วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 2

 มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ  ตอนที่ 2

ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา

อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ


การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล (๓ ๖ ๓๘)





ภาษาบาลี คือ อะไร พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ความเชื่อมโยง อักษร ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก บอกอะไรเราได้บ้าง

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาษาบาลี

บาลี (บาลี: ปาลิ पालि; สันสกฤต: पाळि ปาฬิ); (อังกฤษ: Pali) เป็นไวยากรณ์ที่เก่าแก่แขนงหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี


จุดเริ่ม การศึกษาที่มาของภาษาบาลี และ ที่มาของคลิปนี้

ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี



การเพิ่ม Font ภาษาบาลี

การเพิ่ม Font ภาษาบาลี

 1. ให้ทำการ เพิ่ม Font

1.1 Download Font บาลี


1.2 แตก Zip ไฟล์ เลือก Font แค่ที่เห็นเป็นชื่อชัดๆก็พอ แล้วทำการ Click ขวา Install for all users




Font แนะนำ Buddhawajana และ BuddhawajanaPali เมื่อต้องการพิมพ์งาน ภาษาบาลีเนื่องจากเห็นชัดทุกระดับ Font และ ภาษาบาลี โดยเฉพาะ ญ ฐ จุดล่าง นิคคหิต ใช้เป็นอักษรบน Keyboard ปกติได้ ไม่ต้องใช้อักษรพิเศษ และ เมื่อ Copy ข้อความจากเอกสาร ไปใช้ที่อื่น เช่น Facebook Line และ อื่นๆ จะไม่มีอักษรขยะ แต่จะมองเห็น เป็น ญ ฐ มีฐานเท่านั้น (กรณีไม่มีจุดล่าง)

1.3 ให้ดำเนินการตรวจสอบ ที่ Control Panel ของ Windows เลือก Locale เป็น ภาษาไทย





วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

บาลีไวยากรณ์ จากตำราโบราณ รวมท่อง พร้อมตัวอย่าง กัจจายนะสูตร ครบทั้ง 7 กัณฑ์

 กัจจายนะ

1. สนธิกัณฑ์


2. นามกัณฑ์


3. การกกัณฑ์





4. สมาสกัณฑ์




5. ตัทธิตกัณฑ์





6. อาขยาตกัณฑ์




7. กิพพิธานกัณฑ์




ตัวอย่างการใช้ คัมภีร์ กัจจายนะ ประกอบคำ ในภาษาบาลี




วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

มงคลสูตร 38 ประการ ขุทฺทกปาเฐ มงฺคลสุตฺตํ ตอนที่ 1

 เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี


อถ โข อญฺญตรา เทวตา

อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺปํ เชตวนํ

โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ

อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา

ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ

ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามแห่งราตรีล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อถึงที่ประทับ ได้ถวายบังคม(อภิวาท) แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

   

พหู เทวา มนุสฺสา จ มงฺคลานิ อจินฺตยุํ

อากงฺขมานา โสตฺถานํ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล อันประเสริฐเถิด (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า)


อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา

ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล  (๓ ๐ ๓๘)



วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 07
พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
...
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติ
พราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
บังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระ    พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ
ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา   บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
       พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก   เธอจึงได้
กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้
เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น   ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา  รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
ยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา    สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรา
อนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ



ภาษา อังกฤษ บาลี ภาษาไทย มาจากภาษาเดียวกัน? พระพุทธเจ้า ใช้ภาษาอะไร ใช่ภาษาบาลี หรือไม่





วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ชีวประวัติ พระอาจารย์ ธัมมานันทมหาเถระ 2021

ชีวประวัติ : พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ 2021

ชีวประวัติ : พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ
ท่านเกิดที่หมู่บ้านตาสี อำเภอเยสะโจ จังหวัดปขุกกู ในวันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ พ.ศ. ๒๔๖๓
(ตรงกับวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓) เป็นบุตรของนายโผติด นางงวยยิ ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดในหมู่บ้านของท่านเอง
ท่านมีพี่น้องอยู่ ๔ คน และเป็นลูกอันดับสามในบรรดาพี่น้องชายทั้ง ๔ คนนั้น
  ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาของท่านนำไปฝากพระญาณเถระ
ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตงทัด หมู่บ้านตาสินั่นเอง ได้เล่าเรียนหนังสือต่าง ๆ เริ่มต้นแต่ชั้นอนุบาลประถมเป็นต้นมา
จนถึงบทสวดมนต์ต่าง ๆ คือ พระปริตรทั้ง ๑๑ สูตร คัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชัยมังคลคาถา ชินบัญชรทั้ง
ภาคบาฬีและภาคแปลด้วย รวมทั้งโหราศาสตร์ต่าง ๆ ที่ใช้ตัวเลขเป็นภาษาบาฬี อันเป็นวิธีการเรียนสมัยดั้งเดิม
ของพม่า
  เมื่อท่านอายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระวิจารินทะเป็นอุปัชฌาจารย์ได้รับฉายาบาฬีว่า
“ธัมมานันทะ” สามเณรธัมมานันทะได้ท่องจำนาสนะ ทัณฑกรรม เสขิยวัตรและขันธกวัตร ๑๔ อย่างได้ตั้งแต่ยัง
เป็นเด็กวัดอยู่ หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาจารย์จึงได้ให้ท่องจำกัจจายนสูตร รวมทั้งคำแปลตาม
คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ และสอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ด้วย
  หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปวัดปัตตปิณฑิการาม ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอเยสะโจ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ต่าง ๆ
คือ พาลาวตาร กัจจายนะ สัททนีติ (สุตตมาลา) อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระ
วินัยปิฎก ในสำานักของพระอุตตรมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการาม

  เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยมีท่าน
อาจารย์สุชาตะ ซึ่งเป็นศิษย์ท่านอาจารย์อุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดยองเปนตา จังหวัดมองลำไยจุน
มีโยมอุปัฏฐากถวายอัฏฐบริขาร คือ นายพละ นางเสงมยะ อยู่ที่ บ้านเลขที่ ๒๐ ถนนซี จังหวัดมองลำไยจุน
  หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านอาจารย์อุตตระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการามได้ส่งท่านไปเรียนพระปริยัติ
ธรรมต่อในสำนักของท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันฑเล ท่านศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
และ คัมภีร์ปทวิจาร ในขณะนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันฑเลเป็นจุดเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ เพราะ
เป็นเมืองหลวงอันดับสองรองจากกรุงย่างกุ้ง ดังนั้น ท่านจึงย้ายจากจังหวัดมันฑเลไปสู่จังหวัดมะไลย ได้ศึกษา
คัมภีร์อภิธาน ฉันท์ อลังการะ เภทจินตา และกัจจายนสาระ ในสำนักของท่านอาจารย์จันทโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริ
โสมาราม หมู่บ้านกันจี จังหวัดมะไลยนั้น และ ยังได้ศึกษาคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ วิธีการทำรูปตามนัยของคัมภีร์
กัจจายนะ นามปทมาลา อาขยาตปทมาลา คัมภีร์พระอภิธรรมต่าง ๆ คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และ
ธาตุกถา รวม ๕ ปี ด้วยกัน จนกระทั่งสงครามโลกสงบ

  ในสมัยนั้น จังหวัดปขุกกูและอำเภอเยสะโจ ไม่นิยมสอบสนามหลวงเป็นทางการเพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้
แตกฉานเท่านั้น ดังนั้น ท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรเรื่อยมาจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ หลังจาก
สงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านจึงได้เริ่มสอบสนามหลวงได้ชั้น “ปถมะแหง่” ในขณะที่ท่านพำนักอยู่ ณ วัดสิริโสมาราม
หลังจากนั้น จึงย้ายไปวัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันฑเล อันเป็นที่พำนักเดิม และสอบได้ชั้น “ปถมะลัด” ที่นั้นพระ
อาจารย์ที่สอนคัมภีร์ต่าง ๆ ให้ คือ ท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์, พระชาเนยยพุทธิ, พระสุวัณณโชติภิวงศ์ และ
พระอานันทปัณฑิตาภิวงศ์
  หลังจากนั้น ท่านย้ายไปอยู่วัดเวยันโภงตา สอบชั้น “ปถมะจี” ได้เป็นอันดับสามของประเทศและสอบชั้น
“ธัมมาจริยะ” ได้ในปีต่อมา ณ สำานักเรียนวัดเวยันโภงตานั้น

  สมัยนั้น ท่านอาจารย์กัลยาณะเจ้าอาวาสวัดเวยันโภงตามีชื่อเสียงมากในการสอนคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะใน
เมืองมันฑเล ท่านจึงได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นธัมมาจริยะกับท่านอาจารย์กัลยาณะ และในขณะที่ท่านกำลังจะสอบชั้น
“ปถมะจี” ท่านยังไปศึกษาคัมภีร์ปัฏฐานเป็นพิเศษด้วยที่วัดปัฏฐานาราม ภูเขาสะไกย จังหวัดสะไกย โดยมีท่าน
อาจารย์อินทกะ (อัครมหาบัณฑิต) เป็นผู้สอน
 
  ท่านสอบคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะได้ ๓ คัมภีร์ คือ ปาราชิกบาฬี และอรรถกถา สีลักขันธวรรคบาฬีและ
อรรถกถา ธัมมสังคณีบาฬีและอัฏฐสาลินีอรรถกถา ได้รับตราตั้งว่า “สาสนธชธัมมาจริยะ” นอกจากนั้นท่านยัง
สอบคัมภีร์พิเศษในชั้นธัมมาจริยะได้อีกคือ คัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกายอรรถกถา และวิภังคาทิ-
อรรถกถา จึงได้รับตราตั้งอีกว่า “สาสนธชสิริปวรธัมมาจริยะ” ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัดต่าง ๆ เช่น
วัดสิริโสมาราม จังหวัดมะไลย วัดปัตตปิณฑิการาม อำเภอเยสะโจ และวัดเวยันโภงตา จังหวัดมันฑเล
 
  ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางกรมการศาสนาของประเทศสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านเป็นพระธรรม
ทูต เพื่อการเผยแผ่พระศาสนาเถรวาทในต่างประเทศ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่กะบาเอ ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์เพื่อการ
เผยแผ่ (ธัมมทูตวิทยาลัย) ศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น
 
เวลานั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ  ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์
มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอพระอาจารย์ผู้เชื่ยวชาญในพระปริยัติธรรมเพื่อมาสอนพระปริยัติ
ธรรมที่วัดโพธาราม ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่ารับรองกับท่านว่า เมื่อท่านสอนพระปริยัติธรรมใน
ประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งท่านต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม
จังหวัดนครสวรรค์ตามที่กรมการศาสนานิมนต์ โดยได้เดินทางมาในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ในเวลา
นั้นท่านมีภาระสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรจำนวน ๒๐๐ รูป ในวัดโพธารามเมื่อครบกำหนดแล้ว
ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ได้นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อท่านจึงได้พำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็น
เวลาถึง ๖ ปี

  ในขณะพำนักอยู่ที่นครสวรรค์นั้น ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าได้นิมนต์ท่านเพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์
พจนานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ ในสมัยปัจฉิมฎีกาสังคายนา
ที่กะบาเอ ณ กรุงย่างกุ้ง ท่านจึงได้เดินทางกลับประเทศของท่านเป็นการชั่วคราว เพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรม
พระไตรปิฎกฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ มีสุโพธาลังการฎีกาเป็นต้น รวม ๑ ปี หลัง
จากที่การสังคายนาพระบาฬี อรรถกถาและฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่าง ๆ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมายัง
วัดโพธารามตามเดิม
 
 ในขณะนั้น ท่านอาจารย์เนมินทะ (อัครมหาบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ชราภาพมากแล้ว จึงได้มี
หนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า มีความประสงค์จะนิมนต์ท่านอาจารย์ธัมมานันทะให้มาเผยแผ่พระ
ศาสนาที่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าก็ได้มีหนังสือมาถึงท่าน ดังนั้น ท่านจึง
ย้ายจากจังหวัดนครสวรรค์มาอยู่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๘ (ตรงกับวัน
ที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘) หลังจากที่ท่านมาอยุ่ที่นี่ได้ ๕ เดือน ท่านอาจารย์เนมินทะเจ้าอาวาสวัดท่ามะ
โอก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ท่านอาจารย์ธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอสืบต่อมา ท่านได้
เริ่มกิจการเผยแผ่พระศาสนาทางด้านพระปริยัติธรรมด้วยการตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นในวันพฤหัสบดี แรม ๒
ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๑๐ (ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐) ท่านสามารถก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมให้มีชื่อเสียงขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะศิษยานุศิษย์ของท่านสามารถสอบได้ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาฬีทุก ๆ
ปีเป็นจำนวนมาก
 
 เนื่องจากการศึกษาพระไตรปิฎกจำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์ คือ คัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์วุตโตทัย และ คัมภีร์สุโพธาลังการ ท่านจึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระ
ไตรปิฎกทั้ง ๔ คัมภีร์นั้น ด้วยการสอนอธิบายและให้นักศึกษาท่องจำคัมภีร์เหล่านั้นพร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแผ่ ถึง
แม้ว่าท่านจะชราภาพมากแล้ว ก็ไม่คำนึงถึงตัวท่านเอง ท่านได้อุตสาหะสั่งสอนศิษย์ให้พยายามศึกษาเล่าเรียนจน
ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งศิษยานุศิษย์เหล่านั้นก็ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้ภาษาบาฬีเป็นอย่างดี
 
คัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษาและใช้เป็นคัมภีร์ค้นคว้านั้น ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้จัดพิมพ์ไว้ รวม ๒๐ คัมภีร์ด้วยกัน คือ

๑.กัจจายนะ ๒.ปทรูปสิทธิ
๓.โมคคัลลานพยากรณะ ๔.สัททนีติสุตตมาลา
๕.นยาสะ ๖.อภิธาน
๗.สุโพธาลังการะ ๘.ฉันท์
๙.สุโพธาลังการปุราณฎีกา ๑๐.สุโพธาลังการอภินวฎีกา
๑๑.ขุททสิกขา, มูลสิกขา ๑๒.ธาตุวัตถสังคหะ
๑๓.เภทจินตา ๑๔. กัจจายนสาระ
๑๕.ณวาทิโมคคัลลานะ ๑๖.พาลาวตาร
๑๗.สังขยาปกาสกะ ๑๘.สังขยาปกาสกฎีกา
๑๙.ปโยคสิทธิ ๒๐.วุตโตทัยฉันโทปกรณ์แปล
 
ส่วนคัมภีร์ที่ท่านรจนาด้วยตนเองมี ๔ คัมภีร์ คือ
๑.สำนวนภาษาในพระพุทธศาสนา
๒.อุปสัมปทกัมมวาจาวินิจฉัย
๓.สังขิตตปาติโมกขุทเทสวินิจฉัย
๔.นานาวินิจฉัย

ในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน พระอาจารย์มหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ หรือ พระอาจารย์ มหาต่วน
และ วัดจากแดงได้ จัดทำตำราเหล่านี้ออกมา เรียบเรียงใหม่ และ คัดแยกออกมาเพิ่มขึ้นมากมาย
โดย วัดท่ามะโอ ยังได้นำหนังสือหลัก ที่ใช้ใน สมัยพระอาจารย์ ปู่ ธัมมา นันทะ มาสอนโดยเน้นการเรียนแบบดั้งเดิม
และมุ่งเน้นความทันสมัย ด้วยการเรียนการสอนโดยใช้ คอมพิวเตอร์ และ หนังสือดิจิตอลแบบใหม่ 
ที่ทาง พระอาจารย์ มหาต่วน และ วัดจากแดง ได้จัดทำขึ้น
การสอน ท่านอาจารย์ แต่ละท่าน มุ่งเน้น จดบันทึกลงในหนังสือดิจิตอล เป็นหลัก เพื่อให้ไม่เกิดการสอนซ้ำ 
เพียงแต่จะกลับมาทบทวนเมื่อมีนักศึกษา ทั้งภิกษุ สามเณร หรือ ฆราวาส เข้ามาถาม
ในขณะที่นักศึกษา เอง ท่านอาจารย์ ได้เปิดกว้าง เมตตา อนุญาติ เรื่องอุปกรณ์ การเรียน สามารถใช้ โน๊ตบุ๊ค หรือ แท็ปเล็ต
เพื่อไม่ต้องแบกหนังสือหนักๆ และ จดบันทึกภายในห้องเรียนได้
หรือ จะยังถนัดในการใช้ หนังสือ เล่มใหญ่ๆ ก็สามารถใช้ได้
ด้วยบารมีของ หลวงปู่ ธัมมา นันทะ ทำให้ ทางวัดท่ามะโอ สามารถมี
สถานที่ พักสำหรับภิกษุ ไม่ว่า ไกล ใกล้ ผู้ต้องการ ศึกษา ตามหลักสูตรดั้งเดิม
ทางวัดท่ามะโอ ได้มีที่พักพร้อม สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาเล่าเรียน

ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐบาลสหภาพพม่าได้เห็นเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแผ่พระศาสนาของท่าน
อาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ ทางการจึงได้น้อมถวายตำแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต” อันทรงเกียรติ แด่ท่าน 
พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ
 
ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๙
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้น้อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพุทธศาสตร์ และใน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านพระอาจารย์ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรสาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการบูชาเกียรติคุณ
ความดีของท่านซึ่งจะเป็นทิฏฐานุคติอันดีงามแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายสืบต่อไป
 
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ฯ