่ด้วย คือ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส แต่ละอย่าง ๆ ท่านกล่าวว่า เป็นเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ บีบคั้นอยู่ทุกเมื่อด้วย คิดดูให้ดีน่าสมเพชเวทนานี้หนักหนา

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำสอน หลวงพ่อ ทองคำ แห่งสำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ เรื่อง กาย จิต และ ความว่าง

คำสอน หลวงพ่อ ทองคำ แห่งสำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ เรื่อง กาย จิต และ ความว่าง
ศิษย์: จิต ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าง แบบที่ไร้ซึ่งมลฑิล ใดๆ จึงเป็นที่มาของการรับรู้ จิตใจ ผู้คน โลก และ สรรพสัตว์ แต่ ก็อดสงสัยไม่ได้ ในเมื่อ เวทนา ของ ร่างกายสังขาลย์ มันเกิดขึ้นเอง ไม่สามารถห้ามได้ แล้ว พระพุทธเจ้า ทรงทำอย่างไร
หลวงพ่อ: จับตัวรู้ รู้ ด้วยปัญญา รู้ที่เหตุ แล้ววาง ทำเรื่อยๆ บ่อยๆ การเกิด ดับ ในทุกๆครั้ง ก็จะเหมือนๆกัน

คำสอน หลวงพ่อ ทองคำ แห่งสำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ เรื่อง สภาวะจิตที่วาระสุดท้าย

คำถามโดยศิษย์: มีหลายคน บอกว่า เราจะไปไหนต่อ หลังจากความตายอยู่ที่จิต ขณะสุดท้ายด้วย ใช่ไหม รวมถึงการดับสูญชั่วนิรันดร
หลวงพ่อ: ใช่ เป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่ขึ้นอยู่กับกรรมด้วยนะ
ศิษย์: วาระสุดท้ายของคน ดูๆ ไปก็คล้ายๆ การนอนหลับ การนอนหลับ ก็เหมือนเราตายชั่วขณะ หรือ จิด พักผ่อน ไม่รับรู้ อะไรทั้งสิ้น อย่างนี้นี่เอง สงสัยมาต้องนาน ว่าทำไมจึงให้ฝึกตลอดเวลา แม้กระทั่งจะหลับ แต่ ศิษย์เอง ลงได้นอนที่ไรหลับทุกที กำหนดไป แล้วก็หลับ แล้วอย่างนี้ จะกำหนดไปทำไม กำหนดเพื่อดูอะไร ให้รู้อะไร
หลวงพ่อ: ก็ให้รู้ ว่า กาย กับ จิต มันดับคู่กัน อย่างไร เป็น เอกคัตตา ภาวะสุดท้ายก่อนหลับ เป็นอย่างไร แล้วตอนตื่น จิตรับรู้อะไรตื่นเพราะอะไร ฝึกให้พิจารณา ให้ทัน นี่แหละ เป็นเหตุที่ทำให้เราต้อง ซ้อมจิต ให้หนัก ให้รู้การเกิด ดับ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น ทั้งนี้เพื่อที่จะได้กำหนดวาระสุดท้ายของเรานั่นเอง
ศิษย์: (ยากจัง)
หลวงพ่อ: (ถ้าง่ายเค้าก็บรรลุ กันหมด แล้วล่ะซิ หนู)

ตำแหน่งภูมิศาสตร์ ระหว่าง สำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ และ วัดร้างพระเจ้าแสนแส้

ตำแหน่งภูมิศาสตร์ ที่สอดคล้องกันโดยบังเอิญ หรือ จงใจ ระหว่าง สำนักปฏิบัติธรรม สันกู่ และ วัดร้างพระเจ้าแสนแสร้
สำนักปฏิบัติธรรม บ้านสันกู่ พิกัด
18.895201
98.915924


วัดร้าง พระเจ้าแสนแส้ (พระเจ้าออกเหงื่อ) พิกัด
19.643907
98.622888


สิ่งที่คล้ายกันทางภูมิศาสตร์
1. ตั้งอยู่บนทำเลที่สูง
2. ห่างจากเส้นทาง(เดินทัพ) หลัก ระยะทางอากาศไม่เกิน 3 กม.
3. มีเส้นทาง แยก ไปทางฝั่งทิศตะวันออก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด ด้านการสู้รบโบราณ
3.1. ใช้เพื่อหลบหนีชั่วคราว
3.2. ใช้เส้นทางดังกล่าว เพื่อ ตลบ ทัพ เพื่อโอบล้อมทางด้านหลังได้
3.3. เมืองที่ถูกเชื่อมด้วยเส้นทางดังกล่าว สามารถยกทัพมาช่วยได้โดยง่าย และ ทันท่วงที

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำสอนหลวงพ่อทองคำ สำนักปฏิบัติธรรม บ้านสันกู่ เรื่อง กาย จิต รูป นาม

คำถาม: ทำไมคนจึงกลัว วิญญาณ หรือ ผี
หลวงพ่อ: เรารู้ได้อย่างไรว่าเรากลัว อะไรกลัว จิต หรือ กาย
ศิษย์ ญ. : จิต กลัว
หลวงพ่อ: มองเห็นไหม (วิญญาณ)
ศิษย์ : ไม่เห็น
หลวงพ่อ: ไม่เห็นแล้วรู้ได้ไงว่ามี (มือ)สัมผัสได้ไหม
ศิษย์: ไม่ได้
หลวงพ่อ: ตามองเห็นไหม
ศิษย์: ไม่เห็น
หลวงพ่อ: อ้าวทีนี้ ตามองไม่เห็น มือก็สัมผัสไม่ได้ แต่เรารู้ว่ามี ทีนี้ อะไรล่ะที่สัมผัส (วิญญาณ) ได้ อะไรเป็นตัวรู้
ศิษย์: จิต
หลวงพ่อ: นั่นไง จิตคือผู้รับรู้ใช่ไหม บางสิ่งต้องสัมผัสด้วยกาย และ รับรู้ได้ด้วยทางจิต บางสิ่งกายก็สัมผัสไม่ได้ แต่ สามารถรับรู้และสัมผัสทางจิต ก็เหมือนฝน ฝน (ตก)มาจากไหน
ศิษย์: ตกมาจากฟ้า
หลวงพ่อ: ตอนนี้ฝนไม่ตก มองเห็นฝนไหม
ศิษย์: ไม่เห็น
หลวงพ่อ: แล้วฝนมีอยู่จริงไหม
ศิษย์: มีอยู่จริง
หลวงพ่อ: ทีนี้เห็นหรือยัง ว่ารูป และ นามต่างกันอย่างไร กาย และ จิตทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ดังนั้น การที่เรารับรู้ด้วยจิต การกลัวก็เกิดขึ้นทางจิต ถ้าเรากลัวโดย ไม่เข้าไปพิจารณามัน เรา็ก็จะไม่รู้อย่างแ้ท้จริงว่าจิต กลัวอะไร แยกไม่ออก ดังนั้นจงเข้าไปพิจารณา ในจิตของเรา เมื่อเรารู้แน่ชัดว่าจิตกลัวอะไร จากการรับรู้นั้น เราก็จะแก้ไขปัญหาความกลัวนั้นได้ ป้องกันได้ทัน เพราะ จิตก็ได้ทำหน้าที่ของเขา ในการรับรู้และระวังภัยให้กับเจ้าของ หรือตัวเรานั่นเอง

สถานปฏิบัติธรรม บ้านสันกู่ ต. แม่แรม จ.เชียงใหม่



N18.895201, E98.9159241

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ธรรมะ หลวงพ่อ เปลี่ยน ปญญาทีโป วัดอรัญญวิเวก อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่ เรื่อง สรุป ธรรมะ 3 ความพอดี

สรุป ธรรม รู้จักประมาณในการทำงาน
การทำงานเกินความพอดี ต่อกำลังของตน เป็นบ่อเกิดให้เกิดความทุกข์ขึ้น

สรุป ธรรม การบริหารทรัพย์สินในครอบครัว
การไม่พอดีในการบริหาร ทรัพย์สิน ของครอบครัวก็จะทำให้เกิดทุกข์

สรุป ธรรม ให้รู้จักความพอดีในการใช้ทรัพย์สินเงินทอง